7/07/2552

Kawashima Yoshiko (โยชิโกะหญิงเหล็กยอดขุนพล )

Kawashima Yoshiko หรือ ชื่อไทยว่า โยชิโกะหญิงเหล็กยอดขุนพล เป็นเรื่องราวของ คาวาชิมะ โยชิโกะ หรือ จินปี้ฮุย หรือ อ้ายซินเจี๋ยหรอ เสียนจื่อ และฉายา ตงเจิน หรือ มาตาฮารีตะวันออก หรือ Eastern Jewel
การเล่าเรื่องของหนังเรื่องนี้มีลักษณะคล้ายกับเรื่อง Last Emperor (ในเรื่อง Last Emperor เราก็ได้เห็น โยชิโกะ ในเรื่องด้วย ) โดยเริ่มจาก โยชิโกะ ได้รับการสอบสวนจากเจ้าหน้าที่ แล้วหนังก็ ย้อนเล่าไปถึงอดีตของโยชิโกะ ซึ่งเดิมเธอเป็น ธิดาคนที่ 14 ของอ๋องซู ซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของแมนจู
เธอถูกส่งไปอยู่ญี่ปุ่นและกลายเป็นลูกบุญธรรมของ คาวาชิมะ นานิวะ และเขาเปลี่ยนชื่อเธอเป็น โยชิโกะ เมื่อเป็นวัยรุ่นเธอถูกพ่อเลี้ยงข่มขืน ต่อมาเธอถูกบังคับให้แต่งงานกับเจ้าชายมองโกลกานเจอจาบู ความอ่อนแอของสามี ทำให้เธอหย่าขาดในเวลาต่อมา เธอเดินทางกลับญี่ปุ่น และเดินทางต่อไปยังเซี่ยงไฮ้
โยชิโกะเริ่มขีดเส้นทางแห่งอำนาจของเธอโดยเริ่มจาก นายทหารที่ชื่อ ทานากะ โทคาโยชิ จากนั้นเธอได้ทำเรื่องต่างๆ มากมาย เช่น มีสัมพันธ์กับนายทหารหลายคนเพียงเพื่อความสำเร็จของงาน มอมเมาฮองเฮาวานจง ด้วยฝิ่นและมีความสัมพันธ์กับเธอ เพียงเพื่อจะนำเธอมาที่ แมนจูกัว เข้าร่วมการสถาปนาชาติแมนจูกัว รับตำแหน่งผู้บัญชาการสูงสุดอันกัวะ ฯลฯ ยังมีเรื่องราวอื่นๆ ที่หนังไม่ได้นำเสนอ เช่น การที่ส่ง โยชิโกะ ยามางูจิ เด็กสาวชาวญี่ปุ่นไปเป็นสายลับในแมนจูเรีย โดยยามางูจิ เป็นสายลับในคราบของนักแสดงชาวจีน ชื่อ หลี่เซียงหลาน ต่อมาเธอก็กลับสู่ญี่ปุ่น และเปลี่ยนชื่อเป็น โยชิโกะ โอทากะ
ภายหลังสงครามสิ้นสุด คาวาชิมะ โยชิโกะ ถูกจับและได้รับโทษประหาร










คาวาชิมะ โยชิโกะ (ซ้ายมือ)


ยามางูจิ โยชิโกะ สายลับญี่ปุ่นในคราบดาราจีน

ที่มาของข้อมูลhttp://www.orientalfilms.co.uk/http://english.runsky.com/homepage/english/travel/userobject1ai508138.htmlhttp://www.absoluteastronomy.com/encyclopedia/k/ka/kawashima_yoshiko.htmhttp://www.4dw.net/royalark/China/manchu4.htmhttp://japanfocus.org/article.asp?id=204ขอขอบคุณ กระทู้พันธ์ทิพย์เกี่ยวกับ คาวาชิมะ โยชิโกะ โดยคุณ sofatboy

The Soong sisters (สามพี่น้องตระกูลซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่)

ภาพ ชาร์ลี ซ่ง ชาร์ลี ซ่ง ได้เดินทางไปอเมริกาตอนอายุ 9 ขวบ

เพื่อช่วยงานกิจการร้านขายผ้าของลุงที่บอสตัน แต่เขาไม่ชอบงานนี้นัก

จึงหนีลุงไปที่เรือลำหนึ่ง บังเอิญเรือลำนั้นออกจากท่าไป กัปตันเรือมาพบเขาภายหลังจากที่เรือแล่นมาไกลแล้ว กัปตันเรือผู้นี้พาเขาไปฝากที่โบสถ์ โดยมีบาทหลวงริคอร์ด คอยดูแล เขาได้เปลี่ยนศาสนาที่โบสถ์แห่งนี้และได้ชื่อใหม่จากที่นี่นั่นเอง ชาร์ลี ได้ศึกษาที่วิทยาลัยเมโธดิสม์ ทรินิตี้ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาดุ๊ค) และย้ายไปเรียนต่อจนจบที่ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ เขากลับสู่จีนในปี 1886 แต่งงานกับหญิงที่นับถือศาสนาเดียวกันมีลูก 6 คน เป็น ชาย 3 คน หญิง 3 คน

เรียงตามลำดับการเกิดดังนี้

1. ซ่งอ้ายหลิง (ลูกสาวคนโต)

2. ซ่งชิงหลิง (ลูกสาวคนรอง)

3. ซ่งจื่อหวุน หรือ ทีวี ซ่ง (ลูกชายคนโต) (รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน , ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน)

4. ซ่งเหม่ยหลิง (ลูกสาวคนเล็ก)

5. ซ่งจื่อเหลียง (ลูกชายคนรอง) (นักธุรกิจที่นิวยอร์ค)

6. ซ่งจื่ออัน (ลูกชายคนเล็ก) (ประธานกรรมการธนาคารกวางตุ้ง)

สามพี่น้องผู้เกิดในครอบครัวมั่งมีและอบอุ่น ได้รับการศึกษาอย่างดีจากต่างประเทศ โดยที่คุณพ่อจบการศึกษาทางศาสนาจากอเมริกาและกลับมาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ นิกายออโธดอกซ์ ในขณะที่ดร.ซุนจงซาน孙中山 ผู้เป็นเพื่อนก็เพิ่งจบแพทย์จากอเมริกากลับมา และเป็นผู้นำก่อการโค่นล้มราชวงศ์ชิง清朝การที่ปัญญาชนในสมัยนั้นจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พอใจต่อทางราชสำนักที่ใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อ ไม่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ปล่อยให้อดอยากยากแค้น ส่วนในด้านต่างประเทศก็อ่อนแอจนต้องเฉือนดินแดนให้กับประเทศต่าง ๆยึดครองโดยที่คนจีนเจ้าของประเทศไม่มีสิทธิเข้าไป เป็นการสูญเสียอธิปไตยที่นำความอับอายขายหน้าให้กับชาวจีน
ตระกูลซ่งที่มีฐานะการเงินและทางสังคมอย่างชาลี ซ่ง จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินให้กับ ดร.ซุนจงซานทำการปฏิวัติ และใช้โรงพิมพ์ส่วนตัวที่ปรกติใช้พิมพ์พระคัมภีย์ไบเบิลฉบับภาษาจีนเป็นที่พิมพ์ใบปลิวข่าวสารการปฏิวัติด้วย เมื่อการปฏิวัติเริ่มแพร่กระจายในวงกว้าง ทางรัฐบาลก็ออกจับกุมดร.ซุน ทำให้ดร.ซุนต้องหนีออกนอกประเทศไปพำนักอยู่ในญี่ปุ่น และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้เข้ามาประเทศไทยเพื่อขอความสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล โดยพำนักอยู่กับสหายแถวทรงวาด

หลังโค่นล้มราชวงศ์ชิงสำเร็จ ก็ใช่ว่าภาระกิจการปฏิวัติจะสิ้นสุดลง เนื่องจากสังคมจีนเกิดความแตกแยก ฐานะของชาวบ้านแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่ของดร.ซุนคือ การขาดกองกำลังของตนเองต้องไปพึ่งพากำลังทหารของพวกขุนศึก ซึ่งต่างก็จ้องหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกันอยู่แล้ว จึงไม่วายที่ดร.ซุนถูกกองกำลังขุนศึกที่ตนเองพึ่งพาหันกระบอกปืนใส่ดร.ซุน จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ขณะที่ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 ผู้เป็นภรรยาก็ได้รับบาดเจ็บจนแท้งลูกและมีลูกต่อไปไม่ได้ พวกขุนศึกส่วนใหญ่เป็นกองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัย หลายคนได้เป็นผู้นำกองกำ-ลังขึ้นมาเนื่องจากเป็นนักเลงหัวไม้มาก่อน ฉะนั้น การปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์มีอยู่ทั่วไป แม้หลุมฝังศพของพระนางฉือซีก็ยังโดนขุดเพื่อปล้นเอาทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ และกล่าวกันว่า มุกที่อยู่ในปากของพระนางฉือซี (ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้ศพไม่บุบสลาย) ก็ถูกฉกไปและตอนหลังกลายเป็นเครื่องประดับข้อเท้าของซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 หรือมาดามเจียงไคเชค
สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง ซึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิงสู่สังคมสมัยใหม่ ได้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในครอบครัวซ่ง ซึ่งส่งผลต่อสังคมทั้งประเทศจีนด้วย พี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับมหาเศรษฐีข่งเสียงซี 孔祥熙 ทายาทรุ่นที่ 75 ของขงจื่อ 孔子 ซ่งอ่ายหลิงผู้ซื้อ “รักเงิน” ยิ่งกว่าอื่นใดเพราะถือว่าเงินสามารถซื้อได้ทุกอย่าง และเขาก็ได้แสดงบทบาทด้วยการใช้เงินในต่างกรรมต่างวาระดังเช่นการออกทุนให้ ดร.ซุนก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ที่มอบให้เจียงไคเชคซึ่งเป็นลูกน้องที่ได้รับความไว้วางใจเป็นผู้ดูแล หรือในคราวที่เจียงไคเชคถูกจับเป็นตัวประกันที่ซีอาน 西安 หลังถูกปล่อยตัวได้นั่งเครื่องบินมาลงที่หนานจิง 南京 แต่ไฟฟ้าในหนานจิงถูกญี่ปุ่นถลุ่มเสียจนไฟนำร่องของสนามบินใช้การไม่ได้ ซ่งอ่ายหลิงจึงได้ให้สามีติดต่อเพื่อนฝูงซึ่งล้วงแต่เป็นเศรษฐีในหนานจิง 9 ใน 10 คนล้วนรู้จักกับฮาฮาข่ง นำรถยนต์มาจอดเรียงแถว และเปิดไฟหน้ารถเป็นไฟนำร่องให้เครื่องบินลงจอดได้สำเร็จ และกรณีที่แสดงถึงอำนาจของเงินตราคือ หลังจากที่พรรคกั๋วหมิงด่าง 国民党(ก๊กมิ่งตั๋ง) ตกลงยินยอมร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อรบกับญี่ปุ่นแทนที่จะรบกันเอง ก็ซ่งอ่ายหลิงอีกนั่นแหละที่ควักกระเป๋าซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แจกจ่ายแก่ทหาร หลังจากนั้นทั้งคู่ก็อพยพครอบครัวไปอยู่ฮ่องกงก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะมีชัยเหนือกั๋วหมิงต่างของเจียงไคเชค
สาวคนกลางของตระกูลซ่งคือ ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄เมื่อจบการศึกษากลับจากต่างประเทศก็มาช่วยดร.ซุน เพราะเป็นคนที่ “รักชาติ”มากกว่าอื่นใดโดยทุกสิ่งที่ทำจะคำนึงถึงประเทศชาติก่อน การมาช่วยงานดร.ซุนได้นำไปสู่ความรักและตอนหลังแต่งงานกันที่ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากกับชาลี ซ่ง ผู้พ่อ จนถึงกับประกาศตัดสัม-พันธ์กับดร.ซุนอย่างเด็ดขาด และกล่าวหาดร.ซุนเป็น “คนลวงโลก”ต่อว่าดร.ซุนว่า “ข้าฯได้ทุ่มเททั้งเงินทองและชีวิตเพื่อเป็นทุนช่วยเหลือในการก่อการปฏิวัติ แต่ไม่ได้หมายถึงให้ลูกสาวเป็นทุนในการปฏิวัติด้วย”


ดร.ซุน 孙中山



ซ่งเหม่ยหลิงถ่ายเมื่อปี 1910ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมในสหรัฐอเมริกา


