2/18/2554

"วัดเส้าหลิน" ถิ่นยอดกังฟูแดนมังกร




วัดเส้าหลิน ตั้งอยู่ อ.เติงเฟิง เมืองเจิ้งโจว มณฑลเหอหนาน ตั้งอยู่กลางกลางระหว่างเมืองเจิ้งโจว(ห่างประมาณ 70 กม.) และเมืองลั่วหยาง(ห่างประมาณ 80 กม.มีรถโดยสารประจำทางสายวัดเส้าหลินวิ่งถึง ราคา 20 หยวน) ซึ่งจากเมืองทั้ง 2 สามารถนั่งรถไปใช้เวลาประมาณ 1 ชม.กว่าๆ ผู้สนใจเที่ยววัดเส้าหลิน หรือมณฑลเหอหนาน ตั้งอยู่ภายใน ซงซาน (嵩山) ภูกลาง อันเป็นหนึ่งใน 5 ยอดเขาแห่งแผ่นดินจีนหรือที่เรียกกันว่า อู่เยว่ (五岳) โดยอีก 4 เขาที่เหลือนั้นประกอบไปด้วย เหิงซาน (恒山) ภูเหนือในมณฑลซานซี เหิงซาน (衡山) ภูใต้ในมณฑลหูหนาน ไท่ซาน (泰山) ภูตะวันออกในมณฑลซานตง และหัวซาน (华山) ภูตะวันตกในมณฑลส่านซีมีสำนวนจีนกล่าวเอาไว้ว่า 五岳归来不看山 "ไปชม 5 ภู กลับมาไม่มองภูเขา " อันเป็นการบ่งบอกว่า ภูทั้ง 5 นั้นมีความสวยงามติดอยู่ในระดับหัวแถวของแผ่นดินในยุคชุนชิว แล้วคำว่า "เยว่ (岳)" ในยุคชุนชิว นั้นมีความหมายบ่งบอกถึง ตำแหน่งขุนนางผู้ดูแลภูเขาใหญ่ๆใน 4 ทิศรอบดินแดนจงหยวน (中原) ทั้งนี้ในเวลาต่อมาคำว่า "เยว่" นอกจากจะมีความหมายถึงขุนนางผู้ดูแลภูเขาใหญ่แล้วก็ถูกนำมาเรียกขาน ขุนเขาทั้ง 4 แห่งซึ่งขุนนางทั้ง 4 ดูแลอยู่ด้วย ในตอนนั้นคำว่า 4 ยอดภู (四岳) จึงปรากฎขึ้นสู่บรรณพิภพในยุคถัดจากชุนชิว คือ ยุคสงครามระหว่างรัฐ (战国; ก่อนคริสกาลราว 475-221 ปี) เมื่อความเชื่อที่ว่า สรรพสิ่งในโลกประกอบขึ้นด้วยธาตุ 5 ประการคือ เหล็ก ไม้ น้ำ ไฟ และ ดิน จากสองเจ้าทฤษฎี "ยินหยาง (阴阳)" คือ โจวแหย่น (邹衍) และ โจวซื่อ (邹奭) เป็นที่เชื่อถือกันโดยทั่วไป ก็เริ่มมี 'เยว่ที่ห้า' ปรากฎขึ้น จนต่อมา "5 ยอดภู" ก็มาแทนที่ "4 ยอดภู" ในที่สุด*ทั้งนี้การที่มีการยกย่องว่า 5 ภูเขา ดังกล่าวเป็น ยอดในแผ่นดินนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า เขาจะพิจารณากันที่ "ความสูง" แต่อย่างใด แต่เขาพิจารณากันตรงที่ รูปลักษณ์และความสวย สง่างาม ตามคตินิยมของคนจีนตั้งแต่โบราณกาล โดยตั้งแต่สมัยของ จิ๋นซีฮ่องเต้ (หรือ ฉินสื่อหวงตี้) ปฐมจักรพรรดิแห่งราชวงศ์ฉิน และ ฮั่นอู่ตี้ (汉武帝) แห่งราชวงศ์ฮั่น ก็ปรากฎประเพณีขององค์ฮ่องเต้เมื่อออกตรวจราชการตามพื้นที่อันเป็นที่ตั้งของ 