ภาพ “ชิงหมิงซ่างเหอถู” สะท้อนภาพวิถีชีวิตชาวเมืองไคเฟิงริมฝั่งแม่น้ำในเทศกาลเชงเม็ง ถือเป็นผลงานที่ทรงคุณค่าแห่งยุค
การถือกำเนิดขึ้นของราชวงศ์ซ่งเหนือ(北宋)ได้ยุติสภาพแตกแยกของบ้านเมืองภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์ถัง แม้ว่าแผ่นดินจีนในยุคนี้ จะตกอยู่ในภาวะตั้งรับภัยคุกคามจากกลุ่มชนเผ่าทางภาคเหนือ อาทิ แคว้นเหลียว จิน และซีเซี่ย ที่มีกำลังเข้มแข็งขึ้นมาในช่วงเวลาเดียวกัน แต่บ้านเมืองโดยรวมยังมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้น ทั้งในด้านเศรษฐกิจการค้าและศิลปวิทยาการ โดยครึ่งหนึ่งของสี่สุดยอดสิ่งประดิษฐ์จีนได้รับการพัฒนาจนเป็นที่แพร่หลายในยุคนี้ อีกทั้งยังเป็นยุคทองของภาพวาดและวรรณคดีจีนอีกด้วย
อนึ่ง นักประวัติศาสตร์จีนได้แบ่งราชวงศ์ซ่ง(ปี 960 – 1279) ออกเป็นสองยุคสมัย ตอนต้นได้แก่ ยุคซ่งเหนือ (960 – 1127) นครหลวงอยู่ที่เมืองไคเฟิง และตอนปลาย คือ ยุคซ่งใต้ (1127 – 1279) ย้ายนครหลวงมายังเมืองหลิงอัน (ปัจจุบันคือเมืองหังโจว มณฑลเจ้อเจียง) ภายหลังจากทัพจินบุกเข้าทำลายเมืองหลวงไคเฟิงจนเสียหายอย่างหนัก
แผ่นดินภาคกลาง ภายหลังโจวซื่อจง(周世宗)แห่งราชวงศ์โฮ่วโจวสิ้น(ราชวงศ์สุดท้ายในห้าราชวงศ์) ภายในราชสำนักอยู่ในภาวะตึงเครียด ภายนอกเผชิญภัยคุกคามจากทัพเหลียว ปี 960 เกิดเหตุเปลี่ยนแปลงที่เฉินเฉียว เจ้าควงอิ้น(赵匡胤)ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งแม่ทัพรักษาวังหลวง บัญชาการกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดในเวลานั้น ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนายทัพใต้ร่มธง บีบให้โจวก้งตี้(周恭帝)วัยเจ็ดขวบสละราชย์ จากนั้นสถาปนาราชวงศ์ซ่งขึ้นแทนที่โฮ่วโจว นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า เป่ยซ่งหรือซ่งเหนือ(北宋)
ซ่งไท่จู่(宋太祖)เจ้าควงอิ้นขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ก็จัด “งานเลี้ยงสุราปลดอาวุธ” สลายกำลังของนายทหารกลุ่มต่างๆที่สนับสนุนตนขึ้นสู่บัลลังก์โดยไม่เสียเลือดเนื้อ ด้วยเกรงว่าจะเกิดเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้ขึ้นได้อีก ทั้งเล็งเห็นว่าการที่นายทัพคุมกำลังทหารไว้ ย่อมจะมีอำนาจพลิกฟ้าอยู่ในมือ ซ่งไท่จู่จึงใช้วิธีการเดียวกันในการโอนถ่ายอำนาจทางทหารของแม่ทัพรักษาชายแดนเข้าสู่ส่วนกลาง นอกจากนี้ เพื่อลิดรอนอำนาจขุนนางที่อาจส่งผลคุกคามต่อราชบัลลังก์ในภายภาคหน้า จึงออกกฎระเบียบใหม่ ให้มีเพียงขุนนางระดับสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าเฝ้าเพื่อปรึกษาราชกิจ โดยมีกษัตริย์เป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ขุนนางเป็นเพียงผู้รับไปปฏิบัติ ไม่ได้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาชี้แนะข้อราชการดังเช่นแต่ก่อน นับแต่นั้นมา อำนาจเด็ดขาดทั้งมวลจึงตกอยู่ในมือของกษัตริย์แต่เพียงผู้เดียว
ซ่งไท่จู่เจ้าควงอิ้นปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ซ่ง
เวลานั้น รอบข้างยังประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ สืบเนื่องมาจากสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น อาทิ โฮ่วสู(后蜀) หนันฮั่น(南汉)หนันถัง(南唐)อู๋เยว่(吴越)เป่ยฮั่น(北汉)เป็นต้น ดังนั้นภารกิจสำคัญของเจ้าควงอิ้นจึงได้แก่ การเปิดศึกรวมแผ่นดิน ทัพซ่งมุ่งลงใต้ ทยอยรวบรวมดินแดนภาคใต้กลับมาอีกครั้ง หลังจากปราบแคว้นหนันถังอันเข้มแข็งได้สำเร็จในปี 974 แว่นแคว้นที่เหลือต่างทยอยเข้าสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ซ่ง ปลายรัชกาล เจ้าควงอิ้นหันทัพมุ่งขึ้นเหนือ หวังรวมแคว้นเป่ยฮั่นที่หลงเหลือเพียงหนึ่งเดียว แต่แล้วสิ้นพระชนม์ลงระหว่างการศึกภาคเหนือในปี 976 ซ่งไท่จง(宋太宗)เจ้ากวงอี้(赵光义)(ปี 976 – 997) ที่เป็นน้องชายขึ้นสืบราชบัลลังก์ สานต่อปณิธานรวมแผ่นดิน โดยรวมแคว้นเป่ยฮั่นสำเร็จในปี 979 จากนั้นพยายามติดตามทวงคืนดินแดนที่เคยเสียให้กับเหลียว (ปักกิ่งและต้าถง) กองทัพซ่งเหนือเปิดศึกกับเหลียวหลายครั้ง ขณะที่แคว้นเหลียวก็หาโอกาสรุกลงใต้ กลายเป็นสภาพการเผชิญหน้ากัน จวบกระทั่งปี 1004 ล่วงเข้ารัชกาลซ่งเจินจง(宋真宗)ซ่งเหนือกับเหลียวบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน (澶渊之盟)สงครามอันยาวนานจึงยุติลง
เวลานั้น รอบข้างยังประกอบด้วยแว่นแคว้นต่างๆ สืบเนื่องมาจากสมัยห้าราชวงศ์สิบแคว้น อาทิ โฮ่วสู(后蜀) หนันฮั่น(南汉)หนันถัง(南唐)อู๋เยว่(吴越)เป่ยฮั่น(北汉)เป็นต้น ดังนั้นภารกิจสำคัญของเจ้าควงอิ้นจึงได้แก่ การเปิดศึกรวมแผ่นดิน ทัพซ่งมุ่งลงใต้ ทยอยรวบรวมดินแดนภาคใต้กลับมาอีกครั้ง หลังจากปราบแคว้นหนันถังอันเข้มแข็งได้สำเร็จในปี 974 แว่นแคว้นที่เหลือต่างทยอยเข้าสวามิภักดิ์กับราชวงศ์ซ่ง ปลายรัชกาล เจ้าควงอิ้นหันทัพมุ่งขึ้นเหนือ หวังรวมแคว้นเป่ยฮั่นที่หลงเหลือเพียงหนึ่งเดียว แต่แล้วสิ้นพระชนม์ลงระหว่างการศึกภาคเหนือในปี 976 ซ่งไท่จง(宋太宗)เจ้ากวงอี้(赵光义)(ปี 976 – 997) ที่เป็นน้องชายขึ้นสืบราชบัลลังก์ สานต่อปณิธานรวมแผ่นดิน โดยรวมแคว้นเป่ยฮั่นสำเร็จในปี 979 จากนั้นพยายามติดตามทวงคืนดินแดนที่เคยเสียให้กับเหลียว (ปักกิ่งและต้าถง) กองทัพซ่งเหนือเปิดศึกกับเหลียวหลายครั้ง ขณะที่แคว้นเหลียวก็หาโอกาสรุกลงใต้ กลายเป็นสภาพการเผชิญหน้ากัน จวบกระทั่งปี 1004 ล่วงเข้ารัชกาลซ่งเจินจง(宋真宗)ซ่งเหนือกับเหลียวบรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน (澶渊之盟)สงครามอันยาวนานจึงยุติลง
