7/07/2552

The Soong sisters (สามพี่น้องตระกูลซ่ง ผู้ยิ่งใหญ่)

ภาพ ชาร์ลี ซ่ง ชาร์ลี ซ่ง ได้เดินทางไปอเมริกาตอนอายุ 9 ขวบ

เพื่อช่วยงานกิจการร้านขายผ้าของลุงที่บอสตัน แต่เขาไม่ชอบงานนี้นัก

จึงหนีลุงไปที่เรือลำหนึ่ง บังเอิญเรือลำนั้นออกจากท่าไป กัปตันเรือมาพบเขาภายหลังจากที่เรือแล่นมาไกลแล้ว กัปตันเรือผู้นี้พาเขาไปฝากที่โบสถ์ โดยมีบาทหลวงริคอร์ด คอยดูแล เขาได้เปลี่ยนศาสนาที่โบสถ์แห่งนี้และได้ชื่อใหม่จากที่นี่นั่นเอง ชาร์ลี ได้ศึกษาที่วิทยาลัยเมโธดิสม์ ทรินิตี้ (ปัจจุบันคือ มหาวิทยาดุ๊ค) และย้ายไปเรียนต่อจนจบที่ มหาวิทยาลัยแวนเดอร์บิลท์ เขากลับสู่จีนในปี 1886 แต่งงานกับหญิงที่นับถือศาสนาเดียวกันมีลูก 6 คน เป็น ชาย 3 คน หญิง 3 คน

เรียงตามลำดับการเกิดดังนี้

1. ซ่งอ้ายหลิง (ลูกสาวคนโต)

2. ซ่งชิงหลิง (ลูกสาวคนรอง)

3. ซ่งจื่อหวุน หรือ ทีวี ซ่ง (ลูกชายคนโต) (รัฐมนตรีคลังและรัฐมนตรีต่างประเทศของจีน , ผู้ว่าการธนาคารกลางของจีน)

4. ซ่งเหม่ยหลิง (ลูกสาวคนเล็ก)

5. ซ่งจื่อเหลียง (ลูกชายคนรอง) (นักธุรกิจที่นิวยอร์ค)

6. ซ่งจื่ออัน (ลูกชายคนเล็ก) (ประธานกรรมการธนาคารกวางตุ้ง)

สามพี่น้องผู้เกิดในครอบครัวมั่งมีและอบอุ่น ได้รับการศึกษาอย่างดีจากต่างประเทศ โดยที่คุณพ่อจบการศึกษาทางศาสนาจากอเมริกาและกลับมาเป็นหมอสอนศาสนาคริสต์ นิกายออโธดอกซ์ ในขณะที่ดร.ซุนจงซาน孙中山 ผู้เป็นเพื่อนก็เพิ่งจบแพทย์จากอเมริกากลับมา และเป็นผู้นำก่อการโค่นล้มราชวงศ์ชิง清朝การที่ปัญญาชนในสมัยนั้นจำนวนมากออกมาเคลื่อนไหวนั้น ส่วนใหญ่เกิดจากความไม่พอใจต่อทางราชสำนักที่ใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟ้อ ไม่ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ปล่อยให้อดอยากยากแค้น ส่วนในด้านต่างประเทศก็อ่อนแอจนต้องเฉือนดินแดนให้กับประเทศต่าง ๆยึดครองโดยที่คนจีนเจ้าของประเทศไม่มีสิทธิเข้าไป เป็นการสูญเสียอธิปไตยที่นำความอับอายขายหน้าให้กับชาวจีน
ตระกูลซ่งที่มีฐานะการเงินและทางสังคมอย่างชาลี ซ่ง จึงได้ให้การสนับสนุนด้านการเงินให้กับ ดร.ซุนจงซานทำการปฏิวัติ และใช้โรงพิมพ์ส่วนตัวที่ปรกติใช้พิมพ์พระคัมภีย์ไบเบิลฉบับภาษาจีนเป็นที่พิมพ์ใบปลิวข่าวสารการปฏิวัติด้วย เมื่อการปฏิวัติเริ่มแพร่กระจายในวงกว้าง ทางรัฐบาลก็ออกจับกุมดร.ซุน ทำให้ดร.ซุนต้องหนีออกนอกประเทศไปพำนักอยู่ในญี่ปุ่น และมีอยู่ช่วงหนึ่งได้เข้ามาประเทศไทยเพื่อขอความสนับสนุนจากชาวจีนโพ้นทะเล โดยพำนักอยู่กับสหายแถวทรงวาด