การที่ซ่งชิ่งหลิงมีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าในการสร้างชาติสู่สังคมที่ดีกว่าตัวเองจึงมีชีวิตที่ยากลำบากที่สุด ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในหมู่พี่น้องด้วยกันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากน้องคนเล็กซ่งเหม่ยหลิงตกลงปลงใจแต่งงานกับเจียงไคเชคซึ่งมีอุดมการณ์ต่างกันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ซ่งชิ่งหลิงพยายามยึดแนวทางของดร.ซุนในการประนีประนอมกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยกันสร้างชาติ แต่เจียงไคเชคค้านหัวชนฝายังไงก็ไม่ เอาคอมมิวนิสต์และเข่นฆ่าผู้ที่สงสัยจะเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ทุกวัน จนซ่งชิ่งหลิงทนไม่ได้ ต้องออกมาประกาศยืนคนละข้างกับเจียงไคเชต และหันไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว และตัวเขาเองก็เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการบีบบังคับให้เจียงไคเชคต้องจับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์สู้รบกับศัตรูร่วมของชาติคือ ญี่ปุ่นผู้รุกราน ดังที่ดร.ซุนกล่าวว่า“ป่วยนอกรักษาง่าย ป่วยในเยียวยายาก” จึงต้องยุติปัญาภายในเพื่อเอาชนะสัตรูของชาติให้ได้ก่อน หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยแล้ว ซ่งชิ่ง-หลิงก็ได้เป็นกรรมการในพรรคฯ และเสียชีวิตในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1981โดยขณะที่นอนป่วยใกล้สิ้นใจ ก็ได้ติดต่อไปยังน้องสาว ซ่งเหม่ยหลิงซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในอเมริกาให้กลับมาเพื่อเห็นหน้ากันครั้งสุดท้าย แต่ก็ไม่มีโอกาส เนื่องจากคนใกล้ชิดซ่งเหม่ยหลิงบอกว่าไม่ควรไปยุ่งกับพวกคอมมิวนิสต์
สาวน้องนุชคนสุดท้อง-ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ถือว่าเป็นคนที่มีบทบาทพลิกโลกอีกคนรองจากซ่งชิ่งหลิง และเป็นคนที่ “รักอำนาจ”เพราะเคยตั้งปณิธานว่า “ถ้าไม่ใช่ฮีโร่ไม่ขอแต่งด้วย” ฉะนั้นเมื่อเจอเจียงไคเชคมาจีบซึ่งขณะนั้นเจียงไคเชคเป็นถึงผู้อำนวยการโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่ อีกหน่อยทหารในประเทศจีนย่อมเป็นลูกศิษย์และอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่นเดียวกับพี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิงก็ยุส่งอีกว่า หากซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคก็จะได้เป็นสตรีหมายเลยหนึ่งของประเทศ ขณะที่ตัวเขาเองได้แต่งงานกับบุรุษผู้ร่ำรวยที่สุดของประเทศแล้ว ส่วนซ่งชิ่งหลิงซึ่งแต่งงานกับดร.ซุน ก็มีบารมีและได้รับการเคารพยกย่องถึง “บิดาของชาติ”ถ้าลงเอยกันอย่างนั้นได้ ตระกูลซ่งก็จะเป็นตระกูลที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ถึงกับสามารถเรียกได้ว่าเป็นราชวงศ์ตระกูลซ่ง 宋家皇朝 ทีเดียว
ในที่สุดครอบครัวตระกูลซ่งก็ยอมให้ลูกสาวคนเล็กแต่งงานกับเจียงไค-เชคผู้ซ่งมีลูกมีเมียแล้ว โดยให้เจียงไคเชคยอมรับเงื่อนไขสามประการของตระกูลคือ
1.จะต้องรักและไม่ทอดทิ้งซ่งเหม่ยหลิงตลอดจนชีวิตจะหาไม่
2.ต้องหย่าขาดกับภรรยาคนปัจจุบัน
3.จะต้องเปลี่ยนศาสนามาเป็นศาสนาคริสตร์ นิกายออโธด็อกซ์ เหมือนครอบครัวซ่ง


สามพี่น้องตระกูลซ่งวัยสาวรุ่น



สามพี่น้องตระกูลซ่งในวัยสาว


สามพี่น้องตระกูลซ่งในวัยทอง
เมื่อเจียงไคเชคเริ่มศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล ก็มีการตีความพระวจนะของพระเจ้าบางประโยค เพื่ออ้างความชอบธรรมในการนำไปเข่นฆ่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
การที่ซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคถือว่าเป็นการประกาศตัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพี่สาว-ซ่งชิ่งหลิง หลังจากที่เจียงไคเชคพ่ายแพ้แก่เหมาเจ๋อตง 毛泽东 เจียงไคเชคก็หอบพาเอาครอบครัวและพลพรรคไปตั้งหลักบนเกาะไต้หวัน จวบจนเจียงไคเชตตาย ซ่งเหม่ยหลิงก็อพยพไปใช่ชีวิตบั้นปลายในอพาร์ทเมนต์หรูหราแห่งหนึ่งในกรุงนิวยอร์ค จนเสียชีวิตเมื่อปี2003
ที่กล่าวมาทั้งหมดคงไม่ถือเป็นการรีวิวเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่เป็นการกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งการได้ดูหนังหลังจากที่รู้ถึงแก่นของความเป็นมาน่าจะทำให้การดูหนังได้รสชาติ และสนุกยิ่งขึ้น สำหรับแผ่นดีวีดีที่ได้มา เป็นฉบับ Director’s CutEdition ซึ่งมีความยาวประมาณ 145 นาที ยาวกว่าฉบับเดิม 10 นาที คุณภาพของภาพดีมาก คมชัด สะอาด ระบบเสียง Dolby Digital 5.1 เสียงซาวด์เอฟเฟคต์ดีมาก เสียอยู่นิดเดียวตรงเสียงพูดเบาไปหน่อย ในด้านภาพและเสียงผมให้ไปเลย 9 เต็ม 10 การเดินเรื่องเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ยืดเยื้อ ชวนติดตามไม่น่าเบื่อ
สำหรับแผ่นซีดีซาวด์แทรค ซึ่งมีออกมาทั้งแผ่นคอมเมิลเชียลธรรมดา (แต่บันทึกเสียงได้ค่อนข้างดี) และแผ่น SACD ด้วยฝีมือระดับKitaro คงเป็นยี่ห้อรับประกันได้ แต่ละเพลงที่แต่งมาประกอบในภาพยนตร์นั้น ได้บรรยากาศดีมาก ทั้งความเหงาในช่วงที่ซ่งชิ่งหลิงหนีไปอยู่รัสเซีย สนุกสนานในเพลง Waltz and War ในงานพิธีแต่งงานของซ่งเหม่ยหลิงกับเจียงไคเชค สำหรับแทรคที่ 5 มีละครบ้านเราเรื่อง “บ้านภูตะวัน” เคยนำมาประกอบในเรื่องด้วย
ถึงแม้พี่น้องตระกูลซ่งจะอำลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่ภาวการณ์ต่อสู้ระหว่างพี่น้องหาได้สิ้นสุดลงไม่ เพียงแต่เปลี่ยนจากพี่น้องในตระกูลเดียวกันเป็นพี่น้องในชาติเดียวกัน คือจีนแผ่นดินใหญ่ (ผู้พี่) กับจีนไต้หวัน (ผู้-น้อง) ที่พยายามจะแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งแน่นอนถ้าเกิดขึ้นจริงย่อมต้องมีการเข่นฆ่ากันในระหว่างพี่น้องร่วมชาติดั่งสมัยเจียงไคเชคกับเหมาเจ๋อตง และนักศึกษาประชาชนในสมัยนั้นได้ออกมาเดินขบวนเรียกร้องยุติฆ่ากันเองโดยให้ร่วมมือกันสู้กับศัตรูภายนอกด้วยการชูคำขวัญว่า “คนจีนต้องไม่ฆ่าคนจีนด้วยกันเอง” หรือ 中国人不殺中国人

ภาพ ขงเสียงซี กับ ซ่งอ้ายหลิงหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์


ภาพ ดร.ซุนยัดเซ็น กับ ซ่งชิงหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์

ภาพ เจียงไคเช็ค กับ ซ่งเหม่ยหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์

ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄่


ซ่งชิ่งหลิง 宋庆龄

ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄

บ้านเดิมของตระกูลซ่ง ซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลจีนอนุรักษ์ไว้โดยระบุว่าเป็นบ้านของสหายซ่งชิ่งหลิง 宋庆龄同志故居

ครอบครัวตระกูลซ่ง แถวหน้า: ซ่งจื่ออัน 宋子安แถว 2 จากซ้าย: ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ซ่งจื่อเหวิน宋子文 ซ่งชิ่งหลิง宋庆龄แถว 3 จากซ้าย: คุณพ่อซ่งย่าวหยู 宋耀如คุณแม่หนีกุ้ยเจิน倪桂珍แถวหลังจากซ้าย: ซ่งจื่อเหลียง宋子良 ซ่งเหม่ยหลิง宋美龄

สามพี่น้องในฉงชิ่ง 重庆 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

สามพี่น้องท่ามกลางเด็ก ๆ
ซ่งเหม่ยหลิงในวาระสุดท้ายด้วยอำลาโลกเมื่อ 24 ตุลาคม 2003 ด้วยอายุรวม 106 ปี

หวงเฟยหง



หวงเฟยหง เป็นบุคคลที่มีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์จีนแน่นอนครับเป็นลูกของหวงฉีอิงผู้ได้รับขนานนามให้เป็น ๑ ใน ๑๐ พยัคฆ์แห่งกวางตุ้ง ร่วมกับยาจกซูเจ้าของหมัดเมาที่รู้จักกันดี ส่วนอีก ๘ คนที่เหลือไม่ทราบเหมือนกันครับ หาอ่านมาหลายปีแล้วไม่เจอเสียที.....วิชาหมัดมวยที่หวงเฟยหงร่ำเรียนมามีหลายแนวทางครับ แต่ที่เป็นหลักของตระกูลเป็นวิชามวยที่ดัดแปลงแก้ไขมาจาก "มวยตระกูลหง (หงซีกวาน)" โดยต้นสายแท้ๆของมวยสายนี้คือมวยของวัดเส้าหลินฝ่ายใต้ .....นอกเรื่อง...สำหรับ "มวยตระกูลหง" นั้นมีการสืบทอดออกเป็นสองสายสายแรกคือสายหงซีกวานผู้ดัดแปลงเพลงมวยชุดนี้ขึ้นมา ซึ่งภายหลังได้มีการพัฒนาครั้งใหญ่สำหรับมวยสายนี้โดยการนำเอาเคล็ดความของมวยหย่งชุน (มวยหมัดสั้น)มาประยุกต์รวมกัน หนึ่งในผู้ฝึกมวยสายนี้ที่รู้จักกันดีก็คือบรู๊ซลี นั่นแหละครับสายที่สองเป็นสายของลู่อาไค ศิษย์ร่วมอาจารย์เดียวกันกับหงซีกวาน และเป็นผู้ร่วมคิดค้นดัดแปลง "มวยตระกูลหง" ขึ้นมา...หนึ่งในบรรดาศิษย์ของลู่อาไคคือหวงไถ้ผู้เป็นพ่อของหวงฉีอิง และเป็นปู่ของหวงเฟยหงนั่นเอง ซึ่งในยุคของหวงเฟยหงนั้นได้มีการดัดแปลง และพัฒนามวยตระกูลหงครั้งใหญ่ จนกลายเป็นเอกเทศเฉพาะตัว .....หวงเฟยหงแต่งงานสี่ครั้ง มีลูกชายสี่คน โดยเกิดจากภรรยาคนที่สองสองคน คนที่สามอีกสองคน ส่วนภรรยาคนที่หนึ่งและคนที่สี่ไม่มีลูกด้วยกัน.....ถึงจะได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในวีรบุรุษ (ตามตำนาน) แต่หวงเฟยหงเองก็มีชีวิตที่น่าเศร้าคือภรรยาคนแรก (น้าสิบสาม? ^_^) ป่วยเสียชีวิตหลังจากแต่งงานกันได้ไม่กี่เดือนภรรยาคนที่สอง และสามก็อายุสั้นเช่นกัน (เอ..หรือจะไม่น่าเศร้าแฮะ หึหึ) ลูกชายคนโตหวงหวนซุน ที่เกิดจากภรรยาคนที่สองก็อายุสั้นตายในการต่อสู้ ซึ่งเรื่องนี้เป็นสาเหตุให้หวงเฟยหงตัดสินใจไม่ถ่ายทอดวิชาการต่อสู้ให้ลูกชายคนที่เหลือ.....ในหนังลูกศิษย์คนที่มีบทบาทมากที่สุดของหวงเฟยหงคือ เหลียงควน แต่ในความจริงลูกศิษย์ที่มีบทบาทสำคัญในการสืบทอดมวยของหวงเฟยหงออกไปมีอยู่สามคนคนแรกคือ หลินซื่อหยง หรืออาหยงขายหมู คนที่สองคือ เต็งฟาง หรือ ถังฟง อีกคนชื่อว่า ซว่ายเหลาย่าน....วิชาหมัดมวยของหวงเฟยได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายไม่ว่าจะเป็นในฮ่องกง ที่หลินซื่อหยงไปตั้งสำนักอยู่ หรือจะเป็นมาเลเซีย สิงคโปร์และฟิลิปปินส์.....หวงเฟยหงเสียชีวิตเมื่ออายุได้ ๗๗ ปี

