4/27/2552

จิ้นตะวันออก (คริสตศักราช 317 – 420)

การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนูเซียนเปย เจี๋ยตี เชียง 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่
เฉิงฮั่น ตี ค.ศ. 304 – 347
ฮั่นเจ้า ซงหนู ค.ศ. 304 – 329
เฉียนเหลียง ฮั่น ค.ศ. 317 – 376
สือเจ้า เจี๋ย ค.ศ. 319 – 351
เฉียนเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 337 – 370
หรั่นวุ่ย ฮั่น ค.ศ. 350 – 352
เฉียนฉิน ตี ค.ศ. 350 – 394
โฮ่วฉิน เชียง ค.ศ. 384 – 417
โฮ่วเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 384 – 407
ซีเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 384 – 394
ซีฉิน เซียนเปย ค.ศ. 385 – 431
โฮ่วเหลียง ตี ค.ศ. 386 – 403
หนันเหลียง เซียนเปย ค.ศ. 397 – 414
หนันเอี้ยน เซียนเปย ค.ศ. 398 – 410 ซีเหลียง ฮั่น ค.ศ. 400 – 421
ซีสู ฮั่น ค.ศ. 405 – 413
เซี่ยซงหนู ค.ศ. 407 – 431
เป่ยเอี้ยน ฮั่น+เฉาเสี่ยน(เกาหลี) ค.ศ. 407 – 436
เป่ยเหลียง ซงหนู ค.ศ. 401 – 439
ไต้ เซียนเปย ค.ศ. 315 – 376
ยังคงดำเนินไปท่ามกลางการผลุดขึ้นและล่มสลายลงของราชวงศ์จิ้นตะวันออก จวบจนถึงยุคแห่งการตั้งประจันของราชวงศ์เหนือใต้ ซึ่งกินเวลากว่า 300 ปี

4/26/2552

จิ้นตะวันตก (คริสตศักราช 265 – 316)

สุมาเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้

สุมาเอี๋ยนเกิดในปีคศ236 หลังจากขงเบ้งตายไปสองปี สุมาเอี๋ยนเป็น ลูกชายของสุมาเจียว(ซือหม่าเจา) ลูกชายสุมาอี้(ซือหม่าอี้) สุมาเอี๋ยนมินิสัยคล้ายๆสุมาเจียว และสุมาอี้ คือเป็นคนทะเยอทะยาน อยากเป้น ใหญ่เป็นโต(เรียกว่าถอดมาทั้งพ่อทั้งปู่) หลังจากที่จกก๊กสิ้นชื่อไปแล้ว(ค.ศ.263) สุมาเจียวก็มีชื่อเสียง มากในราชวงศ์วุย และขยายอำนาจมากขึ้น อีกทั้งยังฆ่าผู้ที่อาจจะเป็นภัยต่อราชวงศ์จิ้นที่เขาจะก่อตั้งขึ้น เช่น จงโฮย เตงงาย แต่ยังไม่ทันจะได้ปลดโจฮวน ซึ่งเป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายของราชวงศ์วุย(ที่สุมาเจียวตั้ง ขึ้นมาแทน พระเจ้าโจมอที่ซี้ม่องเซ็กไปด้วยน้ำมือคนของสุมาเจียว)สุมาเจียวก็เกิดป่วยตายไปเสียก่อนเมื่อ อายุได้54ปี ในปีคศ264 สุมาเอี๋ยนจึงได้รับอำนาจต่อจากบิดาตนเองและก็ได้ปลดพระเจ้า โจฮวนออกจากบัลลังก ์และได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ใช้ชื่อราชวงศ์ของตนเองว่าราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนราชวงศ์วุย สุมาเอี๋ยนนั้นได้ขุนศึกและเสนาธิการที่มีฝีมือค่อนข้างดี เช่น เอียวเก๋า(หยางหู) เตาอี้(ตู้ยู่) องโยย(หวางจุ้น) กาอุ้น(แกฉง) เตียวหัว(จางหัว) และอีกมากมาย โดยเฉพาะเจ็ดบัณฑิตแห่งสวนไฝ่ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการแต่งกวีในสมัยราชวงศ์จิ้นเฟื่องฟู สุมาเอี๋ยนวางแผนที่จะตีเมืองง่อก๊กของพระเจ้าซุนโฮหลานซุนกวนซึ่งขึ้นชื่อในความโหดเหี้ยมฆ่าประชาชน และขุนนางเป็นว่าเล่น ทำให้ง่อก๊กสาละวันเตี้ยลงๆๆทุกวันๆๆ ซึ่งก็มีคนเห็นด้วย กับไม่เห็นด้วยกับความคิดจะไปตีเมืองง่อ แต่ต่อมา ชาวเมืองง่อก๊กเข้ามาอาศัยใบบุญราชวงศ์จิ้นมากขึ้นเนื่องจากทนฮ่องเต้สุดสารเลวอย่างซุนโฮไม่ไหว และง่อก๊กขณะนั้น ก็ฟอนเฟะเต็มทีแล้ว สุมาเอี๋ยนจึงสั่งให่เตาอี้และองโยยนำทหารไปบุกง่อก๊ก ให้สิ้นซากเนื่องจากที่ปรึกษาและขุนศึกที่ เห็นด้วยกับการ ไปตีง่อก๊กให้ความเห็นว่า ถ้าไม่ไปตีง่อก็อาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้ว" และก็สำเร็จลงด้วยดี ซุนโฮขอยอมแพ้ต่อราชวงศ์จิ้น เป็นการ สิ้นสุดสงครามสามก๊ก ในปีคศ280 ขณะนั้นสุมาเอี๋ยนอายุได้44ปี(ถ้านับจามธรรมเนียมจีนก็ต้องนับเพิ่มไปอีกหนึ่งปีคือ45ปี) หลังจากเสร็จสิ้นสามก๊กแล้ว สุมาเอี๋ยนได้สั่งให้ตันซิ่ว(เฉินโช่ว)อดีตขุนนางจกก๊กที่ถูกกวาดต้อนไปด้วยหลังจกก๊กล่มสลายนำคณะ ไปเขียนเรื่องสามก๊กฉบับสมบูรณ์ และเป็นสามก๊กฉบับแรกที่มีความสมบูรณ์ในด้านประวัติศาสตร์ที่สุด (ต่อมาล่อกวนตงหรือหลอกว้านจงที่ชาวสามก๊กรู้จักกันดีนำไปเพิ่มเติมเนื่อหาอีกจนกลายเป้นงิ้วไปเลย) สุมาเอี๋ยนเป็นคนที่โหดร้ายมาก(ถอดแบบปะป๊ามาพอสมควร)หลังจากสิ้นยุคสามก๊ก (พูดง่ายๆคือเผยธาตุแท้ของคนเป็นฮ่องเต้ ไม่รู้ทำไมพอเป็นฮ่องเต้ทีไรกี่คนๆก็กลายเป็นแบบนี้ไปหมด)ฆ่าคนที่คัดค้านเรื่องที่สุมาเอี๋ยนมีความคิด อันไม่ถูกต้องทำ ให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นคนที่ฟุ่มเฟือยและมักมากในตัณหาราคะด้วยการเกณฑ ์สาวๆจำนวนมากมาเป็นนางสนมในวัง ให้สุมาเอี๋ยนผลาญ*****เล่น การเสวยสุขเกินพอดีแบบนี้ทำให้สุมาเอี๋ยนเสียชีวิตเมื่ออายุ ได้เพียง54ปี(นับตามธรรมเนียมจีนก็เป็น 55ปี)ในปีคศ290ครองราชย์หลังจากรวม สามก๊กได้เพียง10ปีเท่านั้น หลังจากนั้นราชวงศ์จิ้นก็เริ่มเสื่อมลงมาเรื่อยๆ สุมาเอี๋ยนในความคิดของผม ไม่ใช่คนที่เก่งกาจอะไรมากนัก เพียงแต่ช่วงนั้นง่อก๊กเน่า บูดเป็นโจ๊กเต็มทีแล้ว ทั้งสมัยนั้นราชวงศ์จิ้นยังมีบุคลากรที่มีคุณภาพค่อนข้างดีทำให้สามารถ ชนะง่อก๊กได้ง่ายดาย แต่หลังจากนั้นพวกนี้ก็ตายด้วยน้ำมือของสุมาเอี๋ยนที่เริ่มเผยธาตุแท้ ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ด้วยความระแวง (เหมือนอย่างเล่าปังกับจูหยวนจางที่กระทำแบบ เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล) ช่วงแรกๆก็ดีอยู่หรอกครับ บ้านเมืองสงบสุข ช่วงหลังๆ กลายเป็นอะไร ไม่รู้ไปเสียแล้ว อีกทั้งยังมักมากในกามารมณ์จนเกินพอดีทำ ให้สุมาเอี๋ยนตาย คาเตียง ในปีคศ290

ในบันทึก “เรื่องเล่าชาวบ้าน” ระบุไว้ว่า ในราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265-316) ฮ่องเต้ จิ้นอู่ตี้ ได้ทรงคัดเลือกแม่ทัพใหญ่ หวังตุน ให้เป็นราชบุตรเขย อภิเษกสมรสกับ

องค์หญิงอู่หยัง คืนวันอภิเษกสมรสนั่นเองเป็นครั้งแรกที่หวังตุนได้ใช้ห้องน้ำของ

องค์หญิง ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นห้องน้ำของราชนิกูลนั้นเขารู้สึกได้ว่า ห้องน้ำขององค์หญิงช่างงดงามโอ่โถง และหรูหรากว่าห้องน้ำของสามัญชนยิ่งนัก แต่เมื่อ

หวังตุนเดินเข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดกลับพบว่า ที่แท้จริงแล้ว

ห้องน้ำในพระราชวังก็มีกลิ่นเหม็นเช่นกัน หวังตุนเหลือบไปเห็นมุมหนึ่งของห้องน้ำ มีกล่องบรรจุพุทราแห้งวางไว้ เขาคิดในใจว่านี่คงเป็นขนมทานเล่นระหว่างทำธุระ จึงทานเสียเกลี้ยง หลังทำธุระเสร็จนางกำนันตรงรี่เข้ามาพร้อมชามใส่น้ำใบใหญ่ และชามกระเบื้องเคลือบบรรจุเม็ดถั่ว “เจ้าโต้ว” (澡豆)

หวังตุนเห็นเช่นนั้น ก็หยิบเม็ดถั่วแช่ลงน้ำ และดื่มน้ำในชามจนเกลี้ยง

กลายเป็นที่ขบขันของบรรดานางกำนัลยิ่งนัก อันที่จริงแล้ว พุทราแห้งนั้น

เตรียมไว้ใช้ใส่เข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นของห้องน้ำ ส่วนถั่ว “เจ้าโต้ว”

หรือ “ถั่วถูไคล” นั้น ใช้ต่างสบู่นั่นเอง

พระพุทธรูปสำริด

ราชวงศ์จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้(晋武帝)โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น



ตุ๊กตาดินเผาอ่านหนังสือ

ขณะที่ขุมกำลังจากตระกูลใหญ่เหล่านี้เติบโตขึ้น ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทว่าอำนาจการปกครองจากส่วนกลางกลับอ่อนแอลง เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในเวลาต่อมา ในยุคสมัยนี้ บ้านเมืองเสื่อมโทรม กลุ่มผู้มีอำนาจใช้ชีวิตอย่างความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันและคดโกง ขณะที่คนจนถูกเรียกเก็บภาษีแพงลิบลิ่ว เหล่าปัญญาชนที่เกิดมาท่ามกลางยุคสมัยแห่งความวุ่นวายนี้ ต่างท้อแท้สิ้นหวัง พากันหลีกหนีความเป็นจริง ไม่ถามไถ่ปัญหาบ้านเมือง ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุราและพูดคุยเรื่องราวไร้สาระ หรือเสนอแนวคิดเชิงดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ดังนั้น ศาสตร์ในการทำนายทายทักและแนวคิด

เชิงอภิปรัชญา (玄学)จึงเป็นที่นิยมอย่างสูง

ขณะเดียวกัน การแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในราชสำนักก็ทวีความเข้มข้นขึ้น อำนาจในการปกครองของฝ่ายราชสำนักตกอยู่ในภาวะวิกฤต จิ้นอู่ตี้เนื่องจากได้รับบทเรียนจากราชวงศ์วุ่ยที่ไม่ได้จัดสรรอำนาจให้เชื้อพระวงศ์เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นซึ่งอยู่ในตระกูลอื่นเข้าฉกฉวยอำนาจได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อรักษาพระราชอำนาจของตนไว้ จึงทรงอวยยศเหล่าเชื้อพระวงศ์ขึ้นเป็นอ๋อง ให้อำนาจในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางทหารของกลุ่มอำนาจภายนอก ทำให้เชื้อพระวงศ์เหล่านี้

สามารถบัญชาการกำลังทหารจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงสมัยของจิ้นฮุ่ยตี้ (晋惠帝)การอวยยศซึ่งแต่เดิมมีจุดมุ่งหมายเพื่ออารักขาฐานอำนาจของราชสำนัก กลับ

เป็นบ่อเกิดของข้อขัดแย้งในการแบ่งลำดับขั้นการบริหาร ทำให้ภายในราชสำนัก

การแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่ บรรดาอ๋องพระราชทานต่างก็ถูกม้วนเข้าสู่วังวนแห่งอำนาจทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 291 เป็นต้นมา เมืองลั่วหยาง ได้เกิดเหตุจราจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’(八王之乱)อ๋องทั้ง 8 ได้แก่ อ๋องเลี่ยง อ๋องเหว่ย อ๋องหลุน อ๋องจ่ง อ๋องหยิ่ง อ๋องอี้ อ๋องหยงและอ๋องเย่ว์ ต่างยกกำลังเข้าห้ำหั่นกันเกิดเป็นสงครามภายในขึ้น เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองครั้งนี้กินเวลาถึง 16 ปี ทหารและพลเรือนลัมตายนับแสน หลายเมืองถูกทำลายล้างยับเยิน เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกที่แต่เดิมก็ไม่ได้มีผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจมากนักอยู่แล้ว กลับยิ่งต้องเผชิญกับความเสียหายอย่างสาหัส สุดท้ายจิ้นฮุ่ยตี้ถูกวางยาสิ้นพระชนม์ บรรดาอ๋องต่างฆ่าฟันกันจนสิ้นเรี่ยวแรง


คำจารึกที่สลักไว้บนแผ่นไม้หน้าสุสานของหวังหมิ่น จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่อักษรจีนเริ่มพัฒนาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน (楷书)

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจราจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน (刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ (汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀帝)เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ (晋愍帝)ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้น

ตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย
ราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้(คริสตศักราช 220 – 589)ที่มีการปกครอง

แผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว

4/25/2552

เตียวเสี้ยน “หญิงงาม ในสมัยฮั่นตอนปลาย




เตียวเสี้ยน หรือ เตียวฉาน (อังกฤษ: diao chan จีน: 貂蝉, 貂蟬 พินอิน: diāochán) เป็นหนึ่งในสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน เชื่อว่าเกิดใน ค.ศ. 169 ซึ่งเป็นยุคสามก๊ก และปรากฎตัวในนิยายเรื่องสามก๊กด้วยเตียวเสี้ยนได้รับฉายานามว่า "จันทร์หลบโฉมสุดา" (จีน: 闭月 พินอิน: bì yuè) ซึ่งหมายถึง "ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้" (a face that would make the full moon hide behind the clouds)เตียวเสี้ยนแตกต่างจากหญิงงามอีกสามคน เนื่องจากไม่ได้รับการยืนยันว่ามีตัวตนจริงในประวัติศาสตร์ อาจเป็นเพียงหญิงรับใช้ของตั๋งโต๊ะที่มีความสัมพันธ์กับลิโป้ ซึ่งเป็นขุนศึกของตั๋งโต๊ะเท่านั้น
ครั้นเมื่อนางเห็นว่าราชวงศ์ฮั่นตะวันออกตกอยู่ใต้อำนาจของขุนนางทรราชตั๋งโต๊ะ ซึ่งแอบอ้างราชโองการปกครองเหล่าขุนนาง ทำให้ขุนทางทั้งหลายไม่กล้าขัดขืน อีกทั้งอ๋องอุ้นกลัดกลุ้มใจ กินไม่ได้นอนไม่หลับ ในคืนพระจันทร์สว่างสดใส นางได้จุดธูปอธิษฐานต่อสวรรค์ยินดีที่จะรับภาระช่วยเหลือผู้เป็นนาย อ๋องอุ้นผ่านมาได้ยินเข้าก็รู้สึกซาบซึ้งยิ่งนัก จึงตรงเข้าไปพยุงนางลุกขึ้น และคำนับนาง นับจากนั้นจึงได้รับเตียวเสี้ยนเป็นธิดาบุญธรรม