ตัวอักษรซีเซี่ย
พุทธศิลป์ฝีมือช่างซีเซี่ยจากถ้ำผาม่อเกาคูห้องที่ 328 ในซินเกียง
เปิดศึกกับซีเซี่ย (西夏) ปลายรัชกาลซ่งไท่จงเจ้ากวงอี้ ชนเผ่าตั่งเซี่ยง(党项)ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือเริ่มมีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น หันไปสวามิภักดิ์กับแคว้นเหลียว ราชสำนักซ่งจึงสั่งปิดชายแดนตัดขาดการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ทำให้เกิดธุรกิจค้าเกลือเถื่อน และการปล้นสะดมสินค้าในบริเวณใกล้เคียง สองฝ่ายปะทะกันหลายครั้งแต่ไม่อาจเอาชนะกันได้ ต่อเมื่อ ปี 1006 ภายหลังซ่งทำสัญญาสงบศึกกับเหลียว จึงหันมาผูกมิตรกับซ่งเหนือ เปิดการค้าชายแดนตามปกติ จวบกระทั่งปี 1038 หลี่หยวนเฮ่า(李元昊)ผู้นำคนใหม่ในเวลานั้น สถาปนาแคว้นซี่เซี่ย(西夏)ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ที่เมืองซิ่งโจว (ปัจจุบันคือเมืองอิ๋นชวน มณฑลหนิงเซี่ย) ซีเซี่ยฉีกสัญญาพันธมิตรที่มีมากว่า 30 ปี เริ่มรุกรานเข้าดินแดนภาคตะวันตกของซ่งเหนือ ขณะที่กองทัพซ่งเหนือพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า พยายามเรียกร้องให้มีการเจรจากสงบศึกแต่ไม่เป็นผล อย่างไรก็ตาม เมื่อทำศึกเป็นเวลานาน การค้าที่เคยมีต้องประสบกับความเสียหาย ซีเซี่ยกลับเป็นฝ่ายเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สุดท้าย ซีเซี่ยจึงยอมเจรจาสงบศึก โดยซี่เซี่ยยอม “สวามิภักดิ์”กับราชสำนักซ่ง ขณะที่ซ่ง “พระราชทาน” ผ้าไหมแพรพรรณ เงินทองและชาให้กับซีเซี่ย สองฝ่ายต่างรื้อฟื้นเส้นทางค้าขายระหว่างกันดังเดิม
เปิดศึกกับซีเซี่ย (西夏) ปลายรัชกาลซ่งไท่จงเจ้ากวงอี้ ชนเผ่าตั่งเซี่ยง(党项)ทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือเริ่มมีขุมกำลังเข้มแข็งขึ้น หันไปสวามิภักดิ์กับแคว้นเหลียว ราชสำนักซ่งจึงสั่งปิดชายแดนตัดขาดการติดต่อค้าขายระหว่างกัน ทำให้เกิดธุรกิจค้าเกลือเถื่อน และการปล้นสะดมสินค้าในบริเวณใกล้เคียง สองฝ่ายปะทะกันหลายครั้งแต่ไม่อาจเอาชนะกันได้ ต่อเมื่อ ปี 1006 ภายหลังซ่งทำสัญญาสงบศึกกับเหลียว จึงหันมาผูกมิตรกับซ่งเหนือ เปิดการค้าชายแดนตามปกติ จวบกระทั่งปี 1038 หลี่หยวนเฮ่า(李元昊)ผู้นำคนใหม่ในเวลานั้น สถาปนาแคว้นซี่เซี่ย(西夏)ขึ้นเป็นผลสำเร็จ ที่เมืองซิ่งโจว (ปัจจุบันคือเมืองอิ๋นชวน มณฑลหนิงเซี่ย) ซีเซี่ยฉีกสัญญาพันธมิตรที่มีมากว่า 30 ปี