5/08/2552

หลี่มี่ (Li mi)



หลี่มี่ (ค.ศ. 582 – 619) ผู้นำช่วงหลังของกองทัพกบฏหว่ากางปลายสมัยราชวงศ์สุย ชื่อรองฝาจู่ เป็นคนฉางอาน บิดาหลี่ควน เป็นขุนนางชั้นสูงในราชสำนักสุย มีบรรดาศักดิ์เป็นผูซานจวิ้นกง (Duck of Pushanjun)


ศักราชคายหวงแห่งพระเจ้าสุยเหวินตี้ (ค.ศ. 581 – 600) หลี่มี่สืบทอดบรรดาศักดิ์ต่อจากบิดา


ต้นศักราชต้าเยี่ยแห่งพระเจ้าสุยหยางตี้ (ค.ศ. 605 – 618) ได้เป็นผู้บังคับบัญชาองครักษ์ฝ่ายซ้าย หลี่มี่ไม่ชอบใจกับตำแหน่งองครักษ์ จึงอ้างว่าป่วยเพื่อขอเลี่ยงตำแหน่ง ขังตัวเองอ่านหนังสือ


ปี่ที่ 9 ศักราชต้าเยี่ย (ค.ศ. 613) หยางเสวียนก่านยกทัพก่อการกบฏขึ้นที่หลีหยาง แต่งตั้งหลี่มี่ให้เป็นเสนาธิการหลัก


หยางเสวียนก่านพ่าย หลี่มี่หลบหนีไป


ปีที่ 12 ศักราชต้าเยี่ย (ค.ศ. 616) หลี่มี่เข้าร่วมกองทัพหว่ากาง จ๋ายรย่างส่งเขาเดินทางไปเจรจาเกลี้ยกล่อมบรรดากลุ่มชาวนาติดอาวุธเล็ก ๆที่ต่อต้านราชสำนักสุยแถบมณฑลเหอหนานให้มาเข้าร่วมกองทัพหว่ากาง และมีผลงานที่ดีเลิศ


ปีที่ 12 เดือน 10 หลี่มี่แนะนำให้จ๋ายรย่างรับศึกกองทัพที่จางซวีถัว ผู้รักษาการอำเภอสิงหยางของราชสำนักสุยยกมา และเอาชนะกองทัพสุยได้อย่างงดงาม การศึกครั้งนี้ หลี่มีได้สร้างความดีความชอบอย่างใหญ่หลวง จ่ายรย่างจึงให้เขาปกครองกองทัพส่วนหนึ่ง


กองทัพของหลี่มี่ระเบียบวินัยเข้มงวด บูนบำเหน็จงาม บรรดาทหารต่างยินยอมพร้อมใจให้เขาเรียกใช้ ชื่อเสียงของกองทัพหว่ากางค่อย ๆกระเดื่องดัง


หลี่มี่ถนัดในการวางแผน ตอนที่มาขอเข้าร่วมในกองทัพหว่ากาง เขามีเพียงลำพังตัว ผ่านการเคลื่อนไหวมาครึ่งปี เขาไม่เพียงได้รับความไว้วางใจอย่างสูงจากจ๋ายรย่าง ทั้งยังค่อย ๆกลายเป็นหนึ่งในบุคคลสำคัญของกองทัพหว่ากาง


ต้นปีที่ 13 ศักราชต้าเยี่ย (ค.ศ. 617) หลี่มี่ได้รับอนุญาติให้สร้าง “ค่ายผูซานกง”


หลังจากสร้างค่ายผูซานกงแล้ว หลี่มี่ได้เร่งดำเนินการยิ่งขึ้น กองทัพหว่ากางที่เป็นคนเก่าเริ่มแตกแยกออก


ปีที่ 13 เดือน 2 จ๋ายรย่างยกให้หลี่มี่เป็นเว่ยกง (Duck of Wei) ตั้งชื่อปีศักราชว่า หย่งผิง หลี่มี่แต่งตั้งจ๋ายรย่างเป็นซือถู (ตำแหน่งสูงสุดของขุนนางแต่งตั้ง สวีซื่อจี้ ตานสยงซิ่นเป็นจอมทัพอู่โหว (Marquess of fight) ซ้ายขวา


เวลานั้น กองทัพหว่ากางได้เอาชนะทัพสุยมาได้หลายต่อหลายครั้ง ผู้นำทัพกบฏชาวนาในแถบเหอเป่ย ลุ่มน้ำแยงซีเกียงและลุ่มน้ำหวยเหอต่างส่งทูตมายกให้หลี่มี่เป็นผู้นำสหพันธ์ทัพกบฏชาวนา แต่ในขณะเดียวกัน ความขัดแย้งของฝ่ายหลี่มี่และฝ่ายจ๋ายรย่างภายในกองทัพหว่ากางก็ได้รุนแรงขึ้นทุกวัน


ปีที่ 13 เดือน 11 หลี่มี่จัดงานเลี้ยงสุรา แล้วเชิญจ๋ายรย่างและกลุ่มคนฝ่ายจ๋ายรย่างมาร่วมในงานเลี้ยง แล้วสังหารจ๋ายรย่างและผู้คนฝ่ายจ๋ายรย่างร้อยกว่าคนคางานเลี้ยง


ปีที่ 14 ศักราชต้าเยี่ย (ค.ศ. 618) เจียงตูเกิดการเปลี่ยนแปลง อวี่เหวินฮั่วจี๋ได้สังหารสุยหยางตี้ จากนั้นกุมอำนาจเสียเอง แล้วยกทัพกว่าแสนตรงมาจู่โจมลั่วหยาง


เนื่องจากหลี่มี่กลัวว่าจะโดนศึกกระหนาบ (ทั้งจากลั่วหยางและจากอวี่เหวินฮั่วจี๋) จึงยอมรับบรรดาศักดิ์และตำแหน่งขุนนางจากราชสำนักสุยที่ลั่วหยาง แล้วยกทัพไปตีกองทัพของอวี่เหวินฮั่วจี๋


กองทัพหลี่มี่ชนะแต่ก็สูญเสียมิใช่น้อย อวี่เหวินฮั่วจี๋ยกทัพหนีไปทางเหนือ


แต่ในเวลานั้น ในเมืองลั่วหยางเองก็เกิดการเปลี่ยนแปลง หวางซื่อชงใช้อำนาจทหารในมือก่อการกบฏ สังหารเหยวียนเหวินตูที่เป็นคนเรียกตัวหลี่มี่เข้าราชสำนักสุย จากนั้นกุมอำนาจทั้งหมด แล้วยกทัพไปตีทัพหลี่มี่


เนื่องจากกองทัพหลี่มี่เพิ่งสูญเสียอย่างหนักจากการรบกับอวี่เหวินฮั่วจี๋ จึงพ่ายแพ้ยับเยิน ค่ายทหารล่มสลาย หลี่มี่ไร้หนทางไป จึงรวบรวมสมัครพรรคพวกที่เหลืออยู่เพียงสองหมื่นเข้าขอสวามิภักดิ์กับราชสำนักถัง (เพิ่งตั้งขึ้นหมาด ๆ)


ปีที่ 14 เดือน 11 ถังกาวจู่ หลี่เยวียนส่งหลี่มี่ไปเกลี้ยกล่อมลูกน้องเก่าแถบมณฑลซานตงให้เข้าร่วมกับราชสำนักถัง


ปีที่ 14 เดือน 12 หลี่มี่ได้รับพระราชโองการให้เดินทางกลับราชสำนักถังเพียงลำพัง เขาจึงรู้ตัวว่าได้ถูกระแวงเข้าแล้ว ดังนั้นจึงก่อการกบฏต่อต้านราชสำนักถัง


วันที่ 30 เดือน 12 ปีที่ 14 ศักราชต้าเยี่ย (วันที่ เดือนมกราคม ค.ศ. 619) หลี่มี่และลูกน้องไม่กี่สิบคนลอบจู่โจมอำเภอถาวหลิน (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนาน) ถูกแม่ทัพถัง เซิ่งเยี่ยนซือยกทัพมารับหน้า หลี่มี่ถูกสังหาร


ไม่มีความคิดเห็น: