อาณาจักรจินสร้างขึ้นโดยชนเผ่าหนี่ว์เจิน ( บรรพบุรุษของชาวแมนจู) มีหวันเหยียน อากู๋ต่า หรือชื่อที่รู้จักกันว่า ‘จินไท่จู่’ ผู้ครองอาณาจักรคนแรก เริ่มแรกสร้างเมืองหลวงอยู่ที่ฮุ่ยหนิง (ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอไป๋เฉิง ทางตอนใต้ของเมืองอาเฉิง ในมณฑลเฮยหลงเจียง ) ต่อมาย้ายเมืองหลวงมาที่เมืองเยียนจิง (ชื่อเดิมของปักกิ่ง) และย้ายเมืองหลวงอีกครั้งมาที่ เปี้ยนจิง ( ปัจจุบันคือเมืองไคเฟิงในมณฑลเหอหนัน)
นานมาแล้วบรรพบุรุษของชนเผ่าหนี่ว์เจินอาศัยอยู่อาณาบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซันและลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียง เรื่องราวของชนเผ่าหนี่ว์เจินยังไม่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์จนกระทั่งในสมัยห้าราชวงศ์ที่กล่าวว่า เป็นชนเผ่าที่อยู่ในการปกครองของชนเผ่าชี่ตัน แห่งอาณาจักรเหลียว
เดือนกันยายน ปีค.ศ.1114 อากู๋ต่า หัวหน้าเผ่าหนี่ว์เจินนำกำลังเข้าต่อสู้แย่งชิงอำนาจจากพวกชี่ตันที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ที่ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำลาหลินเหอ เขตชายแดนมณฑลเฮยหลงเจียงติดกับจี๋หลิน หลังชัยชนะเหนือพวกชี่ตันสามารถล้มราชวงศ์เหลียวได้แล้ว อากู๋ต่าก็รวบรวมชนเผ่าหนี่ว์เจินที่แยกเป็นกลุ่มๆทั้งหลายเข้าเป็นปึกแผ่นและสร้างอาณาจักรจิน ( แปลว่า ทอง) ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในปีถัดมา แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า ‘ไท่จู่’ ตั้งแต่นั้น อาณาจักรจินของชนเผ่าหนี่ว์เจินก็เจริญเติบโตเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความยิ่งใหญ่
อาณาจักรจินที่เข้มแข็งโดยการปกครองของกษัตริย์ ไท่จู่อากู๋ต่าเริ่มแผ่อำนาจและขยายอิทธิพลไปยังอาณาจักรต่างๆ โดยเข้ารุกรานเมืองสำคัญๆของอาณาจักรเหลียวที่ขณะนั้นกำลังอ่อนแอ ได้แก่ เมือง ตงจิง (ปัจจุบันคือ เหลียวหยังในมณฑลเหลียวหนิง) ซ่างจิง (อยู่ในมองโกเลียใน) จงจิง (เมืองในมองโกเลียใน) ซีจิง (ต้าถงในมณฑลซันซี) หนันจิง (ปัจจุบันคือปักกิ่ง) เมื่อเมืองทั้ง 5 แตก ราชวงศ์เหลียวก็ถึงกาลอวสาน หลังจากนั้นอาณาจักรจินที่กล้าแข็งได้ค่อยๆรุกรานต่อไปยังอาณาจักรซ่งเหนือ จนในที่สุดกองทัพแห่งอาณาจักรจินก็ล้มล้างอาณาจักรซ่งเหนือได้สำเร็จในปีค.ศ.1127 ต่อมาก็ยังมีการรบพุ่งกับกองทัพแห่งอาณาจักรซ่งใต้อยู่หลายครั้ง แต่กำลังและอำนาจของทั้งสองฝ่ายก็ยังสูสีกัน