หลังโค่นล้มราชวงศ์ชิงสำเร็จ ก็ใช่ว่าภาระกิจการปฏิวัติจะสิ้นสุดลง เนื่องจากสังคมจีนเกิดความแตกแยก ฐานะของชาวบ้านแตกต่างกันราวฟ้ากับดิน แต่สิ่งที่เป็นอุปสรรคใหญ่ของดร.ซุนคือ การขาดกองกำลังของตนเองต้องไปพึ่งพากำลังทหารของพวกขุนศึก ซึ่งต่างก็จ้องหาโอกาสแย่งชิงอำนาจกันอยู่แล้ว จึงไม่วายที่ดร.ซุนถูกกองกำลังขุนศึกที่ตนเองพึ่งพาหันกระบอกปืนใส่ดร.ซุน จนแทบจะเอาชีวิตไม่รอด ขณะที่ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄 ผู้เป็นภรรยาก็ได้รับบาดเจ็บจนแท้งลูกและมีลูกต่อไปไม่ได้ พวกขุนศึกส่วนใหญ่เป็นกองกำลังที่ไร้ระเบียบวินัย หลายคนได้เป็นผู้นำกองกำ-ลังขึ้นมาเนื่องจากเป็นนักเลงหัวไม้มาก่อน ฉะนั้น การปล้น ฆ่า ชิงทรัพย์มีอยู่ทั่วไป แม้หลุมฝังศพของพระนางฉือซีก็ยังโดนขุดเพื่อปล้นเอาทรัพย์สมบัติที่ฝังไว้ และกล่าวกันว่า มุกที่อยู่ในปากของพระนางฉือซี (ด้วยความเชื่อว่าจะทำให้ศพไม่บุบสลาย) ก็ถูกฉกไปและตอนหลังกลายเป็นเครื่องประดับข้อเท้าของซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 หรือมาดามเจียงไคเชค
สามสาวพี่น้องตระกูลซ่ง ซึ่งจบการศึกษาจากต่างประเทศในช่วงที่สังคมจีนสิ้นสุดราชวงศ์ชิงสู่สังคมสมัยใหม่ ได้นำการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงในครอบครัวซ่ง ซึ่งส่งผลต่อสังคมทั้งประเทศจีนด้วย พี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ได้แต่งงานกับมหาเศรษฐีข่งเสียงซี 孔祥熙 ทายาทรุ่นที่ 75 ของขงจื่อ 孔子 ซ่งอ่ายหลิงผู้ซื้อ “รักเงิน” ยิ่งกว่าอื่นใดเพราะถือว่าเงินสามารถซื้อได้ทุกอย่าง และเขาก็ได้แสดงบทบาทด้วยการใช้เงินในต่างกรรมต่างวาระดังเช่นการออกทุนให้ ดร.ซุนก่อตั้งโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่黄蒲 ที่มอบให้เจียงไคเชคซึ่งเป็นลูกน้องที่ได้รับความไว้วางใจเป็นผู้ดูแล หรือในคราวที่เจียงไคเชคถูกจับเป็นตัวประกันที่ซีอาน 西安 หลังถูกปล่อยตัวได้นั่งเครื่องบินมาลงที่หนานจิง 南京 แต่ไฟฟ้าในหนานจิงถูกญี่ปุ่นถลุ่มเสียจนไฟนำร่องของสนามบินใช้การไม่ได้ ซ่งอ่ายหลิงจึงได้ให้สามีติดต่อเพื่อนฝูงซึ่งล้วงแต่เป็นเศรษฐีในหนานจิง 9 ใน 10 คนล้วนรู้จักกับฮาฮาข่ง นำรถยนต์มาจอดเรียงแถว และเปิดไฟหน้ารถเป็นไฟนำร่องให้เครื่องบินลงจอดได้สำเร็จ และกรณีที่แสดงถึงอำนาจของเงินตราคือ หลังจากที่พรรคกั๋วหมิงด่าง 国民党(ก๊กมิ่งตั๋ง) ตกลงยินยอมร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์ เพื่อรบกับญี่ปุ่นแทนที่จะรบกันเอง ก็ซ่งอ่ายหลิงอีกนั่นแหละที่ควักกระเป๋าซื้ออาวุธยุทโธปกรณ์แจกจ่ายแก่ทหาร หลังจากนั้นทั้งคู่ก็อพยพครอบครัวไปอยู่ฮ่องกงก่อนที่พรรคคอมมิวนิสต์จะมีชัยเหนือกั๋วหมิงต่างของเจียงไคเชค
สาวคนกลางของตระกูลซ่งคือ ซ่งชิ่งหลิง 宋庆 龄เมื่อจบการศึกษากลับจากต่างประเทศก็มาช่วยดร.ซุน เพราะเป็นคนที่ “รักชาติ”มากกว่าอื่นใดโดยทุกสิ่งที่ทำจะคำนึงถึงประเทศชาติก่อน การมาช่วยงานดร.ซุนได้นำไปสู่ความรักและตอนหลังแต่งงานกันที่ประเทศญี่ปุ่น เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดความไม่พอใจอย่างมากกับชาลี ซ่ง ผู้พ่อ จนถึงกับประกาศตัดสัม-พันธ์กับดร.ซุนอย่างเด็ดขาด และกล่าวหาดร.ซุนเป็น “คนลวงโลก”ต่อว่าดร.ซุนว่า “ข้าฯได้ทุ่มเททั้งเงินทองและชีวิตเพื่อเป็นทุนช่วยเหลือในการก่อการปฏิวัติ แต่ไม่ได้หมายถึงให้ลูกสาวเป็นทุนในการปฏิวัติด้วย”


ดร.ซุน 孙中山



ซ่งเหม่ยหลิงถ่ายเมื่อปี 1910ขณะเรียนอยู่ชั้นประถมในสหรัฐอเมริกา


การที่ซ่งชิ่งหลิงมีอุดมการณ์อย่างแรงกล้าในการสร้างชาติสู่สังคมที่ดีกว่าตัวเองจึงมีชีวิตที่ยากลำบากที่สุด ความขัดแย้งอย่างรุนแรงในหมู่พี่น้องด้วยกันจึงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ เนื่องจากน้องคนเล็กซ่งเหม่ยหลิงตกลงปลงใจแต่งงานกับเจียงไคเชคซึ่งมีอุดมการณ์ต่างกันอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ ซ่งชิ่งหลิงพยายามยึดแนวทางของดร.ซุนในการประนีประนอมกับฝ่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยกันสร้างชาติ แต่เจียงไคเชคค้านหัวชนฝายังไงก็ไม่ เอาคอมมิวนิสต์และเข่นฆ่าผู้ที่สงสัยจะเป็นฝ่ายคอมมิวนิสต์ทุกวัน จนซ่งชิ่งหลิงทนไม่ได้ ต้องออกมาประกาศยืนคนละข้างกับเจียงไคเชต และหันไปร่วมมือกับพรรคคอมมิวนิสต์อย่างเต็มตัว และตัวเขาเองก็เป็นผู้มีบทบาทอย่างสำคัญ ในการบีบบังคับให้เจียงไคเชคต้องจับมือกับพรรคคอมมิวนิสต์สู้รบกับศัตรูร่วมของชาติคือ ญี่ปุ่นผู้รุกราน ดังที่ดร.ซุนกล่าวว่า“ป่วยนอกรักษาง่าย ป่วยในเยียวยายาก” จึงต้องยุติปัญาภายในเพื่อเอาชนะสัตรูของชาติให้ได้ก่อน หลังจากพรรคคอมมิวนิสต์มีชัยแล้ว ซ่งชิ่ง-หลิงก็ได้เป็นกรรมการในพรรคฯ และเสียชีวิตในกรุงปักกิ่งเมื่อปี 1981โดยขณะที่นอนป่วยใกล้สิ้นใจ ก็ได้ติดต่อไปยังน้องสาว ซ่งเหม่ยหลิงซึ่งขณะนั้นพำนักอยู่ในอเมริกาให้กลับมาเพื่อเห็นหน้ากันครั้งสุดท้าย แต่ก็ไม่มีโอกาส เนื่องจากคนใกล้ชิดซ่งเหม่ยหลิงบอกว่าไม่ควรไปยุ่งกับพวกคอมมิวนิสต์