อ๋องอุ้นเห็นว่าตั๋งโต๊ะกำลังยึดครองราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จึงได้วางแผนการอันต่อเนื่อง ยกเตียวเสี้ยนให้แก้ลิโป้ ก่อนอย่อ๋องอุ้นเห็นว่าตั๋งโต๊ะกำลังยึดครองราชวงศ์ฮั่นตะวันออก จึงได้วางแผนการอันต่อเนื่อง ยกเตียวเสี้ยนให้แก้ลิโป้ ก่อนอย่างลับๆ แล้วจึงค่อยยกนางให้แก่ตั๋งโต๊ะ ลิโป้นั้นมีความกล้าหาญอายุยังน้อย

ส่วนตั๋งโต๊ะเจ้าเล่ห์เพทุบาย เพื่อที่จะดึงลิโป้มาเป็นพวก ตั๋งโต๊ะจึงได้รับลิโป้เป็นลูกบุญธรรม ทั้งสองต่างก็ฝักใฝ่ในอิสตรี ดังนั้นนับจากนั้นมาเตียวเสี้ยนต้องรับมือกับบุคคลทั้งสอง ทำให้ทั้งคู่หลงใหล หลังจากที่ตั๋งโต๊ะรับเตียวเสี้ยนไว้เป็นภรรยาน้อย ลิโป้เกิดความไม่พอใจเป็นอย่างมาก างลับๆ




ภาพวาด นางเตียวเสี้ยนฟ้อนรำให้ตั๋งโต๊ะชม

วันหนึ่ง ในขณะที่ตั๋งโต๊ะไปร่วมประชุมเหล่าขุนนาง ลิโป้ก็แอบเข้าไปพบกับเตียวเสี้ยน และนัดพบกันที่ศาลาฟ่งอี๋ เมื่อเตียวเสี้ยนไปพบลิโป้ ก็ได้แสร้งร้องไห้บอกเล่าความทุกข์ที่ถูกตั๋งโต๊ะขืนใจ ลิโป้โกรธมาก ในเวลาเดียวกันนั้นเองตั๋งโต๊ะกลับมาพบเข้า และด้วยความโกรธจึงได้แย่งเอาง้าวในมือของลิโป้และตรงเข้าแทง แต่ลิโป้หนีไปได้ นับจากนั้นทั้งสองต่างก็เกิดความระแวงซึ่งกันและกัน จนท้ายที่สุดอ๋องอุ้นก็สามารถเกลี้ยกล่อมลิโป้ให้กำจัดตั๋งโต๊ะได้ในที่สุด ฉายา “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้”ของเตียวเสี้ยนนั้นมาจากเรื่องราวตอนที่นางกำลังอธิษฐานต่อดวงจันทร์อยู่ภายในสวน ทันใดนั้นมีลมพัดขึ้นเบา ๆ เมฆจึงลอยมาบดบังอันสว่างสดใส ขณะนั้นบังเอิญอ๋องอุ้นมาพบเข้า เพื่อที่จะเป็นการกล่าวชมว่าธิดาของตนนั้นมีความงามเพียงใด เมื่อพบปะผู้คนก็มักจะกล่าวว่า บุตรีของข้าหากเทียบความงามกับดวงจันทร์แล้ว ดวงจันทร์ยังมิอาจเทียบได้ รีบหลบเข้าไปหลังหมู่เมฆ ดังนั้นผู้คนจึงขนานนามเตียวเสี้ยนว่า “ความงามที่ทำให้แม้แต่ดวงจันทร์ยังต้องหลบเลี่ยงให้”



สามก๊ก (คริสตศักราช 220 – 280)*

สามก๊กเป็นยุคสมัยที่เกิดจากสภาพการคานอำนาจกันของกองกำลัง 3 ฝ่ายอันได้แก่ ก๊กวุ่ย(魏国) ก๊กสู(蜀国) และก๊กอู๋(吴国) ที่ต่างก็แย่งชิงกันเป็นใหญ่ โดยช่วงปีค.ศ. 220 นั้นเป็นเวลาที่วุ่ยขึ้นครองอำนาจใหญ่แทนราชวงศ์ฮั่นตะวันออก และเมื่อถึงปีค.ศ. 280 ราชวงศ์จิ้น (晋)ปราบก๊กอู๋ได้สำเร็จรวมแผ่นดินจีนเข้าด้วยกันอีกครั้ง การศึกปราบกองกำลังโพกผ้าเหลือง
ก่อนจะมาเป็นสามก๊ก ปีค.ศ. 189 ปลายยุคฮั่นตะวันออก ฮั่นหลิงตี้(汉灵帝)เสด็จสวรรคต รัชทายาทหลิวเปี้ยน(刘辫)สืบทอดราชบัลลังก์ต่อมาเป็นฮั่นเส้าตี้ (汉少帝)แต่พี่ชายของเหอไทเฮาคบคิดกับขุนนางฝ่ายกลาโหมหยวนเส้าหรืออ้วนเสี้ยว (袁绍)กวาดล้างขุนนางที่เป็นปฏิปักษ์ เป็นเหตุให้บ้านเมืองระส่ำระสายอย่างหนัก ต่งจัวหรือตั๋งโต๊ะ(董桌)ที่เป็นขุนนางครองเมืองปิงโจวใช้สถานการณ์วุ่นวายดังกล่าว เป็นข้ออ้างยกกองกำลังเข้าลั่วหยังเพื่อให้ความ


ช่วยเหลือ เมื่อกองทัพของตั๋งโต๊ะเข้าสู่ลั่วหยังแล้ว ก็ถอดถอนฮั่นเส้าตี้และสถาปนาหลิวเสีย(刘协)ผู้เป็นน้องขึ้นเป็นฮ่องเต้ ทรงพระนามว่า ฮั่นเสี้ยนตี้ (汉献帝)โดยตั๋งโต๊ะกุมอำนาจสั่งการไว้ในมือ เป็นเหตุให้ขุนนางเก่าที่ไม่เห็นด้วยลุกฮือขึ้นต่อต้าน เกิดเป็นสงครามภายในติดตามมา





อ้วนเสี้ยว


ฝ่ายอ้วนเสี้ยวนั้น เมื่อตั๋งโต๊ะกรีฑาทัพเข้าลั่วหยัง ก็หลบหนีไปยังเมืองจี้โจว(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอเป่ยทางภาคเหนือของจีน) เรียกร้องให้บรรดาผู้ครองแคว้นรอบนอกรวมกำลังกันเพื่อปราบตั๋งโต๊ะ ซึ่งก็ได้รับเสียงสนับสนุนให้อ้วนเสี้ยวเป็นผู้นำ เมื่อถึงปีค.ศ. 190 ตั๋งโต๊ะบีบบังคับฮั่นเสี้ยนตี้เสด็จลี้ภัยไปยังนครฉางอัน ในขณะที่กองกำลังของตั๋งโต๊ะเต็มไปด้วยการแก่งแย่งอำนาจกัน อีก 3 ปีต่อมาเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการทหาร (เป็นที่มาของตำนานการเสียสละของเตียวเสี้ยน (貂蝉)หนึ่งในสี่หญิงงามแห่งยุคของจีน) ตั๋งโต๊ะถูกสังหาร บ้านเมืองจึงเกิดโกลาหลครั้งใหญ่



อ้องอุ้น ตั๋งโต๊ะเตียวเสี้ยน ลิโป้ (จากขวามาซ้าย) จากตำนานการเสียสละของเตียวเสี้ยน


สภาพสามเส้าคานอำนาจเหนือใต้ โจโฉตั้งตัวเป็นวุ่ยอ๋อง ต่อมาปีค.ศ. 200 โจโฉสิ้นชีวิต เฉาผี่หรือโจผี(曹丕)ผู้เป็นบุตรชายจึงบีบบังคับให้ฮั่นเสี้ยนตี้สละราชบัลลังก์ แล้วสถาปนารัฐวุ่ยขึ้น ในปีถัดมา เล่าปี่ก็ประกาศสถาปนาตั้งตนเป็นฮ่องเต้ที่เมืองเฉิงตู ใช้ชื่อรัฐฮั่น (โดยมากเรียกสูหรือสูฮั่น) ถึงปีค.ศ. 229 ซุนกวนหรืออู๋อ๋องก็ตั้งรัฐอู๋ ประกาศตนเป็นฮ่องเต้เช่นกัน ดังนั้นจึงเกิดเป็นขุมกำลังสามเส้า กล่าวคือ วุ่ยครอบครองดินแดนทางตอนเหนือ สูครองดินแดนภาคตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนอู๋ครองดินแดนตะวันออกเฉียงใต้ โดยสองแคว้นทางใต้ คือรัฐสูร่วมมือกับรัฐอู๋ต่อต้านรัฐวุ่ยทางภาคเหนือที่มีกำลังเข้มแข็งที่สุด




แผนที่การแบ่งอาณาเขตสมัยสามก๊ก
พัฒนาการและความล่มสลาย


ในช่วงเริ่มต้น ทั้งสามรัฐต่างก็ทุ่มเทให้กับการบริหารบ้านเมือง ฟื้นฟูระเบียบทางสังคมและพัฒนาเศรษฐกิจของตน รัฐที่มีผลงานโดดเด่นก็คือรัฐวุ่ย (魏)ที่นำโดยโจโฉ ซึ่งเริ่มจากการฟื้นฟูผลผลิตทางการเกษตร ด้วยการเกณฑ์กำลังทหารที่ประจำในท้องที่ทำการเพาะปลูกเป็นเสบียงต่อไป จัดการปฏิรูประบบการปกครองที่เคยเป็นจุดอ่อนของราชวงศ์ฮั่นตะวันออก นั่นคือ จำกัดอำนาจของเหล่าเจ้าที่ดิน กวาดล้างอำนาจของบรรดาขุนนางและเชื้อพระวงศ์ เพื่อดึงดูดการเข้าร่วมจากกลุ่มชนชั้นระดับกลางและล่าง มีการแบ่งขุนนางปกครองท้องถิ่นออกเป็น 9 ระดับชั้น (九品中正制)เปิดโอกาสให้บุคคลที่ไม่ได้มาจากตระกูลสูงได้มีโอกาสเข้ามามีอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดเสถียรภาพทางการเมือง
ด้านศิลปะและวิทยาการนั้นก็มีความก้าวหน้าอย่างมาก อาทิ ทางการแพทย์จีนได้ปรากฏบุคคลสำคัญคือ หัวถัวหรือแพทย์วิเศษฮูโต๋ (华陀)ที่เป็นเอกในการผ่าตัด และกล่าวกันว่ายังมีการเริ่มใช้ยาชาในสมัยนี้อีกด้วย สำหรับด้านศาสนานั้น เนื่องจากลัทธิเต๋าของกองกำลังโพกผ้าเหลืองประสบความพ่ายแพ้ทางการเมือง จึงตกอยู่ในภาวะอ่อนแอลง ขณะที่ศาสนาพุทธที่มีการเผยแพร่เข้ามาในช่วงปลายยุคฮั่นตะวันออก ก็ฟูมฟักตัวเองในนครหลวงลั่วหยัง


บุคคลสำคัญในก๊กวุ่ย จากซ้ายมาขวา ได้แก่ โจโฉ โจผี โจสิด สุมาอี้

หลังจากวุ่ยฉีหวัง (魏齐王)ยุวกษัตริย์ขึ้นครองราชย์ได้ไม่นาน ศูนย์กลางอำนาจ

ในรัฐวุ่ยก็เริ่มคลอนแคลน เกิดการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเฉาส่วง(曹爽)และ

ซือหม่าอี้(司马懿)ที่เป็นผู้สำเร็จราชการแทน เฉาส่วงพ่ายแพ้ถูกสำเร็จโทษ

ตระกูลซือหม่าซึ่งนำโดยซือหม่าอี้ผู้เป็นบิดา ซือหม่าซือ(司马师)และซือหม่าเจา(司马昭)สองคนพี่น้อง เข้ากุมอำนาจทางการเมืองทั้งหมดไว้ได้ ระหว่างนั้น ในปีค.ศ. 263 รัฐวุ่ยภายใต้การนำทัพของตระกูลซือหม่าบุกเข้าปราบรัฐสู (蜀)ของเล่าปี่ หลังจากนั้น 2 ปี ซือหม่าเอี๋ยน(司马炎)บุตรของซือหม่าเจาก็บีบให้วุ่ยฉีหวังสละราชบัลลังก์ และสถาปนาราชวงศ์จิ้น(晋)ขึ้นแทนวุ่ย

บุคคลสำคัญในก๊กสู จากซ้ายมาขวา ได้แก่ เล่าปี่ ขงเบ้ง กวนอู เตียหุย

รัฐสู (蜀)นำโดยเล่าปี่ ก็ได้ขงเบ้งเป็นที่ปรึกษาและเสนาบดี ในช่วงเวลาก่อน

หลังการสถาปนารัฐสูได้ไม่นาน เล่าปี่ก็ต้องสูญเสียขุนพลคู่ใจคนสำคัญ คือ

กวนอวี่หรือกวนอู(关羽)และจางเฟยหรือเตียหุย (张飞)ไปในเวลาไล่เลี่ยกัน เป็นเหตุให้กำลังทางทหารอ่อนโทรมลง อีกทั้งเล่าปี่ไม่ฟังคำทัดทานของเหล่าเสนาอำมาตย์ เร่งทำศึกกับรัฐอู๋ เพื่อแก้แค้นให้กับกวนอู สุดท้ายพ่ายแพ้ย่อยยับ เล่าปี่ล้มป่วยเสียชีวิตที่เมืองหย่งอัน บุตรชายหลิวฉานหรืออาเต๊า(刘禅)ขึ้นครองราชย์ต่อมา โดยมีขงเบ้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทน

ขงเบ้งเห็นว่ารัฐสูอยู่ในสภาพอ่อนแอและลำบากจากการคุกคามรอบข้าง

พร้อมกันนั้นเขตพื้นที่ทางตอนใต้ (ปัจจุบันคือเสฉวนและหยุนหนันของจีน)

เกิดความวุ่นวาย จึงต้องเจรจาสงบศึกกับรัฐอู๋ เมื่อถึงปีค.ศ. 225 ขงเบ้งยกทัพลงใต้ ทำศึกพิชิตใจเมิ่งฮั่ว(孟获)หัวหน้าชนเผ่าพื้นเมือง นำความสงบสุขคืนมาอีกครั้ง หลังจากนั้น ขงเบ้งได้แต่งตั้งชนเผ่าพื้นเมืองบางส่วนเข้ารับราชการและกองทัพ

อีกทั้งมีการนำวัวและม้าที่เป็นพาหนะพื้นเมืองเข้ามาใช้ในกองทัพอีกด้วย

แต่นั้นมา ความสัมพันธ์กับชนเผ่าพื้นเมืองทางตอนใต้ก็มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ขณะเดียวกันภาคการเกษตรและหัตถกรรมได้รับการฟื้นฟูก้าวหน้า บ้านเมืองเข้มแข็งขึ้น เพื่อเตรียมรับการทำศึกกับก๊กวุ่ยทางตอนเหนือในอีกหลายปีต่อมา ขงเบ้งที่เร่งทำศึกแย่งชิงดินแดนภาคเหนือกับก๊กวุ่ยเป็นเวลาหลายปี สุดท้ายล้มป่วยเสียชีวิตกลางคัน ก๊กสูต้องถอยทัพกลับ นับแต่นั้นมาก๊กสูก็จำต้องพลิกสถานะกลายเป็นฝ่ายตั้งรับ สุดท้ายในปีค.ศ. 263 ก๊กวุ่ยยกทัพเข้ารวมก๊กสูเป็นผลสำเร็จ