5 ยอดภู มักจะต้องแวะไปทำการ เซ่นสรวงบูชาเทวดาฟ้าดิน ที่ภูเหล่านี้ อันเป็นเครื่องหมายแสดงให้เห็นว่า ฮ่องเต้เป็นโอรสสวรรค์ได้รับอาณัติจากสวรรค์จริง**อย่างไรก็ตามในบรรดา 5 ยอดภูนี้ ก็มีจัด ที่สุดของที่สุดอีก โดย ภูตะวันออก หรือ ไท่ซาน แห่งมณฑล ซานตงถูกจัดให้อยู่หัวแถวที่สุดรูปปั้นสัญลักษณ์ของวัดเส้าหลิน หน้าทางเข้าวัดวัดเส้าหลินแอบตัวอยู่กลางหุบเขาและลำเนาไพรของซงซาน ที่ประกอบไปด้วยเขา 72 ยอด โดยแบ่งย่อยเป็นสองกลุ่ม คือในกลุ่มของเขาไท่ซื่อ (太室山) 36 ยอด และเขาเส้าซื่อ (少室山) 36 ยอด อย่างไรก็ตามความงดงามของธรรมชาติแห่งซงซานนั้นดูจะถูกบดบังไปสิ้นด้วยรัศมีแห่งวัดเส้าหลิน วัดนิกายฌาน (เซน) อันดับหนึ่งในใต้หล้า ที่ตั้งอยู่ในภายในหุบเขา 36 ยอดของภูเขาเส้าซื่อสามารถติดต่อได้ตามบริษัททัวร์ทั่วไป ทั้งนี้การเดินทางจากเมืองไทยที่สะดวกที่สุดสู่วัดเส้าหลินคือ จากกรุงเทพฯเดินทางสู่เมืองเจิ้งโจว (Zhengzhou) ซึ่งปัจจุบันมีสานการบินบางกอกแอร์เวยส์เปิดบินตรง กรุงเทพฯ-เจิ้งโจว สอบถามได้ที่ 1771จากนั้นเดินทางสู่วัดเส้าหลินที่อำเภอเติงเฟิง ค่าเข้าชมวัดเส้าหลิน 40 หยวน( 1 หยวนประมาณ 5 บาท)
ยอดเขาเส้าซื่อซาน
วัดเส้าหลินสร้างขึ้นเมื่อ ค.ศ.495 ในราชวงศ์เว่ย(โจ) รัชสมัยของพระเจ้าเสี้ยวเหวินตี้ (孝文帝) หรือโจผี โดยแรกเริ่มเดิมทีมีจุดประสงค์ก็เพื่อให้พระภิกษุจากอินเดีย นาม ป๋าถัว (跋陀) มาจำวัดและเผยแพร่ศาสนาพุทธนิกายเถรวาท โดยว่ากันว่าในขณะนั้นพระอาจารย์ป๋าถัวมีลูกศิษย์ลูกหานับร้อยๆ คนเลยทีเดียว อย่างไรก็ตามหลังจากพระอาจารย์ป๋าถัวมรณภาพ ชื่อเสียงของวัดเส้าหลินก็ค่อยๆ เสื่อมถอยลง
ล่วงมาถึง ค.ศ.527 เมื่อพระภิกษุจากอินเดียอีกรูปหนึ่งนาม ต๋าม๋อ (达摩) หรือพระโพธิธรรม หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในนาม "ตั๊กม้อ" เดินทางมาถึงวัดเส้าหลินเพื่อเผยแพร่นิกายเซนตามตำนานร่ำลือกันว่าภิกษุตั๊กม้อใช้เวลาถึง 3 ปีเดินทางจากประเทศอินเดียกว่าจะมาถึงวัดเส้าหลิน โดยเมื่อมาถึงท่านกลับไม่ได้เข้าวัด แต่เดินเลยขึ้นถึงถ้ำแห่งหนึ่งใกล้ๆ กับวัด ในถ้ำภิกษุตั๊กม้อหันหน้าเข้าผนังแล้วจึงนั่งลงขัดสมาธิ ท่านนั่งทำสมาธิและใช้ชีวิตอยู่ในถ้ำแห่งนั้นเป็นเวลายาวนานถึง 9 ปี ก่อนที่จะลงจากถ้ำเพื่อมาถ่ายทอดพระธรรมและวิทยายุทธ์ให้กับสานุศิษย์ เมื่อถ่ายทอดแก่เหล่าศิษย์สำเร็จท่านจึงเดินทางออกจากวัดเส้าหลินและไปมรณภาพที่อี่ว์เหมิน (禹门) พื้นที่แห่งหนึ่งซึ่งปัจจุบันอยู่ในมณฑลเหอหนานว่ากันว่าจากการที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อนั่งหันหน้าเข้าผนังทำสมาธิอยู่ในถ้ำถึง 9 ปีนั้นทำให้บนผนังเกิดอภินิหารเป็นรอยเงาของท่านติดตรึงอยู่เลยทีเดียว โดยปัจจุบันถ้ำแห่งนี้นั้นอยู่ในบริเวณเที่ยวชมของวัดเส้าหลิน โดยเรียกกันว่า ถ้ำตั๊กม้อ (达摩洞)**ในส่วนวิทยายุทธ์ที่ปรมาจารย์ตั๊กม้อคิดค้นขึ้นนั้นก็มีจุดเริ่มต้นมาจากการที่ท่านเห็นว่าวัดเส้าหลินนี้ตั้งอยู่ ณ หุบเขาซงซาน ซึ่งเป็นป่าทึบที่ชุกชุมไปด้วยสัตว์เดรัจฉานน้อยใหญ่ การที่บรรดาหลวงจีนต้องนั่งสมาธินานๆ โดยไม่ได้ออกกำลังกายจะทำให้สุขภาพร่างกายเสื่อมทรุดได้ ดังนั้นท่านจึงพินิจการเคลื่อนไหวตามธรรมชาติของสัตว์ชนิดต่างๆ และดัดแปลงนำมากำหนดเป็นท่าร่างเพื่อการออกกำลังกายและใช้ป้องกันตัว
ต่อมาด้วยวิทยายุทธ์อันล้ำลึกเหล่านี้เองที่ผลักให้ พระแห่งวัดเส้าหลินกลับกลายต้องเข้ามามีเกี่ยวพันเอากับเรื่องโลกของปุถุชนภายนอก โดยหนึ่งในเรื่องที่โด่งดังก็เช่น เมื่อต้นศตวรรษที่ 7 ในยุคสุย-ถัง พระวัดเส้าหลินได้ยื่นมือเข้าช่วยเหลือ 'หลี่ซื่อหมิน' เพื่อต่อสู้กับ 'หวังซื่อชง' โดยต่อมาเมื่อหลี่ซื่อหมินได้รับการสถาปนาเป็นองค์ฮ่องเต้ถังไท่จงแห่งราชวงศ์ถัง นอกจากพระสงฆ์ 13 รูปที่ได้การแต่งตั้งจากฮ่องเต้ให้ได้ดำรงตำแหน่งในทางโลกแล้ว วัดเส้าหลินยังได้อานิสงส์จากการอุปถัมป์ขององค์ฮ่องเต้ไปด้วยอย่างมากมาย
ขณะที่เมื่อราชวงศ์ถังเข้าสู่ยุคของพระนางบูเช็กเทียน (อู่เจ๋อเทียน:武则天) เนื่องจากในยุคพระนางบูเช็กเทียนนี้มีการสนับสนุนการเผยแผ่ศาสนาพุทธเป็นอย่างมาก ด้านวัดเส้าหลินก็กลายเป็นวัดอันดับหนึ่งในใต้หล้า (天下第一名刹) ไปโดยปริยายเมื่อวันคืนผันผ่าน เวลาล่วงเลยมาพันกว่าปี พอประเทศจีนเข้าสู่ยุคสาธารณรัฐ วัดเส้าหลินก็ถึงยุคตกต่ำ เข้าขั้นหายนะ
เมื่อปี ค.ศ.1927 ในช่วงที่จีนกำลังวุ่นวายกับการต่อสู้แย่งชิงอำนาจของเหล่าขุนศึก วัดเส้าหลินก็ถูกเผาทำลายครั้งใหญ่โดยเพลิงได้ลุกโชนอยู่นานถึง 45 วัน สิ่งก่อสร้างในวัดเส้าหลินเกือบทั้งหมดต้องวายวอดสิ้น วิหาร ศาลา ตึกหลักๆ นั้นถูกเผาเรียบวุธ ส่วนตำราไม้แกะสลัก "ประวัติวัดเส้าหลิน" กับ "กังฟูมวยเส้าหลิน" รวมถึงตำราและสมบัติล้ำค่าของวัดมากมาย ต่างก็สูญหายไปในเพลิงอัคคีครั้งนั้น

ในปี ค.ศ.1949 เมื่อประเทศจีนเปลี่ยนแปลงการปกครองเข้าสู่ระบอบสังคมนิยม วัดเส้าหลินก็มิพ้นต้องรกร้าง จะมีก็เพียงวิชากังฟูเส้าหลินที่ยังคงถูกถ่ายทอดกันต่อๆ มา และเป็นที่เลื่องลือ โดยเฉพาะในนิยายกำลังภายในเล่มแล้วเล่มเล่า มิพ้นต้องกล่าวถึงแขนงวิทยายุทธ์ที่ล้ำลึกจากวัดเส้าหลิน
จนกระทั่งเมื่อจีนเริ่มเปิดประเทศ และความสนใจเกี่ยวกับกังฟูวัดเส้าหลินจากภายนอกเริ่มร้อนแรง ทางนักลงทุนจากเกาะฮ่องกงก็สนใจจะผลิตภาพยนตร์จอเงินเกี่ยวกับกังฟูของวัดเส้าหลิน โดยยกทีมงานเข้ามาหานักแสดงถึงจีนแผ่นดินใหญ่ และถ่ายทำ ณ สถานที่จริงและอย่างเช่นที่ทราบ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 80 หรือ 25 ปีก่อนเมื่อออกฉาย ภาพยนตร์ "เสี้ยวลิ้มยี่ (少林寺)" ก็โด่งดังเป็นพลุแตก พร้อมๆ กับการถือกำเนิดของดารานักบู๊คนใหม่ หลี่เหลียนเจี๋ย (李连杰) หรือที่ฝรั่งรู้จักกันในนามเจ็ทลี (Jet Li)

หลังจาก "เสี้ยวลิ้มยี่" หนังกังฟูเกี่ยวกับวัดเส้าหลินก็ถูกสร้างขึ้นมาอีกเป็นชุดทั้งหนังใหญ่และหนังจอแก้ว และส่งอิทธิพลกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาเยี่ยมชมวัดเส้าหลินอย่างไม่ขาดสายด้านทางฝั่งรัฐบาลจีนเองก็ได้โอกาสผลักดันวัดเส้าหลินให้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวหลักของมณฑลเหอหนานเสียเลย โดยเน้นชูประวัติความเก่าแก่ของวัด 1,500 ปี กับกังฟูแห่งวัดเส้าหลิน (ที่ปัจจุบันมีโรงเรียนเปิดสอนกังฟูเส้าหลินแทบจะทั่วมณฑลเหอหนานอยู่แล้ว) นอกจากนี้ยังเตรียมที่จะยื่นต่อยูเนสโกขอบรรจุ 'วัดเส้าหลิน' ในรายชื่อมรดกโลกอีกด้วย

