4/02/2552

วันจักรี

ความหมาย
วันจักรี หมายถึง วันที่ระลึกมหาจักรีบรมราชวงศ์เป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้เสด็จดำรงอาณาจักรสยามเป็นวันแรก

ความเป็นมา
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2462 เป็นต้นมา พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานโอกาสให้ประชาชนชาวไทยได้แสดงกตเวทิคุณต่อพระมหากษัตริยาธิราชในพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกรัชกาล โปรดเกล้าฯให้มีการถวายบังคมพระมหากษัตริยาธิราชเจ้า ในวันที่ 6 เมษายน เป็นประจำทุกปี

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ ๑ เป็นรูปปทุมอุณาโลม มีอักขระ "อุ" อยู่กลาง ล้อมรอบด้วยกลีบบัวอันเป็น พฤกษชาติที่เป็นสิริมงคลในพุทธศาสนา ตราอุณาโลมมีรูปร่างคล้ายสังข์เวียนขวา อยู่ในกรอบลายกนก เริ่มใช้คราวพระราช พิธีบรมราชาภิเษก เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘

พระราชประวัติรัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระนามเดิม ทองด้วง ประสูติเมื่อ พ.ศ. 2275 (รัชกาลพระเจ้าบรมโกษฐ) ได้รับราชการในรัชกาลพระเจ้าอุทุมพร ต่อมาเมื่อได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองราชบุรี พร้อมกับนายสินได้เป็นหลวงยกบัตรเมืองตาก เมื่อคราวพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ตั้งตัวอยู่ที่เมืองระยองนั้น หลวงยกบัตรได้แนะนำให้นายสุจินดาผู้น้องนำมารดาเจ้าตาก ซึ่งหนีพม่าไปอยู่แขวงเมืองเพชรบุรีไปถวายพระเจ้าตากด้วย จึงมีความชอบได้รับบรรดาศักดิ์ เป็นพระมหามนตรี ต่อมานายสุดจินดาได้ไปรับหลวงยกบัตรพี่ชายเข้ามารับราชการอีก ทรงได้รับแต่งตั้งให้เป็นพระราชวรินทร์ และได้เลื่อนเป็นพระยาอภัยรณฤทธิ์ พระยายมราช เจ้าพรยาจักรี และสมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นลำดับมาจนกระทั่งเมื่อสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี ทรงมีพระสัญญาวิปลาศ ทำความเดือดร้อนให้แก่ขุนนางราชการ และอาณาประชาราษฎรดังที่กล่าวมาแล้ว พระองค์ก็เสด็จจากการศึกเขมร เข้ามาปราบปรามการจลาจลให้กรุง สำเร็จโทษพระเจ้ากรุงธนบุรีเสียทำพิธีปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ.2325 ทรงพระนามตามที่พระสังฆราชาคณะ ฝ่ายคามวาสี อรัญวาสี พร้อมกันถวาย "พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราชวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี ศรีสินทร บรมมหาจักรพรรดิ ราชาธิบดินทร์ธรณินทราธิราช รัตนาภาศกรวงศ์องค์ปรมาธิเบศร์ ตรีภูวเนศวรนาถนายก ดิลกนพรัตน์ราช ชาติอาชาวไศรย สมุทยุตโรมลสกลจักรวาฬาธิเบนทร์ สุริเยนทราธิบดินทร์ หรินทราธาดาธิบดี ศรีสุวิบุลคุณอักนิฐ ฤทธิราเมศวรธรรมิกราชาธิราช เดโชชัยพรหมเทพาดิเทพ ตรีภูวนาธิเบศ โลกเชฐวิสุทธิ์มกุฏ ประเทศคตา มหาพุทธางกูร บรมนาถบรมบริพิตร พระพุทธเจ้าอยู่หัว" ทรงครองราชย์ อยู่เป็นเวลา 28 ปี ในช่วง รัชสมัย ของพระองค์ พระองค์ ทรงรวบรวม ราชอาณาจักร ให้เป็น ปึกแผ่น อย่างมั่นคง จนกระทั่ง ไม่ต้อง เกรงกลัว การรุกราน จากอริราชศัตรู อีกต่อไป สมเด็จ พระรามา ธิบดีที่ 1 ทรงได้รับ การสรรเสริญ ว่าทรงเป็น รัฐบุรุษ ผู้ปรีชา สามารถ เป็นนักกฎหมาย เป็นนักกวี และชาวพุทธ ผู้เลื่อมใส ศรัทธาใน พระศาสนา ดังนั้น รัชสมัย ของพระองค์ จึงได้รับ การกล่าวขานว่า เป็นยุคของ "การสร้างสรรค์ฟื้นฟู" แห่งรัฐ และ วัฒนธรรมไทย พระองค์ ทรงเป็น กษัตริย์ ผู้ก่อตั้ง กรุงเทพมหานคร ให้เป็น เมืองหลวง ของไทย และนี่ก็คือ งานสร้างสรรค์ ที่คงอยู่ ตลอดกาล จะได้รับชื่อเสียง ว่าเป็น "เมืองแห่งเทพยดา" พระองค์ เสด็จสวรรคต เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2352 เมื่อพระชนมายุ ได้ 72 พรรษา
ด้วยพระมหากรุณาธิคุณดังกล่าว ในปี พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้หล่อพระบรมรูป พระเจ้าอยู่หัวทั้ง ๔ พระองค์ ( ร.๑ - ๔ ) เพื่อประดิษฐานไว้ให้พระมหากษัตริย์องค์ต่อมา พระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ และประชาชนได้ถวายบังคมระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ เป็นธรรมเนียมปีละครั้ง และโปรดเกล้าให้อัญเชิญไปประดิษฐานไว้บนพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท และมีการย้ายที่หลายครั้ง เช่นพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ปราสาท และพระที่นั่งศิวาลัยปราสาทเป็นต้น
ในรัชกาลที่ ๖ โปรดให้ย้ายพระบรมรูปทั้ง ๔ ( ร.๑ - ๔ ) มาไว้ ณ ปราสาทพระเทพบิดร ในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พร้อมกับพระบรมรูปของรัชกาลที่ ๕ พระชนกนาถ พระที่นั่งองค์นี้ รัชกาลที่ ๖ โปรดให้ซ่อมจากพุทธปรางค์ปราสาทเพื่อเรื่องนี้โดยเฉพาะ และได้พระราชทานนามดังกล่าว การซ่อมแซมก่อสร้างและประดิษฐานพระบรมรูปทั้ง ๕ รัชกาล สำเร็จลุล่วงในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๖๑ จึงได้มีพระบรมราชโองการ ประกาศตั้งพระราชพิธีถวายบังคมพระบรมรูป ในวันที่ ๖ เมษายนปีนั้น และต่อมา โปรด ฯ ให้เรียกวันที่ ๖ เมษายนว่า “วันจักรี”



http://www.mthai.com/scoop/chakri/chakri.php
http://www.navy.mi.th/nrdo/Chakri/

ไม่มีความคิดเห็น: