2/21/2554

ของดี ของเมืองคุนหมิง


1.ถ่านหิน  ทองสำเร็จ เหล็ก  ส่วนใหญ่จะตีดาบที่ดีแข็งแกร่งและสวย 
ต้องตีที่เมืองต้าหลี่

2.ใบชา 
ชาผูอ้า จะเป็นชาต้นใหญ่   3700 ปีที่แล้วเป็นชาเฉพาะฮ่องเต้ ในสมัยราชวงค์ถัง โดยไม่ได้ทำเป็นผงแต่ทำเป็นก้อนเพราะเส้นทางใบชานั้นไม่มีแม่น้ำ ดังนั้นจึงต้องใช้ม้าเป็นพาหนะ ดังนั้นชาจึงต้องอัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมแพ็คเป็นโหล 12 แผ่น ซึ่งชาชนิดนี้มีข้อดีคือ ไม่มีคาแฟอีน และรักษาสุขภาพ



3.บุหรี ใบยาสูบ คนจีน 10 คน สูบบุหรี่ 8 คน ตัวอย่างเช่น บุหรี่หมีแพนด้า ยี่ห้อนี้เต้งเสียวผิงชอบมาก
   263 หยวน หรือ ประมาณ  1075 บาท ต่อ มวน

4.หนอนฉลางไอ  ฤดูหนาวเป็นหนอน  ฤดูร้อนเป็นหญ้า
หนอนชนิดหนึ่งเหมือนพยาธิที่ติดในคางคาวถ่ายมาสู่ต้นหญ้าแล้วเติบโตในหิมะและถูกหญ้ากักตัวและดูดอาหารหนอนตัวนั้น จึงเรียนกว่าหญ้ากินนอน สรรพคุณ ป้องกันมะเร็ง
1 กรัม 300 หยวน ประมาณราคา 1500 บาท
 5.ขนมจีนข้ามสะพาน
ขนมจีนเป็นอาหารพื้นเมืองของมณฑลยูนนาน คนต่างถิ่นมาถึงคุนหมิงชอบทานขนมจีนคนยูนนานเองก็ชอบทานเช่นกัน คนที่มายูนนานไม่ว่าใครก็ตามต่างก็ชอบชิมขนมจีนข้ามสะพานซึ่งเป็นอาหารรสชาติยูนนานที่ลือชื่อ อาหารชนิดนี้ปรุงและใช้ส่วนประกอบของอาหารอย่างพิถีพิถัน รสชาติกลมกล่อม เป็นที่นิยมชมชอบของคนทั้งหลายที่ได้รับประทาน

    ขนมจีนข้ามสะพานมีขึ้นในสมัยราชวงศ์ชิง (ค.ศ. 1644-1911) นิทานเล่ากันว่าบริเวณทะเลสาบหนานหู อำเภอหมิงจื้อ ทางภาคใต้ของมณฑลยูนนาน กลางทะเลสาบมีเกาะเล็กๆ อยู่เกาะหนึ่งมีนักศึกษาไปท่องตำราเรียนเพื่อสอบจอหงวนอยู่บนเกาะทุกวัน ภรรยาต้องส่งสำรับข้าวไปให้ทานทุกวัน เนื่องจากระยะทางจากบ้านมาถึงเกาะค่อนข้างไกล และยังต้องเดินข้ามสะพานยาวกว่าจะถึงเกาะ กว่าอาหารจะไปถึงก็เย็นชืดหมดรสชาติแล้ว

     แต่แล้วอยู่มาวันหนึ่งภรรยาได้ต้มซุปไก่บรรจุโถไปให้สามีเมื่อไปถึงเกาะซุปไก่ก็ยังรักษาความร้อนอยู่ เป็นเพราะมีน้ำมันไก่ปกผิวซุปรักษาความร้อนไว้ วันต่อมาภรรยาจึงทำซุปไก่ร้อนๆบรรจุโถเช่นเดิม แล้วเอาขนมจีน หมูแล่บางๆ กับผักสดและเครื่องปรุง นำไปให้สามีลวกน้ำซุปรับประทาน สามีหลังจากรับประทานแล้ว ก็พูดกับภรรยาว่าอาหารมื้อนี้อร่อยจริงๆ สามีจึงได้ถามภรรยาว่า “อาหารมื้อนี้ชื่อว่าอะไร” ภรรยาตอบว่า “ยังไม่มีชื่อ” สามีจึงบอกว่า “เนื่องจากเธอเดินข้ามสะพานมาก็เรียกว่าขนมจีนข้ามสะพานเถอะ” และด้วยความขยันท่องตำราของสามีก็ไม่ทำให้ภรรยาผิดหวัง โดยได้สอบไล่จนเป็นจอหงวนได้สำเร็จ