บุคคลสำคัญในก๊กอู๋ จากซ้ายมาขวา ได้แก่ ซุนเจี้ยน ซุนเช่อ ซุนกวน จิวยี่
ก๊กอู๋ (吴)เมื่อครั้งกองกำลังโพกผ้าเหลืองลุกขึ้นก่อการจราจล ซุนเจี้ยน

(孙坚)ที่เป็นขุนนางมีหน้าที่เข้าปราบปรามในพื้นที่เขตเจียงหนัน เมื่อครั้ง

อ้วนเสี้ยวและพวกร่วมมือปราบตั๋งโต๊ะ ซุนเจียนก็เข้าร่วมด้วย ต่อมาเมื่อซุนเจียน

เสียชีวิต ซุนเช่อ (孙策)บุตรชายเข้าคุมกองทัพต่อ ปี 194ได้รับความช่วยเหลือจากโจวอวี่หรือจิวยี่ (周瑜)เสริมกำลังทางทหารให้เข้มแข็งขึ้น เริ่มขยายอำนาจออกสู่เจียงตงทางตะวันออกของลุ่มน้ำแยงซี ต่อมาเมื่อโจโฉเข้าควบคุมฮั่นเสี้ยนตี้

ไว้ได้ ซุนเช่อก็หันมาเข้ากับโจโฉ และได้รับการอวยยศเป็นอู๋โหว หลังจาก

ซุนเช่อสิ้น ซุนเฉวียนหรือซุนกวน (孙权)ผู้เป็นน้องชายก็เข้าสืบทอดอำนาจ

ต่อมา ภายหลังการศึกที่ชื่อปี้ เป็นเหตุให้โจโฉต้องถอยร่นกลับไปยังภาคเหนือ

ซุนกวนก็เข้าคุมพื้นที่เขตตะวันออกเฉียงใต้ไว้ได้ เกิดเป็นกองกำลังสามเส้าต่าง

คุมเชิงกัน

วัตถุโบราณทางวัฒนธรรมระดับ1 เป็นตะเกียงรูปคนนั่งอยู่บนหลังกิเลนในก๊กอู๋

ปัญหาที่ก๊กอู๋ต้องเผชิญคือ ต้องคอยป้องกันชาวเขาเผ่าเยว่ (越)ที่คอยก่อความไม่สงบ และมีแรงกดดันจากกองกำลังของก๊กวุ่ยทางตอนเหนือ ในปีค.ศ. 234 ภายหลังดำเนินยุทธการปิดล้อม ทำให้ชาวเขาเผ่าเยว่วางอาวุธยอมแพ้ จากนั้นมา ชาวฮั่นและชาวเผ่าเยว่ก็มีการหลอมรวมทางชนชาติเข้าด้วยกัน สำหรับปัญหากองกำลังของก๊กวุ่ยที่กดดันอยู่ทางตอนเหนือ ก็มีการผลัดกันรุกรับ หลังจากขงเบ้งเสียชีวิตและก๊กวุ่ยปราบก๊กสูลงได้แล้ว ก๊กวุ่ยก็เพิ่มแรงกดดันทางทหารต่อก๊กอู๋มากขึ้น แต่เนื่องจากความสามารถทางน้ำของกองทัพก๊กวุ่ยมีจำกัด การสู้รบจึงยืดเยื้อยาวนานต่อมาอีกหลายปี


รูปปั้นหุ่นเล่นดนตรีที่ขุดพบในก๊กอู่

ในช่วงเวลา 52 ปีของการสถาปนารัฐวุ่ยนี้ ได้มีการบุกเบิกที่ดินทำการเกษตร

การเมืองการปกครองก็มั่นคงมีเสถียรภาพ ดินแดนแถบเจียงหนันได้มีการพัฒนา

กิจการต่อเรือและการขนส่งทางน้ำอย่างมาก แม่น้ำสายต่าง ๆได้รับการเชื่อมต่อ

จนกลายเป็นเส้นทางการคมนาคมสายหลักจากตะวันออกสู่ดินแดนทางตอนใต้

ถึงกับมีการเดินเรือขึ้นเหนือถึงเหลียวตง ทิศใต้ล่องถึงหนันไห่หรือเขตทะเลใต้

เมื่อถึงปีค.ศ. 230 ได้มีคณะเดินเรือไปถึงเกาะไต้หวันเป็นครั้งแรกเท่าที่ปรากฏในประวัติศาสตร์ นอกจากนี้ ราชทูตจากรัฐอู๋ยังเดินทางล่องใต้ลงไปจนถึงแถบทาง

ตอนใต้ของเวียดนามและอาณาจักรฟูนัน(กัมพูชาในปัจจุบัน) เป็นต้น ได้มี

การเผยแพร่ของพุทธศาสนาจากลั่วหยังลงสู่ดินแดนทางตอนใต้ พร้อม ๆ

กับลัทธิเต๋า



ตะเกียงดินเผา สินค้าขึ้นชื่อของก๊กอู๋

หลังจากซุนกวนเสียชีวิตในปีค.ศ. 252 รัฐอู๋ก็อ่อนแอลง ในขณะที่ก๊กวุ่ยที่นำโดยตระกูลซือหม่านับวันจะมีกองกำลังเข้มแข็งขึ้น หลังจากรวมก๊กสูเข้าไว้ในปีค.ศ. 263 และผลัดแผ่นดินสถาปนาราชวงศ์จิ้นในปีค.ศ. 265 ราชวงศ์จิ้นต้องวุ่นวายอยู่กับการวางรากฐานการปกครองให้กับราชวงศ์ใหม่ เป็นเหตุให้รัฐอู๋ยังสามารถประคองตัวมาได้อีกระยะเวลาหนึ่ง เมื่อถึงปีค.ศ. 269 จิ้นที่ได้ผู้เชี่ยวชาญทางน้ำจากรัฐสู เริ่มฝึกกองกำลังทางน้ำ เมี่อถึงปี ค.ศ. 279 กองทัพจิ้นก็ยกประชิดอู๋ทางตอนเหนือของลำน้ำแยงซี และสามารถเข้าถึงเมืองหลวงเจี้ยนเย่ได้ในปีค.ศ. 280 รัฐอู๋ก็ถึงกาลล่มสลาย


ซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้ ผู้สถาปนาราชวงศ์จิ้น

ในยุคสามก๊กนี้ถึงแม้ว่าจะมีการศึกสงครามอยู่เสมอ แต่สภาพบ้านเมืองยังมี

ความแตกต่างจากความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออก เนื่องจากเป็นสงครามที่ประชาชนต่างก็มุ่งหวังให้มีการรวมแผ่นดินเป็นหนึ่งเดียว ทางด้านกำลังทหารแล้ว ต้องถือว่าก๊กวุ่ยเข้มแข็งที่สุด รองลงมาคืออู๋ จากนั้นเป็นสูอ่อนแอที่สุด

นั้นภาระการรวมแผ่นดินสุดท้ายจึงตกอยู่ที่วุ่ยหรือจิ้น นับจากสภาพความวุ่นวายในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่นตะวันออกจนถึงการคานอำนาจในยุคสามก๊กแล้ว นี่คือความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่ง และหากนับตามช่วงเวลาของการอยู่ในอำนาจแล้ว

ก๊กอู๋อยู่ในอำนาจยาวนานที่สุดถึง 52 ปี รองลงมาคือก๊กวุ่ย 45 ปี และสุดท้ายคือก๊กสู

43 ปี ในปีค.ศ. 280 เมื่อจิ้นอู่ตี้ (晋武帝)แห่งราชวงศ์จิ้นยกทัพเข้ากวาดล้างก๊กอู๋ที่เหลืออยู่เพียงหนึ่งเดียวแล้ว ยุคสมัยของสามก๊กก็เป็นอันสิ้นสุด.

*เนื่องจากความคิดเห็นของนักประวัติศาสตร์จีนเกี่ยวกับการจัดแบ่งช่วงเวลาในยุคนี้แตกต่างกันเป็น 2 ฝ่าย คือความเห็นแรก (ปีค.ศ 220 – 265) เริ่มต้นจากที่วุ่ยทะยานขึ้นสู่อำนาจใหญ่แทนราชวงศ์ฮั่นในปีค.ศ. 220และสิ้นสุดเมื่อราชวงศ์จิ้น(晋)สถาปนาขึ้นแทนวุ่ยในปี 265 และความเห็นที่สองคือ (ปีค.ศ. 196 – 280) เริ่มต้นเมื่อตั๋งโต๊ะ(董桌)บีบให้ฮั่นเสี้ยนตี้(汉献帝)องค์ฮ่องเต้หุ่นเชิดของฮั่น เสด็จออกจากนครหลวงลั่วหยังไปยังสวี่ชางในปีค.ศ. 196และสิ้นสุดในปีค.ศ. 280 เมื่อจิ้นปราบก๊กอู๋ได้สำเร็จ และรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวอีกครั้ง

















ฮั่นตะวันออก (คริสตศักราช 25 – 220)

'กวงอู่ตี้ ' - ปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์ฮั่นตะวันออก อดีตผู้นำกองกำลังลี่ว์หลิน
'หลิวซิ่ว'
นับแต่หวังหมั่ง (王莽)ถอดถอนหยูจื่ออิง (孺子婴)ยุวกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ฮั่นตะวันตก เพื่อตั้งตนเป็นใหญ่ โดยจัดระเบียบการปกครองใหม่และก่อตั้งราชวงศ์ซิน (新朝) ขึ้น แต่ความล้มเหลวของระเบียบใหม่ได้สร้างกระแสต่อต้านจากประชาชน เกิดเป็นกบฏชาวนาในพื้นที่ต่าง ๆ อาทิ กองกำลังคิ้วแดง (赤眉军)ที่นำโดยฝานฉง(樊崇)จากแถบซานตง และกองกำลังลี่ว์หลิน (绿林军)ซึ่งนำโดยหลิวซิ่ว (刘秀)จากหูเป่ย เป็นต้นโดยในบรรดากองกำลังเหล่านี้ ถือว่ากองทัพของหลิวซิ่วมีกำลังกล้าแข็งที่สุด
ภายหลังการศึกที่คุนหยัง ชัยชนะอย่างเด็ดขาดของกองกำลังลี่ว์หลินต่อกองทัพราชวงศ์ใหม่ ทำให้หลิวซิ่วถือเป็นโอกาสเข้ากลืนขุมกำลังติดอาวุธขนาดเล็กทางตอนเหนือ ขยายฐานกำลังไปยังเหอเป่ย ซึ่งเป็นดินแดนทางภาคเหนือของจีนในปัจจุบัน เมื่อถึงกลางปีคริสตศักราช 25 หลิวซิ่วก็ตั้งตัวขึ้นเป็นฮ่องเต้ครองดินแดนเหอเป่ย ภายใต้สมญานามว่า กวงอู่ตี้ (光武帝)และใช้ชื่อราชวงศ์ฮั่นตามเดิม โดยทางประวัติศาสตร์ได้แบ่งยุคนี้เป็นฮั่นตะวันออก เนื่องจากนครหลวงตั้งอยู่ที่เมืองลั่วหยัง กระจกส่องหน้าทำจากทองแดง ด้านหลังสลักลวดลายและตัวหนังสือไว้อย่างวิจิตรงดงาม ศิลปะสมัย 'หวังหมั่ง' ราชวงศ์ซิน