7/05/2552

จักรพรรดิเฉียนหลง

สมเด็จพระจักรพรรดิเฉียนหลง (จักรพรรดิชิงเกาจง) (จีน: 乾隆; พินอิน: Qiánlóng เฉียนหลง) จักรพรรดิองค์ที่ 6 ของราชวงศ์ชิง ประสูติเมื่อ ปี พ.ศ. 2254 (ค.ศ. 1711) เดิมมีพระนามว่า หงลี่ (ภาษาจีน : 弘曆) เป็นพระโอรสในจักรพรรดิหย่งเจิ้น และเป็นพระราชนัดดาองค์โปรดของจักรพรรดิคังซี เพราะมีความเฉลียวฉลาดมาแต่ยังเด็ก จักรพรรดิเฉียนหลงขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2278 (ค.ศ. 1735) ขณะมีพระชนมายุได้ 25 พรรษา ทรงพระนามว่า ชิงเกาจงฮ่องเต้ และใช้ชื่อศักราชว่า เฉียนหลง
จักรพรรดิเฉียนหลงได้สร้างความเจริญมากมายให้กับประเทศจีน โดยเฉพาะการจัดทำสารานุกรม ซื่อคู่เฉวียนซู ขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2316 (ค.ศ. 1773) - พ.ศ. 2325 (ค.ศ. 1782) ถือเป็นมรดกโลกที่สำคัญชิ้นหนึ่ง
รัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงมีเรื่องราวที่เป็นสีสัน เล่าขาน เป็นตำนานต่าง ๆ มากมาย ทั้งเรื่องที่ลือกันว่าแท้ที่จริงแล้วมิได้ทรงเป็นพระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น หรือเรื่องราวที่ชอบแปลงตนเองเป็นสามัญชนท่องเที่ยวไปในสถานที่ต่าง ๆ จนได้ฉายาว่า "จักรพรรดิเจ้าสำราญ" และเรื่องราวความรักที่มีต่อมเหสีองค์ต่าง ๆ เช่น มเหสีองค์แรกที่ชื่อ ฟูฉา ได้จากไปแต่ยังสาว เพราะตรอมใจที่จักรพรรดิเฉียนหลงแอบมีความสัมพันธ์กับเมียของขุนนาง ซึ่งเป็นพี่ชายของพระนาง และก่อนหน้านั้นพระโอรสองค์แรกก็จากไปด้วยแต่ยังเล็กเนื่องจากประชวร หรือเรื่องของนางสนมเซียงเฟย ที่เล่ากันว่ามีกลิ่นตัวที่หอมราวกับดอกไม้แม้แต่ผีเสื้อหรือแมลงก็ยังมาตอมที่ตัวนาง แต่ท้ายที่สุดก็ถูกประหารชีวิต เพราะพระพันปีหลวงไม่ทรงโปรด รวมทั้งเรื่องขององค์หญิงหวนจู ซึ่งเล่าขานกันว่าองค์หญิงหวนจูนั้นคือธิดาอันเกิดจากจักรพรรดิ์เฉียนหลง กับ สาวชาวบ้านธรรมดา
จักรพรรดิเฉียนหลงมีคนสนิทที่ทรงใกล้ชิดอยู่คนหนึ่ง ชื่อ เหอเซิน ที่มักคอยเอาอกเอาใจอยู่ตลอด และมักชวนจักรพรรดิเฉียนหลงเสเพลอยู่เสมอ ๆ จักรพรรดิเฉียนหลงทรงโปรดเหอเซินมากถึงขนาดยกพระธิดาองค์หนึ่งให้เป็นคู่หมั้นของลูกชายเหอเซินตั้งแต่ยังเด็ก ทำให้เหอเซินเหิมเกริม กระทำการทุจริตต่าง ๆ นานา ยิ่งโดยเฉพาะในปลายรัชสมัยมีการจับจ่ายใช้เงินทองจำนวนมากเพื่อความสำราญของคนในพระราชวัง กล่าวว่า นี่เป็นส่วนหนึ่งของความอ่อนแอลงเรื่อย ๆ ของราชวงศ์ชิงด้วย หลังจากรัชสมัยของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว
จักรพรรดิเฉียนหลงทรงมีพระโอรสที่ปรีชาสามารถมากคือเจ้าชายหย่งฉี พระโอรสองค์ที่ 5 ซึ่งประสูติแต่ฮองเฮาองค์ที่ 2 เจ้าชายหย่งฉีเป็นผู้ที่ปรีชาสามารถทั้งบุ๋นและบู๊ เป็นความหวังว่าจะได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์ แต่กลับสิ้นพระชนม์เสียก่อนตั้งแต่ยังหนุ่ม
ในปี พ.ศ. 2338 (ค.ศ. 1795) ปีที่ 60 ที่ทรงครองราชย์จักรพรรดิเฉียนหลงได้สละราชสมบัติให้พระโอรสที่ชื่อ หย่งเยี๋ยน พระโอรสองค์ที่ 15 ขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเจี่ยชิ่ง ด้วยไม่ทรงปรารถนาจะครองราชย์ยาวนานเกินกว่าจักรพรรดิคังซีผู้ทรงเป็นพระอัยกา (ปู่) อย่างไรก็ตามแม้จะสละราชบัลลังค์แล้วแต่อำนาจที่แท้จริงยังคงอยู่กับพระองค์ โดยทรงขึ้นดำรงตำแหน่งเป็น พระบิดาหลวง หรือ จักพรรดิสูงสุด (ไท่ซั่งหวง, 太上皇帝)
ในปี พ.ศ. 2342 (ค.ศ. 1799) จักรพรรดิเฉียนหลงเสด็จสวรรคต จักรพรรดิเจี่ยชิ่งจึงได้ครองราชย์อย่างแท้จริง และพระองค์ก็เริ่มกำจัดเหอเซินทันที และบังคับให้เขาฆ่าตัวตาย หลังสิ้นสุดยุคของจักรพรรดิเฉียนหลงแล้ว จักรพรรดิองค์ต่อ ๆ มาของราชวงศ์ชิงต่างไม่มีองค์ไหนมีความสามารถโดดเด่น ทำให้ราชวงศ์ชิงอ่อนแอลงเรื่อยๆ และประเทศจีนเริ่มถูกต่างชาติเข้าแทรกแซงยึดครอง
ตลอดยุคสมัยที่ยาวนานกว่า 60 ปี ของจักรพรรดิเฉียนหลงเต็มไปด้วยเรื่องราวที่มีสีสันจนเลื่องลือมาถึงปัจจุบัน มีวรรณกรรมมากมายที่บอกเล่าถึงยุคสมัยของพระองค์ รวมทั้งภาพยนตร์ และละครโทรทัศน์ ที่จัดสร้างหลายครั้งหลายหนกล่าวถึงเนื้อหาต่างๆ เช่น เรื่องที่เล่าลือกันว่า พระองค์แท้ที่จริงมิใช่พระโอรสของจักรพรรดิหย่งเจิ้น แต่เป็นบุตรชายของอำมาตย์คนหนึ่ง เมื่อพระมเหสีของจักรพรรดิหย่งเจิ้นให้ประสูติกาลบุตรออกมาเป็นบุตรสาว จึงสลับลูกกันกับอำมาตย์ผู้นี้ เป็นต้น



รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง

รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

พระนามเดิม จักรพรรดิราชวงศ์ทรงอยู่ในราชสกุล อ้ายซินเจวี๋ยโหล (อักษรจีนตัวย่อ: 爱新觉罗; อักษรจีนตัวเต็ม: 愛新覺羅; พินอิน: àixīn juéluó) แต่ตามปฏิบัติของชาวแมนจู การเรียกชื่อไม่จำเป็นต้องรวมนามสกุล
พระนามเรียกขาน และ พระนามแต่งตั้ง ส่วนมาก จักรพรรดิบางพระองค์ของจีนอาจมีพระนามเรียกขานเหมือนกันก็ได้ ดังนั้นเพื่อป้องกันการสับสน จึงให้มีชื่อราชวงศ์นำหน้า ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิเฉียนหลง มีพระนามเรียกขานว่า ชิงเกาจง
พระนามเรียกขาน เป็นพระนามของจักรพรรดิจีนที่ถูกตั้งขึ้นมาหลังจากจักรพรรดิพระองค์นั้นๆ เสด็จสวรรคต
รัชศก คือ การเรียกชื่อยุคที่จักรพรรดิแต่ละพระองค์ครองราชย์