    
ซึ่งฮ่องเต้เห็นหน้าก็ถามว่าทำสมบูรณ์ขนาดนี้ จงหงวนก็บอกเพราะอาหาร ที่เรียกว่า “ กั้วเฉียวหมี่เซี่ยน” “ หรือ ขนมจีนข้ามสะพานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา หลังจากนั้นก็นิยมนำมาเป็นสูตรปรุงกินกันและใส่เครื่องปรุงต่างๆมากขึ้นจนกลายเป็น ตำนานขนมจีนข้ามสะพานอันเลื่องลือของมณฑลยูนานตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

2/18/2554

"วัดเส้าหลิน" ถิ่นยอดกังฟูแดนมังกร




วัดเส้าหลิน ตั้งอยู่ อ.เติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ตั้งอยู่กลางกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจว(ห่างประมาณ 70 กม.) และเมืองลั่วหยาง(ห่างประมาณ 80 กม.มีรถโดยสารประจำทางสายวัดเส้าหลินวิ่งถึง ราคา 20 หยวน) ซึ่งจากเมืองทั้ง 2 สามารถนั่งรถไปใช้เวลาประมาณ 1 ชม.กว่าๆ ผู้สนใจเที่ยววัดเส้าหลิน หรือมณฑลเหอหนาน ตั้งอยู่ภายใน ซงซาน (嵩山) ภูกลาง อันเป็นหนึ่งใน 5 ยอดเขาแห่งแผ่นดินจีนหรือที่เรียกกันว่า อู่เยว่ (五岳) โดยอีก 4 เขาที่เหลือนั้นประกอบไปด้วย เหิงซาน (恒山) ภูเหนือในมณฑลซานซี เหิงซาน (衡山) ภูใต้ในมณฑลหูหนาน ไท่ซาน (泰山) ภูตะวันออกในมณฑลซานตง และหัวซาน (华山) ภูตะวันตกในมณฑลส่านซีมีสำนวนจีนกล่าวเอาไว้ว่า 五岳归来不看山 "ไปชม 5 ภู กลับมาไม่มองภูเขา " อันเป็นการบ่งบอกว่า ภูทั้ง 5 นั้นมีความสวยงามติดอยู่ในระดับหัวแถวของแผ่นดินในยุคชุนชิว แล้วคำว่า "เยว่ (岳)" ในยุคชุนชิว นั้นมีความหมายบ่งบอกถึง ตำแหน่งขุนนางผู้ดูแลภูเขาใหญ่ๆใน 4 ทิศรอบดินแดนจงหยวน (中原) ทั้งนี้ในเวลาต่อมาคำว่า "เยว่" นอกจากจะมีความหมายถึงขุนนางผู้ดูแลภูเขาใหญ่แล้วก็ถูกนำมาเรียกขาน ขุนเขาทั้ง 4 แห่งซึ่งขุนนางทั้ง 4 ดูแลอยู่ด้วย ในตอนนั้นคำว่า 4 ยอดภู (四岳) จึงปรากฎขึ้นสู่บรรณพิภพในยุคถัดจากชุนชิว คือ ยุคสงครามระหว่างรัฐ (战国; ก่อนคริสกาลราว 475-221 ปี) เมื่อความเชื่อที่ว่า สรรพสิ่งในโลกประกอบขึ้นด้วยธาตุ 5 ประการคือ เหล็ก ไม้ น้ำ ไฟ และ ดิน จากสองเจ้าทฤษฎี "ยินหยาง (阴阳)" คือ โจวแหย่น (邹衍) และ โจวซื่อ (邹奭) เป็นที่เชื่อถือกันโดยทั่วไป ก็เริ่มมี 'เยว่ที่ห้า' ปรากฎขึ้น จนต่อมา "5 ยอดภู" ก็มาแทนที่ "4 ยอดภู" ในที่สุด*ทั้งนี้การที่มีการยกย่องว่า 5 ภูเขา ดังกล่าวเป็น ยอดในแผ่นดินนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะพิจารณากันที่ "ความสูง" แต่อย่างใด แต่เขาพิจารณากันตรงที่ รูปลักษณ์และความสวย สง่างาม ตามคตินิยมของคนจีนตั้งแต่โบราณกาล โดยตั้งแต่สมัยของ จิ๋นซีฮ่องเต้ (หรือ ฉินสื่อหวงตี้) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน และ ฮั่นอู่ตี้ (汉武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ก็ปรากฎประเพณีขององค์ฮ่องเต้เมื่อออกตรวจราชการตามพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ 5 ยอดภู มักจะต้องแวะไปทำการ เซ่นสรวงบูชาเทวดาฟ้าดิน ที่ภูเหล่านี้ อันเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า ฮ่องเต้เป็นโอรสสวรรค์ได้รับอาณัติจากสวรรค์จริง**อย่างไรก็ตามในบรรดา 5 ยอดภูนี้ ก็มีจัด ที่สุดของที่สุดอีก โดย ภูตะวันออก หรือ ไท่ซาน แห่งมณฑล ซานตงถูกจัดให้อยู่หัวแถวที่สุดรูปปั้นสัญลักษณ์ของวัดเส้าหลิน หน้าทางเข้าวัดวัดเส้าหลินแอบตัวอยู่กลางหุบเขาและลำเนาไพรของซงซาน ที่ประกอบไปด้วยเขา 72 ยอด โดยแบ่งย่อยเป็นสองกลุ่ม คือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ (太室山) 36 ยอด และเขาเส้าซื่อ (少室山) 36 ยอด อย่างไรก็ตามความงดงามของธรรมชาติแห่งซงซานนั้นดูจะถูกบดบังไปสิ้นด้วยรัศมีแห่งวัดเส้าหลิน วัดนิกายฌาน (เซน) อันดับหนึ่งในใต้หล้า ที่ตั้งอยู่ในภายในหุบเขา 36 ยอดของภูเขาเส้าซื่อสามารถติดต่อได้ตามบริษัททัวร์ทั่วไป ทั้งนี้การเดินทางจากเมืองไทยที่สะดวกที่สุดสู่วัดเส้าหลินคือ จากกรุงเทพฯเดินทางสู่เมืองเจิ้งโจว (Zhengzhou) ซึ่งปัจจุบันมีสานการบินบางกอกแอร์เวยส์เปิดบินตรง กรุงเทพฯ-เจิ้งโจว สอบถามได้ที่ 1771จากนั้นเดินทางสู่วัดเส้าหลินที่อำเภอเติงเฟิง ค่าเข้าชมวัดเส้าหลิน 40 หยวน( 1 หยวนประมาณ 5 บาท)
ยอดเขาเส้าซื่อซาน