ในขณะที่อาณาจักรจินและซ่งใต้มีอิทธิพลเคียงบ่าเคียงไหล่กันได้มีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ด้านหนึ่งอาณาจักรจินก็ยึดซีเซี่ยมาเป็นรัฐสำคัญใต้การปกครองของตน อย่างไรก็ตาม การก่อตัวขึ้นของกองทัพมองโกลอดีตศัตรูเก่าก็เริ่มเป็นภัยคุกคามของอาณาจักรจินในเวลาต่อมา
นานมาแล้วบรรพบุรุษของชนเผ่าหนี่ว์เจินอาศัยอยู่อาณาบริเวณเทือกเขาฉางไป๋ซันและลุ่มแม่น้ำเฮยหลงเจียง เรื่องราวของชนเผ่าหนี่ว์เจินยังไม่เคยมีบันทึกในประวัติศาสตร์จนกระทั่งในสมัยห้าราชวงศ์ที่กล่าวว่า เป็นชนเผ่าที่อยู่ในการปกครองของชนเผ่าชี่ตัน แห่งอาณาจักรเหลียว
เดือนกันยายน ปีค.ศ.1114 อากู๋ต่า หัวหน้าเผ่าหนี่ว์เจินนำกำลังเข้าต่อสู้แย่งชิงอำนาจจากพวกชี่ตันที่บริเวณริมฝั่งแม่น้ำ ที่ซึ่งปัจจุบันคือแม่น้ำลาหลินเหอ เขตชายแดนมณฑลเฮยหลงเจียงติดกับจี๋หลิน หลังชัยชนะเหนือพวกชี่ตันสามารถล้มราชวงศ์เหลียวได้แล้ว อากู๋ต่าก็รวบรวมชนเผ่าหนี่ว์เจินที่แยกเป็นกลุ่มๆทั้งหลายเข้าเป็นปึกแผ่นและสร้างอาณาจักรจิน ( แปลว่า ทอง) ขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในปีถัดมา แล้วตั้งตนเป็นกษัตริย์นามว่า ‘ไท่จู่’ ตั้งแต่นั้น อาณาจักรจินของชนเผ่าหนี่ว์เจินก็เจริญเติบโตเข้าสู่ยุคใหม่แห่งความยิ่งใหญ่
อาณาจักรจินที่เข้มแข็งโดยการปกครองของกษัตริย์ ไท่จู่อากู๋ต่าเริ่มแผ่อำนาจและขยายอิทธิพลไปยังอาณาจักรต่างๆ โดยเข้ารุกรานเมืองสำคัญๆของอาณาจักรเหลียวที่ขณะนั้นกำลังอ่อนแอ ได้แก่ เมือง ตงจิง (ปัจจุบันคือ เหลียวหยังในมณฑลเหลียวหนิง) ซ่างจิง (อยู่ในมองโกเลียใน) จงจิง (เมืองในมองโกเลียใน) ซีจิง (ต้าถงในมณฑลซันซี) หนันจิง (ปัจจุบันคือปักกิ่ง) เมื่อเมืองทั้ง 5 แตก ราชวงศ์เหลียวก็ถึงกาลอวสาน หลังจากนั้นอาณาจักรจินที่กล้าแข็งได้ค่อยๆรุกรานต่อไปยังอาณาจักรซ่งเหนือ จนในที่สุดกองทัพแห่งอาณาจักรจินก็ล้มล้างอาณาจักรซ่งเหนือได้สำเร็จในปีค.ศ.1127 ต่อมาก็ยังมีการรบพุ่งกับกองทัพแห่งอาณาจักรซ่งใต้อยู่หลายครั้ง แต่กำลังและอำนาจของทั้งสองฝ่ายก็ยังสูสีกัน
ในขณะที่อาณาจักรจินและซ่งใต้มีอิทธิพลเคียงบ่าเคียงไหล่กันได้มีการเจรจาเพื่อสันติภาพ ด้านหนึ่งอาณาจักรจินก็ยึดซีเซี่ยมาเป็นรัฐสำคัญใต้การปกครองของตน อย่างไรก็ตาม การก่อตัวขึ้นของกองทัพมองโกลอดีตศัตรูเก่าก็เริ่มเป็นภัยคุกคามของอาณาจักรจินในเวลาต่อมา
จินไท่จู่ ปฐมกษัตริย์แห่งอาณาจักรจิน (1068-1123)
