รูปที่ 1 ท่านจางซานฟง ทราบว่าท่านอายุยืนมาก รูปที่เห็นส่วนมากผมเผ้าหนวดเคราจะเป็นสีดำครับ แสดงว่าหนุ่มอยู่เสมอ
รูปที่ 2 รูปท่านจางซานฟงพิจารณานกกระเรียนกัดกับงูแล้วคิดออกมาเป็นมวยไท่เก๊กได้ จิตกรที่วาดรูปนี้ก็จินตนาการเอาว่ามันมาตีกันอยู่ในสวนบ้านท่าน
รูปที่ 3 นกกระเรียนตัวเป็นๆ หน้าตาอย่างนี้ท่านนักพรตจางซานฟงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อจางจวินเป่า หรือเตียกุนป้อ เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่าเคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
ประวัติท่านจางซานฟง ปรมาจารย์มวยไท่เก๊ก
ไม่มีใครรู้ครับว่าประวัติที่แท้จริงของมวยไท่เก๊กเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ส่วนมากแล้วจะอ้างว่านักพรตจางซานฟงหรือเตียซำฮง ที่เคยเห็นอยู่ในหนังเรื่องดาบมังกรหยก คนที่เป็นอาจารย์ปู่ของพระเอกจอมยุทธ์เตียบ่อกี้นั่นแหละ เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการบังเอิญเปิดหน้าต่างบ้านออกมาแล้วก็บังเอิญเห็นนกกระเรียนตีกันกับงูอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นนกดุเหว่าตีกับงู แต่เอาเป็นว่านกตีกะงูละ ท่านก็ให้ปลาบปลื้มปิติ ปิ๊งเป็นวิชามวยขึ้นมา จริงๆ แล้วมวยจีนหลายๆ แขนงก็มักจะอ้างว่าคิดขึ้นมาจากกระเรียนมั่ง งูมั่ง หรือไม่ก็ทั้งคู่นี่แหละ นัยว่าเป็นสัตว์ยอดฮิตสำหรับการคิดมวยจีนนอกจากนี้ก็มีที่คิดมาจากเสือ หมี ลิง ตั๊กแตน นกอินทรี ที่แปลกๆ เช่นหมา หรือเป็ดก็มี หรือที่ยิ่งใหญ่ๆ มากๆ อย่างมังกรก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกันตำนานไม่ได้บอกว่ากระเรียนกับงูที่เป็นอาจารย์สอนมวยให้ท่านจาง หรือผลการสู้กันใครเป็นฝ่ายชนะ หรือเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อ แต่คาดว่าคงไม่ได้โดนท่านจางจับย่างกินเป็นแน่ เพราะท่านเป็นนักพรตเต๋า ก็ถือศีลกินเจครับ
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูปที่ 1 ท่านจางซานฟง ทราบว่าท่านอายุยืนมาก รูปที่เห็นส่วนมากผมเผ้าหนวดเคราจะเป็นสีดำครับ แสดงว่าหนุ่มอยู่เสมอ
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูปที่ 2 รูปท่านจางซานฟงพิจารณานกกระเรียนกัดกับงูแล้วคิดออกมาเป็นมวยไท่เก๊กได้ จิตกรที่วาดรูปนี้ก็จินตนาการเอาว่ามันมาตีกันอยู่ในสวนบ้านท่าน