วัดเส้าหลินสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.495 ในราชวงศ์เว่ย(โจ) รัชสมัยของพระเจ้าเสี้ยวเหวินตี้ (孝文帝) หรือโจผี โดยแรกเริ่มเดิมทีมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้พระภิกษุจากอินเดีย นาม ป๋าถัว (跋陀) มาจำวัดและเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยว่ากันว่าในขณะนั้นพระอาจารย์ป๋าถัวมีลูกศิษย์ลูกหานับร้อยๆ คนเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามหลังจากพระอาจารย์ป๋าถัวมรณภาพ ชื่อเสียงของวัดเส้าหลินก็ค่อยๆ เสื่อมถอยลง
ล่วงมาถึง ค.ศ.527 เมื่อพระภิกษุจากอินเดียอีกรูปหนึ่งนาม ต๋าม๋อ (达摩) หรือพระโพธิธรรม หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "ตั๊กม้อ" เดินทางมาถึงวัดเส้าหลินเพื่อเผยแพร่นิกายเซนตามตำนานร่ำลือกันว่าภิกษุตั๊กม้อใช้เวลาถึง 3 ปีเดินทางจากประเทศอินเดียกว่าจะมาถึงวัดเส้าหลิน โดยเมื่อมาถึงท่านกลับไม่ได้เข้าวัด แต่เดินเลยขึ้นถึงถ้ำแห่งหนึ่งใกล้ๆ กับวัด ในถ้ำภิกษุตั๊กม้อหันหน้าเข้าผนังแล้วจึงนั่งลงขัดสมาธิ ท่านนั่งทำสมาธิและใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำแห่งนั้นเป็นเวลายาวนานถึง 9 ปี ก่อนที่จะลงจากถ้ำเพื่อมาถ่ายทอดพระธรรมและวิทยายุทธ์ให้กับสานุศิษย์ เมื่อถ่ายทอดแก่เหล่าศิษย์สำเร็จท่านจึงเดินทางออกจากวัดเส้าหลินและไปมรณภาพที่อี่ว์เหมิน (禹门) พื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนานว่ากันว่าจากการที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อนั่งหันหน้าเข้าผนังทำสมาธิอยู่ในถ้ำถึง 9 ปีนั้นทำให้บนผนังเกิดอภินิหารเป็นรอยเงาของท่านติดตรึงอยู่เลยทีเดียว โดยปัจจุบันถ้ำแห่งนี้นั้นอยู่ในบริเวณเที่ยวชมของวัดเส้าหลิน โดยเรียกกันว่า ถ้ำตั๊กม้อ (达摩洞)**ในส่วนวิทยายุทธ์ที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อคิดค้นขึ้นนั้นก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ท่านเห็นว่าวัดเส้าหลินนี้ตั้งอยู่ ณ หุบเขาซงซาน ซึ่งเป็นป่าทึบที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์เดรัจฉานน้อยใหญ่ การที่บรรดาหลวงจีนต้องนั่งสมาธินานๆ โดยไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมทรุดได้ ดังนั้นท่านจึงพินิจการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดต่างๆ และดัดแปลงนำมากำหนดเป็นท่าร่างเพื่อการออกกำลังกายและใช้ป้องกันตัว
ต่อมาด้วยวิทยายุทธ์อันล้ำลึกเหล่านี้เองที่ผลักให้ พระแห่งวัดเส้าหลินกลับกลายต้องเข้ามามีเกี่ยวพันเอากับเรื่องโลกของปุถุชนภายนอก โดยหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังก็เช่น เมื่อต้นศตวรรษที่ 7 ในยุคสุย-ถัง พระวัดเส้าหลินได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ 'หลี่ซื่อหมิน' เพื่อต่อสู้กับ 'หวังซื่อชง' โดยต่อมาเมื่อหลี่ซื่อหมินได้รับการสถาปนาเป็นองค์ฮ่องเต้ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง นอกจากพระสงฆ์ 13 รูปที่ได้การแต่งตั้งจากฮ่องเต้ให้ได้ดำรงตำแหน่งในทางโลกแล้ว วัดเส้าหลินยังได้อานิสงส์จากการอุปถัมป์ขององค์ฮ่องเต้ไปด้วยอย่างมากมาย
ขณะที่เมื่อราชวงศ์ถังเข้าสู่ยุคของพระนางบูเช็กเทียน (อู่เจ๋อเทียน:武则天) เนื่องจากในยุคพระนางบูเช็กเทียนนี้มีการสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ด้านวัดเส้าหลินก็กลายเป็นวัดอันดับหนึ่งในใต้หล้า (天下第一名刹) ไปโดยปริยายเมื่อวันคืนผันผ่าน เวลาล่วงเลยมาพันกว่าปี พอประเทศจีนเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ วัดเส้าหลินก็ถึงยุคตกต่ำ เข้าขั้นหายนะ
เมื่อปี ค.ศ.1927 ในช่วงที่จีนกำลังวุ่นวายกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก วัดเส้าหลินก็ถูกเผาทำลายครั้งใหญ่โดยเพลิงได้ลุกโชนอยู่นานถึง 45 วัน สิ่งก่อสร้างในวัดเส้าหลินเกือบทั้งหมดต้องวายวอดสิ้น วิหาร ศาลา ตึกหลักๆ นั้นถูกเผาเรียบวุธ ส่วนตำราไม้แกะสลัก "ประวัติวัดเส้าหลิน" กับ "กังฟูมวยเส้าหลิน" รวมถึงตำราและสมบัติล้ำค่าของวัดมากมาย ต่างก็สูญหายไปในเพลิงอัคคีครั้งนั้น