มีผู้วิเคราะห์ว่า อาณาจักรจินที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของอาณาจักรมองโกลทางเหนือ ซีเซี่ยทางตะวันตก และซ่งใต้ทางตอนใต้ หนทางที่น่าจะเป็นคือ อาณาจักรจินจำต้องดำเนินยุทธศาสตร์เป็นมิตรกับซีเซี่ยและซ่งใต้เพื่อต่อต้านมองโกล
กล่าวคือ การมีมิตรที่แน่นแฟ้นเช่นซ่งใต้ทำให้เป็นหลักประกันความปลอดภัยจากดินแดนทางใต้ และการเป็นพันธมิตรกับซีเซี่ยก็เท่ากับช่วยสกัดกั้นการเดินทัพลงใต้ของพวกมองโกล เช่นนี้แล้วอาณาจักรจินก็ไม่จำเป็นต้องพะวงต่อศึกด้านอื่น สามารถมุ่งความสนใจไปที่การเผชิญหน้ากับพวกมองโกลฝ่ายเดียว
ทว่า อาณาจักรจินผู้มั่งคั่งและโอหังกลับโดดเดี่ยวตัวเอง ละทิ้งซีเซี่ย และมาทำศึกกับอาณาจักรซ่งใต้พร้อมๆกับงัดข้อกับพวกมองโกลในเวลาเดียวกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างศัตรู 3 ด้านอย่างช่วยไม่ได้ ภายหลังเมื่อมองโกลบุกเข้าตีเมืองซีเซี่ย ซีเซี่ยได้ขอความช่วยเหลือไปยังอาณาจักรจินแต่กลับได้รับการปฏิเสธ ซีเซี่ยจึงจำต้องยอมศิโรราบให้กับพวกมองโกล เมื่อทั้ง 2 อาณาจักรรวมกำลังกันเข้าก็เดินทางมาบุกอาณาจักรจิน นั่นก็ทำให้ผู้ครองอาณาจักรจินถูกต้อนจนมุมเสียแล้ว
เพื่อผ่องถ่ายความวุ่นวายจากการถูกโจมตีจากทางตะวันตกและภาคเหนือ อาณาจักรจินได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง และพยายามที่จะเอาชนะศึกทางใต้เพื่อชดเชยการสูญเสียจากศึกทางเหนือ ในการนี้ทำให้อาณาจักรจินได้เปิดช่องให้กับพวกมองโกลเข้าพิชิตชายแดนทางเหนือและเริ่มโจมตีอาณาจักรซ่งใต้ อย่างไรก็ตามผลสำเร็จแทบไม่ได้ให้อะไรเลย การโอบล้อมจากทัพมองโกลและซ่งใต้ต่อมาค่อยๆทำให้อาณาจักรจินเสื่อมอำนาจลงและปราชัยให้กับข้าศึกในที่สุด
‘อาณาจักรทอง’ ปกครองโดยกษัตริย์ 9 พระองค์ รุ่งเรืองมาได้ 120 ปีก็เสื่อมอำนาจ ในช่วงเวลาแห่งความชีวิตชีวาอาณาจักรแห่งนี้เป็นที่อาศัยของประชากร 44.7 ล้านคน มีอาณาเขตกว้างใหญ่แผ่ขยายจากเทือกเขาซิงอันทางตอนเหนือจรดแม่น้ำหวยเหอทางตอนใต้ และกินดินแดนจากแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกไปจรดส่านซีทางภาคตะวันตก
กล่าวในแง่ระบบการเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรจินนั้น มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันในช่วงต้นและปลายสมัย ในยุคที่เป็นการอยู่รวมกันแบบชนเผ่า อำนาจบริหารเป็นการร่วมกันปกครองโดยหัวหน้าเผ่าแต่ละเผ่ากับหัวหน้าสูงสุด แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมาแล้ว หัวหน้าเผ่าและหัวหน้าสูงสุดถูกแทนที่โดยคณะผู้บริหารระดับสูง 4 คนและภายหลังเพิ่มขึ้นเป็น 5 คน ที่จะกุมอำนาจการบริหารบ้านเมืองภายใต้กษัตริย์