ภารกิจแรกของกวงอู่ตี้คือการปราบกองกำลังคิ้วแดงที่กำลังปิดล้อมเมืองฉางอัน
เมื่อถึงปีรัชสมัยที่ 12 ก็สามารถปราบก๊กของกงซุนซู่ในเสฉวนลงอย่างราบคาบ รวมประเทศจีนกลับมาเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง จากนั้นตามมาด้วยประกาศปลดปล่อยแรงงานทาส ซึ่งถือเป็นการปลดปล่อยแรงงานการผลิตครั้งใหญ่ นอกจากนี้ ยังซ่อมสร้างการชลประทานทั่วประเทศ รื้อฟื้นภาคการเกษตรให้กลับมีชีวิตชีวาอีกครั้ง เมื่อถึงรัชสมัยหมิงตี้ ก็ยกเลิกการผูกขาดการค้าเกลือและเหล็กกล้า อีกทั้งธุรกิจอื่น ๆ อาทิ ธุรกิจหลอมและหล่อทองแดง ธุรกิจผ้าไหมเป็นต้น ทำให้บ้านเมืองและการค้าขายในยุคฮั่นตะวันออกเจริญรุ่งเรืองขึ้น เมืองลั่วหยังกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าของประเทศ ส่วนศูนย์กลางทางภาคใต้ ได้แก่ เมืองหยังโจว จิงโจว อี้โจว ก็มีความเจริญในด้านธุรกิจหัตถกรรม จำนวนประชากรในเมืองเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
เคียวเหล็ก-เครื่องมือทำการเกษตรสมัยฮั่นตะวันออก
ในรัชสมัยจางตี้ (章帝)และเหอตี้ (和帝) ถึงกับมีการเดินทางออกไปติดต่อเชื่อมสัมพันธไมตรียังดินแดนฝั่งตะวันตก เพื่อสานต่อแนวการค้าบนเส้นทางสายไหม ขณะเดียวกัน บรรดาเจ้าที่ดินทั้งฝ่ายบุ๋นและฝ่ายบู๊ต่างก็อยู่ในช่วงสั่งสมกำลังบารมี ภายหลังรัชสมัยเหอตี้ บรรดาเชื้อพระวงศ์และเหล่าขุนนางชั้นสูงต่างก็มีอำนาจที่เข้มแข็งมากขึ้น มักปรากฏว่าเชื้อพระวงศ์และขุนนางผลัดกันหรือร่วมมือกันเข้ากุมอำนาจในระหว่างการผลัดแผ่นดินอยู่บ่อยครั้ง ในสี่รัชสมัยต่อมาอันได้แก่ ซุ่นตี้ ช่งตี้ จื้อตี้และเหิงตี้ กษัตริย์ทั้ง 4 มีเชื้อพระวงศ์เหลียงจี้ (梁冀)คอยเป็นที่ปรึกษาว่าราชการให้ถึง 20 ปี สั่งสมเงินทองทรัพย์สินกว่า 3,000 ล้าน
'ตีกล้องร้องรำ' - ตุ๊กตาเครื่องปั้นดินเผาสูง 56 เซนติเมตร ตัวแทนสะท้อนถึงความรุ่งเรืองทางศิลปะของยุคฮั่นตะวันออก
ภายหลังยุคกลางของฮั่นตะวันออก กลุ่มครอบครัวตระกูลใหญ่เข้ากุมอำนาจทางการเมือง ทำให้เกิดสภาพเป็นขั้วการเมืองแบบผูกขาด เมื่อถึงยุคปลายของฮั่นตะวันออก ได้เกิดกระแสการวิพากษ์การเมืองจากกลุ่มปัญญาชนและขุนนางผู้น้อยส่วนหนึ่ง ที่ต้องการแสดงความไม่พอใจต่อระบบการเมืองการปกครองในสมัยนั้น จนเกิดวิกฤตทางการเมือง
'ฮั่นซู' หนังสือที่มีการจดบันทึกเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของชนชาติฮั่น
รัชสมัยของพระเจ้าฮั่นเต้ ซึ่งพระเจ้าฮั่นเต้พระองค์นี้ไร้ซึ่งราชบุตรสืบ
สายโลหิต จึงได้ไปขอ “เลนเต้” ไม่ทราบว่าเป็นบุตรของใคร แต่ทราบว่ามารดาชื่อ
“นางตังไทฮอ” จึงได้ขอมาเป็นรัชทายาทได้รับการสถาปนาเป็น “พระเจ้าเลนเต้”
พระเจ้าเลนเต้พระองค์นี้ มิได้ตั้งองค์ในทศพิธราชธรรม ใส่ใจอยู่กับเหล่าขันทีและนางสนมกำนัล มากกว่าการออกว่าราชการ จึงเปิดช่องให้ขุนนางทำการฉ้อราษฎร์บังหลวง กดขี่ข่มเหงราษฎร เบียดเบียนที่ดินของราษฎรเป็นของตน เมื่อราษฎรทนการกดขี่ไม่ไหว จึงลุกขึ้นต่อต้าน ในนามของ “โจรโพกผ้าเหลือง” โดยมี “เตียวก๊ก” เป็นแกนนำ กองทัพโจรโพกผ้าเหลืองนั้นแบ่งเป็น ๓๖ ฟาง (๑ ฟางเท่ากับ ๑ เขต) ได้ชาวบ้านแลทหารเป็นกำลังหลายสิบหมื่น ทำให้เกิดการจลาจลไปทั่วประเทศ ร้อนถึงราชสำนักฮั่นต้องส่งกำลังเข้าปราบปราม โดยการระดมเรียกอาสาสมัคร ชาวนา ชาวบ้าน ให้จับอาวุธต่อสู้กับโจรโพกผ้าเหลืองซึ่งก็เป็นชาวบ้านด้วยกัน ผลสุดท้ายโจรโพกผ้าเหลืองเป็นฝ่ายพ่ายแพ้
กล่าวถึงพระเจ้าเลนเต้กันต่อ พระเจ้าเลนเต้ทรงมีราชบุตรสองพระองค์คือ
“หองจูเปียน” ซึ่งประสูติกับพระนางโฮเฮา อัครมเหสี และ “หองจูเหียบ” ซึ่งประสูติจากนางอองบีหยิน มเหสีรอง เมื่อพระเจ้าเลนเต้สิ้นพระชนม์ เมื่อพระชนม์ได้ ๓๔ พรรษา พระนางโฮเฮาและโฮจิ๋น พี่ชาย ได้ชิงสถาปนา หองจูเปียน เป็น “พระเจ้าเซ่าเต้” ซึ่งทำให้พระนางตังไทฮอ พระมารดาพระเจ้าเลนเต้ไม่พอใจอย่างมาก
๑๐ ขันทีคนสนิทแนะนำให้ ตั้ง หองจูเปียน เป็น “ตันหลิวอ๋อง” เพื่อคานอำนาจ ซึ่งพระนางตังไทฮอ ก็เห็นด้วย ซึ่งต่อมาโฮจิ๋นก็ชิงกำจัดพระนางตังไทฮอเสียก่อน เพื่อเป็นการตัดไฟแต่ต้นลม ฝ่าย ๑๐ ขันทีเห็นเจ้านายของตนถูกกำจัดก็ร้อนตัว จึงแสร้งอ่อนน้อมกับโฮจิ๋น และคิดกำจัดโฮจิ๋นเสีย ด้านโฮจิ๋นก็ทราบ จึงใช้แผนการเขลาเบาปัญญา เรียกตั๋งโต๊ะแห่งเสเหลียงเข้าเมืองหลวง เพื่อกำจัด ๑๐ ขันที ทั้งที่
ขุนนางอย่างอ้วนเสี้ยวและโจโฉ คัดค้านก็มิฟัง ดึงดันจะให้กองทัพตั๋งโต๊ะเข้า
เมืองหลวงให้ได้ จึงกลายเป็นจุดเริ่มต้นของหายนะของราชวงศ์ฮั่นอย่างแท้จริง
เครื่องตรวจวัดแผ่นดินไหว จากการคิดค้นของจางเหิง สร้างขึ้นในคริสตศักราช 132 ถือเป็นเครื่องวัดแผ่นดินไหวเครื่องแรกของโลก
สำหรับความเจริญก้าวหน้าในด้านวัฒนธรรมและวิทยาการในสมัยฮั่นตะวันออกนั้นมีมากมาย อาทิ ในยุคต้นของราชวงศ์ ก่อเกิดนักคิดแนววัตถุนิยมที่โดดเด่นคือหวังชง ส่วนการศึกษาทางประวัติศาสตร์ก็มีการจดบันทึกประวัติศาสตร์ชนชาติฮั่น ทางด้านวรรณคดีที่เป็นตัวแทนแห่งยุคสมัยได้แก่บทความเชิงปกิณกะและเพลงพื้นบ้านต่าง ๆ ในช่วงปลายราชวงศ์ยังก่อเกิด สัตตกวีแห่งยุค ได้แก่ข่งหยง เฉินหลิน หวังชั่น สวีกั้น หยวนอวี่อิงหยังและหลิวเจิน ซึ่งมีผลงานที่โดดเด่นส่งอิทธิพลถึงยุคสามก๊กในเวลาต่อมา ไช่หลุน' ผู้คิดค้นปรับปรุงคุณภาพกระดาษ จนเป็นที่นิยมแพร่หลาย
ในช่วงกลางของฮั่นตะวันออก ยังมีนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงอย่าง จางเหิง (张衡)ซึ่งเป็นทั้งนักคิด นักกวี และนักวิชาการ โดยเขาได้คิดประดิษฐ์เครื่องวัดตำแหน่งดวงดาวและเครื่องวัดแผ่นดินไหวที่สามารถใช้ในทางวิทยาศาสตร์ได้อีกด้วย ในรัชสมัยเหอตี้ ก็ยังมีไช่หลุน (蔡伦)ผู้ซึ่งได้ปรับปรุงกรรมวิธีการผลิตกระดาษจากพืช ซึ่งทำให้ราคากระดาษถูกลง และนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย อันเป็นการสร้างคุณูปการต่อชาวโลกครั้งยิ่งใหญ่ นอกจากนี้ องค์ความรู้ต่าง ๆในด้านการเกษตร การคำนวณและการแพทย์ ต่างก็ประสบความก้าวหน้าใหญ่ ศาสนาพุทธและเต๋าที่ทรงอิทธิพลล้ำลึกทางความคิด วัฒนธรรมและวิถีชีวิตในสังคมจีน ก็ล้วนเจริญรุ่งเรืองขึ้นในยุคนี้เอง.
ที่มา

4/24/2552

ตำนาน หวังเจาจวิน (王昭君)

หวังเจาจวิน (王昭君) เป็นหนึ่งในสุดยอดหญิงงามของจีน

ในสมัยราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (พ.ศ. ๓๔๑-๕๕๑) มูลเหตุของการเขียนบันทึกนี้

เพราะว่าได้เขียนเรื่องของนางเตียวเสี้ยน แล้วพบว่ายังมีสุดยอดหญิงงามของจีน

ที่ควรกล่าวถึงอีก ๓ คน และคนแรกที่ควรกล่าวถึงคือ "หวังเจาจวิน" นี่เอง

ซึ่งบันทึกนี้ต้องขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลจาก Chinese2learn.com ครับ

เรามาเริ่มต้นเลยนะครับ
ในรัชสมัยฮั่นซวนตี้ (汉宣帝) เป็นยุคฮั่นตะวันตกบรรดาชนชั้นหัวหน้า

ของชนเผ่าซงหนูต่างแย่งชิงอำนาจกัน จนในชั้นสุดท้าย ข่านฮูหานเสีย

(呼韩邪单于) รบแพ้ ข่านจื้อจือ (郅支单于) ผู้ซึ่งเป็นพี่ชาย
ฮูหานเสีย ต้องทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้ยังคงมีอำนาจในชนเผ่า

จึงตัดสินใจเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ฮั่น และไปเข้าเฝ้าฮั่นซวนตี้ด้วยตนเอง

และเนื่องจาก "ฮูหานเสีย" เป็นข่านเผ่าซงหนูคนแรก ที่เดินทางมาเชื่อม

สัมพันธไมตรียังดินแดนภาคกลาง (ตงง้วน) "ฮั่นซวนตี้" จึงได้เสด็จออก

ต้อนรับที่ชานเมืองหลวง (ฉางอานหรือซีอาน) ด้วยพระองค์เอง และ

ได้จัดงานเลี้ยงต้อนรับอย่างยิ่งใหญ่
ฮูหานเสียพักอยู่ที่นครฉางอานกว่าหนึ่งเดือน หลังจากนั้นพอสบโอกาส

จึงได้ร้องขอต่อฮ่องเต้ฮั่นซวนตี้ ช่วยเหลือตนให้ได้เดินทางกลับไปยังเผ่าของตัวเอง
ฮั่นซวนตี้ได้ช่วยเหลือ โดยส่งแม่ทัพสองนายนำทหารม้าหนึ่งหมื่น คุ้มกันไป

ฮูหานเสีย ขณะนั้นชนเผ่าซงหนูกำลังขาดแคลนอาหาร ทางราชสำนักฮั่นจึงได้

จัดส่งเสบียงอาหารจำนวนมากไปช่วยด้วย ฮูหานเสียรู้สึกซาบซึ้งใจเป็นอย่างยิ่ง

และตั้งใจที่จะเป็นพันธมิตรกับราชวงศ์ฮั่น


ฮ่องเต้ฮั่นหยวนตี้

หลังจากฮั่นซวนตี้สวรรคต พระโอรสก็ได้เสด็จขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนาม

ว่าฮั่นหยวนตี้ ต่อมาข่านจื้อจือแห่งเผ่าซงหนู ได้มารุกรานแคว้นต่างๆ

ทางตะวันตกของราชสำนักฮั่น และยังได้สังหารทูตที่ราชวงศ์ฮั่นส่งไปอีก
ทางราชสำนักฮั่นจึงได้ส่งกองทัพออกไปปราบปราม และได้สังหารข่านจื้อจือ

เป็นผลสำเร็จ หลังจากที่ข่านจื้อจือตายแล้ว ฐานะของข่านฮูหานเสียก็มี

ความมั่นคงมากขึ้น
ปี พ.ศ. ๕๑๐ ข่านฮูหานเสียเดินทางมายังนครฉางอานอีกครั้ง และเจรจาขอ

ให้มีการเชื่อมสัมพันธไมตรีด้วยการสมรสระหว่างราชวงศ์ ซึ่งฮั่นหยวนตี้ก็ได้

พระราชทานอนุญาต การที่หัวหน้าเผ่าซงหนูจะสมรสกับราชวงศ์ฮั่นนั้น ต้อง

เลือกจากบรรดาองค์หญิงหรือธิดาของเชื้อพระวงศ์เท่านั้น ในครั้งนั้น

ฮั่นหยวนตี้ทรงตัดสินพระทัยที่จะเลือกนางสนมคนหนึ่งเพื่อพระราชทาน

ให้กับฮูหานเสีย พระองค์ได้ส่งขุนนางไปยังพระราชวังหลังและให้ประกาศว่า

“ผู้ใดยินดีที่จะไปยังเผ่าซงหนู ฮ่องเต้ก็จะแต่งตั้งให้เป็นองค์หญิง”
บรรดานางสนมในวังหลังนั้น ต่างก็ถูกเก็บคัดเลือกมาจากราษฎรสามัญชน

เมื่อพวกนางถูกคัดเลือกเข้ามาในวังหลวงแล้วก็เหมือนกับนกที่ถูกกักขังอยู่ใน

กรง บางคนก็ไม่เคยมีโอกาสได้พบฮ่องเต้ ดังนั้นนางสนมส่วนมากต่างก็หวังว่า

"สักวันหนึ่งที่พวกนางจะได้ออกจากวังไป"



แต่เมื่อได้ยินว่าจะต้องจากบ้านเกิดไปยังเผ่าซงหนู จึงไม่มีผู้ใดอาสาที่จะไป

แต่กระนั้นก็ยังมีนางสนมคนหนึ่งนามว่าหวังเฉียง (王嫱) ฉายาเจาจวิน (昭君)

รูปโฉมที่งดงามและกอปรด้วยความรู้ ยินดีเสียสละเพื่อชาติที่จะไปแต่งงาน

ยังเผ่าซงหนู
ฮ่องเต้ฮั่นหยวนตี้ จึงได้เลือกวันที่จะจัดงานสมรสพระราชทานให้

ฮูหานเสียและหวังเจาจวิน ที่นครฉางอาน ในขณะที่ ฮูหานเสียและหวังเจาจวิน

กำลังแสดงความเคารพต่อฮั่นหยวนตี้อยู่นั้น พระองค์ก็ได้ทรงเห็นใบหน้าอันงดงามของหวังเจาจวิน รวมทั้งกิริยามารยาทก็สุภาพเรียบร้อย นับว่าเป็นสาวงามในราชสำนักฮั่นคนหนึ่งเลยทีเดียว
เมื่อฮั่นหยวนตี้เสด็จกลับวังแล้ว ทรงพระพิโรธเป็นอย่างยิ่ง มีบัญชาให้หัวหน้า

ขันทีไปนำเอารูปภาพของหวังเจาจวินมาให้ทอดพระเนตร ในรูปภาพนั้นแม้จะ

ส่วนที่คล้ายคลึงอยู่บ้าง แต่ไม่มีความงดงามเหมือนหวังเจาจวินตัวจริงโดยสิ้นเชิง
ตามประเพณีของจีนแล้ว บรรดานางสนมที่ถูกคัดเลือกส่งเข้ามาในวัง โดยปรกติ

จะไม่ได้พบกับองค์ฮ่องเต้โดยตรง แต่ทางราชสำนักจะจัดให้นางสนมเหล่านั้นเป็นแบบให้จิตรกรวาดภาพ และส่งภาพเหล่านั้นไปให้ฮ่องเต้เลือก หากเป็นที่ต้องพระราชหฤทัย ก็จะได้มีโอกาสรับใช้องค์ฮ่องเต้
หนึ่งในจิตรกรที่วาดภาพเหล่านางสนมนั้น มีอยู่คนนามว่า "เหมาเหยียนโซ่ว

(毛延寿)" เวลาที่วาดภาพนางสนมทั้งหลายนั้น หากนางสนมคนใดให้สินบน ก็จะวาดให้สวยงาม
หวังเจาจวิน มิคิดที่จะติดสินบน ดังนั้นเหมาเหยียนโซ่ว จึงวาดภาพให้

"งดงามต่ำกว่าความเป็นจริง" เมื่อฮั่นหยวนตี้ทรงประจักษ์ในความจริงเช่น

จึงทรงพิโรธอย่างมาก รับสั่งให้ประหารชีวิตเหมาเหยียนโซ่วทันที






เจาจินกับฮูหานเสีย
หวังเจาจวินได้เดินทางออกจากนครฉางอาน ภายใต้การคุ้มกันของบรรดาทหารราชวงศ์ฮั่นและเผ่าซงหนู นางได้ขี่ม้าฝ่าลมหนาวอันทารุณ เดินทางนับพันลี้ไป

ยังเผ่าซงหนู เป็นมเหสีของข่านฮูหานเสีย ได้รับยศเป็น “หนิงหูเยียนจือ”

(宁胡阏氏) ด้วยความหวังว่านางจะสามารถนำเอาความสงบสุขและสันติภาพ

มาสู่ชนเผ่าซงหนู หวังเจาจวินต้องจากบ้านเกิดไปไกล อาศัยอยู่ในดินแดนของ

เผ่าซงหนูเป็นเวลานาน นางได้ "เกลี้ยกล่อม" ฮูหานเสียอย่าให้ทำสงคราม

ทั้งยังเผยแพร่วัฒนธรรมของชาวฮั่นให้แก่ชาวซงหนูอีกด้วย
นับจากนั้นเป็นต้นมา เผ่าซงหนูและราชวงศ์ฮั่นต่างก็อยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข

และไม่มีสงครามเป็นเวลายาวนานถึงหกสิบกว่าปี ยิ่งไปกว่านั้นหลังจากที่

ข่านฮูหานเสียสิ้นชีวิตแล้ว นางก็ได้ “ทำตามประเพณีของชาวซงหนู”

โดยได้แต่งงานใหม่กับบุตรชายคนโตที่เกิดกับภรรยาหลวงของข่านฮูหานเสีย

ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะขัดกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชาวฮั่น แต่นางก็คำนึงถึง

ส่วนรวมเป็นหลัก และคิดที่รักษาความสัมพันธ์อันดีระหว่างชาวฮั่นและชาวซงหนู
หวังเจาจวิน ได้ให้กำเนิดบุตรชาย 1 คน และบุตรสาว 2 คน ที่เผ่าซงหนู เวลาและสถานที่ ที่นางถึงแก่กรรมนั้น ประวัติศาสตร์ไม่ได้บันทึกเอาไว้
“落燕” หรือ “ความงามที่ทำให้ฝูงนก ต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า” เป็นเรื่อง

ราวตอนที่ หวังเจาจวิน เดินทางออกไปนอกด่าน (ในรัชสมัยฮั่นหยวนตี้

ทางเหนือและใต้ทำสงครามกันไม่หยุดหย่อน ชายแดนไม่มีความสงบสุข

เพื่อที่จะทำให้เผ่าซงหนูทางชายแดนด้านเหนือสงบลง ฮั่นหยวนตี้จึง

ได้พระราชทางหวังเจาจวินให้สมรสกับข่านฮูหานเสีย เพื่อที่จะสร้างความ

สัมพันธ์อันดีระหว่างสองเมือง) ในวันที่ท้องฟ้าสดใส หวังเจาจวินได้จาก

บ้านเกิดเดินทางไปทางเหนือ ระหว่างทาง เสียงม้าและเสียงนกร้องทำให้

นางเศร้าโศก ยากที่จะทำใจได้ นางจึงได้ดีดพิณขึ้นเป็นทำนองที่แสดง

ความโศกเศร้าจากการพลัดพราก บรรดานกที่กำลังจะบินไปทางใต้

ได้ยินเสียงพิณอันไพเราะเช่นนี้ จึงมองลงไป เห็นหญิงงามอยู่บนหลังม้า

ก็ตะลึงในความงาม ลืมที่จะขยับปีก จึงร่วงหล่นลงสู่พื้นดิน นับแต่นั้นเป็นต้นมา

หวังเจาจวินจึงได้รับขนานนามว่า “落燕” หรือ “ความงามที่ทำให้ฝูง

ต้องร่วงหล่นจากท้องฟ้า” นั่นเอง.....




























ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก (202 ปีก่อนคริสตศักราช – ค.ศ. 8)

ประวัติศาสตร์ความพ่ายแพ้ของเซี่ยงอี่ว์หรือฉ้อปาอ๋อง ที่นำสู่การพลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์จีนได้ถูกนำมาสร้างเป็นบทละครร้องในปักกิ่งโอเปร่า โดยมากมักแสดงตอน ‘ป้าหวังเปี๋ยจี’ซึ่งเป็นตอนที่ฉ้อปาอ๋องล่ำลานางสนมคนโปรด ก่อนจะฆ่าตัวตายที่ริมฝั่งแม่น้ำอูเจียง

ฮั่นเกาจู่ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ฮั่น
ราชวงศ์ฮั่นสถาปนาโดยหลิวปังหรือปฐมกษัตริย์ฮั่นเกาจู่ ซึ่งถือเป็นจักรพรรดิผู้ยิ่งใหญ่องค์ที่ 2 ของชนชาติจีนที่สามารถรวมจีนเป็นปึกแผ่นอีกครั้งหนึ่ง ราชวงศ์ฮั่นแบ่งเป็น2ช่วง ราชวงศ์ฮั่นตอนต้นมีเมืองหลวงตั้งอยู่ที่นครฉางอันจึงรับการขนานนามว่าฮั่นตะวันตก เมื่อถึงสมัยราชวงศ์ฮั่น หลิวปังผู้ก่อตั้งราชวงศ์ฮั่นนั้น แต่เดิมเป็นเพียงชนชั้นขุนนางผู้น้อย เมื่อฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ในราชวงศ์ฉินสิ้นพระชนม์ลง อำนาจของราชวงศ์ฉินคลอนแคลน มีการลุกฮือขึ้นก่อการจากกบฏชาวนาและบรรดาเชื้อสายเจ้าผู้ครองแคว้นเดิม มีการตั้งตัวเป็นใหญ่ในทุกหัวระแหง หลิวปังก็เป็นกลุ่มหนึ่งที่เพาะสร้างอำนาจขึ้นจากขุมกำลังเล็ก ๆ ต่อมาได้กรีฑาทัพเข้านครเสียนหยางปิดฉากยุคสมัยของราชวงศ์ฉินและส่งมอบนครเสียนหยางให้กับเซี่ยงอี่ว์หรือฉ้อปาอ๋องซึ่งมีฐานอำนาจอยู่ในแคว้นฉู่และมีขุมกำลังเข้มแข็งที่สุดในขณะนั้น หลิวปังจึงได้รับการอวยยศขึ้นเป็นฮั่นจงอ๋อง หลังจากสะสมกำลังพลกล้าแกร่งขึ้นจึงเปิดศึกแย่งชิงบัลลังก์กับ
เซี่ยงหวี่ การศึกครั้งนั้นได้รับการขนานนามว่า สงครามฉู่ฮั่น กินเวลานาน 4 ปี
จนกระทั่งถึงปี 202 ก่อนคริสตศักราช หลิวปังได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ก้าวขึ้นสู่บัลลังก์จักรพรรดิ์ สถาปนาราชวงศ์ฮั่น
ราชลัญจกรหยกของหลี่ว์ฮองเฮาในฮั่นเกาจู่ สลักคำว่า ‘หวงโฮ่วจือสี่’
หมายถึงราชลัญจกรในฮองเฮา ระบบบริหารการปกครองของราชวงศ์
โดยรวมแล้วยังคงยึดรูปแบบเช่นเดียวกับราชวงศ์ฉินแต่เนื่องจากราชวงศ์ฉินที่ปกครองอย่างเข้มงวดเป็นเหตุให้ล่มสลายอย่างรวดเร็ว ฮั่นเกาจู่ จึงประกาศยกเลิกกฎหมายที่ทารุณโหดร้ายบางส่วน อีกทั้งดำเนินนโยบายที่เป็นมิตรต่อประชาชน
เช่น ลดการเก็บภาษีอากรและการเกณฑ์แรงงาน ปลดปล่อยกำลังทหารและประชาชนสู่บ้านเกิดของตน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับบรรดาทหารที่ร่วมรบชนะศึกสงคราม อีกทั้งพระราชทานรางวัลเป็นเสบียงอาหารและตำแหน่งทางราชการ นอกจากนี้ ยังเข้าควบคุมค้าที่ร่ำรวย ไม่ให้ฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้า ผืนดินที่ทำการเพาะปลูกได้รับการทำนุบำรุงอีกครั้ง เมื่อเป็นเช่นนี้ ทำให้สภาพสังคมได้มีเวลา
ในการฟื้นฟูและจัดระเบียบใหม่ และกลับสู่ความสงบสุขที่เคยเป็น จักรพรรดิฮั่นฮุ่ยตี้รับช่วงตำแหน่งจักรพรรดิต่อ แต่ขณะนั้น อำนาจตกอยู่ในมือพระนางลวี่จื้อพระมเหสีของจักรพรรดิฮั่นเกาจู่ พระมเหสีลวี่จื้อได้ครองอำนาจนาน16ปี นับเป็นผู้ปกครองหญิง
ในประวัติศาสตร์จีนที่มีเพียงไม่กี่คน จวบจนรัชสมัยของเหวินตี้และจิ่งตี้ ในอีกกว่า 60 ปีให้หลัง ก็ยังคงให้ความสำคัญกับเกษตรกรรม มีการจัดเก็บภาษีแต่น้อยและเกณฑ์แรงงานต่ำ สภาพเศรษฐกิจและสังคมได้รับการเยียวยาจนกระทั่งเริ่มมีความ
เจริญรุดหน้า ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจเกลือ ธุรกิจเหล็กกล้า งานหัตถกรรม และการค้าขายต่างก็ขยับขยายเติบโตขึ้น เนื่องจากในช่วงต้นราชวงศ์ฮั่นได้มีการปูนบำเหน็จให้กับบรรดาขุนนางและเจ้านายเชื้อพระวงศ์จำนวนมาก ดังนั้นอำนาจของเจ้านายเหล่านี้จึงนับวันจะแกร่งกล้าขึ้น ในรัชสมัยจิ่งตี้จึงเกิดเหตุการณ์‘กบฏ7แคว้น’ขึ้นหลังจากกบฏถูกปราบราบคาบลง อิทธิพลอำนาจของเหล่าขุนนางก็อ่อนโทรมลง อำนาจจากส่วนกลางเข้มแข็งขึ้น เมื่อถึงรัชสมัยอู่ตี้ (ระยะเวลาครองราชย์ 54 ปี ถือเป็นกษัตริย์ชาวฮั่นที่ครองบัลลังก์ยาวนานที่สุดของจีน) จึงถือเป็นยุคทองของฮั่นตะวันตก
เศรษฐกิจรุ่งเรือง ทรัพย์สินในทองพระคลังล้นเหลือ ในรัชสมัยอู่ตี้ มีการกำหนดเหรียญกษาปณ์ขึ้นใช้ภายในประเทศ มีข้อห้ามการหลอมสร้างเหรียญกษาปณ์เป็นส่วนตัว ธุรกิจหลอมเหล็กกลายเป็นกิจการของรัฐ มีการตรากฎหมายการขนส่งลำเลียง
วางข้อกฎหมายระเบียบใบอนุญาตต่าง ๆ ทำให้รายได้ท้องพระคลังเพิ่มขึ้นอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ ฮั่นอู่ตี้จึงหันไปสนใจนโยบายต่อต่างแดน เช่น ชนเผ่าซงหนูที่คอยรบกวน
อยู่ทางชายแดนภาคเหนือมาเป็นเวลานาน ฮั่นอู่ตี้ก็ได้ยกทัพออกปราบถึง 3 ครั้งครา ขับไล่ชนเผ่าซงหนูให้ถอยร่นกลับเข้าไปยังดินแดนทะเลทรายทางตอนเหนือ นำ
สันติสุขมายังดินแดนชายขอบตะวันตกของจีน อีกทั้งยังบุกเบิกพื้นที่ทำไร่นาในแถบดินแดนทางตะวันตกเฉียงเหนือ ซ่อมแซมกำแพงเมืองจีน จัดตั้งระบบไฟสัญญาณแจ้ง
เหตุตามชายแดน และยังส่งจางเชียนไปเป็นทูตสันถวไมตรียังดินแดนตะวันตก เพื่อเปิดเส้นทางการค้าออกไปยังดินแดนเอเชียกลาง ที่รู้จักกันในนามของ ‘เส้นทางสายไหม’
หวังเจาจวิน ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งในสี่ยอดหญิงงามแห่งยุคของจีน
การบุกเบิกเส้นทางสายไหมนำมาซึ่งการแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมระหว่างตะวันออกและตะวันตก ด้วยเส้นทางการค้าทางบก ฮั่นอู่ตี้รับฟังความคิดเห็นของต่งจงซู เชิดชูแนวคิดขงจื้อละทิ้งปรัชญาแนวคิดสำนักอื่น ศึกษาคัมภีร์อู่จิง เป็นตำราว่าด้วยการประพฤติปฏิบัติตนของปัญญาชน ในการอยู่ร่วมกันในสังคม เหตุให้แนวคิดขงจื้อ ได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ขณะเดียวกัน ก็ได้มีการจัดสร้างหอสมุดแห่งชาติเพื่อจัดเก็บแผนภาพและตำรับตำรา อันเป็นแหล่งบ่มเพาะทางความรู้ และมีความเจริญทางวัฒนธรรมอย่างมากตามมา ดังเช่นที่นักวิชาการ
ทางประวัติศาสตร์จีนซือหม่าเชียน ได้จัดทำบันทึกประวัติศาสตร์ ซึ่งใช้
เป็นหลักฐานอ้างอิงที่มาของชนชาติจีนจนถึงปัจจุบัน เมื่อมาถึงรัชสมัยของเจาตี้ และเซวียนตี้ นั้น แม้ว่าเศรษฐกิจจีนจะยังคงก้าวไปข้างหน้า ทว่า กลับแฝงเร้นไว้ด้วยเงามืดของการเมือง เกิดการซ่องสุมอำนาจและความพยายามในการล้มล้างฐานอำนาจเดิมทำให้ชาวเมืองพากันหวั่นหวาดความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น ส่วนนโยบายต่อชนเผ่านอกด่านคือ ซงหนู ได้หันมาใช้การผูกมิตรแทน โดยมีการจัดส่งองค์หญิงหรือ
บุตรสาวของเจ้านายชั้นสูงไปแต่งงานกับหัวหน้าเผ่านอกด่าน จนเกิดเป็นตำนานของหวังเจาจวิน รัชสมัยฮั่นหยวนตี้ กลุ่มขุนนางที่ไม่มีเชื้อสายชนชั้นสูงมีอำนาจมาก
ขึ้น ระบอบการปกครองล้มเหลว เกิดการขัดแย้งทางชนชั้นและการลุกฮือของกบฏชาวนาอยู่เสมอ เมื่อถึงรัชสมัยฮั่นเฉิงตี้ กลุ่มตระกูลหวังซึ่งเป็นญาติฝ่ายพระมารดา
ของเฉิงตี้เข้ากุมอำนาจทางการเมืองไว้ได้ ตระกูลหวังมีพี่น้อง4 คนและหลานชายชื่อหวังหมั่ง เข้ารวบตำแหน่งหัวหน้าทางทหารและพลาธิการไว้ได้ อีกทั้งยังร่ำรวยทรัพย์สินมหาศาล พอล่วงเข้ารัชสมัยฮั่นอัยตี้ ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถูกกบฏชาวนาสั่น
คลอนราชบัลลังก์จนแทบไม่อาจยืนหยัดต่อไปได้ หวังหมั่งนำความคิดเรื่อง
‘สืบทอดบัญชาสวรรค์’ มาใช้เพื่อการแก้ไขวิกฤตอีกครั้ง แต่ก็ต้องประสบกับ
ความล้มเหลว เมื่อฮั่นผิงตี้ ขึ้นครองบัลลังก์ หวังหมั่งกลับมาเรืองอำนาจอีก
ครั้งจึงเร่งกำจัดศัตรูทางการเมืองขนานใหญ่ รวมทั้งจัดตั้งสมัครพรรคพวก
หาทางซื้อใจประชาชนและปัญญาชน เพื่อสนับสนุนฐานอำนาจแห่งตน
เมื่อฮั่นผิงตี้สิ้นพระชนม์ลง หยูจื่ออิง ซึ่งยังเป็นเด็กขึ้นครองราชย์ต่อมา
หวังหมั่งเห็นเป็นโอกาส จึงถอดถอนหยูจื่ออิง แล้วตั้งตนขึ้นเป็นฮ่องเต้
(ค.ศ. 8-23)นับแต่นั้น ราชวงศ์ฮั่นตะวันตกก็ถึงกาลล่มสลาย

เครื่องประดับมังกรหยกขาว

ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่มีความเจริญรุ่งเรืองที่
สุดยุคหนึ่งในประวัติศาสตร์ชนชาติจีน เป็นยุคสมัยที่ก่อเกิดศูนย์
รวมทางจิตใจของความเป็นชนชาติจีน หรือที่ต่อมาเรียกกันว่าชาวฮั่น
หลังจากฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ปฐมกษัตริย์จีนที่สามารถรวม
แผ่นดินจีนเป็นหนึ่งแล้ว ในสมัยจั้นกว๋อ การสู้รบระหว่างแว่นแคว้นต่าง ๆ
ได้ทำให้เกิดการหล่อหลอมวัฒนธรรมของชนชาติต่าง ๆเข้าด้วยกัน
เมื่อถึงสมัยฮั่นตะวันตก ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบการปกครอง ภาษา
การศึกษาวัฒนธรรม ขนบประเพณีต่างก็ได้รับการกลืนกลาย
หนึ่งเดียว เกิดเป็นวัฒนธรรมร่วมกันที่เรียกว่า‘วัฒนธรรมของชนชาติฮั่น
’นับแต่นั้นมา ชนชาติฮั่นซึ่งมีความเจริญมากกว่า จึงมักได้รับการยอมรับ
ให้เป็นกลุ่มผู้นำในดินแดนแถบนี้ และนี่คือผลแห่งวิวัฒนาการทาง
ประวัติศาสตร์และการหลอมกลืนโดยธรรมชาติ ในภายหลังยุคสมัยฮั่นต่อมา
แม้ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงผู้ปกครองหรือราชวงศ์อีกมากมาย
แต่กลุ่มผู้นำยังคงเป็นชาวฮั่นตลอดมา.
ชุดหยก ทำจากแผ่นหยกนับพันชิ้นเรียงร้อยด้วยเส้นไหมทองคำ
ใช้ห่อหุ้มศพของกษัตริย์หรือชนชั้นสูงในสมัยนั้น โดยเชื่อว่าหยกเป็นสิ่งบริสุทธิ์จะช่วยรักษาสภาพศพไม่ให้เน่าเปื่อย
