รายพระนามจักรพรรดิราชวงศ์ชิง

พระนามที่รู้จักโดยทั่วไป
นูรฮาชี 努爾哈赤พินอิน: Nǔ'ěrhāchì
เกาตี้ Gāodì高帝Dergi hūwangdi
ไท่จู่ Tàizǔ太祖
เทียนมิ่ง Tiānmìng天命Abkai fulingga
2159 - 2169(1616 - 1626) 1
นูรฮาชี
หวงไท่จี๋2皇太極พินอิน: Huángtàijí
เหวินตี้ Wéndì文帝Genggiyen su hūwangdi
ไท่จง Tàizōng太宗
เทียนชง Tiāncōng天聰Abkai sure1627-1636;ฉงเต๋อ Chóngdé崇德Wesihun erdemungge1636-1643
2169 - 2186(1626-1643)
หวงไท่จี๋
ฟู่หลิน Fúlín福臨
จางตี้ Zhāngdì章帝Eldembure hūwangdi
ซื่อจู่ Shìzǔ世祖
ซุ่นจื้อ Shùnzhì順治Ijishūn dasan
2186 - 2204(1643 - 1661) 3
จักรพรรดิซุ่นจื้อ
เสวียนเย่ Xuányè玄燁
เหรินตี้ Réndì仁帝Gosin hūwangdi
เซิ่งจู่ Shèngzǔ聖祖
คังซี Kāngxī康熙Elhe taifin
2204 - 2265(1661 - 1722)
จักรพรรดิคังซี
อิ้นเจิน Yìnzhēn胤禛
เซี่ยนตี้ Xiàndì憲帝Temgetulehe hūwangdi
ซื่อจง Shìzōng世宗
หย่งเจิ้น Yōngzhèng雍正Hūwaliyasun tob
2265 - 2278(1722 - 1735)
จักรพรรดิหย่งเจิ้น
หงลี่ Hónglì弘曆
ฉุนตี้ Chúndì純帝Yongkiyangga hūwangdi
เกาจง Gāozōng高宗
เฉียนหลง Qiánlóng乾隆Abkai wehiyehe
2278 - 2339(1735 - 1796)(สวรรคตปี 2342)4
จักรพรรดิเฉียนหลง
หยงเหยี่ยน Yóngyǎn顒琰
หรุ้ยตี้ Ruìdì睿帝Sunggiyen hūwangdi
เหรินจง Rénzōng仁宗
เจี่ยชิ่ง Jiāqìng嘉慶Saicungga fengšen
2339 - 2363(1796 - 1820)
จักรพรรดิเจี่ยชิ่ง
หมินหนิง Mínníng旻寧
เฉิงตี้ Chéngdì成帝Šanggan hūwangdi
เซวียนจง Xuānzōng宣宗
เต้ากวง Dàoguāng道光Doro eldengge
2363 - 2393(1820 - 1850)
จักรพรรดิเต้ากวง
อี้จู่ Yìzhǔ奕詝
เสี่ยนตี้ Xiǎndì顯帝Iletu hūwangdi
เหวินจง Wénzōng文宗
เสียนเฟิง Xiánfēng咸豐Gubci elgiyengge
2393 - 2404(1850 - 1861)
จักรพรรดิเสียนเฟิง
ไจ่ฉุน Zǎichún載淳
อี้ตี้ Yìdì毅帝Filingga hūwangdi
มู่จง Mùzōng穆宗
ถงจื้อ Tóngzhì同治Yooningga dasan
2404-24181861-1875 5
จักรพรรดิถงจื้อ
ไจ่เถียน Zǎitián載湉
จิ่งตี้ Jǐngdì景帝Ambalinggū hūwangdi
เต๋อจง Dézōng德宗
กวางซวี Guāngxù光緒Badarangga doro
2418-2451(1875 - 1908) 5
จักรพรรดิกวางซวี
ผู่อี๋ Pǔyí溥儀หรือเรียกกันว่า เฮนรี่
สวินตี้ Xùndì 6遜帝
ไม่ได้ตั้ง 7
ซวนถ่ง Xuāntǒng宣統Gehungge yoso
(2451 - 2467)(1908 - 1924) 8(สวรรคตปี พ.ศ. 2510)
จักรพรรดิซวนถ่ง
1 นูรฮาชี สถาปนาราชวงศ์จิน (金 แปลว่า ทอง) หรือ ราชวงศ์จินหลัง (後金) ขึ้นในปี พ.ศ. 2159 ต่อมา หวงไท่จี๋ พระโอรสของนูรฮาชี ได้เปลี่ยนชื่อราชวงศ์ เป็น ราชวงศ์ชิงในปี พ.ศ. 2179 ดังนั้น ราชวงส์ชิงจึงนับตั้งแต่รัชศกเทียนมิ่งของนูรฮาชีเป็นต้นมา
2 หวงไท่จี๋ มีอีกพระนามหนึ่งในหนังสือประวัติศาสตร์บางเล่มว่า อาปาไห่ ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง ความจริงแล้ว อาปาไห่ เป็นพระนามของพระชายาองค์ใหญ่ของนูร์ฮาชี พระนางสิ้นพระชนม์ด้วยการฆ่าตัวตายตามนูร์ฮาชี นัยว่าหวงไท่จี๋บังคับให้พระนางทำเช่นนั้น(阿巴海)
3 จักรพรรดิซุ่นจื้อ เป็นจักรพรรดิพระองค์แรกของราชวงศ์ชิงที่ได้ครอบครองทั้งจีนแผ่นดินใหญ่ หลังจากที่ได้บุกยึดกรุงปักกิ่ง ในปี พ.ศ. 2187
4 จักรพรรดิเฉียนหลง สละราชสมบัติในปี พ.ศ. 2339 และดำรงพระยศเป็น จักรพรรดิสูงสุด หรือ ไท่ซั่งหวง (太上皇帝) การสละราชสมบัติในครั้งนี้ ถือเป็นการแสดงความกตัญญู ว่าจะไม่ครองราชย์นานเกินกว่าจักรพรรดิคังซี ผู้เป็นปู่ อย่างไรก็ตาม พระองค์ทรงดำรงพระราชอำนาจสูงสุดจนกระทั่งสวรรคตใน พ.ศ. 2342 หลังจากจักรพรรดิเฉียนหลงสวรรคต จักรพรรดิจยาชิ่ง จึงได้ดำรงพระราชอำนาจเต็มที่หลังจากที่เป็นจักรพรรดิแค่ในนามตั้งแต่พระบิดาสละราชสมบัติและพระองค์ขึ้นครองราชย์
5 ซูสีไทเฮา ผู้เป็นเจ้าจอมในจักรพรรดิเสียนฟง พระมารดาในจักรพรรดิถงจื้อ และพระมารดาบุญธรรมในจักรพรรดิกวางซวี ได้เป็นผู้มีอิทธิพลสูงสุดเหนือตัวจักรพรรดิและราชสำนักตั้งแต่ปี พ.ศ. 2404 จนกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2451 พระนางเป็นผู้สำเร็จราชการแทนจักรพรรดิวัยเยาว์ทั้ง 2 พระองค์ และจับจักรพรรดิกวางซวีไปกักขังไว้ในพระที่นั่งกลางทะเลสาบ หลังที่พระองค์ทรงพยายามที่จะปฏิรูปราชสำนักใน พ.ศ. 2441 ราชสำนักได้ประกาศถึงการสวรรคตของจักรพรรดิกวางซวีก่อนพระนางซูสีไทเฮาสิ้นพระชนม์เพียงหนึ่งวัน
6 พระนามเรียกขานของจักรพรรดิปูยีว่า "สวินตี้" (จักรพรรดิผู้สละราชสมบัติ) เป็นพระนามที่ตั้งโดยหนังสือประวัติศาสตร์ของจีนแผ่นดินใหญ่และไต้หวัน
7 ในปี พ.ศ. 2547 ลูกหลานที่สืบเชื้อสายจากราชวงศ์ชิงในอดีตได้เสนอพระนามเรียกขานของจักรพรรดิปูยีว่า หมินตี้ (愍帝)และพระนามแต่งตั้งว่า กงจง (恭宗) พระนามนี้ต้องรอการยอมรับจากประชาชนชาวจีน
8 ราชวงศ์ชิงถูกยึดอำนาจในปี พ.ศ. 2454 จักรพรรดิปูยี จักรพรรดิองค์สุดท้ายสละราชสมบัติในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 อย่างไรก็ตาม ในวันเดียวกัน รัฐบาลสาธารณรัฐจีนในขณะนั้นได้ออก "ประกาศการปฏิบัติต่อจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ชิงอย่างเป็นธรรมหลังจากสละราชสมบัติ" (清帝退位優待條件) ซึ่งอนุญาตให้จักรพรรดิปูยีสามารถดำรงพระยศเดิมได้ และรัฐบาลสาธารณรัฐควรปฏิบัตต่อพระองค์ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการปฏิบัติต่อเชื้อพระวงศ์ต่างประเทศ ประกาศฉบับนี้ออกเผยแพร่ในวันที่ 5 พฤศจิกายน ค.ศ. 1924 แต่ต่อมา ประกาศฉบับนี้ได้ถูกแก้ไขหลังจากที่ นายพลเฝิงอวี้เสียง ได้ทำรัฐประหาร ประกาศฉบับปรับปรุงแก้ไขนี้มีใจความว่า จักรพรรดิปูยีได้สูญเสียพระยศไปแล้ว และกลายเป็นประชาชนสามัญคนหนึ่งของสาธารณรัฐจีน ปูยีถูกขับออกจากออกจากพระราชวังต้องห้ามในวันเดียวกัน ดังนั้น จักรพรรดิปูยีดำรงพระราชอำนาจตั้งแต่ครองราชย์จนถึง 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 (รวมถึงระยะเวลาสั้นๆ ตั้งแต่ 1 กรกฎาคม and 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2460) และดำรงเพียงพระยศแต่ไร้อำนาจตั้งแต่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2455 จนถึง 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2467 หลังจากนั้น ปูยีกลายเป็นผู้นำหุ่นเชิดภายใต้การควบคุมของญี่ปุ่นในประเทศ แมนจูกั๋ว ที่ญี่ปุ่นตั้งให้ในรัชศกต้าถง (大同) (พ.ศ. 2475 - 2477) และกลายเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดของแมนจูกั๋วในรัชศกคังเตอ (康德) (พ.ศ. 2477-2488)

7/03/2552

King of the Sea หรือ Zhang bao zi

โจรสลัด คือบุคคลที่ปล้นหรือโจรกรรมเรือพาณิชย์ในทะเล หรือบางครั้งตามชายฝั่งหรือท่าเรือต่างๆ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15-18 โจรสลัดในปัจจุบันจะแตกต่างกับโจรสลัดในอดีตที่มีลักษณะเฉพาะคือจะมีผ้าคาดหัว ใช้ดาบใบกว้างหรือปืนพกและเรือโจรสลัดขนาดใหญ่ ในปัจจุบันโจรสลัดนิยมใช้เรือเร็ว และใช้ปืนกลแทนที่ดาบ
ตำนานเเห่งโจรสลัดเกี่ยวกับโจรสลัดมีมานานตั้งแต่ครั้งสมัยอียิปต์โบราณ แต่กลุ่มโจรสลัด เริ่มมามีชื่อเสียงโด่งดังในช่วงศตวรรษที่ 8-11 ซึ่งเป็นเวลาที่เหล่าไวกิ้งจากเดนมาร์ก นอร์เวย์ และสวีเดน ครองน่านน้ำยุโรป ออกปล้นตั้งแต่ทะเลบอลติกไปจนถึงช่องแคบยิบรอลต้า สร้างความเสียหายให้เเก่เรือสินค้าเป็นจำนวนมากต่อมา ในช่วงศตวรรษที่ 16 กลุ่มโจรสลัดที่ขึ้นชื่อลือชามักจะรวมตัวกันอยู่ในย่านทะเลอีเจียน และเมดิเตอร์เรเนียน มีทั้งที่เป็นจอมโจรอิสระไม่ขึ้นกับใคร และโจรแบบ “รับสัมปทาน” คือทำความตกลงกับรัฐบาลของประเทศที่ตัวเองสังกัดอยู่ว่า จะแบ่งทรัพย์สินจากการปล้นให้ แลกกับการไม่ถูกรบกวนจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ โจรสลัดเหล่านี้มักไปรวมตัวกันที่ชายฝั่งบาร์บารี่ ทำให้มีชื่อเรียกรวมๆกันว่า เป็นกลุ่มโจรสลัดแห่งบาร์บารี่ ซึ่งขึ้นชื่อในเรื่องความโหดร้าย เจอะใครผ่านมาก็ปล้นดะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โจรสลัดชื่อดังแห่งยุคที่ได้รับการขนานนามว่า เป็นสุดยอดแห่งโจรสลัดอมตะตลอดกาลคือ สองศรีพี่น้อง อรุจ และคิเซอร์ ซึ่งได้รับการเรียกขานว่า พี่น้องบาร์บารอสซ่า ซึ่งในภาษาอิตาเลียนหมายถึงคนที่มีเคราสีแดง แก๊งนี้ก็เลยถูกเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า โจรสลัดเคราแดง เดิมอรุจและคิเซอร์ซึ่งถือกำเนิดในกรีซก็คงจะประกอบสัมมาอาชีพดีอยู่ กับพ่อผู้เป็นช่างปั้น และมีเรือค้าขายเป็นของตัวเอง แต่ก็เกิดจุดเปลี่ยนของชีวิต เมื่อเรือของพวกเขาถูกโจรสลัดคริสเตียนปล้น และจับอรุจไปเป็นนักโทษ พอได้รับการไถ่ตัวออกมา หนุ่มผู้พี่ก็เลยเกิดฝังใจ เกลียดพวกคริสเตียน ว่าแล้วในช่วงปี ค.ศ. 1500 พี่น้องบาร์บารอสซ่า ซึ่ง “ซ่า” สมชื่อ ก็เดินทางไปตูนิเซีย แล้วเริ่มแก้แค้นด้วยการดำรงตนเป็นโจรสลัดกับเขาบ้าง สองพี่น้องประสบความสำเร็จครั้งใหญ่ ด้วยการก่อการขนาดที่ทำเอาตะลึงกันไปทั้งน่านน้ำเมดิเตอร์เรเนียน นั่นคือจะปล้นเรือของใครก็ไม่ ปล้น แต่ลุยไปตีเรือของพระสันตะปาปาเอาเสียเลย ชื่อของจอมโจรหน้าใหม่ก็เลยกระเดื่องเกรียงไกร แถมใครๆก็ไม่ค่อยกล้ามาแหยม เพราะโจรกลุ่มนี้มีข้อตกลงกับสุลต่านแห่งตูนิเซียในการจ่าย “ค่าต๋ง” ให้สุลต่าน เป็นจำนวน 1 ใน 5 ของทรัพย์สินที่ปล้นมาได้ ไม่นานนัก คือราวๆ ค.ศ. 1510 อรุจก็ได้ชื่อว่าเป็นคนที่รวยที่สุดในเมดิเตอร์เรเนียน สองพี่น้องร่วมกันเป็นหัวหน้ากองเรือ 8 ลำ มีทรัพย์สมบัติและข้าทาสบริวารมากมาย และยังช่วยเหล่าทัพมุสลิมในการต่อสู้กับศัตรู ทำให้ ได้รับการยกย่องว่าเป็นหนึ่งในวีรบุรุษของอิสลามด้วย หลังหมดยุคอันเกรียงไกรของสองพี่น้องบาร์บารอสซ่า ซึ่งทยอยลาโลกกันไปจนหมดในช่วงกลาง ศตวรรษที่ 16 กลุ่มโจรสลัดย่านบาร์บารี่ก็ถดถอยกำลังลง และยังถูกกองเรือทหารของฝรั่งเศสรุกเข้ามาปราบปรามอย่างหนัก ทำให้ยุคทองของโจรสลัดแห่งเมดิเตอร์เรเนียนสิ้นสุดลง กลายไปเป็นช่วงเฟื่องฟูของจอมโจรแห่งแคริบเบียนแทนที่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงศตวรรษที่ 17 ซึ่งมีโจรแล่นเรือกันให้ว่อนไปหมดในน่านน้ำ และในช่วงเวลาไล่เลี่ยกันนั้น กลุ่มโจรสลัดที่ได้ชื่อว่าเป็นกองโจรแห่งน่านน้ำสเปนก็โด่งดังขึ้นมาด้วยเหมือนกัน โจรสลัดแห่งน่านน้ำสเปนที่เลื่องชื่อหลายคนเป็นโจรโดยได้รับอนุญาต โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โจรสลัดแห่งพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 แห่งอังกฤษ ที่ทรงชุบเลี้ยงกองโจรเอาไว้หลายแก๊ง ที่โด่งดังก็มีหลายคน เช่น เซอร์ จอห์น ฮอว์คินส์, กัปตันวิลเลียม คิดด์ และที่มีชื่อเสียงมากที่สุดเห็นจะเป็น เซอร์ เฮนรี่ มอร์แกน ซึ่งในปี ค.ศ. 1671 ได้พาพลพรรคออกอาละวาดปานามา ซึ่งในขณะนั้นได้ชื่อว่าเป็นเมืองที่ร่ำรวยที่สุดแห่งหนึ่งในพวกโลกใหม่ แล้วขนทรัพย์สินไปมากมาย กลายเป็นที่เล่าขาน หันมาทางด้านน่านน้ำฝั่งแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียบ้าง ในช่วงเวลาเดียวกับที่จอมโจรแห่งแคริบเบียน และน่านน้ำสเปน กำลังออกอาละวาดอย่างสนุกมือ ด้านตะวันออกก็มีโจรสลัดออกปล้นเป็นการทั่วไปเหมือนกัน โดยเปิดทำการในบริเวณกว้างขวาง ตั้งแต่ญี่ปุ่นถึงอินเดีย

กองเรือของเจิ้งอี้คือกองทัพโจรสลัดที่มีกองทัพเรือที่มีมากมายตั้ง 400 ลำ และมีพลพรรครักการปล้นร่วมหัวจมท้ายด้วยกันราวๆ 7 หมื่นคน สร้างเป็นอาณาจักรไพศาลในทะเลจีนใต้ เป็นจอมโจรสลัดอันน่าครั่นคร้าม แต่เจิ้งอี้เป็นตัวละครสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์โจรสลัดได้ไม่นาน ก็ลาโรงพร้อมๆกับลาโลกไปในปี ค.ศ. 1807 แต่เครือข่ายโจรสลัดอันยิ่งใหญ่ของเจิ้งอี้ไม่ได้สลายตัวลง กลับดูเหมือนจะมีสีสันมากขึ้นด้วยการดูแลของนางสิงห์ผู้เป็นภรรยาของเจิ้งอี้ นามชิงเชอะ ผู้ขยับขยายกองเรือให้กลายเป็นเครือข่ายขุมกำลังมหึมามากขึ้น จนได้รับการขนานนามว่า เป็นราชินีแห่งกองโจรสลัด นอกจากเจิ้งอี้กับภรรยาจะร่วมกันสร้างผลงานการปล้นอันเกริกไกร จนพ่อค้ากลัวหัวหดไปทั่วแล้ว ทั้งคู่ยังได้สร้างคนสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ขึ้นมาอีกคนหนึ่งคือ


จางเป๋าจ่าย เป็น บุตรชายของชาวประมง แถบชายฝั่งทะเล ซานฮุย ในมณฑลกวางตุ้ง เขาจึงถูกลักพาตัวไปโดย เจิ้งอี้ หัวหน้าโจรสลัดกองเรือธงแดง เมื่อตอนอายุ 15 ปี และกลายเป็นบุตรบุญธรรมของเจิ้งอี้ ต่อมาเมื่อในปี 1807 เจิ้งอี้ เสียชีวิตในพายุทะเล ภรรยาของเจิ้งอี้ ที่ชื่อ ชิงเชอะ หรือ เจิ้งอี้เส้า (ชื่อเดิม เชอะหยาง) และ เจิ้งอันผง หลานชาย กลายเป็นผู้นำกองทัพโจรสลัด จางเป๋าจ่าย กลายมาเป็นมือขวาของ เจิ้งอี้เส้า ในช่วงปี 1808 - 1810 จางเป๋าจ่ายช่วย เจิ้งอี้เส้า บริหารกองทัพโจรสลัดจนยิ่งใหญ่และเป็นที่เลื่องลือไปทั่วกวางตุ้ง และลงเอย จางเป๋าจ่าย แต่งงานกับ เจิ้งอี้เส้า แม่บุญธรรมของตัวเอง(ประวัติของเจิ้งอี้เส้านี้ เกิดเมื่อปี 1785 เดิมชื่อ เชอะหยาง เป็นโสเภณีในแถบกวางตุ้ง ต่อมาได้แต่งงานกับ เจิ้งอี้ ที่เป็นหัวหน้าโจรสลัด เมือปี 1801 เธอเป็นหัวหน้าโจรสลัด โดยมี จางเป๋าจ่าย เป็นมือขวา เธอเสียชีวิต ในปี 1844 ) แล้วช่วยกันทำมาหากิน ออกปล้นไปทั่วน่าน น้ำจีน ทำความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับทางการราชวงศ์ชิงขนาดหนัก

กองโจรสลัดของ เจิ้งอี้เส้า นี้มีทั้งหมด 3 กองเรือ

แต่ละกองจะมีผู้นำ ได้แก่

จางเป๋าจ่าย เป็นหัวหน้ากองเรือธงแดง

กั๊วะป๋อไท่ เป็นผู้นำกองเรือธงดำ และ

เหลียงเป่า เป็นผู้นำกองเรือธงขาว

ทั้งหมดอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของ เจิ้งอี้เส้า

ในช่วงปี 1808 - 1810 นี้ กองทัพโจรสลัด ถูกราชสำนักชิง ปราบปรามอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่สำเร็จ ต่อมาเกิดความขัดแย้งระหว่าง จางเป๋าจ่ายและ กั๊วะป๋อไท่ ขึ้น กั๊วป๋อไท่ โจมตีกองเรือของจางเป๋าจ่ายแล้วกลัวว่าจะถูกแก้แค้น จึงสวามิภักด์ต่อทางการ เหตุการณ์นี้ส่งผลให้กองทัพโจรสลัดของ เจิ้งอี้เส้า อ่อนแอลงและสวามิภักดิ์ต่อทางการในปี 1810 ราชสำนักชิงได้แต่งตั้งให้ จางเป๋าจ่าย กลายเป็นนายพลแห่งกองทัพเรือชิง และเสียชีวิตในปี 1822 การ และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพเรือจีน นับได้ว่าเป็นโจรสลัดผู้ยิ่งใหญ่ที่หาทางลงได้อย่างสวยงาม ไม่ ต้องตายในทะเลระหว่างที่หลบๆซ่อนๆเหมือนคนอื่น จางเป๋าจ่ายสร้างตำนานชีวิตโลดโผนในมหาสมุทร ทั้งในฐานะโจรสลัด และแม่ทัพ จนกลายเป็นบุคคลอมตะ เป็นที่รู้จักไป แต่แค่นั้นก็คงไม่ได้ทำให้จางเป๋าจ่ายกลายเป็นตำนานได้อย่างสมบูรณ์แบบ หากไม่มีเรื่องสมบัติโจรสลัดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย มีเสียงเล่าลือว่า ระหว่างเป็นโจรสลัดนั้น จางเป๋าจ่ายปล้นสะดมไปมากมาย ได้ทรัพย์สินมามหาศาล แม้จะแจกจ่ายแบ่งปันให้ลูกสมุนที่มีอยู่จำนวนมากแล้ว ก็ยังเหลืออีกบานตะเกียง และเมื่อเบื่อชีวิตโจร หันกลับมาเป็นข้าราชการสำนัก ก็ไม่ปรากฏชัดเจนว่า สมบัติโจรของจางเป๋าจ่ายหายไปไหน บางคนก็ว่าถูกซ่อนไว้ที่เกาะแห่งหนึ่ง หรืออาจจะถูกฝังไว้ในที่ลับตา ก็เลยมีความพยายามตามหาขุมสมบัติปริศนาของจางเป๋าจ่ายเรื่อยมา กลายเป็นเนื้อหาของหนังจีนมาแล้วหลายเรื่อง
เสียชีวิต เมื่ออายุเพียง 30 ปี


ราชวงศ์ชิงตอนจบ / ธารประวัติศาสตร์



ธงราชวงศ์ชิง
เคราะห์ซ้ำกรรมซัดกระหน่ำสู่ราชวงศ์ชิงช่วงปลายอย่างเหมือนไม่รู้จบสิ้น ในภายหลังเมื่อถึงค.ศ. 1856 ก็ได้เกิดสงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ขึ้น โดยกินระยะเวลา 4 ปี โดยมีมูลเหตุมาจากหลังช่วงเกิดเหตุกบฏไท่ผิงเทียนกั๋ว อังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ รัสเซียก็คิดจะตักตวงผลประโยชน์จากจีนมากขึ้น


พระพุทธรูปสีเคลือบ


ซูสีไทเฮา - นานาชาติรุมทึ้ง


โดยอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐฯ รัสเซียยื่นข้อเสนอในการเพิ่มการเปิดท่าเรือต่างๆ พร้อมตั้งสถานทูตในกรุงปักกิ่ง แต่ไม่ได้รับการตอบรับจากราชสำนัก ประจวบกับเจ้าหน้าที่จีนได้จับกุมลูกเรือในเรือแอร์โรว์ในข้อหาโจรลัดและลักลอบขนของเถื่อน ทางอังกฤษจึงใช้เป็นข้ออ้างในการประท้วงต่อผู้ว่าเมืองกว่างโจว เมื่อผู้ว่าเมืองกวางตุ้งยอมคืนคนให้ แต่ไม่ยอมขอขมา ทำให้กองทหารของอังกฤษเริ่มนำทหารเข้ายึดป้อมต่างๆ และในช่วงนั้นมีมิชชันนารีฝรั่งเศสคนหนึ่งถูกชาวจีนสังหาร รัฐบาลของ นโปเลียนที่ 3 ส่งกองกำลังมาเข้าร่วมกับกองทหารของอังกฤษ จากนั้นบุกยึดกว่างโจว แล้วจับกุมผู้บัญชาการทหารกว่างโจวเอาไว้ จากนั้นกองกำลังผสมอังกฤษฝรั่งเศสก็บุกขึ้นเหนือ ยึดป้อมปืนใหญ่ต้ากู บุกประชิดเทียนจิน เมื่อนั้นฮ่องเต้เสียนเฟิงจึงมีรับสั่งให้มหาบัณฑิตกุ้ยเหลียง (桂良)กับเจ้ากรมปกครองฮวาซาน่ามาลงนามในสนธิสัญญาเทียนจิน โดยมีเนื้อหาให้เปิดท่าเรือหนิวจวง เติงโจว ไต้หวัน ตั้นสุ่ย เฉาโจว จิงโจว ฮั่นโข่ว จิ่วเจียง เจียงหนิง เจิ้นเจียงเป็นท่าเรือพาณิชย์ , ให้เรือพาณิชย์ต่างชาติสามารถล่องเข้าไปค้าขายตามท่าของแม่น้ำแยงซีเกียง ให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปท่องเที่ยวทำการค้า ให้ชาวต่างชาติสามารถเข้าไปเผยแพร่ศาสนาได้อย่างอิสระ ให้กงสุลฝรั่งเศสเป็นผู้พิพากษาในคดีที่มีชาวฝรั่งเศสเป็นคู่ความ ชดใช้เงินให้อังกฤษ 4 ล้านตำลึง และฝรั่งเศส 2 ล้านตำลึง และยอมรับให้การค้าฝิ่นนั้นถูกกฎหมาย


นอกจากนั้นในระหว่างที่อังกฤษบุกยึดป้อมต้ากู รัสเซียที่นำโดยข้าหลวงใหญ่ประจำไซบีเรียตะวันออก นามเคาต์มูราเวียฟบุกยึดดินแดนในแถบฝั่งซ้ายและทางเหนือของแม่น้ำเฮยหลงเจียง จากนั้นใช้กำลังข่มขู่ให้ทำสนธิสัญญาไอกุน ทำให้รัสเซียมีสิทธิ์ในดินแดนแม่น้ำอัสซูรีไปทางตะวันออกจนถึงทะเลญี่ปุ่นด้วย


จากนั้นเมื่อถึงปีค.ศ. 1859 ได้เกิดความขัดแย้งเรื่องการแก้ไขสนธิสัญญา จนกระทั่งปีค.ศ.1860 รัชกาลฮ่องเต้เสียนเฟิงปีที่ 10 กองทัพพันธมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศสกว่า 10,000 คนได้ขึ้นฝั่งที่เป่ยถัง ยึดถังกู ป้อมปืนใหญ่ต้ากู ในขณะที่กำลังจะยึดครองเทียนจินได้อีกครั้ง ทางการชิงก็ได้ส่งมหาบัณฑิตกุ้ยเหลียงกับพวกเพื่อไปเจรจา ทว่าถูกฝ่ายรุกรานยื่นข้อเสนอที่สูงมาก ทำให้การเจรจาไม่ประสบความสำเร็จเมื่อกองทัพอังกฤษ-ฝรั่งเศสบุกมาถึงทงโจว ทหารชิงได้เข้ารับศึกที่สะพานปาหลี่ ทำการต่อสู้อย่างดุดเดือดเป็นเวลา 3-4 ชั่วโมง