เริ่มรุกรานเข้าดินแดนภาคตะวันตกของซ่งเหนือ ขณะที่กองทัพซ่งเหนือพ่ายแพ้ครั้งแล้วครั้งเล่า พยายามเรียกร้องให้มีการเจรจากสงบศึกแต่ไม่เป็นผล อย่างไรก็ตาม เมื่อทำศึกเป็นเวลานาน การค้าที่เคยมีต้องประสบกับความเสียหาย ซีเซี่ยกลับเป็นฝ่ายเดือดร้อนเพราะขาดแคลนสินค้าที่จำเป็น สุดท้าย ซีเซี่ยจึงยอมเจรจาสงบศึก โดยซี่เซี่ยยอม “สวามิภักดิ์”กับราชสำนักซ่ง ขณะที่ซ่ง “พระราชทาน” ผ้าไหมแพรพรรณ เงินทองและชาให้กับซีเซี่ย สองฝ่ายต่างรื้อฟื้นเส้นทางค้าขายระหว่างกันดังเดิม
เจ้าควงอิ้นและเจ้ากวงอี้สองพี่น้องที่ได้ผ่านพบความวุ่นวุ่นวายแตกแยกของบ้านเมืองที่เกิดขึ้นจากการแย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก อีกทั้งประสบการณ์ความพลิกผันทางการเมืองของตน ทราบว่า เป็นเพราะเหล่าขุนศึกมีทั้งกำลังทหารและกำลังทรัพย์อยู่ในมือ ทั้งได้รับการสนับสนุนจากประชาชนในท้องถิ่น ดังนั้น เพื่อเป็นการลิดรอนอำนาจของเหล่าแม่ทัพรักษาชายแดน ราชสำนักได้จัดส่งขุนนางฝ่ายบุ๋นออกไปทำหน้าที่ปกครองในส่วนท้องถิ่นโดยตรง มีการคัดเลือกทหารฝีมือดีจากท้องถิ่นเข้าสู่ส่วนกลางเพื่อทำหน้าที่กองกำลังรักษาวังหลวง ทั้งให้มีการสับเปลี่ยนโยกย้ายตำแหน่งประจำการทุกสามปี ส่วนด้านการเงิน ก็กำหนดให้รายรับรายจ่ายของท้องถิ่น(ภาษี เงินปี เบี้ยบำเหน็จ บำนาญข้าราชการ) ต้องจัดรวบรวมและแจกจ่ายจากส่วนกลาง
การปฏิรูปดังกล่าว เป็นการเสริมสร้างอำนาจการปกครองส่วนกลางให้เข้มแข็งขึ้นอย่างไม่มียุคใดเทียบได้ พร้อมกับได้สลายขุมกำลังท้องถิ่นลงอย่างราบคาบ ตลอดราชวงศ์ไม่มีขุมกำลังอื่นใดในแผ่นดินสามารถท้าทายราชอำนาจของกษัตริย์ได้อีก อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวส่งผลให้กองทัพอ่อนแอลง ทำให้ราชสำนักซ่งต้องตกเป็นฝ่าย “ตั้งรับ” ในยุคสมัยที่รอบข้างเต็มไปด้วยชนเผ่านักรบจากนอกด่านที่ทวีความแข็งกล้าขึ้น ดูจะไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมนัก
เผชิญวิกฤตเศรษฐกิจ ภายหลังสัญญาสงบศึกที่ฉานหยวน ซ่งเหลียวยุติศึกสงครามอันยาวนานนับสิบปี เมื่อปลอดภัยสงคราม การค้า การผลิต ศิลปวิทยาการและวัฒนธรรมของสองฝ่ายต่างเจริญรุ่งเรืองขึ้น พร้อมกับการขยายตัวของหน่วยงานราชการส่วนกลาง ที่ประสิทธิภาพนับวันจะถดถอยลงคลอง ทหารขาดการซ้อมรบและศึกษายุทธวิธีในการศึก กองทัพอ่อนแอลง ถึงกับมีคำกล่าวว่า ทหารม้าไม่รู้จักการใส่อานม้า ทหารราบก็รบไม่เป็น เมื่อเผชิญหน้ากับศัตรูก็ได้แต่ตัวสั่นงันงกด้วยความกลัวตาย ระหว่างนายทัพกับพลทหารไม่รู้จักไม่รู้ใจ ได้แต่บัญชาการรบบนแผ่นกระดาษ อันเป็นสาเหตุแห่งความแพ้พ่ายครั้งแล้วครั้งเล่าของทัพซ่ง นอกจากนี้ หน่วยงานข้าราชการขุนนางก็มีขนาดใหญ่โตเทอะทะขึ้นทุกวัน ทั้งที่ยังมีบุคคลากรที่ผ่านการสอบคัดเลือกแต่ไม่มีตำแหน่งการงานรองรับอีกมากมายนับไม่ถ้วน กล่าวกันว่า มีอัตราการแข่งขันเพื่อให้ได้ตำแหน่งงานถึงหนึ่งต่อสิบทีเดียว
ภาวะดังกล่าวส่งผลให้เกิดกระแสการอนุรักษ์อย่างเหนียวแน่น เนื่องจากเกรงว่าจะต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ อันจะกระทบกระเทือนตำแหน่งของตน ในเวลาเดียวกัน บรรดาขุนนางผู้ใหญ่ ต่างแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน กวาดเก็บทรัพย์สินเข้าพกเข้าห่อ ไม่สนใจถึงผลกระทบต่อส่วนรวม บรรยากาศดังกล่าวปกคลุมไปทั่วราชสำนักซ่ง การขยายตัวของหน่วยงานราชการ ทำให้ราชสำนักซ่งต้องเผชิญกับวิกฤตค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว จากบันทึกค่าใช้จ่ายสมัยซ่ง พบว่า เมื่อถึงรัชสมัยซ่งอิงจง(宋英宗)(1063 – 1067)ท้องพระคลังที่ว่างเปล่ากลับมีรายจ่ายมากกว่ารายรับเป็นจำนวนมหาศาล บ่งชี้ถึงฐานะทางการเงินอันคลอนแคลนของราชสำนัก
ปี 1022 ซ่งเจินจง(宋真宗)ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ ซ่งเหยินจง(宋仁宗)(1022 – 1063) ราชโอรสขึ้นครองราชย์ด้วยวัยเพียง 13 ปี ดังนั้นจึงมีหลิวไทเฮาคอยดูแลให้คำปรึกษาราชกิจ ต่อเมื่อ หลิวไทเฮาสิ้นพระชนม์ในปี 1033 ซ่งเหยินจงจึงเริ่มบริหารราชกิจด้วยตนเอง จากนั้นไม่นาน ราชสำนักซ่งเปิดศึกกับซีเซี่ยอีกครั้ง แต่ทัพซ่งก็ต้องแพ้พ่ายเสียหายกลับมา เป็นเหตุให้ซ่งเหยินจงมีดำริที่จะปรับปรุงกองทัพและการคลังครั้งใหญ่
ปี 1043 ทรงแต่งตั้งฟ่านจ้งเยียน(范仲淹)และคณะให้ดำเนินการปฏิรูประบบการปกครองภายใน แต่นโยบายปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนทำให้บรรดาขุนนางและกลุ่มตระกูลสูงศักดิ์เสียผลประโยชน์ เป็นเหตุให้เกิดเสียงคัดค้านมากมาย สุดท้าย การปฏิรูปดังกล่าวดำเนินการไปได้เพียงปีเศษก็ต้องล้มเลิกไป คณะทำงานปฏิรูปของฟ่านจ้งเยียนต่างทยอยถูกปลดจากตำแหน่ง
ปลายรัชกาลซ่งเหยินจง หวังอันสือ(王安石)ที่เพิ่งเข้ารับตำแหน่งทางราชการไม่นาน ได้นำเสนอแนวทางการปฏิรูปแบบใหม่ โดยเสนอให้เร่งสร้างบุคลากรที่มีความสามารถ ปรับปรุงระเบียบข้อกำหนดกฎหมาย และจัดการบริหารการคลังเสียใหม่ เป็นต้น แนวคิดของหวังอันสือแม้ว่าจะเป็นที่ชื่นชมอย่างมากในหมู่ปัญญาชน แต่ซ่งเหยินจงไม่ได้ดำเนินการแต่อย่างใด
จวบจนปี 1963 ซ่งเหยินจง ล้มป่วยสิ้นพระชนม์ลง ซ่งอิงจง(宋英宗)สืบราชบัลลังก์ต่อมาได้เพียง 4 ปี ก็สิ้น โอรสของซ่งอิงจงขึ้นครองราชย์ต่อมาพระนามว่า ซ่งเสินจง (宋神宗)โดยมีบทบาทสำคัญในการให้การสนับหนุนแนวคิดการปฏิรูปกฎหมายของหวังอันสือ