ในปี ค.ศ.1949 เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม วัดเส้าหลินก็มิพ้นต้องรกร้าง จะมีก็เพียงวิชากังฟูเส้าหลินที่ยังคงถูกถ่ายทอดกันต่อๆ มา และเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะในนิยายกำลังภายในเล่มแล้วเล่มเล่า มิพ้นต้องกล่าวถึงแขนงวิทยายุทธ์ที่ล้ำลึกจากวัดเส้าหลิน
จนกระทั่งเมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ และความสนใจเกี่ยวกับกังฟูวัดเส้าหลินจากภายนอกเริ่มร้อนแรง ทางนักลงทุนจากเกาะฮ่องกงก็สนใจจะผลิตภาพยนตร์จอเงินเกี่ยวกับกังฟูของวัดเส้าหลิน โดยยกทีมงานเข้ามาหานักแสดงถึงจีนแผ่นดินใหญ่ และถ่ายทำ ณ สถานที่จริงและอย่างเช่นที่ทราบ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 หรือ 25 ปีก่อนเมื่อออกฉาย ภาพยนตร์ "เสี้ยวลิ้มยี่ (少林寺)" ก็โด่งดังเป็นพลุแตก พร้อมๆ กับการถือกำเนิดของดารานักบู๊คนใหม่ หลี่เหลียนเจี๋ย (李连杰) หรือที่ฝรั่งรู้จักกันในนามเจ็ทลี (Jet Li)

หลังจาก "เสี้ยวลิ้มยี่" หนังกังฟูเกี่ยวกับวัดเส้าหลินก็ถูกสร้างขึ้นมาอีกเป็นชุดทั้งหนังใหญ่และหนังจอแก้ว และส่งอิทธิพลกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเยี่ยมชมวัดเส้าหลินอย่างไม่ขาดสายด้านทางฝั่งรัฐบาลจีนเองก็ได้โอกาสผลักดันวัดเส้าหลินให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักของมณฑลเหอหนานเสียเลย โดยเน้นชูประวัติความเก่าแก่ของวัด 1,500 ปี กับกังฟูแห่งวัดเส้าหลิน (ที่ปัจจุบันมีโรงเรียนเปิดสอนกังฟูเส้าหลินแทบจะทั่วมณฑลเหอหนานอยู่แล้ว) นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะยื่นต่อยูเนสโกขอบรรจุ 'วัดเส้าหลิน' ในรายชื่อมรดกโลกอีกด้วย

ตัว“ปี้ซี”ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิสิทธิ์ของคนจีน ตัวเป็นเต่าแต่มีหัวเป็นมังกร ซึ่งข้าพเจ้าคิดไปคิดมาก็คล้ายๆกับนักการเมือง ข้าราชการ ผู้สูงวัยหลายๆคนที่มีตัวเป็นคนแต่หัวเป็นงู(ฮา)ความพิเศษคนจีนโบราณเชื่อกันว่าเมื่อไปลูบคลำตรงหัว จะโชคดีไม่มีอดตาย หากลูบคอจะปลอดภัยไร้โรคา ส่วนลูบฟันจะถูกหวยรวยทรัพย์ และถ้าลูบหลังจะมีลูกดกด้วยเหตุนี้ตัวปี้ซีส่วนใหญ่จึงถูกลูบคลำกันจนมันแผล็บ ไม่แพ้ถันนางอัปสราที่นครวัดเหมือนกันแต่ว่านั่นก็เป็นความเชื่อของคนจีนรุ่นเก่า ส่วนรุ่นใหม่นั้นตัวปี้ซีคือแบบถ่ายรูปชั้นเยี่ยมที่นิยมไปยืนจุ้ยถ่ายรูปคู่กับปี้ซี ส่วนที่หนักไปกว่านี้ก็คือเห็นปี้ซีเป็นเก้าอี้ชั้นดี ใช้นั่งใช้ขี่กันอย่างสนุก ส่วนข้าพเจ้านั้นเพื่อความชัวร์ก็ขอขอลูบปี้ซีทั้งตัว เรียกว่าเอาแบบเต็มเวอร์ชั่นกันเลย
บรรยากาศในวัดเส้าหลินยังคงขรึมขลังไม่สร่างซา


“วิหารตั๊กม้อ” หรือ “วิหารเจ้าอาวาส” ซึ่งปรากฏเป็นฉากในหนังกำลังภายในและในยุทธจักรนิยายมากมายภายในวิหารนอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตามแบบมหายานแล้ว หากสังเกตดีๆที่พื้นในวิหารจะดูเป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งหากใครไม่รู้อาจจะนึกว่าพื้นทรุด แต่จริงๆแล้วที่นี่ในอดีตคือสถานที่ฝึกเพลงยุทธ์ของ 18 อรหันต์ทองคำวัดเส้าหลิน ที่ส่วนใหญ่มีกำลังภายในเหลือล้นจึงกระทืบพื้นวิหารเป็นหลุมเป็นบ่อทั่วไปหมดส่วนสิ่งที่น่าสนใจอีก 2 จุดในวิหารตั๊กม๊อ ก็คือทางด้านซ้ายมือสุดจะมีรูปปั้น “หลวงจีนกั๊กเอี้ยง” ยืนโดดเด่น ท่านผู้นี้เป็นยอดหลวงจีนที่งำประกายตัวเองด้วยการเป็นพระพ่อครัว และเป็นผู้คิดค้นกระบวนท่า 18 อรหันต์ ก่อนที่จะพา “เตียซำฮง”อดีตศิษย์ตัวน้อยแห่งเส้าหลิน ออกไปฝึกปรือวิทยายุทธ์ จนท่านเตียซำฮง กลายเป็นยอดจอมยุทธ์และไปเปิด“สำนักบู๊ตึ้ง”อันลือลั่น(หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง“ดาบมังกรหยก”ของ”กิมย้ง”)ส่วนทางขวามือสุดยังมีรูปปั้นของท่านตั๊กม้อที่หน้าตาขึงขัง หนวดเคราครึ้ม ยืนสะพายง้าว และม้วนคัมภีร์โดดเด่นอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าเมื่อไปยืนสักการะท่านตั๊กม้อแล้วรู้สึกว่าท่านจากไปแค่ร่างกายเท่านั้น ส่วนชื่อของท่านและเรื่องราวที่กระทำยังคงอยู่และจะคงอยู่คู่เส้าหลินไปจวบจนกาลปาวสาน...

ที่มา

http://www.pantown.com/board.php?id=14701&name=board4&topic=2&action=view
http://blog.spu.ac.th/Dhanapon/2009/03/11/entry-2

2/10/2554

คุนหมิง อากาศอบอุ่นตลอดทั้งปีขนานนามว่า "นครแห่งฤดูใบไม้ผลิ"

 เมืองเอกคุนหมิง มณฑลหยุนหนัน ชื่อย่อ หยุน หรือ เตียน เป็นมณฑลชายแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน มีพื้นที่ทั้งสิ้น 394,000 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 4.1%ของพื้นที่ทั้งคุนหมิงเป็นเมืองสำคัญที่เป็นประตู เปิดไปสู่เส้นทางสายไหม ( Silk Road ) สู่ ทิเบต เสฉวน และเป็นศูนย์กลางทางด้านการเมืองการปกครอง รวมไปถึงระบบเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของมณฑล ยูนนาน นอกจากนั้นยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญที่สุดในภาคตะวันตกเฉียงใต้ของจีน


ประชากรส่วนใหญ่ในคุนหมิงเป็นชาวจีนฮั้น และใช้ภาษาท้องถิ่นซึ่งมีสำเนียงที่จัดอยู่ในกลุ่มแมนดารินใต้แต่ภาษามาตรฐานกลางหรือภาษา Mandarin ก็เป็นภาษาที่ใช้สื่อสาร และเข้าใจกันได้ทั่วไป เนื่องจากมีอากาศอบอุ่นตลอดทั้งปีจึงถูกขนานนามว่า "นครแห่งฤดูใบไม้ผลิ"

เมืองคุนหมิงตั้งอยู่บนที่ราบสูงในมณฑลยูนนาน มีภูเขาล้อมรอบตัวเมือง 3 ด้าน อาณาเขตทิศใต้ติดกับทะเลสาบ สูง 1,850 เมตรจากระดับน้ำทะเล มณฑลยูนนานมีชื่อเสียงอันดีงามว่าเป็น "ทางใต้เมฆสี" "แหล่งเกิดเขียวชอุ่ม ณ ที่นี้มีภูเขา และแม่น้ำลำธารสวยสดงดงาม มีวิวทัศน์ธรรมชาติสวยวิจิตระการตามีภูเขาสูงที่เต็มไปด้วยหิมะตลอดปีในซีกโลกเหนือ มีป่าดึกดำบรรพ์อันหนาทึบ มีหุบเขาอันลึกลับและอันตราย มีสิ่งมหัสจรรย์ป่าหิน ถ้ำหิน และถ้ำหินย้อยที่ก่อขึ้นจากการผันแปรของลักษณะภูมิประเทสคาร์สท์....สิ่งเหล่านี้ทำให้ยูนนานกลายเป็นพิพิธภัณฑ์สถานทางทัศนียภาพธรรมชาติคุนหมิงเป็นเมืองที่มีอุตสาหกรรมหลักคือ ด้านการท่องเที่ยว ดังนั้น เรื่องการจัดระเบียบต่างๆ รวมทั้งสภาพแวดล้อมต่างๆ ภายในเมืองจึงทำได้ดี มีสถานที่สำหรับเดินเล่นพักผ่อนหย่อมใจมากมายหลายแห่ง ทั้งภายในตัวเมืองและรอบๆ ตัวเมือง และยังมีค่าครองชีพที่นับว่าถูกมากเมื่อเทียบกับเมืองใหญ่ๆ อย่างปักกิ่งหรือ เซี่ยงไฮ้

เงินตรา สกุลเงินของประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีนคือเงินเหยินหมินปี้ ( Renminbi แปลตามตัวว่าเงินของประชาชน ) มักใช้ตัวย่อ RMB หน่วยเงินของจีนเรียกว่าหยวน ( yuan ) หนึ่งหยวนมีสิบเจี่ยว ( jiao )หรือเหมา หนึ่งเจี่ยวมีสิบเฟิน ( fen ) 100 เฟินเท่ากับหนึ่งหยวน ธนบัตรแบ่งออกเป็นใบละ 1 หยวน , 5 เจี่ยว , 1,2 และ 5 เฟิน เฟินเป็นหน่วยเล็กสุด < เจี่ยวหรือเหมาเป็นหลักสิบ < จากนั้นเป็นหยวน