รูปนี้ถูกลดขนาดลง กดที่เเถบนี้เพื่อดูขนาดเดิม ขนาดเดิมของรูป: 500x375 ขนาดของไฟล์: 69KBรูปที่ 3 นกกระเรียนตัวเป็นๆ หน้าตาอย่างนี้ท่านนักพรตจางซานฟงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อจางจวินเป่า หรือเตียกุนป้อ เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่าเคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูป 4 รูปท่านตักม้อ หรือท่านโพธิธรรม ผู้คิดค้นมวยเส้าหลินขึ้นมาจนเป็นมวยประจำชาติจีน สังเกตุว่าหน้าท่านจะไม่ค่อยหมือนคนจีนเพราะท่านเป็นพระอินเดียเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศจีน จิตรกรที่วาดรูปท่านมักจะวาดให้ยืนอยู่บนปล้องอ้อ นัยว่าท่านเหยียบปล้องอ้อข้ามน้ำมาบางตำนานก็ว่าท่านเคยสอบได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮ่องเต้ไท่จง แต่เบื่อราชการงานเมือง ก็เลยลาออกจากราชการ ชื่อฮ่องเต้ไท่จงนี่รู้สึกจะมีหลายพระองค์ครับอันนี้คือไท่จงของหยวน ก็เรียกว่าหยวนไท่จง คือฮ่องเต้ชื่อไท่จงนี้จะใช้กับฮ่องเต้ที่เป็นต้นราชวงศ์ ทีนี้ท่านจางลาออกแล้วก็เดินทางท่องเที่ยว เขาว่าท่านมีโอกาสได้ฝึกมวยเส้าหลินสำเร็จในช่วงที่เดินทางนี่เอง ซึ่งอันนี้โดยส่วนตัวผมว่าออกจะขัดแย้งอยู่บ้าง คือหากท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่เมื่อลาออกมาก็คงอายุไม่น้อยแล้ว ขณะที่มวยเส้าหลินนั้นจะต้องฝึกกันตั้งแต่อายุยังน้อย หากกลับกันคือท่านฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน แล้วไปรับราชการทีหลังยังจะน่าเชื่อกว่าอย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่เอง เล่ากันว่าท่านมีโอกาสได้พบกับนักพรตหั่วหลงเจินเหริน หรือนักพรตมังกรไฟ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาอมตะของเซียนในลัทธิเต๋าให้กับท่าน อันวิชาอมตะนี้ก็มีปรากฏอยู่ในนิยายจีนอยู่เนืองๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของท่านหวงอี้ ยาวเฟื้อย อ่านสนุกมาก ด้วยความเป็นอัจฉริยะท่านก็ฝึกวิชาอมตะสำเร็จอีก ก็เลยมีอายุยืนยาว อยู่มาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1654) สำหรับคนไทยอ้างอิงกับนิยายดูจะง่ายกว่า ราชวงศ์หมิงหรือเหม็งนี่ก็คือพรรคเม้งก่าในดาบมังกรหยกของกิมย้งไงครับ ในนิยายหลังจากพรรคเม้งก่ารวมกำลังชาวฮั่นก่อการล้มล้างราชวงศ์หยวนซึ่งก็คือชาวมองโกลได้สำเร็จก็ตั้งเป็นราชวงศ์เหม็งขึ้น โดยขุนศึกจูหยวนจางขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ ในนิยายเตียบ่อกี้ เป็นหัวหน้าพรรคเม้งก่าก็น่าจะได้เป็นฮ่องเต้ ท่านก็แต่งให้โดนจูหยวนจางหักหลังตอนจบไงครับ แต่ตอนหลังฉบับปรับปรุงใหม่ท่านกิมย้งคงไม่อยากให้ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงกลายเป็นคนไม่ดี ก็เลยแก้บทให้เตียบ่อกี้ยกอำนาจให้กับจูหยวนจางเองโดยอ้างว่าปรมาจารย์สั่งไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมือง
รูปที่ 5 ฮ่องเต้ไทจูหรือจูหยวนจางครับนอกเรื่องไปไกล กลับมาที่ประวัติท่านจาง เขาว่าท่านก็กลัวจะถูกเรียกกลับไปรับราชการอีก ก็เลยทำตัวสติเฟื่องไปพักหนึ่ง จนคิดว่าปลอดภัยแน่แล้วก็ไปอาศัยอยู่บนเขาอู่ตังหรือบู๊ตึ๊ง ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 1407 ฮ่องเต้เฉิงจู่ ได้ส่งข้าราชการไปเยี่ยมท่านที่เขาอู่ตังแต่ไม่พบ ก็เลยถือโอกาสสร้างอารามใหญ่โตไว้บนเขาเอาไว้ให้ จนในปี ค.ศ. 1459 ฮ่องเต้อิงจงก็พระราชทานฉายาอมตะให้ จากนั้นชื่อของท่านก็ค่อยๆ จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ซึ่งถ้านับกันแล้วก็จะพบว่าท่านมีอายุเท่าที่รู้ๆ กันก็เกิน 200 ปี ระหว่างนั้นก็มีชื่อท่านปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะ จนนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นคนละจาง อยู่กันคนละสมัยแต่บังเอิญมีชื่อพ้องกัน ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
รูปที 6 ฮ่องเต้เฉิงจู่ คนนี้ละครับที่สร้างอารามให้ท่านจางซานฟงบนเขาอู่ตัง
รูปที่ 3 นกกระเรียนตัวเป็นๆ หน้าตาอย่างนี้ท่านนักพรตจางซานฟงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อจางจวินเป่า หรือเตียกุนป้อ เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่าเคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
ประวัติท่านจางซานฟง ปรมาจารย์มวยไท่เก๊ก
ไม่มีใครรู้ครับว่าประวัติที่แท้จริงของมวยไท่เก๊กเป็นอย่างไรกันแน่ แต่ส่วนมากแล้วจะอ้างว่านักพรตจางซานฟงหรือเตียซำฮง ที่เคยเห็นอยู่ในหนังเรื่องดาบมังกรหยก คนที่เป็นอาจารย์ปู่ของพระเอกจอมยุทธ์เตียบ่อกี้นั่นแหละ เป็นผู้คิดค้นขึ้น โดยได้รับแรงบันดาลใจจากการบังเอิญเปิดหน้าต่างบ้านออกมาแล้วก็บังเอิญเห็นนกกระเรียนตีกันกับงูอยู่ หรือบ้างก็ว่าเป็นนกดุเหว่าตีกับงู แต่เอาเป็นว่านกตีกะงูละ ท่านก็ให้ปลาบปลื้มปิติ ปิ๊งเป็นวิชามวยขึ้นมา จริงๆ แล้วมวยจีนหลายๆ แขนงก็มักจะอ้างว่าคิดขึ้นมาจากกระเรียนมั่ง งูมั่ง หรือไม่ก็ทั้งคู่นี่แหละ นัยว่าเป็นสัตว์ยอดฮิตสำหรับการคิดมวยจีนนอกจากนี้ก็มีที่คิดมาจากเสือ หมี ลิง ตั๊กแตน นกอินทรี ที่แปลกๆ เช่นหมา หรือเป็ดก็มี หรือที่ยิ่งใหญ่ๆ มากๆ อย่างมังกรก็เป็นที่นิยมมากเหมือนกันตำนานไม่ได้บอกว่ากระเรียนกับงูที่เป็นอาจารย์สอนมวยให้ท่านจาง หรือผลการสู้กันใครเป็นฝ่ายชนะ หรือเรื่องราวเป็นอย่างไรต่อ แต่คาดว่าคงไม่ได้โดนท่านจางจับย่างกินเป็นแน่ เพราะท่านเป็นนักพรตเต๋า ก็ถือศีลกินเจครับ
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูปที่ 1 ท่านจางซานฟง ทราบว่าท่านอายุยืนมาก รูปที่เห็นส่วนมากผมเผ้าหนวดเคราจะเป็นสีดำครับ แสดงว่าหนุ่มอยู่เสมอ
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูปที่ 2 รูปท่านจางซานฟงพิจารณานกกระเรียนกัดกับงูแล้วคิดออกมาเป็นมวยไท่เก๊กได้ จิตกรที่วาดรูปนี้ก็จินตนาการเอาว่ามันมาตีกันอยู่ในสวนบ้านท่าน