4/23/2552

ราชวงศ์ฉิน

“ฉินผู้ผนึกรวมแผ่นดินใหญ่แห่งจีนและแชมป์สร้างสิ่งมหัศจรรย์โลก ดับวูบลงในชั่วเวลาอันแสนสั้น เนื่องเพราะการใช้อำนาจเหล็กอย่างโหดร้ายทารุณ ทว่า อิทธิพลฉินก็หยั่งรากครอบงำจีนในหลายด้านมาตลอดประวัติศาสตร์กว่า 2 พันปี รวมทั้งคุณูปการอันมหาศาลในการช่วยรักษาเอกภาพแผ่นดินจีนมาตลอดด้วยมาตรฐานวัฒนธรรมที่จิ๋นซีฮ่องเต้ทรงสร้างขึ้น”
กำแพงเมืองจีน หนึ่งในผลงานมหัศจรรย์ของจิ๋นซีฮ่องเต้
การปฏิรูปซางหยางขับดันให้การพัฒนาของฉิน 1 ใน 7 รัฐใหญ่แห่งยุคจ้านกั๋วหรือยุคสงคราม พุ่งทะยานอย่างรวดเร็ว พลังอันแข็งแกร่งทางทหารและความรุ่งโรจน์ทางเศรษฐกิจ ทำให้ฉินพิชิตรัฐใหญ่ทั้งหกได้อย่างง่ายดาย ระหว่าง 26 ปี นับจากช่วงที่ฉินหวางเจิ้งก้าวสู่บัลลังก์กษัตริย์ กระทั่งปีที่เขาสถาปนาตัวเองเป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนที่เรียกกันว่าฉินสื่อหวงตี้หรือในภาษาแต้จิ๋วที่คุ้นหูคนไทยคือ จิ๋นซีฮ่องเต้ พระองค์พิชิตชัยชนะในการรัมโรมศึกกับบรรดารัฐใหญ่ร่วมยุคสมัยทั้งหมดได้แก่ หาน จ้าว เว้ย ฉู่ เยียน และฉี ในที่สุด ฉินก็บรรลุการผนึกรวมรัฐต่างๆเป็นแผ่นดินใหญ่ภายใต้อำนาจเบ็ดเสร็จและการปกครองแบบรวบอำนาจที่ศูนย์กลาง
ฉินสื่อหวงตี้ได้กำหนดมาตรการหลายอย่างเพื่อสร้างเสริมความแข็งแกร่งแก่อำนาจส่วนกลาง และรวบรวมเอกภาพแห่งชาติ อำนาจสูงสุดอยู่ในมือของจักรพรรดิ ขณะที่เหล่าขุนนางใหญ่มีสิทธิเพียงถกเถียงและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับกิจการของรัฐ โดยไม่มีสิทธิในการตัดสินใจใดๆ สำหรับรัฐบาลกลางประกอบด้วย 3 ขุนนางใหญ่คือ เฉิงเซี่ยง(อัครเสนาบดี) เป็นผู้ช่วยมีอำนาจรองจากจักรพรรดิช่วยบริหารบ้านเมือง ยวี่สื่อต้าฟู(ที่ปรึกษาองค์จักรพรรดิ) คอยกำกับดูแลข้าราชบริพารทุกระดับชั้น และไท่เว่ย(ผู้บัญชาการทหารสูงสุด) รับผิดชอบกิจการทหาร ดินแดนทั้งหมดถูกแบ่งเป็นเขตการปกครอง 36 แห่ง ซึ่งแบ่งย่อยออกไปเป็นอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน รัฐอนุญาตให้ประชาชนมีสิทธิเป็นเจ้าของที่ดิน ทั้งมีระบบทะเบียนสำมะโนประชากรที่เป็นเอกภาพและเหนียวแน่นบังคับใช้ทั่วประเทศ อีกทั้งมีการสร้างมาตรฐานระบบภาษาเขียน ระบบเงินตรา มาตราชั่ง ตวง วัด ซึ่งเป็นแกนที่คอยรวบรวมเอกภาพของแผ่นดินจีนตลอดประวัติศาสตร์กว่า 2,000 ปี ตลอดจนมีการสร้างถนนหนทาง ลำคลองขนาดมหึมา
นอกจากนี้ กลุ่มคนร่ำรวยถูกย้ายให้มาอาศัยอยู่ในเมืองหลวงคือเสียนหยาง เพื่อขยายความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจของใจกลางประเทศ ส่วนประชาชนทั่วไปก็ถูกส่งไปยังเขตกันดารไกลปืนเที่ยงเพื่อทำไร่ทำนา ส่วนพวกนักโทษอาชญากรก็ถูกอัปเปหิไปต่อสู้ป้องกันประเทศตามเขตแนวหน้าชายแดน สื่อหวงตี้นั่นเอง ที่ทรงดำริเชื่อมกำแพงของแว่นแคว้นต่างๆในยุคจ้านกั๋ว เป็นกำแพงเมืองมหัศจรรย์ที่ยาวที่สุดในโลก เพื่อสกัดกั้นชนเผ่าซงหนู
สื่อหวงตี้ใช้อำนาจเหล็กอย่างหฤโหด อาทิ การสังหารนักคิดนักปราชญ์จำนวนมากโดยการฝังทั้งเป็น อาทิ กลุ่มลัทธิขงจื่อกว่า 400 คน เผาหนังสือคัมภีร์ที่แตกแถว เกณฑ์แรงงานทาสไปสร้างกำแพงเมือง พระราชวัง สวน และสุสานกระทั่งล้มตายกันไปเป็นเบือนับล้าน ขณะที่รีดนาทาเร้นส่วยภาษีจากประชาชน สื่อหวงตี้ก็ใช้ชีวิตสุดหรูฟู่ฟ่า ใช้เงินราวเศษกระดาษในการท่องเที่ยวสำราญไปทั่วประเทศ
การบังคับใช้แรงงานทาสอย่างทารุณอย่างไม่จบสิ้น ภาระภาษีอันหนักอึ้งของประชาชน และการลงทัณฑ์อาชญากรอย่างโหดเหี้ยม กลายเป็นแรงกระตุ้นมรสุมแห่งความเกลียดชังและความไม่พอใจที่เริ่มพุ่งพวยและระเบิดในปลายรัชสมัยของสื่อหวงตี้

หุ่นปั้นดินเผากองทัพนักรบในมหาสุสานของจิ๋นซีฮ่องเต้อันลือลั่น

สื่อหวงตี้สวรรคตในปีก่อนค.ศ.210 ซึ่งเป็นปีที่ 37 ของการครองราชย์เหนือรัฐฉิน ระหว่างเดินทางกลับจากการตรวจราชการจากดินแดนทางใต้ อัครเสนาบดีหลี่สือ และจ้าว กาวขันทีผู้ทรงอิทธิพล ก็ได้วางแผนปลงพระชนม์องค์รัชทายาทฝูซู และประกาศตั้งหูฮ่ายพระอนุชาของฝูซู เป็นองค์รัชทายาท ซึ่งทรงก้าวสู่บัลลังก์เป็นจักรพรรดิองค์ที่สอง
หูฮ่ายเป็นหุ่นเชิดของจ้าว กาว และทรงใช้อำนาจเหล็กอันเหี้ยมเกรียมเสียยิ่งกว่าจักรพรรดิพระองค์แรก กระทั่งปี 209 ก่อนค.ศ. ซึ่งเป็นปีที่ 2 ในการครองราชย์ของจักรพรรดิองค์ที่สอง การลุกฮือใหญ่ของชาวนาซึ่งมีเฉิน เซิ้ง และอู๋ กว่าง เป็นผู้นำ ก็ได้ระเบิดขึ้น จากนั้น คลื่นมหาชนทั่วดินแดนได้ผลึกกำลังกันลุยศึกโค่นล้มอำนาจฉินได้แก่ ประชาชนตามท้องถิ่นชนบท กองกำลังที่ยังเหลือรอดของเหล่าผู้ปกครองอดีตรัฐใหญ่ทั้งหก กลุ่มข้าราชการระดับล่างในรัฐบาลฉิน ตลอดจนกลุ่มทหารติดอาวุธในบางพื้นที่ และกองกำลังแห่งฉินก็พ่ายยับอย่างสาหัสสากรรจ์
เซี่ยงหวี่ทายาทขุนนางในอดีตรัฐใหญ่ทั้งหก และหลิว ปังข้าราชการระดับล่างในรัฐบาลฉินผู้มีแนวคิดแบบรากหญ้า ต่างนำทัพของตนลุยฝ่าด่านเข้าโจมตีฉิน ขณะเดียวกัน จ้าว กาวได้ปลิดชีพทั้งหลี่ ซือ และฝูซูจักรพรรดิองค์ที่สอง จากนั้น ก็เชิดจื่อ อิงพระนัดดาของจักรพรรดิองค์แรกสู่บัลลังก์ ในปี 207 ก่อนค.ศ. กองกำลังเซี่ยงหวี่โจมตีทัพฉินแตกกระจุย นอกจากนี้ ทัพฉินยังพ่ายยับอย่างหนักในสนามรบจู้ลู่ ปีเดียวกัน จื่อ อิงก็สังหารจ้าว กาว ปีถัดมา หลิว ปังก็บุกทะลวงไปถึงชานเมืองป้าส้างประชิดเซียนหยาง ในที่สุด จื่อ อิงก็เสด็จออกจากเมืองหลวงและยอมยกธงขาว ปิดม่านราชวงศ์ฉินอันยิ่งใหญ่ จากนั้น เซี่ยงหวี่ซึ่งตั้งตัวเป็น ‘กษัตริย์แห่งฉู่’ และหลิว ปังเป็น ‘กษัตริย์แห่งฮั่น’ ในปี 202 ก่อนค.ศ. เซี่ยงหวี่อัตวินิบาตกรรมหนีความอัปยศพ่ายแพ้ และหลิวปังก็ทะยานสู่บัลลังก์จักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฮั่น
แม้ราชวงศ์จะครองแผ่นดินเพียงชั่วเวลาอันแสนสั้นเพียง 15 ปี แต่อิทธิพลของฉินผู้รวบรวมจีนแผ่นดินใหญ่ ก็ยืนยงเหนือประวัติศาสตร์มาตลอดนับพันปี ดินแดนฉินคือประเทศจีนปัจจุบัน ยกเว้นพรมแดนด้านตะวันตก ตะวันตกเฉียงใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ ระบบการรวบอำนาจสู่ส่วนกลางอย่างสิ้นเชิงของฉิน เป็นแบบอย่างของราชวงศ์ต่อๆมา กำแพงเมืองจีนยังยืนผงาดมาถึงวันนี้ อย่างไรก็ตาม ก็ไม่มีอำนาจเผด็จการของยุคราชวงศ์ไหน ดุเดือดเทียมทานฉินได้ ด้วยเหตุผลนี้เอง ที่ทำให้ราชวงศ์ฉินดับวูบในชั่วเวลาอันแสนสั้น.
ใ นเวลานั้น มีกบฏอยู่หลายชุด มีข้อตกลงกันว่า หากใครบุกเข้าทางกวนจง ของราชวงศ์ฉินได้ก่อน จะได้เป็นใหญ่ หลิวปัง ได้ก่อกบฏต่อต้านราชวงศ์ฉินขึ้น และได้ผู้ช่วยมือดีมา 3 คน คือ หานซิ่น จางเหลียง และเซียวเหอ มาช่วยในการวางแผนรบ และประสานงานต่างๆ จึงโค่นราชวงศ์ฉินลงได้
โดยเจ้าเกาได้ฆ่าหลี่ซือ ปลงพระชนม์หูไห่ แล้วตั้งจื่ออิง หลานของหูไห่เป็นฮ่องเต้แทน
แต่เจ้าเกาก็ถูกจื่ออิงฆ่าตาย จื่ออิงยอมสวามิภักดิ์ต่อหลิวปัง เวลาเดียวกัน เซี่ยงอี้
ได้ละเมิดข้อตกลง โดยตั้งตัวเป็นซีฉู่ป้าอ๋อง หรือฌ้อป้าอ๋อง (แปลว่า อ๋องแห่งแคว้นฉู่ ที่ยิ่งใหญ่
เหนืออ๋องอื่นๆ ว่ากันว่า เซี่ยงอี้นิยมสงคราม และคิดจะทำให้แผ่นดินแตกแยก กลับไปสู่ยุคจ้านกว๋ออีกครั้ง) เซี่ยงอี้ได้เผาพระราชวังอาฝางกงของฉินซีฮ่องเต้ ปลงพระชนม์จื่ออิง แล้วสู้รบกับหลิวปัง การสู้รบได้ยืดเยื้ออยู่นาน เซี่ยงอี้คิดจะแบ่งแผ่นดินปกครองกับหลิวปัง แต่ในที่สุด หลิวปังได้ยกทัพเข้าสู้รบขั้นเด็ดขาด ทำให้เซี่ยงอี้ต้องฆ่าตัวตายในที่สุด
ในสมัยราชวงศ์ฉินมีการก่อสร้างกำแพงเมืองจีน เพื่อป้องกันการรุกรานของพวกป่าเถื่อนทางเหนือของจีน คือพวกมองโกล ซ่งหนู และชิตันการปกครองเป็นไปอย่างเข้มงวด บังคับให้ใช้ระบบเงินตราเดียวกัน
สร้างถนน ปฏิรูปเขตเกษตรกรรม สั่งเผาหนังสือทางการเมือง ประวัติศาสตร์และวรรณกรรม ความหวาดระแวงของพระองค์ทำให้ ฝูซู ราชโอรสองค์ใหญ่ถูกเนรเทศ ผู้ที่ครองราชย์ต่อมาคือ จักรพรรดิเอ้อซื่อที่อ่อนแอ ทำให้ราชวงศ์ฉินถูกล้มล้างด้วยพวกกบฏในที่สุด
เรื่องราวสมัยราชวงศ์ฉิน มีอยู่ในวรรณกรรมไซ่ฮั่น ซึ่งกล่าวถึงการสิ้นสุดราชวงศ์ฉินและ
การสถาปนาราชวงศ์ฮั่น
ปัจจุบัน ราชวงศ์ฉินได้รับการยอมรับจากนักประวัติศาสตร์ให้เป็นราชวงศ์แรกของจีน ด้วยมีหลักฐาน
ทางโบรารคดีและประวัติศาสตร์อย่างเป็นทางการมากที่สุดและแผ่นดินก็ยงได้ถูกรวมเป็นหนึ่งครั้งแรก
และยกให้ จิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นจักรพรรดิองค์แรกของจีนด้วย ด้วยคำว่า "China" ในภาษาอังกฤษ
หรือคำว่า "จีน" ในภาษาไทยก็ล้วนเพี้ยนมาจากคำว่าฉินนี้ทั้งสิ้น ราชวงศ์ฉิน เป็นราชวงศ์ที่สั้น ๆ
มีอายุเพียง 15 ปี เท่านั้น แต่ได้วางรากฐานที่สำคัญต่อมาแก่คนรุ่นหลัง และได้สร้างสิ่งมหัศจรรย์
ของโลกมากมาย เช่น กำแพงเมืองจีน, สุสานจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นต้น