สุดท้ายกองทัพต้าชิงก็พ่ายแพ้ จนกองทัพอังกฤษฝรั่งเศสบุกเข้าถึงปักกิ่ง เหล่าขุนนางจึงทูลขอให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จลี้ภัยออกไปยังเร่อเหอ กองทัพพันธมิตรได้มุ่งตรงไปยังพระราชอุทยานหยวนหมิงหยวน อันเป็นพระราชวังสำหรับแปรพระราชฐาน สร้างขึ้นด้วยศิลปะและการออกแบบผสมผสานระหว่างตะวันตกกับตะวันออก เก็บมรดกล้ำค่าทางวัฒนธรรมเอาไว้มากมาย ตั้งอยู่ทางตะวันตกนอกเมืองปักกิ่ง และกระทำการปล้นชิงเอาเงินทองทรัพย์สมบัติไปเป็นการใหญ่ จากนั้นจุดไฟเผาทำลายจนไหม้ลามกินเนื้อที่กว่า 10 ตารางไมล์เป็นเวลา 2 วันจนท้องฟ้าเหนือกรุงปักกิ่งมืดครึ้มไปด้วยควันเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน
ซูสีไทเฮา

พระราชอุทยานหยวนหมิงหยวนนั้น เดิมเป็นเพื้นที่อุทยานที่ฮ่องเต้คังซีเคยพระราชทานให้กับฮ่องเต้ยงเจิ้งในสมัยที่ยังเป็นองค์ชายสี่ และการที่ทรงพระราชทานพระนามหยวนหมิง มีความหมายถึง “จิตวิญญาณแห่งวิญญูชน” และ “การใช้คนอย่างมีสติปัญญา”ภายหลังเมื่อฮ่องเต้ยงเจิ้งครองราชย์ จึงได้ทำการบูรณะขยายให้กว้างขวางขึ้น จนสำเร็จลุล่วงในรัชกาลของฮ่องเต้เฉียนหลง และมีอายุคงอยู่มากว่า 150 ปีจนกระทั่งถูกเผาทำลายใต้เงื้อมมือของทัพพันธมิตรอังกฤษ-ฝรั่งเศส


ในขณะที่ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จลี้ภัย ได้มอบหมายให้กงชินหวัง อี้ซิน (恭亲王 弈訢) และฉุนชินหวัง อี้เซวียน(醇亲王 弈譞) เป็นตัวแทนพระองค์ นำคณะไปเจรจาสงบศึก จนกระทั่งได้ลงนามในสัญญาอันไม่ยุติธรรมอีกฉบับหนึ่ง ที่เรียกว่า “สนธิสัญญาปักกิ่ง”โดยระบุจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศสประเทศละ 8 ล้านตำลึง ยกเกาลูนให้อังกฤษ เปิดเทียนจินเป็นท่าเรือพาณิชย์ ให้มิชชันนารีเข้ามาซื้อที่ดินและสร้างโบสถ์ได้ อนุญาตให้ชาวต่างชาติจ้างคนจีนไปทำงานในต่างประเทศได้


หลังลงนามในสนธิสัญญากับอังกฤษและฝรั่งเศสแล้ว จึงได้ทูลเชิญให้ฮ่องเต้เสียนเฟิงเสด็จกลับเมืองหลวง ทว่าฮ่องเต้เสียนเฟิงก็ยังไม่ยอมเสด็จกลับ กระทั่งเดือนส.ค. ปีค.ศ. 1861 ฮ่องเต้เสียนเฟิงได้เสด็จสวรรคตอย่างกะทันหัน ด้วยพระชนมายุเพียง 31 ชันษา ในยามนั้นฮองเฮาฉืออัน (慈安)ไม่มีพระโอรส มีเพียงแต่ฮองเฮาตะวันตกฉือซี (慈禧)หรือที่คนไทยเรียกว่า “ซูสี” ที่มีโอรสพระนามว่าไจ่ฉุน (载淳) ที่ขณะนั้นอายุเพียง 5 ชันษา และได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้องค์ต่อมา โดยมีบรมราชโองการของฮ่องเต้เสียนเฟิง ที่ระบุให้มีการตั้งผู้ช่วยสำเร็จราชการทั้ง 8 คนขึ้น


ส่วนฮองเฮาทั้ง 2 หลังไจ่ฉุนขึ้นครองราชย์ เป็นฮ่องเต้ชิงมู่จง (清穆宗) หรือฮ่องเต้ถงจื้อ (同治)เมื่อเรียกตามปีรัชกาลที่เปลี่ยนแปลงในภายหลัง โดยในช่วงเวลาที่กำลังส่งเสด็จพระศพของฮ่องเต้เสียนเฟิงกลับสู่ปักกิ่ง ซูสี ซึ่งขณะนั้นได้ขึ้นเป็นไท่โฮ่ว (太后) หรือไทเฮา ตามศักดิ์อันเป็นพระมารดาแห่งฮ่องเต้ ก็ได้ร่วมมือกับกงชินหวัง ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจคืนจากผู้สำเร็จราชการทั้ง 8 โดยระบุว่าเป็นผู้ที่ร่างพระราชโองการปลอมในการแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการ


เจิงกั๋วฟาน

หลังจากนั้นเป็นต้นมา พระนางซูสีไทเฮา กับพระนางฉืออันก็ได้ร่วมปกครองบ้านเมือง โดยจะประทับฟังราชกิจอยู่เบื้องหลังฮ่องเต้ โดยมีผ้าม่านกั้นกลางเอาไว้ หรือที่หลายคนเรียกว่ากุมการปกครองหลังผ้าม่าน กระทั่งในภายหลัง เมื่อซูสีไทเฮาสามารถกุมอำนาจมากขึ้นเรื่อยๆ และสามารถควบคุมการปกครองได้อย่างเบ็ดเสร็จ จึงถูกเรียกว่าเป็นการกุมการปกครองหลังม่านเหล็ก

พระนางซูสีไทเฮา สตรีผู้ยึดครองอำนาจราชสำนักชิงอย่างเบ็ดเสร็จเป็นเวลา 47 ปีจนกระทั่งสิ้นพระชนม์ไปเองโดยไม่มีใครสามารถโค่นล้มลงได้ผู้นี้นั้น เดิมนางเป็นบุตรีของนายทหารแมนจูชั้นผู้น้อย เกิดในตระกูลเยี่ยเฮ่อนาลา หรือเยโฮนาลา (叶赫那拉) ในปีค.ศ. 1835 และถวายตัวเข้าวังในเดือนพ.ค. ปีค.ศ. 1852 ด้วยอายุเพียง 16 ปี หลังจากนั้นเมื่อได้ให้กำเนิดพระโอรสและได้รับการแต่งตั้งเป็นสนมในปีค.ศ. 1856 เมื่อฮ่องเต้เสียนเฟิงสวรรคต พระนางได้สั่งประหารผู้สำเร็จราชการทั้ง 8 จนกุมอำนาจในราชสำนักด้วยพระชนม์เพียง 26 ปี

ขบวนการเลียนแบบตะวันตก (洋务运动)

หลังจากลงนามในสนธิสัญญาปักกิ่ง ได้ทำให้ราชสำนักจีนเริ่มตระหนักว่า บรรดาคนเถื่อนที่จีนเคยมองนั้น กลับกลายเป็นประเทศที่มีแสนยานุภาพทางกองทัพก้าวหน้ากว่าจีนเป็นอันมาก จึงทำให้เกิดความคิดที่ว่า การที่จะสร้างให้ชาติจีนเข้มแข็งขึ้น จำเป็นจะต้องสร้างแสนยานุภาพตามอย่างตะวันตกเท่านั้น

อันที่จริงแนวความคิดดังกล่าว มีมาตั้งแต่สมัยวีรบุรุษปราบฝิ่นนามหลินเจ๋อสี่ว์ ที่ได้เคยชี้ว่าสิ่งที่ต้องเรียนรู้จากคนเถื่อนก็คือเรือที่เข้มแข็งกับปืนที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพียงแต่ไม่ได้ถูกนำมาใช้ จนกระทั่งได้ถูกนำเสนอขึ้นมาอีกครั้งจนเกิดเป็นขบวนการเลียนแบบตะวันตกขึ้นในช่วงปีค.ศ.1860-ค.ศ.1890 โดยมีกงชินหวัง อี้ซินเป็นแกนกลางในเมือง และในส่วนภูมิภาคได้แก่เจิงกั๋วฟาน(曾国藩) และบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเขาอาทิหลี่หงจาง (李鸿章) ศิษย์ของเจิงกั๋วฟาน และลูกน้องของเจิงกั๋วฟานอย่าง จั่วจงถัง (左宗棠) และบัณฑิตจางจือต้ง (张之洞)

ขบวนการเลียนอย่างตะวันตกมีแนวคิดสำคัญโดย มีการจัดตั้งสำนักงานราชการที่ใช้ติดต่อกับต่างประเทศโดยเฉพาะ เรียกว่า “จ๋งหลี่หยาเหมิน” (总理衙门) มีการปรับปรุงกองกำลังทหาร จัดซื้ออาวุธปืน จักตั้งหน่วยงานที่ฝึกใช้ปืน ตั้งกอทัพเรือเป่ยหยาง และกองทัพเรือฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) มีการตั้งโรงงานยุโธปกรณ์ที่เทียนจิน, เซี่ยงไฮ้ และนานกิง ในด้านการศึกษามีการตั้งโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศอย่าง ถงเหวินก่วน (同文馆)เพื่อเป็นโรงเรียนสอนภาษาและความรู้ต่างประเทศ ให้มาเป็นบุคลากรในการแปล ส่งนักเรียนไปศึกษาต่อต่างประเทศ และมีการเริ่มต้นทำอุตสาหกรรมเหมืองแร่ การต่อเรือพาณิชย์

ซุนยัตเซ็นในวัยหนุ่ม

ในช่วงต่อมาหลังจากที่ญี่ปุ่นได้เริ่มพัฒนาประเทศตนเองจนเข้มแข็งขึ้น จึงได้อาศัยข้ออ้างที่ชาวเกาะริวกิวเรือแตกแล้วพลัดไปขึ้นเกาะไต้หวันแต่ถูกคนป่าในไต้หวันขณะนั้นฆ่าตาย จนในปีค.ศ.1872 ญี่ปุ่นได้บุกยึดริวกิว จากนั้นก็บุกต่อไปยังไต้หวัน สุดท้ายเหมือนญี่ปุ่นประกาศว่าเกาะริวกิวเป็นของตนทั้งหมดโดยที่ทางการแมนจูไม่ทำอะไร จึงได้สงบลงชั่วคราว

ต่อมาเมื่อจีนตระหนักถึงความสำคัญของเรือรบ จึงได้มีความพยายามจัดตั้งกองทัพเรือทันสมัยขึ้น โดยจัดให้มีกองทัพเป่ยหยาง หรือกองกำลังเหนือ (北洋海军) กับกองทัพหนันหยาง หรือกองกำลังใต้ (南洋海军)กองทัพเรือกวางตุ้ง (广东海军) กองทัพเรือฮกเกี้ยน (福建海军) ซึ่งในขณะเริ่มจัดตั้งนั้นยังมีงบประมาณส่งถึงอยู่ดี แต่ในภายหลัง เนื่องจากพระนางซูสีไทเฮามักเบิกเงินมาใช้เพื่อบำรุงบำเรอส่วนพระองค์ โดยเบิกในนามของ “ทุนสร้างกองทัพเรือ” ทำให้เงินงบประมาณไปไม่ถึง ซูสีไทเฮาได้นำเงินไปสร้างพระราชวังฤดูร้อน ขึ้นแทนจากที่พระราชวังหยวนหมิงหยวนถูกเผาทำลายไป ยังไม่รวมถึงเงินที่นำไปใช้ในงานวันเกิดของพระนางที่มากถึง 2 ล้านตำลึง โดยงบประมาณที่ซูสีไทเฮานำไปใช้ส่วนตัวนั้นเท่ากับมีมากถึง 26 ล้านตำลึง

ผลของการกระทำดังกล่าวได้ประจักษ์ชัดในสงครามระหว่างจีนกับญี่ปุ่นที่ปะทะขึ้นอีกคราในกรณีข้อพิพาทเกี่ยวกับเกาหลี กองทัพเรือเป่ยหยางของจีน ปะทะกับกองทัพเรือของญี่ปุ่นที่มีจำนวนเรือเท่าๆกัน แต่เรือของจีนกลับถูกจมลงทั้งหมด อันเป็นการแสดงให้เห็นว่าความพยายามปฏิรูปกองทัพเรือทว่าถูกเบียดบังงบประมาณไปนั้น ได้ทำให้กองทัพเรือของจีนขาดความพร้อม และอ่อนแอมากเพียงใด