 ประวัติศาตร์คุนหมิง ปี พ.ศ. 1308 มีการสร้างเมืองขึ้นในบริเวณนี้ เมืองนี้ได้รับการตั้งชื่อว่า ถัวตง (Tuodong) ราวศตวรรษที่ 13 มาร์โค โปโล ได้เดินทางมายังดินแดนแห่งนี้ และเขียนบันทึกบอกเล่าความประทับใจ ต่อมาเมืองนี้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็น คุนหมิง โดยเหล่าชนชั้นปกครองชาวมองโกลแห่งราชวงศ์หยวนเมื่อปี พ.ศ. 1819

ราวศตวรรษที่ 14 คุนหมิงถูกยึดอำนาจกลับคืนโดยราชวงศ์หมิง และมีการสร้างกำแพงล้อมรอบส่วนที่เป็นเมืองในปัจจุบัน ในศตวรรษที่ 20 คุนหมิงตกเป็นเป้าของการโจมตีจากกองทัพอากาศหลวงญี่ปุ่นเมื่อครั้งที่บุกจีนแผ่นดินใหญ่

                                                                          สถานที่ท่องเที่ยว
  

ตำหนักทองจินเตี้ยน ซึ่งสร้างโดยแม่ทัพในสมัยราชวงศ์หมิง อดีตเคยเป็นที่พักของ อู๋ซันกุ้ย ขุนศึกผู้ขายชาติ และนางงามเฉินหยวนหยวนเป็นตำหนักแห่งเดียวที่มีฝาผนัง และหลังคาสร้างด้วยทองเหลืองถึง380 ตัน จึงทำให้ตำหนักมีความสวนเด่น แลดูเสมือนทอง จึงได้ชื่อว่าตำหนักทอง จึงนับได้ว่าเป็นวิหารที่ใหญ่ที่สุดของจีน 

ประตูมังกร เขาซีซาน คนจีนกล่าวไว้ว่ามาถึงคุนหมิงจะต้องไปลอดประตูมังกร เมื่อลอดแล้วฐานะจะเพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งร้อยเท่า มีตำนานเล่ากันมาว่า ในสมัยก่อนแม่น้ำที่ใหญ่ที่สุดคือแม่น้ำเหลืองจะมีปลาหลีหือซึ่งเป็นปลาประจำชาติของจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ครั้งหนึ่งเกิดน้ำท่วมทำให้ปลาไหลไปอยู่ตามแม่น้ำสายอื่น เมื่อปลาไปอยู่แม่น้ำอื่นปลาไม่ชินกับคุณภาพน้ำจึงมีความพยายามว่ายทวนน้ำเพื่อกลับไปอยู่ในแม่น้ำเหลืองของปลา ท่านเลยสั่งให้ไปสร้างประตูตรงแม่น้ำเหลือง ถ้าปลาตัวไหนกระโดดข้ามประตูได้ ท่านก็จะให้เป็นมังกร ถ้าปลาตัวไหนกระโดดข้ามไม่ได้ ก็ต้องไปอยู่ในแม่น้ำเหลือง ปลาก็เลยมีความพยายามไปกระโดดข้ามประตูเพื่อเป็นมังกร เลื่อนจากปลาเป็นมังกรถือว่าฐานะของปลาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยเท่า ดังนั้นประตูมังกรเหมือนเป็นการสอนคนจีนมาโดยตลอด คือเมื่อเรามีความพยายามก็จะประสบความสำเร็จ ตั้งห่างจากตัวเมือง 29 กิโลเมตร เป็นส่วนหนึ่งของวัดในลัทธิเต๋า สร้างในช่วง ค.ศ.1718-1843 ผ่านอุโมงค์หินที่สกัดไว้ตามไหล่เขา พร้อมชมศาลเจ้าและวัดจีนลัทธิเต๋า ซึ่งสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธาของชาวบ้านที่มีประวัติความเป็นมายาวนานนับ 1,000 ปี ชมความงดงามของ ทะเลสาบคุนหมิง เตือนฉือ จากมุมมองจากที่สูง มาลอดประตูมังกร หลงเหมิน ซึ่งสร้างขึ้นในสมัยราชวงศ์หมิง
ถ้ำจิ่วเซียง เป็นถ้ำมหัศจรรย์ของจีนที่สวยงามมากและเป็น 1 ใน 10 สถานที่สำคัญทางธรรมชาติของมณฑลยูนาน ถ้ำนี้เกิดจากการกัดเซาะของภูเขาไฟโบราณ จนเกิดเป็นโพรงถ้ำขนาดยาว 3-4 กิโลเมตรช่วงแรกจะเดินผ่านไปทางเส้นทางที่ขนานไปกับภูเขาสูง เข้าชมความงามภายในถ้ำจิ่วเซียง ที่ประกอบด้วยหินงอกหินย้อยที่สวยงามรูปร่างแปลกตาเต็มไปด้วยสีสันสวยงาม ซึ่งประกอบเสมือนเป็นโลกใต้ดินได้อย่างน่าอัศจรรย์ ชมธารน้ำตกถ้ำเล็กๆอยู่ภายใน อาทิ ถ้ำช้างเผือก, ถ้ำค้างคาว, วังเทพธิดา, ถ้ำเทวดา, ถ้ำนา ขั้นบันได ฯลฯ สิ่งที่น่าประทับใจที่สุดภายในถ้ำนี้ก็คือตอนกลางของถ้ำจะมีลำน้ำทั้งสายลงมาจากหน้าผาตกลงมาเป็นน้ำตก 2 สาย เรียกกันว่า น้ำตกผัวเมีย เป็นน้ำตกใหญ่และตกอยู่กลางระหว่างถ้ำเป็นภาพที่สวยงามยิ่งนัก สมกับคำกลอนที่ว่า บนดินชมป่าหินงาม ใต้ดินชมจิ่วเซียง 