ในเวลานั้น ปัญหาความขัดแย้งในสังคมและวิกฤตทางการเงินยิ่งทวีความรุนแรงขึ้น หน่วยงานราชการของราชสำนักซ่งมีขนาดใหญ่โตขึ้นกว่าเมื่อครั้งต้นราชวงศ์ถึงกว่าสิบเท่า เพียงค่าใช้จ่ายแต่ละปีของกองทัพก็ครอบคลุมรายได้กว่าครึ่งจากท้องพระคลัง ดังนั้น ซ่งเสินจงขึ้นครองราชย์ได้ไม่นานก็ทรงแต่งตั้งให้หวังอันสือเป็น ผู้นำคณะปฏิรูปกฎหมายการปกครองใหม่
ระเบียบกฎหมายใหม่ของหวังอันสือมุ่งเน้นการเก็บกวาดรายได้จากบรรดาพ่อค้า ข้าราชการ และเจ้าที่ดินเข้าสู่ท้องพระคลัง ลดการผูกขาดอำนาจและอภิสิทธิ์ของกลุ่มตระกูลขุนนางชั้นสูง ขณะที่กลุ่มชาวนาและราษฎรทั่วไปลดภาระในการแบกรับภาษีและการเกณฑ์แรงงาน อีกทั้งมีการปรับปรุงระบบชลประทาน ทำให้กำลังการผลิตของสังคมโดยรวมพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง มีเงินเข้าท้องพระคลังเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระเบียบกฎหมายใหม่ยังต้องเผชิญกับกระแสการคัดค้านจากผู้เสียผลประโยชน์ ภายหลังซ่งเสินจงสิ้นในปี 1085 โอรสวัยสิบขวบขึ้นครองราชย์ต่อมา พระนามว่า ซ่งเจ๋อจง(宋哲宗)มีเกาไทเฮาเป็นที่ปรึกษาราชกิจ ซึ่งให้การสนับสนุนกลุ่มแนวคิดอนุรักษ์แบบเก่านำโดยซือหม่ากวง(司马光) ไม่นานนัก กลุ่มปฏิรูปของหวังอันสือก็ถูกขับไล่ออกจากศูนย์กลางอำนาจ ระเบียบกฎหมายใหม่ถูกยกเลิกไป การปฏิรูปของหวังอันสือจึงจบสิ้นลงพร้อมกับการสิ้นพระชนม์ของซ่งเสินจง
ลายมือของซูตงปอกวีเอกแห่งยุึค
ต่อเมื่อเกาไทเฮาสิ้นในปี 1093 ซ่งเจ๋อจงก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายนำการปฏิรูปอีกครั้ง แต่ภายในกลุ่มปฏิรูปเองเกิดแตกความคิดเห็นเป็นหลายฝ่าย กลายเป็นการแก่งแย่งช่วงชิงคานอำนาจกันเอง จวบจนซ่งเจ๋อจงสิ้นในปี 1100 ซ่งฮุยจง(宋徽宗) ขึ้นครองราชย์ต่อมา ให้การสนับสนุนกลุ่มขุนนางไช่จิง(蔡京)และพวก ที่แอบอ้างการผลักดันกฎหมายใหม่ มาใช้ในการโกงกินและขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งยุคแห่งความมืดมนฟอนเฟะของราชวงศ์ซ่ง ระบบราชการที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก อาทิ กบฏฟางล่า (1120) กบฏซ่งเจียง (1118) อันเป็นที่มาของเรื่องราวในตำนาน “วีรบุรุษเขาเหลียงซาน” (水浒传)ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณดีของจีน เป็นต้น แต่สุดท้ายยังคงต้องพ่ายแพ้แก่ราชสำนักซ่งในที่สุด