ในช่วงเวลา 100 วันของการปฏิรูป คังโหย่วเหวยและพรรคพวกได้เสนอแนวความคิดในการปฏิรูปกฎหมายต่างๆ ทำให้กวงซี่ว์ได้ยกเลิกกฎหมายเก่า และประกาศใช้กฎหมายใหม่กว่า 100 ฉบับ ทว่าการปฏิรูปกฎหมายใหม่เหล่านี้ก็ถูกขัดขวางจากกลุ่มอำนาจเก่าอย่างรุนแรง โดยกฎหมายที่ประกาศใหม่นั้น ในช่วงครึ่งเดือนแรกของเดือนม.ย.จะเป็นกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านเศรษฐกิจ การทหาร การศึกษา ในขณะที่ครึ่งเดือนหลังของเดือนม.ย.จะเป็นกฎหมายก็จะเป็นกฎหมายที่ขยายไปถึงเรื่องการปกครอง โดยหลักๆเน้นที่การปลดข้าราชการ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างการทำงานที่ซ้ำซ้อน อนุญาตให้ขุนนางใหญ่น้อยและประชาชนถวายฎีกา ทว่ากฎหมายใหม่เหล่านี้ นอกจากผู้ตรวจการมณฑลหูหนันที่นำไปปฏิบัติอย่างจริงจังแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่มักจะเอาหูไปนาเอาตาไปไร่ ส่วนหน่วยงานใหม่ๆที่มีการจัดตั้งขึ้นก็ถูกควบคุมด้วยอำนาจของฝ่ายอนุรักษ์ ทำให้กฎหมายใหม่เหล่านี้แทบไม่ได้มีผลในการปฏิบัติจริงนัก

แต่แล้วความพยายามในการปฏิรูปกฎหมายนี้ ได้สร้างความไม่พอพระทัยให้กับพระนางซูสีไทเฮาอย่างยิ่ง เนื่องจากทรงรู้สึกว่าอำนาจของตนกำลังถูกสั่นคลอน ทำให้เริ่มต้นต่อต้านกลุ่มปฏิรูปที่นำโดยฮ่องเต้กวงซี่ว์ การต่อต้านจากซูสีไทเฮา ได้ทำให้กลุ่มปฏิรูปที่ไม่มีกำลังทหารในมือบังเกิดความตื่นตระหนก จึงได้หันไปขอความร่วมมือจากหยวนซื่อข่าย(袁世凯) ที่ดูแลกำลังทหารบก เพื่อมาต่อกรกับอำนาจของไทเฮา ทว่าเมื่อถึงวันที่ 1 ส.ค. กวงซี่ว์มีรับสั่งลับให้หยวนซื่อข่ายนำกำลังกำจัดซูสีไทเฮา ทว่าหยวน ข่ายกลับเป็นพวกนกสองหัว ทรยศต่อกลุ่มปฏิรูป ช่วยเหลือซูสีไทเฮาในการทำรัฐประหาร และจับกุมตัวกวงซี่ว์ไปกักบริเวณไว้ที่อิ๋งไถ ยกเลิกกฎหมายที่ประกาศทั้งหมด ยกเว้นกฎหมายการตั้งมหาวิทยาลัยปักกิ่ง สั่งให้จับกุมตัวแทน 6 คนของกลุ่มปฏิรูป หรือที่ในประวัติศาสตร์ขนานนามว่า “6 วิญญูชนแห่งเหตุการณ์อู้ซีว์” ไปประหารประจานในตลาดกลางกรุงปักกิ่ง

ภายหลังความปราชัยครั้งนี้ จีนจึงต้องขอเจรจาสงบศึก โดยส่งหลี่หงจางเดินทางไปญี่ปุ่นเพื่อลงนามในสนธิสัญญาชิโมโนเซกิ ที่จีนต้องรับรองการปกครองตนเองของเกาหลี หรืออีกนัยหนึ่งก็คือยอมรับการปกครองของญี่ปุ่นเหนือเกาหลี อีกทั้งตกยกคาบสมุทรเหลียวตง ไต้หวัน หมู่เกาะเผิงหู (เพสคาดอเรส) ให้กับญี่ปุ่น อีกทั้งชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงิน 230 ล้านตำลึง เปิดเมืองท่าซาซื่อ ,ฉงชิ่ง,ซูโจว และหังโจวเป็นเมืองท่าพาณิชย์ อีกทั้งเมืองท่าของจีนยังจะต้องอนุญาตให้ญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการค้าขาย ประกอบอุตสาหกรรม หัตกรรมตามท่าเรือได้



สงครามฝิ่นครั้งที่ 2 ที่กวางเจา

ครอบครัวชาวจีนในสมัยปลายราชวงศ์ชิง
รัฐประหารอู้ซีว์ (戊戌政变)

หลังจากจบสงครามจีนญี่ปุ่น หรือที่เรียกตามชื่อปีว่าสงคราม “เจี๋ยอู่” จนจีนต้องลงนามในสัญญาชิโมโนเซกิแล้ว นับว่าเป็นช่วงเวลาที่ระบบทุนนิยมของต่างชาติเริ่มรุกล้ำเข้ามาในจีนจนสร้างความกังวลพระทัยกับฮ่องเต้กวงซี่ว์ เป็นอย่างยิ่ง

กระทั่งปีค.ศ. 1898 หรือในรัชกาลฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 24 หลังจากที่ได้รับฎีกาจากหยางเซินซิ่ว, สีว์จื้อจิ้งและคังโหย่วเหวย (康有为) ทำให้ทรงตัดสินพระทัยว่าจะต้องมีการปฏิรูปกฎหมาย ดังนั้นในวันที่ 28 เม.ย. ปีเดียวกันจึงมีรับสั่งให้คัง โหย่วเหวยเข้าเฝ้าเพื่อสอบถามแผนการและรายละเอียดที่เป็นรูปธรรม ซึ่งในภายหลังยังทรงให้สิทธิในการถวายฎีกาโดยตรงกับคัง โหย่วเหวยอีกด้วย

แจกันที่สร้างในราชวงศ์ชิง

ขบวนการอี้เหอถวน – ศึกพันธมิตรแปดชาติ

กลุ่มอี้เหอถวนถือกำเนิดมาจากสำนักมวยอี้เหอในอำเภอชิงผิง มณฑลซันตง ในสมัยนั้น กลุ่มชาวต่างชาติที่สามารถเข้าถึงแผ่นดินชั้นในของจีนได้จะมีแต่กลุ่มมิชชันนารี และผู้เผยแพร่ศาสนา ซึ่งนับวันจะยิ่งแผ่ขยายกว้างขวางมากขึ้นเรื่อยๆ บวกกับปัญหาความขัดแย้งทางความคิดและอุดมการณ์ ซึ่งบรรดผู้เข้ามาสอนศาสนาชาวต่างชาติได้สอนมิให้นับถือกราบไหว้บุพการีและกษัตริย์ ทำให้บรรดาสตรีที่เข้านับถือศาสนาก็จะถูกมองเป็นพวกนอกรีตไปด้วย ความไม่พอใจในชาวต่างชาติหลายๆประการ ได้ผลักดันให้สำนักมวยอี้เหอ ได้ลุกฮือขึ้นในการทำลายโบสถ์ และต่อต้านศาสนาชาวต่างชาติ ในปีค.ส. 1898 และแผ่นขยายตัวอออกไปอย่างรวดเร็ว

ทว่าหากขบวนการอี้เหอถวนเป็นเพียงกลุ่มกำลังที่ระบายความไม่พอใจของประชาชน ก็คงไม่จะสามารถก่อความเสียหายอะไรได้มากนัก ทว่าในภายหลังขบวนการอี้เหอถวนกลับกลายเข้ามาเป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเมือง จึงทำให้เรื่องราวบานปลายยิ่งขึ้น

ในเวลานั้น ประจวบกับเป็นช่วงเวลาแห่งความล้มเหลวของการปฏิรูปปีอู้ซีว์ ในเวลานั้นแท้จริงแล้วพระนางซูสีไทเฮาทรงไม่พอพระทัยถึงขั้นที่จะตั้งฮ่องเต้พระองค์ใหม่ ทว่าติดขัดที่บรรดาทูตานุทูตจากนานาประเทศกลับชื่นชอบในความเปิดกว้างของกวงซี่ว์ จึงได้รวมตัวกันคัดค้าน ทำให้ซูสีไทเฮาได้แต่กักตัวพระองค์เองไว้ ในเวลานั้นตวนอ๋อง ได้เข้ามาทูลเสนอว่าขณะนี้มีกลุ่มอี้เหอถวน ที่มีความสามารถฟันแทงไม่เข้า ไม่เกรงกลัวต่อปืนหรือปืนใหญ่ของต่างชาติ ทำให้มีขุนนางหลายคนที่สนับสนุนให้ใช้กลุ่มอี้เหอถวนเพื่อมาต่อกรกับต่างชาติ การเข่นฆ่าชาวต่างชาติและชาวจีนที่นับถือศาสนาได้กระจายไปทั่ว มีชาวต่างชาติที่ถูกฆ่า 241 คน และชาวจีนที่นับถือศาสนาต่างชาติอีกกว่า 23,000 คนในฤดูร้อนของปีเดียว

8 ทัพพันธมิตรรุกสู่ปักกิ่ง

ต่อมาทางการจีนได้ประกาศยอมรับกลุ่มอี้เหอถวน ให้เป็นองค์กรที่ถูกต้องตามกฎหมาย โดยกลุ่มอี้เหอถวนเองก็ประกาศว่าจะประคับประคองราชวงศ์ชิง และกำจัดต่างชาติ เมื่อถึงปีค.ศ. 1900 ซูสีไทเฮาได้ตัดสินใจประกาศสงครามกับต่างชาติ และรับสั่งให้ทหารร่วมกับกลุ่มอี้เหอถวนบุกโจมตีสถานทูตนานาชาติในปักกิ่ง ทำให้อังกฤษ สหรัฐฯ เยอรมนี ฝรั่งเศส รัสเซีย ญี่ปุ่น อิตาลี และออสเตรียได้รวมกำลังเป็นพันธมิตรแปดชาติ เข้าตอบโต้จีน กลุ่มขบวนการอี้เหอถวนที่เคยบอกว่าฟันแทงไม่เข้านั้น เมื่อทหารพันธมิตรมาถึง กลับยังไม่รู้ตัว ยังทำการเผาโบสถ์ เข่นฆ่านักเผยแพร่ศาสนาอยู่ สุดท้ายจึงถูกทหารพันธมิตรแปดชาติทำลายจนราบคาบ

ฝ่ายพระนางซูสีไทเฮาเมื่อทรงทราบว่าทหารต่างชาติบุกถึงปักกิ่ง จึงทรงนำตัวฮ่องเต้กวงซี่ว์ ราชนิกูล ขันที และขุนนางจำนวนหนึ่งปลอมตัวแล้วเดินทางหลบหนีไปยังซีอัน โดยมอบอำนาจเต็มให้กับหลี่หงจาง ในการเจรจากับกองทัพพันธมิตร เพื่อขอสงบศึกกับประเทศพันธมิตร รัฐบาลชิงจึงทรยศกลุ่มอี้เหอถวน ด้วยการประกาศว่ากลุ่มนี้เป็นสำนักโจร และให้ทหารชิงร่วมมือกับกองทัพพันธมิตรเข่นฆ่า โดยก่อนที่จะเจรจาลุล่วงก็มีการเนรเทศตวนอ๋อง และประหารแกนนำทั้งหลายของขบวนการอี้เหอถวน เพื่อเป็นแพะรับบาปให้ต่างชาติได้ดู

ในปีต่อมาหลังพันธมิตรแปดชาติได้ยึดครองปักกิ่ง ในที่สุดก็มีการลงนามในสนธิสัญญาซินโฉ่ว กับ 8 ประเทศพันธมิตรและอีก 3 ประเทศได้แก่เนเธอร์แลนด์ สเปน เบลเยียม โดยมีสาระสำคัญคือจีนจะต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามเป็นเงินทั้งสิ้น 450 ล้านตำลึง ซึ่งเป็นจำนวนที่เท่ากับประชากรจีนในขณะนั้น โดยให้แบ่งจ่ายพร้อมดอกเบี้ย ซึ่งรวมแล้วเกือบ 1,000 ล้านตำลึง และชำระให้หมดสิ้นภายในปีค.ศ. 1940 นอกจากนั้นยังให้รื้อป้อมปืนใหญ่ที่ต้ากู และตลอดเส้นทางระหว่างปักกิ่งถึงเทียนจิน พร้อมให้ทหารตะวันตกหลายประเทศเข้ามาตั้งที่ปักกิ่ง เทียนจิน และซันไห่กวน และเงื่อนไขปลีกย่อยอีกมากมายอาทิ จีนจะต้องหยุดการนำเข้าอาวุธสงคราม 2 ปี ส่งขุนนางใหญ่ไปเพื่อทำการขอขมาที่ญี่ปุ่นในกรณีทำให้ทูตญี่ปุ่นต้องเสียชีวิต และในอนาคตจีนจะต้องลงโทษบุคคลหรือองค์กรที่ต่อต้านต่างชาติเป็นต้น และภายหลังลงนามแล้ว ซูสีไทเฮา ฮ่องเต้กวงซี่ว์และคณะที่ลี้ภัยจึงได้เดินทางกลับมายังปักกิ่งในปีค.ศ. 1902

