เปาเจิ่ง (จีน: 包拯; พินอิน: Bāo Zhěng) , สมัญญาว่า "ซีเหริน" (จีน: 希仁; พินอิน: Xīrén; "ยอดคน") , นามที่ได้รับการเฉลิมเมื่อถึงแก่กรรมแล้วว่า "เสี้ยวสู้" (จีน: 孝肅; พินอิน: Xiàosù; "ผู้เป็นปูชนียะประหนึ่งบิดามารดา") หรือส่วนคำว่า เปาบุ้นจิ้น นั้น เป็นคำในสำเนียงแต้จิ๋ว ภาษาจีนกลางออกเสียงว่า เปาอุ๋นเจิ่ง หน้าสุสานบันทึกไว้ว่า เปาเซี่ยวซู่[1] มีชีวิตอยู่จริงในรัชสมัยสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงแห่งราชวงศ์ซ่ง มีชื่อเสียงมากและเป็นที่สรรเสริญในด้านความซื่อสัตย์และความยุติธรรม กระทั่งต่อมาภายหลังได้รับยกย่องในเอเชียว่าเป็นเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมและเป็นสัญลักษณ์แห่งความยุติธรรมโดยทั่วไปแล้ว ผู้คนมักคำนึงว่าเปาบุ้นจิ้นเป็นตุลาการ แต่ความจริงแล้วงานตุลาการเป็นหน้าที่หนึ่งในครั้งที่รั้งตำแหน่งผู้ว่าราชการจังหวัด เปาบุ้นจิ้นนั้นได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งหลายประเภท โดยเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมหกเดือนก่อนถึงแก่อสัญกรรม
เปาบุ้นจิ้นนั้นเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปถึงความเข้มงวดในการปฏิบัติราชการ ความกตัญญูกตเวที และการปฏิเสธความอยุติธรรมและการทุจริตในหน้าที่ราชการชนิดหัวชนฝา ชื่อเสียงดังกล่าวทำให้เปาบุ้นจิ้นกลายเป็นสัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์ยุติธรรม (จีน: 清官; พินอิน: qīngguān, ชิงกวน) และได้รับความนิยมอย่างรวดเร็วกระทั่งต่อมาได้รับความนับถือเลื่อมใสถึงขนาดยกย่องเสมอเทพเจ้า เรื่องราวเกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้นได้รับการเล่าขานและปรากฏตัวในรูปมุขปาฐะ จนสมัยต่อ ๆ มามีการสร้างสรรค์วรรณกรรมหลายเรื่องเกี่ยวกับเปาบุ้นจิ้น เช่น เรื่อง "เปาเล่งถูกงอั้น" หรือ "ประมวลคดีของเปาบุ้นจิ้น" และเรื่อง "เจ็ดผู้กล้าห้าผู้ทรงธรรม" เป็นต้น ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้ได้มีการนำไปสร้างเป็นละครโทรทัศน์และภาพยนตร์ในชั้นปัจจุบัน และยังส่งผลระดับสูงถึงสูงมากต่อการปลูกฝังวัฒนธรรมที่ดีในประเทศที่มีการนำไปแพร่ภาพด้วย ทั้งนี้ ตามการวิจัยของคณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อ พ.ศ. 2541[1]วรรณกรรมข้างต้นทำให้เปาบุ้นจิ้นเป็นที่รู้จักในชื่อ "เปากง" (จีน: 包公; พินอิน: Bāo Gōng; "ปู่เปา" "ท่านเปา" หรือ "เจ้าเปา") "เปาไตจื้อ" (จีน: 包待制; พินอิน: Bāo Dāizhì; "ว่าที่ราชเลขาฯ เปา") "เปาหลงถู" (จีน: 包龍圖; พินอิน: Bāo Lóngtú; "เปาผู้เป็นประดุจมังกร" ชื่อนี้รู้จักในไทยว่า "เปาเล่งถู") และ "เปาชิงเทียน" (จีน: 包青天; พินอิน: Bāo