สมัยชุนชิวจั้นกว๋อ (770 ปีก่อนคริสต์ศักราช – 221 ปีก่อนคริสต์ศักราช

ห้านักปราชญ์ซึ่งถือเป็นผู้นำทางความคิดในสมัยชุนชิวจั้นกว๋อได้แก่ เหลาจื่อ สวินจื่อ จวงจื่อ ม่อจื่อและขงจื่อ ตามลำดับจากซ้ายมาขวา
“การแย่งชิงอำนาจเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำในจงหยวนนั้น เริ่มต้นจาก ฉีหวนกงเจ้าแคว้นฉีมอบหมายให้เสนาบดีก่วนจ้ง แก้ไขปรับปรุงระบบการปกครองภายใน ทำให้แคว้นฉีเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งยังดำเนินกุศโลบายเรียกร้องให้ ‘พิทักษ์โจว ปราบอี๋’ นั่นคือพิทักษ์ราชสำนักโจวและร่วมมือปราบปรามชนเผ่านอกจงหยวน”
ในสมัยราชวงศ์โจวตะวันตก ผู้นำจะรักษาฐานอำนาจการปกครองของตนโดยมีตำแหน่ง ‘เจ้าแห่งฟ้า’ ซึ่งมีศักดินาสูงสุด อีกทั้งสามารถห้ามไม่ให้บรรดาเจ้าแคว้นร่วมมือหรือรบพุ่งซึ่งกันและกัน เมื่อโจวผิงหวัง ย้ายเมืองหลวงไปตะวันออก (ถือเป็นการสิ้นสุดราชวงศ์โจวตะวันตกและเริ่มเข้าสู่ยุคโจวตะวันออก) ราชสำนักโจวก็อ่อนแอลง จึงไม่มีอำนาจปกครองเหนือเหล่าแว่นแคว้นต่าง ๆอีก ทำให้เกิดเป็นสภาวะสุญญากาศทางการเมืองขึ้นในภูมิภาคนี้
ขณะเดียวกัน ชนเผ่าหมาน อี๋ และหรงตี๋ ที่อยู่รอบนอกตามตะเข็บชายแดน ซึ่งได้รับอิทธิพลทางวัฒนธรรมจากแผ่นดินจงหยวน(ดินแดนแถบที่ราบภาคกลางของจีน) อีกทั้งมีการผสมผสานระหว่างชนเผ่า ทำให้ชุมชนเหล่านี้เจริญก้าวหน้าตามติดมาอย่างกระชั้นชิด ในขณะที่แว่นแคว้นต่าง ๆในแถบจงหยวนมีเงื่อนไขของความเจริญรุดหน้าที่ไม่ทัดเทียมกัน มีบ้างเข้มแข็ง บ้างอ่อนแอ ดังนั้น ทั่วทั้งภูมิภาคจึงเกิดการจับขั้วของอำนาจระหว่างแคว้น มีทั้งความร่วมมือและแย่งชิงอำนาจความเป็นใหญ่ ดังนั้น ในยุคราชวงศ์โจวตะวันออกจึงเป็นยุคที่มีความพลิกผันทางการเมืองอย่างสูง แต่ก็เป็นปัจจัยหนึ่งของการรวมประเทศจีนในอนาคต
โจวผิงหวังเมื่อย้ายนครหลวงไปยังตะวันออก ดินแดนฝั่งตะวันตกก็กลายเป็นแคว้นฉิน ครอบคลุมเขตแดนของชนเผ่าหรง และดินแดนโดยรอบ กลายเป็นแคว้นที่เข้มแข็งทางตะวันตก สำหรับแคว้นจิ้น ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซานซี ส่วนแคว้นฉี และหลู่ อยู่ในมณฑลซานตง แคว้นฉู่ อยู่ในมณฑลหูเป่ย สำหรับปักกิ่งและดินแดนทางตอนเหนือของมณฑลเหอเป่ยในปัจจุบันเป็นแคว้นเอี้ยน นอกจากนี้ทางตอนใต้ของลำน้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียงก่อเกิดเป็นแว่นแคว้นต่าง ๆมากมาย อาทิ แคว้นอู๋ แคว้นเยว่ เป็นต้น ล้วนเกิดจากการรวบรวมแว่นแคว้นเล็กที่อยู่โดยรอบเขตแดนของตน จนกระทั่งมีกำลังเข้มแข็งขึ้น ดังนั้นเองประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาดังกล่าว จึงกลายสมรภูมิเลือดแห่งการแย่งชิงอำนาจของเจ้าแคว้นเหล่านี้
การแย่งชิงอำนาจเพื่อให้ได้ตำแหน่งผู้นำที่ครองอำนาจเด็ดขาดในจงหยวนนั้น เริ่มต้นจาก ฉีหวนกงเจ้าแคว้นฉีมอบหมายให้เสนาบดีก่วนจ้ง แก้ไขปรับปรุงระบบการปกครองภายใน ทำให้แคว้นฉีเข้มแข็งขึ้น อีกทั้งยังดำเนินกุศโลบายเรียกร้องให้ ‘พิทักษ์โจว ปราบอี๋’ นั่นคือพิทักษ์ราชสำนักโจวและร่วมมือปราบปรามชนเผ่านอกจงหยวน อาทิเช่น ร่วมมือกับแคว้นเอี้ยนปราบชนเผ่าหรง หรือร่วมมือกับแคว้นต่าง ๆหยุดยั้งการรุกรานของชนเผ่าตี๋ เป็นต้น

ก่วนจ้ง ที่ปรึกษาเอกแห่งแคว้นฉี
นอกจากนี้ ในปี656 ก่อนคริสตศักราช แคว้นฉียังร่วมกับแคว้นหลู่ ซ่ง เจิ้ง เฉิน เว่ย สวี่ และเฉา ยกทัพปราบแคว้นฉู่ เพื่อทวงถามบรรณาการให้กับราชสำนักโจว แต่เดิมแคว้นฉู่มีกำลังทหารที่เข้มแข็ง แต่เมื่อต้องเผชิญหน้ากับการศึกปีแล้วปีเล่า อีกทั้งระย่อต่อความฮึกหาญของฉีหวนกง จึงได้แต่ยอมทำสัญญาสงบศึก หลังจากนั้น ฉีหวนกงก็เรียกชุมนุมบรรดาเจ้าแคว้นต่าง ๆอีกหลายครั้ง ราชสำนักโจวก็ส่งตัวแทนเข้าร่วมการชุมนุมด้วย ยิ่งเป็นการเสริมสร้างอำนาจบารมีให้กับฉีหวนกงกลายเป็นผู้นำในดินแดนจงหยวน
เมื่อแคว้นฉีเป็นใหญ่ในดินแดนจงหยวน แคว้นฉู่ซึ่งจึงได้แต่ขยายอำนาจลงไปทางตอนใต้ เมื่อสิ้นฉีหวนกงแล้ว แคว้นฉีเกิดการแย่งชิงอำนาจภายใน เป็นเหตุให้อ่อนแอลง แคว้นฉู่จึงได้โอกาสขยับขยายขึ้นเหนือมาอีกครั้ง ซ่งเซียงกง เจ้าแคว้นซ่งคิดจะสืบทอดตำแหน่งผู้นำจงหยวนแทนฉีหวนกง จึงเข้าต่อกรกับแคว้นฉู่ สุดท้ายแม้แต่ชีวิตก็ต้องสูญสิ้นไป เมื่อเป็นเช่นนี้ แคว้นพันธมิตรที่เคยอยู่ภายใต้การนำของแคว้นฉี อาทิ แคว้นหลู่ ซ่ง เจิ้ง เฉิน ไช่ สวี่ เฉา เว่ย เป็นต้น ต่างก็พากันหันมาเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับแคว้นฉู่ แทน

ติ่ง’รูปนก ด้านข้างจารึกอักษรเล่าความเป็นมาว่าแคว้นเอี้ยนถูกรุกรานจากชนเผ่าหรง ฉีหวนกงเจ้าแคว้นฉียกกำลังมาช่วยขับไล่ศัตรูไป เจ้าแคว้นเอี้ยนจึงจัดทำภาชนะ ‘ติ่ง’ขึ้นเพื่อระลึกถึงเหตุการณ์
ในขณะที่แคว้นฉู่คิดจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวนนั้นเอง แคว้นจิ้น ก็เข้มแข็งขึ้นมา
-- จิ้นเหวินกง หลังจากที่ระหกระเหินลี้ภัยการเมืองไปยังแคว้นต่าง ๆนั้น เมื่อได้กลับสู่แว่นแคว้นของตน ก็ทำการปรับการปกครองภายในครั้งใหญ่ เพิ่มความเข้มแข็งทางการทหาร อีกทั้งยังคิดแย่งชิงตำแหน่งผู้นำจงหยวน
ขณะนั้นโจวเซียงหวัง ผู้นำของราชวงศ์โจวตะวันออกถูกบุตรชายสมคบกับชาวตี๋ ขับไล่ออกจากวัง จิ้นเหวินกงเห็นว่าเป็นโอกาสในการก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวน จึงนัดแนะบรรดาเจ้าแคว้นต่าง ๆ เพื่อล้มบัลลังก์ขององค์ชายผู้ทรยศ จากนั้นจัดส่งโจวเซียงหวังกลับสู่ราชสำนักโจว จึงได้รับ ‘ธวัชเชิดชูเกียรติ’ ต่อมาในปี 632 ก่อนคริสตศักราช กองทัพของจิ้นและฉู่สองแคว้นเข้าปะทะกันที่เมืองผู ทัพจิ้นได้ชัยเหนือทัพฉู่ หลังการศึกครั้งนี้ จิ้นเหวินกงเรียกประชุมแคว้นพันธมิตร โจวหวังก็เข้าร่วมประชุมด้วย และได้ประทานตำแหน่ง ผู้นำจงหยวนให้กับจิ้นเหวินกง
ในช่วงเวลาแห่งการแย่งตำแหน่งผู้นำจงหยวนระหว่างแคว้นจิ้นและฉู่นั้นเอง แคว้นฉี และฉินได้กลายเป็นขั้วมหาอำนาจทางทิศตะวันออกและตะวันตกไป ในช่วงปลายยุคชุนชิว แคว้นฉู่ร่วมมือกับฉิน แคว้นจิ้นจับมือกับฉี สองฝ่ายต่างมีกำลังที่ทัดเทียมกัน ทว่า สภาวะแห่งการแก่งแย่งตำแหน่งผู้นำจงหยวนกลับทวีความขัดแย้งทางการเมืองภายในของแต่ละแคว้นมากขึ้น ดังนั้น จึงถึงจุดสิ้นสุดของยุคผู้นำที่ ‘ชูธงนำทัพ’ออกปราบปรามบรรดาชนเผ่าภายนอก เมื่อถึงปีก่อนคริสตศักราช 579 แคว้นซ่งทำสัญญาพันธมิตรกับแคว้นจิ้นและฉู่ว่าต่างฝ่ายจะไม่โจมตีกัน มีการส่งทูตเจริญสัมพันธไมตรีระหว่างกัน จะให้ความช่วยเหลือเมื่ออีกฝ่ายตกอยู่ในสถานการณ์ลำบาก และจะเข้าร่วมรบต้านทานศัตรูจากภายนอก
‘ธงนำทัพ’เป็นเครื่องมือที่แสดงถึงความร่วมมือและการแย่งชิงอำนาจของผู้นำจงหยวน การยกเลิก‘ธงนำทัพ’ยังเป็นการสะท้อนถึงความพยายามของบรรดาแว่นแคว้นเล็ก ๆที่ต้องการดิ้นรนให้หลุดพ้นจากการควบคุมของแคว้นมหาอำนาจอีกด้วย
ในปี 575 ก่อนคริสตศักราช แคว้นจิ้นและฉู่เปิดศึกครั้งใหญ่ที่เยียนหลิง ฉู่พ่ายแพ้ และเมื่อปี 557 ก่อนคริสตศักราช สองแคว้นเปิดศึกอีกครั้งที่จั้นป่าน ฉู่พ่ายแพ้อีกครั้ง ในช่วงเวลานี้ ก็มีการศึกระหว่างแคว้นอีกหลายครั้งเช่น แคว้นจิ้นกับฉิน จิ้นกับฉี จิ้นล้วนเป็นฝ่ายได้ชัยชนะ จนกระทั่งปี 546 ก่อนคริสตศักราช แคว้นซ่ง ร่วมกับแว่นแคว้นอื่นอีกนับสิบแคว้น ทำสัญญาทางไมตรีกับจิ้นและฉู่อีกครั้ง โดยสัญญาดังกล่าวระบุว่า “นับแต่นี้ไป บรรดาเจ้าครองแคว้นเล็ก ๆทั้งหลายจะจัดส่งบรรณาการให้กับแคว้นจิ้นและฉู่โดยเท่าเทียมกัน” ดังนั้น แคว้นจิ้นและฉู่จึงถือว่าได้แบ่งปันอำนาจกันฝ่ายละกึ่งหนึ่ง
คนโทน้ำดินเผา เขียนลายมังกร พยัคฆ์ หงส์ ที่ผ่านการเผาในอุณหภูมิสูงแล้วจึงนำมาเขียนลวดลายสีสันต่าง ๆ
ในขณะที่แคว้นจิ้นและฉู่เข้าแย่งชิงอำนาจผู้นำจงหยวนนั้นเอง ทางตอนใต้ของ
ลำน้ำฉางเจียงหรือแยงซีเกียงก็ได้ก่อเกิดแคว้นอู๋ (吴)และแคว้นเยว่ (越) ขึ้น แคว้นจิ้นได้จับมือ
กับแคว้นอู๋ เพื่อต้านทานอำนาจฉู่ ดังนั้น ระหว่างแคว้นอู๋และฉู่จึงเกิดศึกกันหลายครั้ง ในปี 506ก่อน
คริสตศักราช แคว้นอู๋ยกทัพบุกแคว้นฉู่ ได้รับชัยชนะอย่างงดงาม โดยสามารถรุกเข้าถึงเมืองหลวง
ของฉู่ นับแต่นั้นมา กำลังอำนาจของแคว้นฉู่ก็ถดถอยลง
ในขณะที่แคว้นจิ้นจับมือแคว้นอู๋เพื่อจัดการแคว้นฉู่ แคว้นฉู่ก็ร่วมมือกับแคว้นเยว่
เพื่อป้องกันอู๋ ดังนั้น ระหว่างแคว้นอู๋และแคว้นเยว่จึงเกิดศึกไม่ขาด เจ้าแคว้นอู๋นามเหอหลี (阖闾)
เสียชีวิตในสมรภูมิรบ ราชบุตรฟูไช (夫差)สาบานว่าจะพิชิตโกวเจี้ยน (勾践)เจ้าแคว้นอู๋
เพื่อล้างแค้นให้กับบิดา และในปีถัดมาเมื่อโกวเจี้ยนยกทัพมาอีกครั้งจึงต้องพ่ายแพ้กลับไป
โกวเจี้ยนแสร้งว่ายอมศิโรราบ ถึงกับยอมทน ‘นอนบนพื้นหญ้า ลิ้มชิมดีขม’ (卧薪尝胆)
เพื่อสั่งสมกำลังพล รอจังหวะโอกาสอันดีขณะที่ฟูไชเจ้าแคว้นอู๋ขึ้นเหนือเพื่อช่วงชิง
ตำแหน่งผู้นำจงหยวนกับแคว้นจิ้นนั้นเอง โกวเจี้ยนก็ยกทัพบุกเมืองหลวงของแคว้นอู๋
ฟูไชได้แต่รีบกลับมาเจรจายอมสงบศึก แต่ต่อมาอีกไม่นานนัก แคว้นเยว่ก็สามารถบุกทำลาย
แคว้นอู๋ลงได้อย่างราบคาบ จากนั้นโกวเจี้ยนก็ขยายอิทธิพลขึ้นเหนือ เพื่อเข้าร่วมชุมนุมเจ้า
แคว้นเพื่อก้าวสู่ตำแหน่งผู้นำจงหยวน ในยุคชุนชิว(春秋) [ปี 770-476 ก่อนคริสตศักราช]
นี้ ความร่วมมือและสู้รบของแคว้นต่าง ๆ นอกจากเป็นการกระตุ้นความเจริญทางเศรษฐกิจ
และสังคมของแว่นแคว้นและดินแดนต่าง ๆแล้ว ยังมีส่วนช่วยเร่งเร้าการหลอมรวมเผ่าพันธุ์ระหว่าง
ชนเผ่าให้เป็นหนึ่งเดียวอีกด้วย หลังจากผ่านการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ โยกย้ายผลัดเปลี่ยนฝักฝ่ายแล้ว บรรดาเจ้าแคว้นขนาดเล็กก็ทยอยถูกกลืนโดย 7 นครรัฐใหญ่ และแคว้นรอบข้างอีกสิบกว่าแคว้น