8 ทัพพันธมิตรเมื่อบุกเข้าสู่พระราชวัง
ไม่ว่ากบฏอี้เหอถวน หรือกลุ่มที่ถูกเรียกว่ากบฏนักมวยนี้จะมีบทลงเอยที่เป็นโศกนาฏกรรมเพียงใด แต่ฌอง เชนโนซ์ (jean Chesneaux) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสก็ได้มองว่า “ในโลกสมัยศตวรรษที่ 20 นั้น ขบวนการอี้เหอถวนถือเป็นกลุ่มที่เคลื่อนไหวต่อต้านลัทธิล่าอาณานิคมเป็นขบวนการแรก พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งของลัทธิชาตินิยมของจีน และเมื่อเผชิญหน้ากับการต่อสู้อันทรหดและเหี้ยมหาญของพวกเขา มหาอำนาจตะวันตกทั้งหลายก็ต้องยอมละทิ้งความตั้งใจเดิมที่จะแบ่งแผ่นดินจีนออกเป็นเสี่ยงๆ”

ปฏิวัติสาธารณรัฐ

ตั้งแต่สงครามฝิ่น เรื่อยมาจนถึงหลังแปดชาติพันธมิตรเข้ารุกรานจีน ได้ทำให้สถานภาพของประเทศจีนในขณะนั้นมีสภาพกึ่งเมืองขึ้น รัฐบาลจีนก้าวเข้าสู่สภาพฟอนเฟะและไร้สมรรถภาพ จนทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนต่างทุกข์ร้อนไปทั่วทุกหัวระแหง ในช่วงเวลาเดียวกันนี้ ซุนจงซัน (孙中山) หรือซุนยัตเซ็น (孙逸仙) ก็ได้ลุกขึ้นมาแล้วเลือกเส้นทางที่จะผลักดันการปฏิวัติ เพื่อล้มล้างอำนาจของราชวงศ์ชิง

ซุนจงซัน ถือกำเนิดในมณฑลกวางตุ้ง และได้เดินทางติดตามมารดาไปยังฮาวาย ทำให้ได้เห็นความยอดเยี่ยมของเรือกลไฟ และความยิ่งใหญ่ของมหาสมุทร การเดินทางครั้งนั้นทำให้ซุนได้รับการศึกษาสมัยใหม่ไม่ว่าจะเป็นภาษาอังกฤษ ประวัติศาสตร์อังกฤษ คณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ภายหลังได้เดินทางไปยังฮ่องกง และได้เข้าศึกษาจนจบวิชาการแพทย์ จากนั้นก็ได้เปิดรักษาคนในมาเก๊า และกวางตุ้ง

ในระยะแรกซุนเองก็ไม่ได้กล่าวถึงการปฏิวัติ กระทั่งในปีค.ศ. 1894 ได้ทดลองส่งหนังสือให้กับหลี่หงจาง ซึ่งในนั้นได้มีการเสนอรูปแบบการปฏิรูปในหลายประการ ทว่าหนังสือดังกล่าวถูกหลี่หงจางปฏิเสธ ด้วยความผิดหวัง ทำให้ซุนได้ไปจัดตั้งสมาคมซิงจงที่ฮ่องกง ผลักดัน “การขับไล่อนารยชน ฟื้นฟูประเทศจีน สร้างรัฐบาลแห่งมหาชนขึ้น”

ในปีค.ศ. 1905 ซึ่งตรงกับรัชกาลของฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 30 มีการจัดประชุมขึ้นที่โตเกียว และในที่ประชุมนั้นซุนได้เสนอให้มีการจัดตั้งสมาพันธ์เพื่อการปฏิวัติขึ้น โพยหลังจากการปรึกษาหารือ ในที่สุดสมาพันธ์ถงเหมิงก็ได้ถือกำเนิดขึ้น

ซุนยัตเซ็น

STRONG>นอกจากนั้นซุนยังได้เสนอหลัก 3 ประการแห่งประชาชน หรือที่เราเรียกกันว่า ลัทธิไตรราษฎร์ (三民主义)ซึ่ง มีหลักการสำคัญได้แก่ ประชาชาติ หรือ การล้มล้างอำนาจการปกครองของราชวงศ์แมนจู ให้ทุกชนชาติในจีนมีสิทธิอันเท่าเทียมกัน หลักประชาสิทธิ คือให้ประชาชนมีสิทธิ มีอำนาจตรงในการปกครองตนเอง และหลักประชาชีพ คือให้มีความเสมอภาคในกรรมสิทธิ์ที่ดินและทางสังคม

การถือกำเนิดสมาพันธ์ถงเหมิง ที่ได้จับอาวุธลุกขึ้นต่อสู้กับราชสำนัก ถือเป็นการสั่นคลอนฐานะผู้ปกครองอย่างราชสำนักชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งเดือนเม.ย.ปีค.ศ. 1911ที่มีการลุกฮือขึ้นที่เนินดอกไม้เหลือง (黄花岗)ในกวางเจา มีบุคคลสำคัญและสมาชิกพันธ์ล้มตายเป็นจำนวนมาก มีการเก็บรวบรวมศพ 72 ศพไปฝังรวมไว้ โดยในประวัติศาสตร์ได้เรียกขานเป็น 72 วีรบุรุษ ณ เนินดอกไม้เหลือง อย่างไรก็ตามแม้ว่าการลุกฮือครั้งนี้จะประสบความล้มเหลว แต่เลือดเนื้อและชีวิตของวีรชนเหล่านี้ก็ได้ปลุกกระแสให้มีการล้มล้างราชวงศ์ชิงที่เข้มแข็งยิ่งขึ้น

<ฮ่องเต้องค์สุดท้าย - อวสานราชวงศ์ชิง

ระหว่างนั้น ในปีค.ศ.1908 ตรงกับรัชกาลฮ่องเต้กวงซี่ว์ปีที่ 34 ฮ่องเต้กวงซี่ว์ได้เปิดประชาวรอย่างหนัก จนในเดือนต.ค.ราชสำนักชิงต้องมีราชโองการแต่งตั้งให้ไจ้เฟิง เป็นผู้สำเร็จราชการ กระทั่งถึงวันที่ 21 เดือนต.ค. ในที่สุดฮ่องเต้กวงซี่ว์ก็เสด็จสวรรคต

พระนางซูสีไทเฮาได้มีราชโองการแต่งตั้งบุตรของไจ้เฟิงนามอ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ผู่อี๋ (溥仪) หรือปูยีที่มีพระชนม์พรรษาเพียง 3 ปีขึ้นครองราชย์ มีชื่อรัชการว่าเซวียนถ่ง (宣统) แต่เนื่องจากที่พระองค์เป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายในยุคราชวงศ์ของจีน ดังนั้นจึงมักถูกขนานนามว่าฮ่องเต้องค์สุดท้าย หรือจักรพรรดิองค์สุดท้าย ในขณะที่ซูสีไทเฮาเอง ก็ได้สวรรคตในเวลาเพียงไม่กี่วันหลังมีราชโองการแต่งตั้งผู่อี๋

ฮ่องเต้พระองค์สุดท้ายของจีน

ในช่วงเวลาที่ผู่อี๋ได้ครองราชย์ไม่ถึง 3 ปี หลังยุทธการเนินดอกไม้เหลืองแล้ว กลุ่มผู้นำสมาพันธ์ถงเหมิงได้ตัดสินใจย้ายศูนย์กลางการปฏิวัติไปยังเขตลุ่มน้ำแยงซีเกียง ในวันที่ 10 ต.ค. ได้เกิดสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงขึ้นที่อู่ชัง ทำให้กองทัพปฏิวัติที่นั่นจำเป็นต้องลุกขึ้นก่อการก่อนเวลาที่กำหนด บุกเข้ายึดเมืองอู่ชัง จากนั้นในวันถัดมากลุ่มปฏิวัติในฮั่นหยาง และฮั่นโข่วที่ได้ข่าวก็ได้ลุกขึ้นยึดเมืองทั้งสอง จนกระทั่งกลุ่มปฏิวัติสามารถควบคุมเมืองทั้งสามในอู่ฮั่นได้จนหมดสิ้น

การลุกฮือที่ประสบความสำเร็จในอู่ชัง ได้ปลุกกระแสการล้มล้างราชวงศ์ชิงให้ยิ่งขว้างขวางออกไป และส่งผลกระทบต่อสถานการณ์ของราชสำนักต้าชิงเป็นอย่างยิ่ง จนกระทั่งในลำดับต่อมา ได้มีการจัดทั้งรัฐบาลทหารหูเป่ย และปรกาศเอกราชขึ้น หลังจากนั้นหูหนัน ส่านซี ซันซี หยุนหนัน เจียงซี กุ้ยโจว เจียงซู กว่างซี อันฮุย ฝูเจี้ยน กว่างตง ซื่อชวนก็ได้ทยอยกันประกาศเองราช ล้มล้างราชวงศ์ชิง ซึ่งประวัติศาสตร์ได้เรียกการปฏิวัตินี้ว่าการปฏิวัติซินไฮ่ (辛亥革命) ตามปีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้น

เมื่อถึงเดือนม.ค. ปีค.ศ. 1912 สมาคมถงเหมิงได้ประชุมหารือกันที่นานกิง และจัดตั้งรัฐบาลชั่วคราวขึ้น และตั้งชื่อประเทศเป็น สาธารณรัฐจีน (中华民国) จากนั้นในเดือนถัดมาก็ได้บีบให้ฮ่องเต้ของราชวงศ์ชิงลงจากตำแหน่ง นับว่าเป็นการเปิดศักราชหน้าใหม่ของแผ่นดินมังกร และถือเป็นจุดจบของราชวงศ์ชิงที่มีอายุกว่า 200 ปี และเป็นการปิดฉากการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชกว่า 2,000 ปีของจีนลง

ส่วนผู่อี๋ หรือปูยี หลังจากที่สละราชสมบัติแล้ว ในปีค.ศ. 1917 ภายใต้ความพยายามของจางซวิน (张勋) ที่ผลักดันทำการปฏิวัติและประกาศฟื้นคืนราชวงศ์ชิงขึ้นมาใหม่ โดยยกให้ผู่อี๋กลับมาเป็นฮ่องเต้อีกครั้ง ทว่าเหตุการณ์ดังกล่าว ได้ถูกการรวมตัวต่อต้านจากทุกฝ่าย ท่ามกลางสถานการณ์และแรงกดดัน ทำให้อีก 12 วันให้หลังก็จำต้องประกาศยอมแพ้ และทำให้ผู่อี๋ต้องหลุดจากราชบัลลังก์อีกครั้ง

เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1924 กองทัพของเฝิงอี้ว์เสียง (冯玉祥) ได้ปิดล้อมพระราชวังต้องห้าม พร้อมหันปากกระบอกปืนใหญ่เข้ามาในวัง แล้วบังคับให้ผู่อี๋ลงนามยกเลิกการเรียกเป็นฮ่องเต้ และกำหนดเวลาให้ออกไปภายในเวลา 2 วัน จากนั้นจึงได้อาศัยความสัมพันธ์ที่มีกับชาวญี่ปุ่น ช่วยให้ปลอมตัวเป็นพ่อค้า แล้วหลบไปพักอยู่ที่จางหยวน กับจิ้งหยวน

ปีค.ศ. 1931 หลังจากที่ญี่ปุ่นได้บุกยึดพื้นที่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ได้ตั้งประเทศแมนจูกั๋ว (满洲国) ขึ้น จากนั้นก็ได้ลอบนำตัวผู่อี๋ไปยังแมนจู โดยผู่อี๋ยอมให้ความร่วมมือ และรับการแต่งตั้งให้เป็นฮ่องเต้ อย่างเป็นทางการในปีค.ศ. 1934

กระทั่งญี่ปุ่นพ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศแมนจูกั๋วก็ถูกล้มล้างไป และในปีค.ศ. 1945 ขณะที่ทาหารญี่ปุ่นได้นำตัวผู่อี๋มายังสนามบินเสิ่นหยางเพื่อเดินทางกลับญี่ปุ่น ก็ถูกทหารของรัสเซียจับตัวไป แต่ก็ได้รับการดูแลจากทางรัสเซียเป็นอย่างดี จนถึงกับเคยเขียนหนังสือแสดงความจำนงต้องการอยู่ในรัสเซียตลอดชีวิตอยู่หลายครั้ง

ปีค.ศ. 1950 ผู่อี๋และนักโทษจากสงครามแมนจูกั๋วถูกส่งตัวกลับมาให้กลับรัฐบาลจีน และถูกกุมขังอยู่ร่วมกับนักโทษอื่นๆในสถานควบคุมที่ฮาร์บิน ใช้ชีวิตในฐานะนักโทษรหัสหมายเลข 981 เป็นเวลาเกือบ 10 ปี กระทั่งได้รับการนิรโทษกรรมในวันที่ 4 ธ.ค. 1959 กลายเป็นหนึ่งในประชาชนธรรมดาคนหนึ่งของจีน จนกระทั่งเสียชีวิตที่ปักกิ่งในปีค.ศ. 1967 ในขณะที่มีอายุรวม 61 ปี จึงถือเป็นอันจบสิ้นของฮ่องเต้องค์สุดท้ายแห่งแผ่นดินมังกร


แผนที่ราชวงศ์ชิง