ต่อเมื่อเกาไทเฮาสิ้นในปี 1093 ซ่งเจ๋อจงก็หันมาให้การสนับสนุนฝ่ายนำการปฏิรูปอีกครั้ง แต่ภายในกลุ่มปฏิรูปเองเกิดแตกความคิดเห็นเป็นหลายฝ่าย กลายเป็นการแก่งแย่งช่วงชิงคานอำนาจกันเอง จวบจนซ่งเจ๋อจงสิ้นในปี 1100 ซ่งฮุยจง(宋徽宗) ขึ้นครองราชย์ต่อมา ให้การสนับสนุนกลุ่มขุนนางไช่จิง(蔡京)และพวก ที่แอบอ้างการผลักดันกฎหมายใหม่ มาใช้ในการโกงกินและขยายอำนาจในหมู่พรรคพวกเดียวกัน อันนำมาซึ่งยุคแห่งความมืดมนฟอนเฟะของราชวงศ์ซ่ง ระบบราชการที่ล้มเหลว เป็นเหตุให้ราษฎรทยอยลุกฮือขึ้นก่อการต่อต้านราชสำนัก อาทิ กบฏฟางล่า (1120) กบฏซ่งเจียง (1118) อันเป็นที่มาของเรื่องราวในตำนาน “วีรบุรุษเขาเหลียงซาน” (水浒传)ซึ่งเป็นหนึ่งในสี่ยอดวรรณดีของจีน เป็นต้น แต่สุดท้ายยังคงต้องพ่ายแพ้แก่ราชสำนักซ่งในที่สุด
เหรียญกษาปณ์สมัยซ่ง (ซ้าย) ตัวอักษรเป็นเฉ่าซูหรือเส้นลายมือหวัด ซึ่งไม่เคยปรากฏในเหรียญที่ผลิตโดยราชสำนัก คาดว่าเป็นเหรียญที่กบฏซ่งเจียงผลิตขึ้นใช้เอง (ขวา)อักษรบนเหรียญเป็นลายพระหัตถ์ของซ่งฮุยจง
ในเวลาเดียวกัน สถานการณ์ทางภาคเหนือก็วุ่นวายไม่ต่างกัน ราชสำนักเหลียวเกิดการแตกแยกภายใน ระบบการปกครองล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง กลุ่มชนเผ่าทางเหนือที่เคยถูกกดขี่บีบคั้นต่างลุกฮือขึ้นก่อหวอด ชนเผ่าหนี่ว์เจิน(女真)ทางภาคอีสานเริ่มมีกำลังแกร่งกล้าขึ้น ปี 1115 อากู่ต่า(阿骨打)ผู้นำชนเผ่าหนี่ว์เจิน สถาปนาแคว้นต้าจินหรือกิม(大金)ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเฮยหลงเจียง) ทรงพระนาม จินไท่จู่(金太祖)จากนั้นกรีฑาทัพบุกแคว้นเหลียว
ฝ่ายซ่งเหนือ เห็นเป็นโอกาสที่จะยึดดินแดน 16 เมืองที่เคยเสียไปกลับคืนมา จึงทำสัญญาร่วมมือกับแคว้นจินบุกเหลียว โดยซ่งจะส่งบรรณาการที่เคยให้กับเหลียวมามอบให้แคว้นจินแทน เพื่อแลกกับดินแดน 16 เมือง(ปักกิ่ง ต้าถง)ที่สูญเสียไปกลับคืนมา
ซ่งกับจินทำสัญญาร่วมมือกันบุกเหลียว ซ่งรับหน้าที่บุกเมืองเยียนจิง(ปักกิ่ง)และต้าถง ขณะที่จินนำทัพรุกคืบกลืนดินแดนเหลียวที่เหลือ ถงก้วน(童贯)นำทัพซ่งบุกเมืองเยียนจิงสองครั้งแต่ต้องพ่ายแพ้กลับมาทั้งสองหน สุดท้ายปล่อยให้ทัพจินเป็นฝ่ายบุกเข้ายึดเมืองไว้ได้โดยง่าย ราชสำนักซ่งต้องรับปาก“ไถ่เมืองคืน” ด้วยภาษีรายปีที่เก็บได้จากท้องถิ่นเป็นเงินก้อนโต สถานการณ์คราวนี้เป็นเหตุให้ทัพจินเล็งเห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของกองกำลังฝ่ายซ่ง ดังนั้น เมื่อทัพจินล้มล้างเหลียวเป็นผลสำเร็จ ก็เบนเข็มมุ่งมายังซ่งเหนือเป็นลำดับต่อไป
ปี 1125 หลังจากหวันเหยียนเซิ่น(完颜晟)ขึ้นครองราชย์เป็นจินไท่จง(金太宗)สืบต่อจากจินไท่จู่ผู้พี่ชายแล้ว ก็นำทัพกวาดล้างแคว้นเหลียวเป็นผลสำเร็จ ทัพจินอ้างเหตุรุกไล่ติดตามตัวนายทัพเหลียว นำทัพล่วงเข้ามาในแดนซ่ง แยกย้ายบุกแดนไท่หยวนและเยียนจิง(ปักกิ่ง) แม่ทัพรักษาเมืองเยียนจิงยอมสวามิภักดิ์ทัพจิน นำทางเคลื่อนทัพรุกประชิดเมืองหลวงไคเฟิง