ตัว“ปี้ซี”ที่เป็นหนึ่งในสัตว์ศักดิสิทธิ์ของคนจีน ตัวเป็นเต่าแต่มีหัวเป็นมังกร ซึ่งข้าพเจ้าคิดไปคิดมาก็คล้ายๆกับนักการเมือง ข้าราชการ ผู้สูงวัยหลายๆคนที่มีตัวเป็นคนแต่หัวเป็นงู(ฮา)ความพิเศษคนจีนโบราณเชื่อกันว่าเมื่อไปลูบคลำตรงหัว จะโชคดีไม่มีอดตาย หากลูบคอจะปลอดภัยไร้โรคา ส่วนลูบฟันจะถูกหวยรวยทรัพย์ และถ้าลูบหลังจะมีลูกดกด้วยเหตุนี้ตัวปี้ซีส่วนใหญ่จึงถูกลูบคลำกันจนมันแผล็บ ไม่แพ้ถันนางอัปสราที่นครวัดเหมือนกันแต่ว่านั่นก็เป็นความเชื่อของคนจีนรุ่นเก่า ส่วนรุ่นใหม่นั้นตัวปี้ซีคือแบบถ่ายรูปชั้นเยี่ยมที่นิยมไปยืนจุ้ยถ่ายรูปคู่กับปี้ซี ส่วนที่หนักไปกว่านี้ก็คือเห็นปี้ซีเป็นเก้าอี้ชั้นดี ใช้นั่งใช้ขี่กันอย่างสนุก ส่วนข้าพเจ้านั้นเพื่อความชัวร์ก็ขอขอลูบปี้ซีทั้งตัว เรียกว่าเอาแบบเต็มเวอร์ชั่นกันเลย
บรรยากาศในวัดเส้าหลินยังคงขรึมขลังไม่สร่างซา


“วิหารตั๊กม้อ” หรือ “วิหารเจ้าอาวาส” ซึ่งปรากฏเป็นฉากในหนังกำลังภายในและในยุทธจักรนิยายมากมายภายในวิหารนอกจากจะเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปตามแบบมหายานแล้ว หากสังเกตดีๆที่พื้นในวิหารจะดูเป็นหลุมเป็นบ่อ ซึ่งหากใครไม่รู้อาจจะนึกว่าพื้นทรุด แต่จริงๆแล้วที่นี่ในอดีตคือสถานที่ฝึกเพลงยุทธ์ของ 18 อรหันต์ทองคำวัดเส้าหลิน ที่ส่วนใหญ่มีกำลังภายในเหลือล้นจึงกระทืบพื้นวิหารเป็นหลุมเป็นบ่อทั่วไปหมดส่วนสิ่งที่น่าสนใจอีก 2 จุดในวิหารตั๊กม๊อ ก็คือทางด้านซ้ายมือสุดจะมีรูปปั้น “หลวงจีนกั๊กเอี้ยง” ยืนโดดเด่น ท่านผู้นี้เป็นยอดหลวงจีนที่งำประกายตัวเองด้วยการเป็นพระพ่อครัว และเป็นผู้คิดค้นกระบวนท่า 18 อรหันต์ ก่อนที่จะพา “เตียซำฮง”อดีตศิษย์ตัวน้อยแห่งเส้าหลิน ออกไปฝึกปรือวิทยายุทธ์ จนท่านเตียซำฮง กลายเป็นยอดจอมยุทธ์และไปเปิด“สำนักบู๊ตึ้ง”อันลือลั่น(หาอ่านเพิ่มเติมได้ในเรื่อง“ดาบมังกรหยก”ของ”กิมย้ง”)ส่วนทางขวามือสุดยังมีรูปปั้นของท่านตั๊กม้อที่หน้าตาขึงขัง หนวดเคราครึ้ม ยืนสะพายง้าว และม้วนคัมภีร์โดดเด่นอยู่ ซึ่งข้าพเจ้าเมื่อไปยืนสักการะท่านตั๊กม้อแล้วรู้สึกว่าท่านจากไปแค่ร่างกายเท่านั้น ส่วนชื่อของท่านและเรื่องราวที่กระทำยังคงอยู่และจะคงอยู่คู่เส้าหลินไปจวบจนกาลปาวสาน...

ที่มา

http://www.pantown.com/board.php?id=14701&name=board4&topic=2&action=view
http://blog.spu.ac.th/Dhanapon/2009/03/11/entry-2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น