Qīngtiān; "เปาผู้ทำให้ฟ้ากระจ่าง")เปาบุ้นจิ้นมีชีวิตอยู่ในช่วงก่อนสมัยสุโขทัยเมื่อเทียบกันแล้ว ส่วนชื่อ "เปาบุ้นจิ้น" ในไทยเป็นคำอ่านสำเนียงแต้จิ๋ว ซึ่งสำเนียงจีนกลางว่า "เปาอุ๋นเจิ่ง" หรือ "เปาเหวินเจิ่ง"[2] นอกจากนี้ ในไทยเอง คำ "เปาบุ้นจิ้น" หรือ "ท่านเปา" ยังมีความหมายว่า ตุลาการ ศาล หรือผู้พิพากษาอีกด้วย และบางทีก็เจาะจงว่าหมายถึงตุลาการที่เที่ยงธรรมด้ว ]ประวัติเปาบุ้นจิ้นถือกำเนิดขึ้นในครอบครัวนักวิชาการแห่งนครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ที่ซึ่งในปัจจุบันประดิษฐานวัดเจ้าเปา (จีน: 包公祠; พินอิน: Bāogōngcí; คำอ่าน: เปากงฉือ) วัดดังกล่าวสถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 1609 ใกล้กับสุสานของเปาบุ้นจิ้นเปาบุ้นจิ้นนั้นเมื่ออายุได้ยี่สิบเก้าปีได้เข้ารับการทดสอบหลวง และผ่านการทดสอบระดับสูงสุด ได้รับแต่งตั้งเป็นบัณฑิตเรียกว่า "จินฉื่อ" (พินอิน: Jinshi) และต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นผู้ว่าราชการกรุงไคฟง อันเป็นเมืองหลวงแห่งประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ซ้งมีประวัติเล่าว่าเปาบุนจิ้นรับราชการเป็นเวลา 45 ปี ในฝ่ายบริหาร เริ่มตั้งแต่นายอำเภอ เจ้าเมือง ผู้ตรวจราชการแผ่นดิน เจ้าเมืองไคฟง เสนาบดีการคลัง เป็นต้น ในสมัยที่ดำรงตำแหน่งหน้าที่ในราชการ เปาบุ้นจิ้นไม่ปรานีและประนีประนอมกับความทุจริตใด ๆ เลย เปาบุ้นจิ้นนั้นมีนิสัยรักและเทิดทูนความยุติธรรม ปฏิเสธที่จะเข้าถึงอำนาจหน้าที่โดยวิถีทางอันมิชอบ บุคคลผู้หนึ่งที่ชิงชังเปาบุ้นจิ้นนักได้แก่ราชครูผัง (จีน: 龐太師; พินอิน: Pángtàishī; คำอ่าน: ผังไท้ชือ) อย่างไรก็ดี ยังไม่ปรากฏข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่แน่ชัดรับรองว่าราชครูผังผู้นี้มีความชิงชังในเปาบุ้นจิ้นจริง นอกจากนี้ การปฏิบัติราชการโดยบริสุทธิ์ยุติธรรมอย่างไม่เห็นแก่หน้าผู้ใดยังทำให้เปาบุ้นจิ้นมีความขัดแย้งกับข้าราชการชั้นสูงบางกลุ่ม ซึ่งรวมถึงนายกรัฐมนตรีซ้งหยาง (พินอิน: Song Yang) เปาบุ้นจิ้นเคยสั่งลดขั้นตำแหน่งและปลดข้าราชการถึงสามสิบคนในคราเดียวกัน เหตุเพราะทุจริตต่อหน้าที่ราชการ รับและ/หรือติดสินบน และละทิ้งหน้าที่ราชการ กับทั้งเปาบุ้นจิ้นยังเคยกล่าวโทษจางเหยาจั๋ว (พินอิน: Zhang Yaozhuo) พระปิตุลาของพระวรชายา ถึงหกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากความซื่อสัตย์และเฉียบขาดในการปฏิบัติหน้าที่ จนเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัย สมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงจึงมิได้พระราชทานราชทัณฑ์แก่เปาบุ้นจิ้นในอันที่ได้ล่วงเกินบุคคลสำคัญดังกล่าวนี้เพื่อนร่วมงานและผู้สนับสนุนคนสำคัญคนหนึ่งของเปาบุ้นจิ้น ได้แก่ สมเด็จพระบรมวงศ์เธอพระองค์ที่แปดในสมเด็จพระจักรพรรดิ (จีน: 八王爺; พินอิน: Bāwángyé; คำอ่าน: ปาหวังอี๋ ในละครโทรทัศน์เรื่องเปาบุ้นจิ้นที่พากย์เป็นภาษาไทยมักเรียกว่า "อ๋องแปด") สมเด็จพระบรมวงศ์เธอผู้นี้เป็นพระมาตุลาในสมเด็จพระจักรพรรดิเหรินจงเปาบุ้นจิ้นไม่เคยรับของขวัญใด ๆ เลยแม้จะเป็นชิ้นเล็ก ๆ น้อย ๆ ก็ตาม เพื่อหลีกเลี่ยงคำครหาและความไม่เหมาะสมต่าง ๆด้านความเป็นอยู่ส่วนตัวและอัธยาศัยนั้น ประวัติศาสตร์จีนบันทึกไว้ว่า เปาบุ้นจิ้นเป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลวแต่ก็มิใช่เป็นคนดุร้าย เปาบุ้นจิ้นเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา กับทั้งไม่เคยคบคนง่าย ๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน มีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง แต่เสื้อผ้า เครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นสามัญชนเลยการที่เปาบุ้นจิ้นได้รับยกย่องว่าเป็นประดุจเทพเจ้าแห่งความยุติธรรมทำให้ชาวจีนเชื่อว่า เปาบุ้นจิ้นนั้นกลางวันตัดสินคดีความในมนุษยโลก กลางคืนไปตัดสินคดีความในยมโลก
ในงิ้วตลอดจนในละครและภาพยนตร์ ผู้แสดงมักแสดงเป็นเปาบุ้นจิ้นโดยมีใบหน้าสีดำ และมีพระจันทร์เสี้ยวอันเป็นเครื่องหมายที่มีมาแต่กำเนิดประดิษฐานอยู่บนหน้าผาก กับทั้งเปาบุ้นจิ้นยังใช้เครื่องประหารเป็นชุดซึ่งได้รับพระราชทานจากสมเด็จพระจักรพรรดิอีกด้วย
โดยชุดเครื่องประหารประกอบด้วย เครื่องประหารหัวสุนัขสำหรับประหารอาชญากรที่เป็นสามัญชน เครื่องประหารหัวพยัคฆ์สำหรับอาชญากรที่เป็นข้าราชการและผู้มีบรรดาศักดิ์ และเครื่องประหารหัวมังกรสำหรับพระราชวงศ์ นอกจากนี้ เปาบุ้นจิ้นยังได้รับพระราชทานหวายทองคำจากสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ก่อนโดยให้สามารถใช้เฆี่ยนตีสั่งสอนสมเด็จพระจักรพรรดิพระองค์ปัจจุบันได้ และกระบี่อาญาสิทธิ์โดยให้มีอาญาสิทธิ์สามารถประหารผู้ใดก็ได้นับแต่สามัญชนจนถึงเจ้าโดยไม่ต้องได้รับพระราชานุญาตก่อนตามธรรมเนียมปฏิบัติ แต่หลังจากประหารแล้วให้จัดทำรายงานกราบบังคมทูลทราบพระกรุณาด้วย เป็นที่มาของสำนวนจีนว่า "ฆ่าก่อน รายงานทีหลัง" (จีน: 先斬後奏; พินอิน: xiānzhǎnhòuzòu, เซียนฉ่านโฮ้วโจ้ว)
ในวรรณกรรมจีนหลายเครื่อง ระบุถึงคดีสำคัญที่ได้รับการตัดสินโดยเปาบุ้นจิ้น ดังต่อไปนี้
คดีฉาเม่ย (จีน: 鍘美; พินอิน: zháměi) : เปาบุ้นจิ้นได้ตัดสินประหารเฉินชื้อเม่ย (จีน: 陳世美; พินอิน: Chénshìměi) ผู้ทอดทิ้งภรรยาไปสมรสกับพระราชวงศ์จนได้รับพระราชทานยศเป็นพระราชบุตรเขย และต่อมาได้พยายามฆ่าภรรยาผู้นั้นเนื่องจากนำความไปร้องต่อศาลกรุงไคฟง ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้นในชื่อ "คดีประหารราชบุตรเขย"