ซ่งฮุยจงเมื่อได้ทราบข่าวทัพจินเคลื่อนลงใต้ รีบสละบัลลังก์ให้กับรัชทายาทส่วนตัวเองหลบหนีลงใต้ ซ่งชินจง(宋钦宗)เมื่อขึ้นครองราชย์ ก็เรียกประชุมเสนาบดีคิดหาหนทางแก้ไขวิกฤตครั้งนี้ กลุ่มขุนนางใหญ่สนับสนุนให้ย้ายเมืองหลวงเพื่อลี้ภัย ทว่าหลี่กัง(李纲)อาสาทำหน้าที่รักษาเมืองอย่างแข็งขัน หัวเมืองรอบนอกเมื่อทราบข่าวทัพจินก็รวมตัวกันจัดตั้งกองกำลังต่อต้านการรุกรานจากภายนอก ทัพจินเมื่อไม่สามารถเอาชัยได้ในระยะเวลาอันสั้น ก็เริ่มขาดแคลนเสบียง
ในเวลาเดียวกัน ซ่งชินจงแอบทำสัญญาสงบศึกกับทัพจิน โดยยินยอมจ่ายทรัพย์สินเงินทองจำนวนมหาศาล อีกทั้งส่งมอบดินแดนสามเมืองให้เป็นการชดเชย ฝ่ายจินจึงยอมถอนทัพกลับภาคเหนือ ภายหลังวิกฤตหลี่กังถูกปลดจากตำแหน่ง
ราชสำนักซ่งแม้ว่ารับปากส่งมอบเมืองไท่หยวน จงซานและเหอเจียนให้กับแคว้นจิน แต่ราษฎรในท้องถิ่นต่างพากันต่อต้านทัพจินอย่างไม่คิดชีวิต ทัพจินไม่อาจเข้าครอบครองทั้งสามเมืองได้ จึงส่งกองกำลังบุกลงใต้มาอีกครั้ง แต่คราวนี้ ชาวเมืองไท่หยวนที่ยืนหยัดต่อสู้เป็นเวลานาน เกิดขาดแคลนเสบียง จึงต้องเสียเมืองในที่สุด ทัพจินรุกประชิดเมืองไคเฟิงอีกครั้ง ราชสำนักซ่งจัดส่งราชทูตไปเจรจาสงบศึกแต่ไม่เป็นผล ทัพจินบุกเข้าเมืองไคเฟิงกวาดต้อน ซ่งฮุยจง ซ่งชินจง และเชื้อพระวงศ์ ไปเป็นเชลย อีกทั้งปล้นสะดมทรัพย์สินในท้องพระคลังไปจนหมดสิ้น ราชวงศ์ซ่งเหนือล่มสลาย
ในสมัยราชวงศ์ซ่งเหนือ แม้มีการศึกสงครามประปรายเป็นระยะ แต่เนื่องจากพื้นที่บางส่วนยังมีความสงบสุขอยู่บ้าง ดังนั้น วิทยาการความรู้ การผลิต ยังคงมีความก้าวหน้าอย่างสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เทคนิคการพิมพ์ ถือเป็นผลงานที่โดดเด่นในยุคนี้ นอกจากนี้ ความจำเป็นของการศึกสงคราม ราชสำนักซ่งยังได้มีการผลิตดินปืนขึ้นเพื่อใช้ในการรบเป็นครั้งแรก
ในด้านศิลปะและวรรณคดี ก็มีอัจฉริยะที่โดดเด่นปรากฏขึ้นไม่น้อย บทกวี (词)ในสมัยซ่งได้รับการยอมรับว่า มีความสำเร็จอย่างสูง เนื่องจากระบบการสอบจอหงวนทำให้กลุ่มปัญญาชนได้รับอิสระในการพัฒนาตนเองขึ้นมา อาทิ หวังอันสือ ฟ่านจ้งเยียน ซือหม่ากวง เป็นต้น อีกทั้งยังได้ฝากผลงานภาพวาดฝีมือเยี่ยมไว้มากมายที่โดดเด่นเป็นที่รู้จัก ได้แก่ฝีมือของ ซ่งฮุยจง กษัตริย์องค์ที่แปดแห่งราชวงศ์ซ่ง
นับแต่ ราชวงศ์ซ่งเป็นต้นมา ประวัติศาสตร์การแบ่งแยกอันยาวนานของจีนในลักษณะนี้ก็ไม่เกิดขึ้นอีก หลังจากซ่งเหนือถูกล้มล้างโดยราชวงศ์จิน ได้เปิดกระแสการรุกรานจากชนเผ่านอกด่านเข้าครอบครองแผ่นดินจีนในเวลาต่อมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น