มีผู้วิเคราะห์ว่า อาณาจักรจินที่ตั้งอยู่ในวงล้อมของอาณาจักรมองโกลทางเหนือ ซีเซี่ยทางตะวันตก และซ่งใต้ทางตอนใต้ หนทางที่น่าจะเป็นคือ อาณาจักรจินจำต้องดำเนินยุทธศาสตร์เป็นมิตรกับซีเซี่ยและซ่งใต้เพื่อต่อต้านมองโกล
กล่าวคือ การมีมิตรที่แน่นแฟ้นเช่นซ่งใต้ทำให้เป็นหลักประกันความปลอดภัยจากดินแดนทางใต้ และการเป็นพันธมิตรกับซีเซี่ยก็เท่ากับช่วยสกัดกั้นการเดินทัพลงใต้ของพวกมองโกล เช่นนี้แล้วอาณาจักรจินก็ไม่จำเป็นต้องพะวงต่อศึกด้านอื่น สามารถมุ่งความสนใจไปที่การเผชิญหน้ากับพวกมองโกลฝ่ายเดียว
ทว่า อาณาจักรจินผู้มั่งคั่งและโอหังกลับโดดเดี่ยวตัวเอง ละทิ้งซีเซี่ย และมาทำศึกกับอาณาจักรซ่งใต้พร้อมๆกับงัดข้อกับพวกมองโกลในเวลาเดียวกัน ซึ่งเท่ากับเป็นการสร้างศัตรู 3 ด้านอย่างช่วยไม่ได้ ภายหลังเมื่อมองโกลบุกเข้าตีเมืองซีเซี่ย ซีเซี่ยได้ขอความช่วยเหลือไปยังอาณาจักรจินแต่กลับได้รับการปฏิเสธ ซีเซี่ยจึงจำต้องยอมศิโรราบให้กับพวกมองโกล เมื่อทั้ง 2 อาณาจักรรวมกำลังกันเข้าก็เดินทางมาบุกอาณาจักรจิน นั่นก็ทำให้ผู้ครองอาณาจักรจินถูกต้อนจนมุมเสียแล้ว
เพื่อผ่องถ่ายความวุ่นวายจากการถูกโจมตีจากทางตะวันตกและภาคเหนือ อาณาจักรจินได้ย้ายเมืองหลวงไปที่เปี้ยนจิง และพยายามที่จะเอาชนะศึกทางใต้เพื่อชดเชยการสูญเสียจากศึกทางเหนือ ในการนี้ทำให้อาณาจักรจินได้เปิดช่องให้กับพวกมองโกลเข้าพิชิตชายแดนทางเหนือและเริ่มโจมตีอาณาจักรซ่งใต้ อย่างไรก็ตามผลสำเร็จแทบไม่ได้ให้อะไรเลย การโอบล้อมจากทัพมองโกลและซ่งใต้ต่อมาค่อยๆทำให้อาณาจักรจินเสื่อมอำนาจลงและปราชัยให้กับข้าศึกในที่สุด
‘อาณาจักรทอง’ ปกครองโดยกษัตริย์ 9 พระองค์ รุ่งเรืองมาได้ 120 ปีก็เสื่อมอำนาจ ในช่วงเวลาแห่งความชีวิตชีวาอาณาจักรแห่งนี้เป็นที่อาศัยของประชากร 44.7 ล้านคน มีอาณาเขตกว้างใหญ่แผ่ขยายจากเทือกเขาซิงอันทางตอนเหนือจรดแม่น้ำหวยเหอทางตอนใต้ และกินดินแดนจากแนวชายฝั่งทะเลตะวันออกไปจรดส่านซีทางภาคตะวันตก
กล่าวในแง่ระบบการเมือง การปกครอง การทหาร ตลอดจนด้านเศรษฐกิจของอาณาจักรจินนั้น มีความเปลี่ยนแปลงแตกต่างกันในช่วงต้นและปลายสมัย ในยุคที่เป็นการอยู่รวมกันแบบชนเผ่า อำนาจบริหารเป็นการร่วมกันปกครองโดยหัวหน้าเผ่าแต่ละเผ่ากับหัวหน้าสูงสุด แต่หลังจากที่มีการก่อตั้งเป็นอาณาจักรขึ้นมาแล้ว หัวหน้าเผ่าและหัวหน้าสูงสุดถูกแทนที่โดยคณะผู้บริหารระดับสูง 4 คนและภายหลังเพิ่มขึ้นเป็น 5 คน ที่จะกุมอำนาจการบริหารบ้านเมืองภายใต้กษัตริย์