เงินตราในสมัยชุนชิวจั้นกว๋อ (เรียงจากซ้ายมาขวา เงินตรารัฐฉี ฉู่ ฉิน แคว้นซ่ง และซันจิ้น)
โดยทั่วไปมี 3 รูปแบบคือ รูปทรงดาบ ทรงกลมมีรูตรงกลางและรูปสามขา ทำจากวัสดุที่
แตกต่างกันเช่น เปลือกหอย ดินเผา สำริด ทองคำเป็นต้น
“ฉินหวังเจิ้ง หรือต่อมาจิ๋นซีฮ่องเต้ ได้สืบราชบัลลังก์นครรัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่น
เว่ยเหลียว หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการถากถางเส้นทางในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้
เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 นครรัฐ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครอง
ของนครรัฐทั้ง 6 อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า กระทั่งทลายอำนาจของ
6 นครรัฐอำนาจใหญ่ และประเทศจีนก็รวมเป็นหนึ่งเดียว”
ยุคจั้นกว๋อ (战国)
เมื่อเข้าสู่ยุคจั้นกว๋อ (战国)หรือยุคสงคราม [ปี 475-221 ก่อนคริสตศักราช] จึงมีสภาพ
โดยรวมดังนี้ นครรัฐฉู่ (楚)คุมทางตอนใต้ นครรัฐเจ้า (赵)คุมทางเหนือ นครรัฐเอี้ยน (燕)คุมตะวันออกเฉียงเหนือ นครรัฐฉี (齐)คุมตะวันออก นครรัฐฉิน (秦)คุมตะวันตก โดยมีนครรัฐหาน (韩)นครรัฐวุ่ย (魏) อยู่ตอนกลาง ซึ่งในบรรดานครรัฐทั้ง 7 นี้ มี 3 นครรัฐใหญ่ที่ครอบคลุมดินแดนลุ่มน้ำหวงเหอหรือฮวงโหจากทิศตะวันตกสู่ตะวันออกอันได้แก่นครรัฐฉิน วุ่ยและฉี ซึ่งมีกำลังอำนาจยิ่ง
ใหญ่ทัดเทียมกัน นับจากวุ่ยเหวินโหว (魏文侯)เจ้านครรัฐวุ่ยขึ้นสู่อำนาจในช่วง
ก่อนคริสตศักราช 400 ซึ่งอยู่ในยุคปลายชุนชิวเป็นต้นมา ก็ได้นำพาให้นครรัฐวุ่ยก้าว
ขึ้นสู่ความเป็นรัฐมหาอำนาจในแผ่นดินจงหยวน เมื่อนครรัฐวุ่ยเข้มแข็งขึ้น เป็นเหตุ
ให้นครรัฐหาน เจ้า และฉินต่างหวาดระแวงซึ่งกันและกัน เป็นเหตุให้เกิดการกระทบ
กระทั่งกันไม่หยุดหย่อน ในช่วงก่อนคริสตศักราช 354 นั้นเอง นครรัฐเจ้า (赵)
โจมตีแคว้นเว่ย (卫)นครรัฐวุ่ยเห็นว่าแคว้นเว่ยเป็นแคว้นในปกครองของตน
จึงนำทัพบุกนครหานตาน (邯郸)ซึ่งเป็นเมืองหลวงของนครรัฐเจ้า นครรัฐเจ้าหันไป
ขอความช่วยเหลือจากนครรัฐฉี นครรัฐฉีจึงส่งแม่ทัพเถียนจี้ (田忌)ไปช่วยนครรัฐเจ้า
เถียนจี้ใช้กลศึกของซุนปิน (孙膑)เข้าปิดล้อมนครต้าเหลียง (大梁)เมืองหลวงของวุ่ย
เวลานั้นถึงแม้ว่ากองทหารของวุ่ยจะสามารถเข้าสู่นครหานตานได้แล้ว ทว่ากลับจำต้องถอน
กำลังเพื่อย้อนกลับไปกอบกู้สถานการณ์ของรัฐตน สุดท้ายเสียทีทัพฉีที่กุ้ยหลิง ถูกตีแตกพ่ายกลับไป
และในปีถัดมา นครรัฐวุ่ยและหานก็ร่วมมือกันโจมตีทัพฉีแตกพ่าย เมื่อถึงปี 342 ก่อนคริสตศักราช
นครรัฐวุ่ยโจมตีนครรัฐหาน นครรัฐหานขอความช่วยเหลือจากนครรัฐฉี นครรัฐฉีจึงมอบหมายให้
แม่ทัพเถียนจี้ออกศึกอีกครั้ง โดยครั้งนี้มีซุนปินเป็นที่ปรึกษาในกองทัพ วางแผนหลอกล่อให้ทัพวุ่ย
เข้าสู่กับดักที่หม่าหลิง ที่ซึ่งธนูนับหมื่นของทัพฉีเฝ้ารออยู่ ความพ่ายแพ้คราวนี้ผังเจวียน (庞涓)
แม่ทัพใหญ่ของนครรัฐวุ่ยถึงกับฆ่าตัวตาย รัชทายาทของนครรัฐวุ่ยถูกจับเป็นเชลย ‘การศึกที่หม่าหลิง’
(马陵之战)จึงนับเป็นการศึกครั้งสำคัญในยุคจั้นกว๋อ เนื่องจากได้สร้างดุลอำนาจทางตะวันออก
ระหว่างนครรัฐฉีและนครรัฐวุ่ยให้มีกำลังทัดเทียมกัน
ส่วนนครรัฐฉิน(秦) ภายหลังการปฏิรูปของซางเอียง (商鞅)โดยหันมาใช้กฎหมายใน
การปกครองแล้ว สามารถก้าวกระโดดขึ้นสู่ความเป็นรัฐมหาอำนาจที่เข้มแข็งที่สุดในบรรดา 7 นครรัฐ
ดังนั้นจึงเริ่มแผ่ขยายอิทธิพลสู่ตะวันออก เริ่มจากปราบซันจิ้น** (ได้แก่นครรัฐหาน เจ้าและวุ่ย)
โดยเข้ายึดดินแดนฝั่งตะวันตกของนครรัฐวุ่ย จากนั้นขยายออกไปยังทิศตะวันตก ทิศใต้และเหนือ
เมื่อถึงปลายปี 400 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉินก็มีดินแดนกว้างใหญ่ใกล้เคียงกับนครรัฐฉู่
มุกแก้ว ใช้เทคนิคการติดกระจก เป็นเครื่องประดับที่หาดูได้ยาก

ในขณะที่นครรัฐฉินเข้าโรมรันพันตูกับซันจิ้นนั้น นครรัฐฉีก็แผ่ขยายอำนาจออกไปทางตะวันออก ในปี 315 ก่อนคริสตศักราช เจ้านครรัฐเอี้ยนสละบัลลังก์ให้แก่เสนาบดีจื่อจือ เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายภายใน นครรัฐฉีจึงฉวยโอกาสนี้บุกโจมตีนครรัฐเอี้ยน แต่สุดท้ายประชาชนนครรัฐเอี้ยนลุกฮือขึ้นก่อหวอด เป็นเหตุให้กองทัพฉีต้องล่าถอยจากมา ขณะเดียวกัน รัฐที่สามารถต่อกรกับนครรัฐฉินได้มีเพียงนครรัฐฉีเท่า กลยุทธชิงอำนาจใหญ่ที่สำคัญในขณะนั้นคือ ฉินและฉี ต้องหาทางให้นครรัฐฉู่มาเสริมพลังของตนให้ได้
การปฏิรูปทางการเมืองของนครรัฐฉู่ล้มเหลว เป็นเหตุให้รัฐอ่อนแอลง
แต่ก็ยังมีดินกว้างใหญ่ไพศาล อีกทั้งประชากรจำนวนมากเป็นกำลังหนุน นครรัฐฉู่ร่วมมือกับนครรัฐฉี
ต่อต้านฉิน ส่งผลกระทบต่อการขยายดินแดนของนครรัฐฉิน ดังนั้นเอง นครรัฐฉินจึงส่งจางอี้
ไปเป็นทูตสันถวไมตรีกับนครรัฐฉู่ ชักชวนให้ฉู่ละทิ้งฉีเพื่อหันมาร่วมมือกับนครรัฐฉิน โดยฉินจะ
ยกดินแดนซาง กว่า 600 ลี้ให้เป็นการแลกเปลี่ยน ฉู่หวยหวัง เจ้านครรัฐฉู่ละโมบโลภมากจึงแตกหัก
กับนครรัฐฉี ต่อเมื่อเจ้านครรัฐฉู่ส่งคนไปขอรับที่ดินดังกล่าว นครรัฐฉินกลับปฏิเสธไม่รับรู้เรื่องราว
ฉู่หวยหวังโมโหโกรธา จึงจัดทัพเข้าโจมตีนครรัฐฉิน แต่กลับเป็นฝ่ายแพ้พ่ายกลับมา นครรัฐฉู่เมื่อ
ถูกโดดเดี่ยวและอ่อนแอ นครรัฐฉินจึงบุกเข้ายึดดินแดนจงหยวนได้อย่างวางใจ โดยเริ่มจาก
นครรัฐหาน และวุ่ย จากนั้นเป็นนครรัฐฉี
เมื่อถึงปี 286 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉีล้มล้างแคว้นซ่ง เป็นเหตุให้แคว้นใกล้เคียงหวาดระแวง นครรัฐฉินจึงนัดหมายให้นครรัฐหาน เจ้า วุ่ยและเอี้ยนโจมตีนครรัฐฉีจนแตกพ่าย นครรัฐเอี้ยนที่นำทัพโดยแม่ทัพเล่ออี้ ฉวยโอกาสบุกนครหลินจือเมืองหลวงของนครรัฐฉีและเข้ายึดเมืองรอบข้างอีก 70 กว่าแห่ง ฉีหมิ่นหวัง เจ้านครรัฐฉีหลบหนีออกนอกรัฐ สุดท้ายถูกนครรัฐฉู่ไล่ล่าสังหาร นครรัฐฉีที่เคย
ยิ่งใหญ่เกรียงไกรต้องจบสิ้นลงในลักษณะนี้ เมื่อเป็นเช่นนี้ นครรัฐฉินจึงได้โอกาสแผ่อิทธิพลเข้าสู่
ภาคตะวันออก
ในปี 246 ก่อนคริสตศักราช ฉินหวังเจิ้ง (หรือต่อมาคือฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ จักรพรรดิองค์แรกของจีน) ได้สืบราชบัลลังก์นครรัฐฉินต่อมา โดยมีที่ปรึกษาเช่นเว่ยเหลียว หลี่ซือ เป็นต้น ช่วยเหลือในการถากถางเส้นทางในการรวบรวมแผ่นดิน บ้างใช้เงินทองล่อซื้อบรรดาขุนนางของ 6 นครรัฐ แทรกซึมเข้าไปก่อความวุ่นวายในการปกครองของนครรัฐทั้ง 6 อีกทั้งส่งกองกำลังรุกเข้าประชิดดินแดนปีแล้วปีเล่า เมื่อถึงปี 230 ก่อนคริสตศักราช นครรัฐฉินโจมตีนครรัฐหานแตกพ่ายไป เมื่อถึงปี 221 ก่อนคริสตศักราชกำจัดนครรัฐฉีสำเร็จ จากนั้น 6 นครรัฐต่างก็ทยอยถูกนครรัฐฉินกวาดตกเวทีอำนาจใหญ่ไป นับแต่นั้นมา ประเทศจีนก็รวมเป็นหนึ่งเดียว
ภาชนะใส่ของ ฉลุลวดลายหน้าสัตว์ ทำด้วยสำริดฝีมือนครรัฐฉู่ สันนิษฐานว่าเป็นเครื่องใช้ของสตรีชั้นสูง

อาจกล่าวได้ว่า การรวมแผ่นดินจีนของนครรัฐฉิน เกิดขึ้นจากแนวทางวิวัฒนาการของสังคมมาตั้งแต่สมัยชุนชิว หากเทียบกับสมัยราชวงศ์โจวตะวันตกและตะวันออกแล้ว จะเห็นว่ามีพัฒนาการด้านเทคโนโลยีการผลิตใหม่ ๆเช่น การทำเหมืองแร่ การแพทย์ การหลอมโลหะ ฯลฯ ซึ่งมีผลงานใหม่ ๆออกมามากมาย อาทิ เทคนิคการขุดบ่อโดยทำคันกั้นปากบ่อไม่ให้ดินถล่มลงมา ทำให้ต่อมาสามารถขุดหลุมลึกเพื่อทำเหมืองทองแดงได้ และเมื่อได้เรียนรู้กรรมวิธีในการทำให้ยางเป็นกำมะถันแล้ว ก็สามารถขยายผลโดยนำทองแดงที่ได้จากเหมืองมาใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวางมากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีงานฝีมือในการเชื่อมโลหะ การเลี่ยม การทำทองและเทคนิคการหลอมโลหะด้วยแบบพิมพ์ขี้ผึ้ง (失蜡法)เป็นต้น ทำให้ประเทศจีนก้าวสู่ความรุ่งเรืองของยุคสำริด
เมื่อยุคเหล็กกล้าปรากฏขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงกลางสมัยจั้นกว๋อ ซึ่งขณะนั้น เครื่องมือทางการเกษตรและสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆที่ทำด้วยเหล้ากล้า ได้ค่อย ๆเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น และมีส่วนกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทางการผลิตในสังคมอย่างมาก การแบ่งงานในสังคมมีความละเอียดซับซ้อนมากขึ้น แต่ละสาขาอาชีพมีความเติบโตก้าวหน้า มีการผลิตและการเคลื่อนตัวของสินค้าขนานใหญ่ กิจการค้าขายที่เติบโตราวกับติดปีก การขยายตัวของผลผลิตนี้ก่อเกิดเป็นชนชั้นเจ้าที่ดินกลุ่มใหม่ขึ้น ส่งผลคุกคามต่อวิถีการผลิตแบบเก่า นำสู่การปฏิรูปทางการผลิตครั้งใหญ่อีกครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ทว่า ระบอบการปกครองแบบศักดินาก็เป็นเหตุให้เกิดการแตกแยกและสงครามโรมรันพันตู อันสร้างความเสียหายให้กับสภาพเศรษฐกิจและสังคมอย่างมหาศาล เป็นต้นเหตุแห่งการสูญเสียทั้งกำลังคนและแรงงานฝีมือจำนวนมาก จากการบาดเจ็บล้มตายในสมรภูมิรบอันยาวนาน
ขณะเดียวกัน ก็มีกฎข้อห้ามและด่านตรวจจำนวนมากระหว่างนครรัฐต่างๆ ซึ่งขัดขวางการเลื่อนไหลของศิลปวัฒนธรรมในสังคม ดังนั้น จึงมีแต่การรวมแผ่นดิน ที่สามารถผลักดันให้สังคมมีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เกษตรกร และประชาชนจากทุกสาขาอาชีพต่างรอคอยและมุ่งหวังการรวมแผ่นดิน แม้ว่าจะต้องอาศัยการทำสงคราม และในที่สุด การพลิกโฉมครั้งสำคัญแห่งประวัติศาสตร์ชนชาติจีน ก็เป็นจริง
ฉินสื่อหวงหรือจิ๋นซีฮ่องเต้ (秦始皇)เมื่อรวมประเทศจีนเป็นหนึ่งได้แล้ว ก็ริเริ่มระบบการปกครองแบบใหม่อีกครั้ง โดยยกเลิกระบบเมืองหน้าด่าน หันมาแบ่งเป็นเขตการปกครอง รวบอำนาจการปกครองให้ขึ้นอยู่กับส่วนกลาง อีกทั้งจัดวางมาตรฐานของระบบตัวอักษร การชั่งตวงวัด ถนนหนทางและเส้นทางการคมนาคม ให้เป็นหนึ่งเดียวทั่วประเทศ ส่งผลต่อสภาพสังคมจีนอย่างมากมายมหาศาล การที่ฉินรวมประเทศจีนเป็นหนึ่ง ได้ทำให้จีนก้าวเข้าสู่ประวัติศาสตร์หน้าใหม่
*ยุคชุนชิว (春秋)ในภาษาจีนหมายถึงฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง เป็นการสื่อถึงสภาพความเป็นไปในยุคชุนชิวว่าเหมือนดั่งฤดูกาลแห่งความเปลี่ยนแปลงที่พลิกผันไม่แน่นอน
**ซันจิ้น (三晋)มาจากแคว้นจิ้นอันยิ่งใหญ่ในสมัยชุนชิว ภายหลังแตกออกเป็นสามนครรัฐได้แก่ นครรัฐหาน เจ้าและวุ่ย