รูปนี้ถูกลดขนาดลง กดที่เเถบนี้เพื่อดูขนาดเดิม ขนาดเดิมของรูป: 500x375 ขนาดของไฟล์: 69KBรูปที่ 3 นกกระเรียนตัวเป็นๆ หน้าตาอย่างนี้ท่านนักพรตจางซานฟงผู้นี้ เชื่อกันว่าเดิมชื่อจางจวินเป่า หรือเตียกุนป้อ เกิดในประเทศจีนตอนปลายราชวงศ์ซ่ง ว่ากันว่าเป็น วันที่ 9 เมษายน ค.ศ. 1247 แล้วมามีชื่อเสียงสมัยราชวงศ์หยวน (ค.ศ. 1279-1368) เคยศึกษามวยเส้าหลินจากวัดเส้าหลินมาก่อน บ้างก็ว่าเคยบวชในวัด ที่ท่านกิมย้งไปแต่งเป็นนิยายมังกรหยกก็ว่าเคยเป็นเณรน้อยอยู่ในวัดก่อนจะหนีออกมา หรือในภาพยนต์หลายๆ เรื่องที่เอาเรื่องของท่านมาสร้างก็มักจะให้เป็นหลวงจีนแล้วทำผิดกฏโดนไล่ออกจากวัด ประมวลจากหลายๆ สายก็เอาเป็นว่าท่านก็น่าจะมีเอี่ยวกับวัดเส้าหลินมาแต่เดิม
กดที่เเถบนี้เพื่อดูรูปขนาดดั้งเดิมรูป 4 รูปท่านตักม้อ หรือท่านโพธิธรรม ผู้คิดค้นมวยเส้าหลินขึ้นมาจนเป็นมวยประจำชาติจีน สังเกตุว่าหน้าท่านจะไม่ค่อยหมือนคนจีนเพราะท่านเป็นพระอินเดียเดินทางมาเผยแผ่ศาสนาพุทธในประเทศจีน จิตรกรที่วาดรูปท่านมักจะวาดให้ยืนอยู่บนปล้องอ้อ นัยว่าท่านเหยียบปล้องอ้อข้ามน้ำมาบางตำนานก็ว่าท่านเคยสอบได้เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ในสมัยฮ่องเต้ไท่จง แต่เบื่อราชการงานเมือง ก็เลยลาออกจากราชการ ชื่อฮ่องเต้ไท่จงนี่รู้สึกจะมีหลายพระองค์ครับอันนี้คือไท่จงของหยวน ก็เรียกว่าหยวนไท่จง คือฮ่องเต้ชื่อไท่จงนี้จะใช้กับฮ่องเต้ที่เป็นต้นราชวงศ์ ทีนี้ท่านจางลาออกแล้วก็เดินทางท่องเที่ยว เขาว่าท่านมีโอกาสได้ฝึกมวยเส้าหลินสำเร็จในช่วงที่เดินทางนี่เอง ซึ่งอันนี้โดยส่วนตัวผมว่าออกจะขัดแย้งอยู่บ้าง คือหากท่านเป็นขุนนางผู้ใหญ่เมื่อลาออกมาก็คงอายุไม่น้อยแล้ว ขณะที่มวยเส้าหลินนั้นจะต้องฝึกกันตั้งแต่อายุยังน้อย หากกลับกันคือท่านฝึกมวยเส้าหลินมาก่อน แล้วไปรับราชการทีหลังยังจะน่าเชื่อกว่าอย่างไรก็ตาม ในระหว่างที่ท่านเดินทางท่องเที่ยวอยู่นี่เอง เล่ากันว่าท่านมีโอกาสได้พบกับนักพรตหั่วหลงเจินเหริน หรือนักพรตมังกรไฟ ซึ่งเป็นผู้สอนวิชาอมตะของเซียนในลัทธิเต๋าให้กับท่าน อันวิชาอมตะนี้ก็มีปรากฏอยู่ในนิยายจีนอยู่เนืองๆ ที่มีชื่อเสียงก็คือเรื่อง “มังกรคู่สู้สิบทิศ” ของท่านหวงอี้ ยาวเฟื้อย อ่านสนุกมาก ด้วยความเป็นอัจฉริยะท่านก็ฝึกวิชาอมตะสำเร็จอีก ก็เลยมีอายุยืนยาว อยู่มาจนถึงราชวงศ์หมิง (ค.