เทือกเขาฉางไป๋ซัน ดินแดนต้นกำเนิดของเผ่าหนี่ว์เจินผู้ก่อตั้งอาณาจักรจิน
หลังจากที่อาณาจักรจินเอาชัยเหนือสงครามน้อยใหญ่ในการโจมตีเมืองในอาณาจักรเหลียวและเมืองชายแดนของอาณาจักรซ่งสำเร็จ กษัตริย์แห่งอาณาจักรจินได้ซึมซับเอาระบบการทหารจากอาณาจักรเหล่านั้นรวบรวมเข้ามาพัฒนาเป็นระบบของตน ตั้งแต่กษัตริย์จินซีจง และกษัตริย์จินไห่หลิง ที่เริ่มเสนอให้มีการปฏิรูประบบการบริหารปกครองในอาณาจักรจินขึ้น เรื่อยมาจนถึงในสมัยของกษัตริย์จินซื่อจง ระบบการปกครองของอาณาจักรจินก็พัฒนาปรับเปลี่ยนจนสมบูรณ์เป็นระบบเฉพาะตัว ทั้งนี้มีศูนย์กลางการปกครองคล้ายรัฐบาลกลางที่ควบคุมดูแลการเมืองการปกครองในอาณาจักร ถัดลงมาเป็นหน่วยงานฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายประวัติศาสตร์ ฝ่ายงานประชาชน ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายแรงงาน นอกจากนี้ หน่วยปกครองในท้องถิ่นยังแบ่งย่อยลงไปเป็น 4 ลำดับขั้น
ด้านระบบการทหารมีรากฐานมาจากระบบที่ใช้ในชนเผ่าหนี่ว์เจิน และมีการผสมผสานกับระบบของชนเผ่าชี่ตัน ป๋อไห่ เผ่าซี และชาวฮั่น ซึ่งมีระบบในองค์กรแบบง่ายๆ เน้นหนักไปที่กองทหารม้าในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอาวุธไปด้วย กองทัพแห่งอาณาจักรจินประกอบด้วยทหารหลากหลายเชื้อชาติ มีทั้งที่เป็นทหารรับจ้างและทหารเกณฑ์ โดยมีเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งกินตำแหน่งสูงสุด ระบบนี้ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในราชวงศ์ต่อๆมาด้วย
ด้านการเกษตร การหัตถกรรมและการค้ามีความรุ่งเรืองอย่างมาก ในแต่ละท้องที่ให้ดอกผลและมีส่วนส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าด้านสังคมและเศรษฐกิจในระดับแตกต่างๆกัน
ด้านวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างของชาวหนี่ว์เจินจะได้รับการสืบทอดต่อมาพร้อมๆกับความรุ่งเรืองของอาณาจักรจิน ทว่า เมื่ออาณาจักรฮั่นยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทน อาณาจักรจินถูกรวมเป็นปึกแผ่นกับอาณาจักรฮั่นในเวลาต่อมา วัฒนธรรมต่างๆก็ถูกกลืนหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมฮั่นไปในที่สุด
อาณาจักรจินล่มสลายในปีค.ศ.1234 ในปีที่ 2 แห่งรัชกาลเทียนซิง โดยการรุกรานของกองทัพพันธมิตรแห่งอาณาจักรมองโกลและซ่งใต้ .