ป่าหินยูนนาน ตั้งอยู่ในอำเภอสือหลินเมืองคุนหมิง มณฑลยูนนานของประเทศจีน ป่าหินแห่งนี้มีรูปลักษณ์ต่างๆของหินทั่วโลก อย่างเช่นที่ ป่าหินใหญ่ หินส่วนใหญ่มีรูปเหมือนเป็นดาบ เมื่อไปถึงอีกแห่งหนึ่ง หินจะมีรูปคล้ายเจดีย์ ไปถึงอีกที่หนึ่ง หินที่นั่นก็ดูเหมือนเห็ด มีทั้งสีดำและสีเหลือง มีผู้เชี่ยวชาญต่างชาติเคยบอกว่า เมื่อมาถึงป่าหินแล้ว รู้สึกเดี๋ยวก็อยู่คิวบา เดี๋ยวก็ถึงสเปน เหมือนกับว่า ป่าหินในทั่วโลกได้ย้ายมาอยู่ที่นี่วางแสดง ป่าหินคุนหมิงนับเป็นพิพิธภัณฑ์ของป่าหินทั่วโลก ซึ่งมีคุณค่ามาก"


วัดหยวนทง  เป็นวัดที่ใหญ่ที่สุดและเก่าแก่ที่สุดของมณฑลยูนนาน สร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยราชวงศ์ถัง (ค.ศ.618 ค.ศ.907) จนถึงปัจจุบัน เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานกว่า 1,200 ปี ตั้งอยู่ที่ถนนหยวนทงเจียง เป็นอารามทางพระพุทธศาสนาที่ใหญ่ที่สุดในคุนหมิง ภายในวัดตกแต่งร่มรื่นสวยงาม กลางลานมีสระน้ำขนาดใหญ่ มีสะพานข้ามไปสู่ศาลาแปดเหลี่ยมกลางสระ ปัจจุบันวัดหยวนทงจะเป็นลักษณะของวัดในสมัยราชวงศ์ชิง เนื่องจากวัดนี้ได้ถูกทำลายในสมัยราชวงศ์หมิง และได้รับการบูรณะโดยหูซาน ผู้เป็นคนพลิกประวัติศาสตร์จีน เป็นผู้ที่ทำให้ประเทศจีนเกิดราชวงศ์ชิง ภายในวัดที่ศักดิ์สิทธิ์และมีชื่อเสียงแห่งนี้เป็นศูนย์กลางของพระพุทธศาสนาถึง 3 นิกาย ได้แก่นิกายมหาญาณของพม่า นิกายหินญาณของไทย และนิกายลามะของธิเบต

ที่มา

http://siritep.multiply.com/photos/album/59/59#photo=5
http://www.youtube.com/watch?v=JHo4KmWqChA&feature=player_embedded#at=11
http://www.oknation.net/blog/mrtaweesak/2008/08/31/entry-1
http://www.btnewstartour.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539117136
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%84%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B4%E0%B8%87
http://www.คุนหมิง.com/