คดีหลีเมาฮ้วนไท้จี๋ (จีน: 貍貓換太子; พินอิน: límāohuàntàizǐ) : หรือคดีเกี่ยวกับการทำลายชื่อเสียงของพระวรชายาด้วยการลักลอบนำชะมดมาสับเปลี่ยนกับพระราชโอรสที่เพิ่งมีประสูติกาลและต่อไปจะได้ทรงเป็นมกุฎราชกุมาร คดีนี้มีขันทีชื่อกัวหวาย (จีน: 郭槐; พินอิน: Guōhuái) เป็นจำเลย
ขันทีกัวหวายนั้นสนับสนุนงานของเปาบุ้นจิ้นมาตลอดและเป็นที่ไว้วางพระราชหฤทัยของสมเด็จพระจักรพรรดิ ทำให้กระบวนการสอบสวนเป็นไปได้โดยลำบาก เปาบุ้นจิ้นจึงปลอมตัวเป็นหยานหลัว (จีน: 阎罗; พินอิน: Yánluó; มัจจุราช) และจำลองยมโลกขึ้นเพื่อล่อลวงให้ขันทีรับสารภาพ ชื่อคดีนี้รู้จักกันทั่วไปจากละครโทรทัศน์ชุดเปาบุ้นจิ้นในชื่อ "คดีสับเปลี่ยนองค์ชาย" ประวัติของเปาบุ้นจิ้นส่วนใหญ่เน้นที่การตัดสินความ แม้ว่าความจริงแล้ว เปาบุ้นจิ้นไม่ได้มีอาชีพเป็นตุลาการโดยตรงก็ตาม ความเด็ดเดี่ยว กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้คนพากันยกย่อง และคอยร้องทุกข์ต่อเปาบุ้นจิ้นเสมอ เปาบุ้นจิ้นมีหลักในการบริหารว่า "จิตใจสะอาด บริสุทธิ์ คือหลักแก้ไขปัญหามูลฐาน ความเที่ยงตรงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต จงจดจำบทเรียนในประวัติศาสตร์ไว้ อย่าให้คนรุ่นหลังเย้ยหยันได้" นอกเหนือจากการตัดสินคดีอย่างตรงไปตรงมาแล้ว เปาบุ้นจิ้นก็ยังมีชื่อเสียง ในฐานะข้าราชการตงฉิน ไม่เคยรับสินบนใดๆ แม้จะเป็นของขวัญเล็กๆ น้อยๆ ก็ตาม มีการเขียนยกย่องเปาบุ้นจิ้นไว้ใน
หนังสือประวัติศาสตร์จีน ว่า "เป็นคนตรงไปตรงมา รังเกียจข้าราชการฉ้อราษฎร์บังหลวง และกดขี่ขูดรีดประชาชน แม้จะเกลียดคนเลว แต่ท่านก็มิใช่เป็นคนดุร้าย ท่านเป็นคนซื่อสัตย์และให้อภัยคนทำผิดโดยไม่เจตนา ท่านไม่เคยคบคนง่ายๆ อย่างไร้หลักการ ไม่เสแสร้งทำหน้าชื่นและป้อนคำหวานเพื่อเอาใจคน ท่านมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างเปิดเผย ไม่มีลับลมคมใน จึงไม่มีฝักไม่มีฝ่าย แม้ว่ายศฐาบรรดาศักดิ์สูงส่ง เสื้อผ้า เครื่องใช้และอาหารการกินก็ไม่ได้แตกต่างจากเมื่อครั้งยังเป็นคนสามัญธรรมดาเลย เปาบุ้นจิ้นนับว่าเป็นคนที่มีอายุยืนยาวคนหนึ่ง เปาบุ้นจิ้นมีอายุถึง 105 ปีก่อนจะสิ้นใจ
คณะเปาบุ้นจิ้นตามวรรณกรรมในวรรณกรรมจีนส่วนใหญ่ เปาบุ้นจิ้นมีคณะผู้ช่วย ประกอบด้วยองครักษ์ จั่นเจา (พินอิน: Zhan Zhao) ชายผู้มีพละกำลังมหาศาลและมีฝีมือในการต่อสู้ชนิดยากหาใครเทียบได้ ในวรรณกรรมบางเรื่อง องค์รักษ์จั่นเจาถือว่าเป็นตัวแทนแห่งฝ่ายทหารหรือฝ่ายบู๊ ในขณะที่เปาบุ้นจิ้นเป็นตัวแทนแห่งฝ่ายพลเรือนหรือฝ่ายบุ๋น ที่ปรึกษาและเลขานุการ
3 ความคิดเห็น:
อ่านเจอข้อความที่ซ้ำกันไปมาค่ะ ขอบคุณมากนะค่ะที่ทำไว้ไห้ผู้คนได้อ่านขอบคุณมากๆค่ะ
ความรู้เพิ่มค่ะ
เรายังสับสน ว่าตกลง เปาบุ้นจิ้น มีอายุ ๖๓ ปี หรือ ๑๐๕ ปี
แสดงความคิดเห็น