ศ. 1368-1654) สำหรับคนไทยอ้างอิงกับนิยายดูจะง่ายกว่า ราชวงศ์หมิงหรือเหม็งนี่ก็คือพรรคเม้งก่าในดาบมังกรหยกของกิมย้งไงครับ ในนิยายหลังจากพรรคเม้งก่ารวมกำลังชาวฮั่นก่อการล้มล้างราชวงศ์หยวนซึ่งก็คือชาวมองโกลได้สำเร็จก็ตั้งเป็นราชวงศ์เหม็งขึ้น โดยขุนศึกจูหยวนจางขึ้นเป็นปฐมกษัตริย์ ในนิยายเตียบ่อกี้ เป็นหัวหน้าพรรคเม้งก่าก็น่าจะได้เป็นฮ่องเต้ ท่านก็แต่งให้โดนจูหยวนจางหักหลังตอนจบไงครับ แต่ตอนหลังฉบับปรับปรุงใหม่ท่านกิมย้งคงไม่อยากให้ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์หมิงกลายเป็นคนไม่ดี ก็เลยแก้บทให้เตียบ่อกี้ยกอำนาจให้กับจูหยวนจางเองโดยอ้างว่าปรมาจารย์สั่งไม่ให้รับตำแหน่งทางการเมือง
รูปที่ 5 ฮ่องเต้ไทจูหรือจูหยวนจางครับนอกเรื่องไปไกล กลับมาที่ประวัติท่านจาง เขาว่าท่านก็กลัวจะถูกเรียกกลับไปรับราชการอีก ก็เลยทำตัวสติเฟื่องไปพักหนึ่ง จนคิดว่าปลอดภัยแน่แล้วก็ไปอาศัยอยู่บนเขาอู่ตังหรือบู๊ตึ๊ง ว่ากันว่าในปี ค.ศ. 1407 ฮ่องเต้เฉิงจู่ ได้ส่งข้าราชการไปเยี่ยมท่านที่เขาอู่ตังแต่ไม่พบ ก็เลยถือโอกาสสร้างอารามใหญ่โตไว้บนเขาเอาไว้ให้ จนในปี ค.ศ. 1459 ฮ่องเต้อิงจงก็พระราชทานฉายาอมตะให้ จากนั้นชื่อของท่านก็ค่อยๆ จางหายไปจากหน้าประวัติศาสตร์จีน ซึ่งถ้านับกันแล้วก็จะพบว่าท่านมีอายุเท่าที่รู้ๆ กันก็เกิน 200 ปี ระหว่างนั้นก็มีชื่อท่านปรากฏอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์จีนเยอะแยะ จนนักประวัติศาสตร์บางท่านเชื่อว่าน่าจะเป็นคนละจาง อยู่กันคนละสมัยแต่บังเอิญมีชื่อพ้องกัน ซึ่งก็มีความเป็นไปได้เช่นกัน
รูปที 6 ฮ่องเต้เฉิงจู่ คนนี้ละครับที่สร้างอารามให้ท่านจางซานฟงบนเขาอู่ตัง
รูปที่ 7 ฮ่องเต้อิงจง ท่านบังเอิญพระราชทานฉายาให้กับท่านจางก็เลยมีชื่อติดอยู่ในทำเนียบผู้เกี่ยวข้องกับมวยไท่เก๊กไปกับเขาด้วยอย่างไรก็ตาม ไม่มีใครปฏิเสธว่าท่านเป็นผู้คิดค้นมวยไท่เก๊กขึ้นมา บางตำราว่ามวยไท่เก๊กเกิดมาก่อนท่าน เพียงแต่บังเอิญว่าท่านจางเป็นผู้มีชื่อเสียงเอามากๆ แล้วท่านก็ดูเหมือนจะฝึกมวยไท่เก๊ก รวมทั้งสอนให้คนอื่นด้วย ก็เลยโมเมเอาว่ามวยนี้คิดขึ้นมาโดยท่านจางผู้ยิ่งใหญ่ดีกว่าที่จะให้เป็นมวยที่คนไร้ชื่อเสียงเรียงนามบัญญัติขึ้นครับ เรื่องนี้ก็พอมีเค้าครับ แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ยังยอมรับ และยกให้ท่านจางเป็นผู้รวบรวมมวยไท่เก๊กขึ้นมาเป็นเรื่องเป็นราว เป็นปฐมปรมาจารย์มวยไท่เก๊กอยู่ดี เอาว่าใครฝึกมวยไท่เก๊กแล้วเวลาตั้งโต๊ะไหว้ปรมาจารย์ ก็ไหว้ท่านจางนั่นแหละครับ ไม่ผิดแน่มีบันทึกว่าท่านจางซานฟงมีศิษย์อยู่ 7 คน ที่ปรากฏในนิยายด้วยนั่นแหละ ก็คือ ซ่งหย่วนเฉียว(ซ่งเอี๋ยงเกี๊ย), อวี๋เหลียนโจว (หยู่เหน่ยจิว), อวี๋ไต้เอี๋ยน(หยู่ไต่ง้ำ), จางสงซี (เตียส่งโคย) ,จางชุ่ยซัน(เตียชุ่ยซัว), อินลี่ถิง(ฮึงหลีเต๊ง), และมั่วกู่เซิง(หมกกกเซีย) ในภายหลังยังมีบันทึกของท่านซ่งหย่วนเฉียวเรื่องมวยไท่เก๊กตกทอดมาถึงปัจจุบันในหมู่ลูกหลานตระกูลซ่งจริงๆ แล้วก่อนสมัยท่านจางก็มีอยู่หลายมวยที่มีหลักการคล้ายๆ หรือมีท่วงท่าที่เหมือนๆ กับมวยไท่เก๊ก หรือมีชื่อท่าซ้ำกันกับมวยไท่เก๊กที่รู้จักกันในปัจจุบันโดยเฉพาะมวยไท่เก๊กของตระกูลหยางซึ่งหลายๆ ท่านเชื่อกันว่าเป็นมวยไท่เก๊กชุดที่ถูกถ่ายทอดมาแต่เดิมจริงๆ และมีการดัดแปลงน้อย แต่เท่าที่รู้ก็มีแค่ความคล้ายคลึงเท่านั้นยังไม่อาจเรียกว่าเป็นมวยไท่เก๊กได้ ที่นับว่าใช่ก็ตั้งแต่สมัยท่านจางซานฟงมานี่เองมีบางท่านเชื่อกันว่า ที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กต่างๆ สายโน้นสายนี้ที่ฝึกๆ กันอยู่ หรือทะเลาะกันอยู่ว่าใครของแท้ไม่แท้นี่เป็นคนละมวยกับมวยไท่เก๊กดั้งเดิมของท่านจาง ซึ่งมวยเดิมนั้นน่าจะสาบสูญไปแล้ว ที่มีอยู่ก็เพียงแต่อาศัยว่าท่านจางไม่ได้จดลิขสิทธิ์ชื่อมวยไว้ก็เลยตั้งชื่อซ้ำกันขึ้นมา อาศัยความดังของท่านว่างั้นเถอะ แต่ความเชื่อนี้ก็ค่อนข้างจะไม่ได้รับความนิยมสักเท่าไรนัก ส่วนหนึ่งเพราะผู้ฝึกเองก็อยากมีเครดิตว่าฝึกมวยเก่าของแท้ดั้งเดิม แต่อีกนัยหนึ่งก็คือว่าวิชาที่เรียกว่ามวยไท่เก๊กนี้แม้มีหลายสาย หลายสำนัก ท่วงท่าก็ไม่ค่อยเหมือนกัน หรือบางทีใช้ชื่ออื่นไปแล้วด้วยซ้ำเช่นมวยยาว มวย 13 ท่า มวยสำลี ฯลฯ แต่ผู้คนก็ยังรู้อยู่ว่านี่แหละที่เรียกว่ามวยไท่เก๊ก เพราะไม่ว่าจะหน้าตาอย่างไร หรือใช้ชื่ออะไร แต่เคล็ดความนั้นยังเป็นอันเดียวกัน หลักวิชาเดียวกันซึ่งหลักที่คลาสสิคที่สุดที่มักจะนำมาอ้างกันคือคัมภีร์ที่เขียนขึ้นโดยท่านหวังจง หรือหวังจงเย่ว ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นศิษย์ของท่านจางสงซี หนึ่งในเจ็ดศิษย์รักของท่านจางซานฟงนั่นเอง มีบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ด้วยซ้ำว่า “ภายหลังยุคของซานฟงยังมีหวังจง”ในปัจจุบันมวยมีมวยไท่เก๊กที่มีชื่อเสียงอยู่หลายตระกูล รวมทั้งที่ยังไม่ค่อยมีใครรู้จักอีกนับไม่ถ้วน ที่ค่อนข้างแพร่หลายหน่อยก็มีอยู่ห้าสำนัก คือสำนักตระกูลเฉิน (ตั๊ง) หยาง (เอี๊ย) อู๋ (โง้ว) อู่ (บู้) และซุน (ซึง) ซึ่งมวยทั้งห้าตระกูลนี้ก็มีสายสัมพันธ์กันค่อนข้างแน่นแฟ้น สืบสาวประวัติการเกี่ยวข้องดองกันออกมาได้ชัดเจน
3 ความคิดเห็น:
which story in your comment to me means please?
i am not sure which one
can we become friends?
you can speak english and i am sorry i cannot speak thai
i am in thaiand and i am studying here
in bangkok
you know bangkok noi?
where do you stay?
are you male or female?
thank you so much and do you have yahoo or msn please give me we can chat or add me please
shohel23@hotmail.com
shohelbarua@yahoo.com
แสดงความคิดเห็น