**** เรียบเรียงจาก บทความของศาสตราจารย์ หานจื้อหยวน แห่งสถาบันวิจัยและศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ในสังกัดบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์
หลังจากที่อาณาจักรจินเอาชัยเหนือสงครามน้อยใหญ่ในการโจมตีเมืองในอาณาจักรเหลียวและเมืองชายแดนของอาณาจักรซ่งสำเร็จ กษัตริย์แห่งอาณาจักรจินได้ซึมซับเอาระบบการทหารจากอาณาจักรเหล่านั้นรวบรวมเข้ามาพัฒนาเป็นระบบของตน ตั้งแต่กษัตริย์จินซีจง และกษัตริย์จินไห่หลิง ที่เริ่มเสนอให้มีการปฏิรูประบบการบริหารปกครองในอาณาจักรจินขึ้น เรื่อยมาจนถึงในสมัยของกษัตริย์จินซื่อจง ระบบการปกครองของอาณาจักรจินก็พัฒนาปรับเปลี่ยนจนสมบูรณ์เป็นระบบเฉพาะตัว ทั้งนี้มีศูนย์กลางการปกครองคล้ายรัฐบาลกลางที่ควบคุมดูแลการเมืองการปกครองในอาณาจักร ถัดลงมาเป็นหน่วยงานฝ่ายต่างๆ 6 ฝ่ายได้แก่ ฝ่ายประวัติศาสตร์ ฝ่ายงานประชาชน ฝ่ายพิธีการ ฝ่ายทหาร ฝ่ายตุลาการ ฝ่ายแรงงาน นอกจากนี้ หน่วยปกครองในท้องถิ่นยังแบ่งย่อยลงไปเป็น 4 ลำดับขั้น
ด้านระบบการทหารมีรากฐานมาจากระบบที่ใช้ในชนเผ่าหนี่ว์เจิน และมีการผสมผสานกับระบบของชนเผ่าชี่ตัน ป๋อไห่ เผ่าซี และชาวฮั่น ซึ่งมีระบบในองค์กรแบบง่ายๆ เน้นหนักไปที่กองทหารม้าในขณะเดียวกันก็มีการพัฒนาอาวุธไปด้วย กองทัพแห่งอาณาจักรจินประกอบด้วยทหารหลากหลายเชื้อชาติ มีทั้งที่เป็นทหารรับจ้างและทหารเกณฑ์ โดยมีเจ้าหน้าที่กลุ่มหนึ่งกินตำแหน่งสูงสุด ระบบนี้ได้รับการยอมรับและนำมาใช้ในราชวงศ์ต่อๆมาด้วย
ด้านการเกษตร การหัตถกรรมและการค้ามีความรุ่งเรืองอย่างมาก ในแต่ละท้องที่ให้ดอกผลและมีส่วนส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าด้านสังคมและเศรษฐกิจในระดับแตกต่างๆกัน
ด้านวัฒนธรรม ถึงแม้ว่าประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างของชาวหนี่ว์เจินจะได้รับการสืบทอดต่อมาพร้อมๆกับความรุ่งเรืองของอาณาจักรจิน ทว่า เมื่ออาณาจักรฮั่นยิ่งใหญ่ขึ้นมาแทน อาณาจักรจินถูกรวมเป็นปึกแผ่นกับอาณาจักรฮั่นในเวลาต่อมา วัฒนธรรมต่างๆก็ถูกกลืนหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมฮั่นไปในที่สุด
อาณาจักรจินล่มสลายในปีค.ศ.1234 ในปีที่ 2 แห่งรัชกาลเทียนซิง โดยการรุกรานของกองทัพพันธมิตรแห่งอาณาจักรมองโกลและซ่งใต้ .
**** เรียบเรียงจาก บทความของศาสตราจารย์ หานจื้อหยวน แห่งสถาบันวิจัยและศึกษาประวัติศาสตร์สมัยใหม่ ในสังกัดบัณฑิตยสภาด้านสังคมศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น