สาวน้องนุชคนสุดท้อง-ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄 ถือว่าเป็นคนที่มีบทบาทพลิกโลกอีกคนรองจากซ่งชิ่งหลิง และเป็นคนที่ “รักอำนาจ”เพราะเคยตั้งปณิธานว่า “ถ้าไม่ใช่ฮีโร่ไม่ขอแต่งด้วย” ฉะนั้นเมื่อเจอเจียงไคเชคมาจีบซึ่งขณะนั้นเจียงไคเชคเป็นถึงผู้อำนวยการโรงเรียนทหารฮ๋วงผู่ อีกหน่อยทหารในประเทศจีนย่อมเป็นลูกศิษย์และอยู่ใต้บังคับบัญชาของเขา เช่นเดียวกับพี่ใหญ่ซ่งอ่ายหลิงก็ยุส่งอีกว่า หากซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคก็จะได้เป็นสตรีหมายเลยหนึ่งของประเทศ ขณะที่ตัวเขาเองได้แต่งงานกับบุรุษผู้ร่ำรวยที่สุดของประเทศแล้ว ส่วนซ่งชิ่งหลิงซึ่งแต่งงานกับดร.ซุน ก็มีบารมีและได้รับการเคารพยกย่องถึง “บิดาของชาติ”ถ้าลงเอยกันอย่างนั้นได้ ตระกูลซ่งก็จะเป็นตระกูลที่ทรงอำนาจยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศจีน ถึงกับสามารถเรียกได้ว่าเป็นราชวงศ์ตระกูลซ่ง 宋家皇朝 ทีเดียว
ในที่สุดครอบครัวตระกูลซ่งก็ยอมให้ลูกสาวคนเล็กแต่งงานกับเจียงไค-เชคผู้ซ่งมีลูกมีเมียแล้ว โดยให้เจียงไคเชคยอมรับเงื่อนไขสามประการของตระกูลคือ
1.จะต้องรักและไม่ทอดทิ้งซ่งเหม่ยหลิงตลอดจนชีวิตจะหาไม่
2.ต้องหย่าขาดกับภรรยาคนปัจจุบัน
3.จะต้องเปลี่ยนศาสนามาเป็นศาสนาคริสตร์ นิกายออโธด็อกซ์ เหมือนครอบครัวซ่ง


สามพี่น้องตระกูลซ่งวัยสาวรุ่น



สามพี่น้องตระกูลซ่งในวัยสาว


สามพี่น้องตระกูลซ่งในวัยทอง
เมื่อเจียงไคเชคเริ่มศึกษาพระคัมภีร์ไบเบิล ก็มีการตีความพระวจนะของพระเจ้าบางประโยค เพื่ออ้างความชอบธรรมในการนำไปเข่นฆ่าสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์
การที่ซ่งเหม่ยหลิงแต่งงานกับเจียงไคเชคถือว่าเป็นการประกาศตัวอยู่ฝั่งตรงข้ามกับพี่สาว-ซ่งชิ่งหลิง หลังจากที่เจียงไคเชคพ่ายแพ้แก่เหมาเจ๋อตง 毛泽东 เจียงไคเชคก็หอบพาเอาครอบครัวและพลพรรคไปตั้งหลักบนเกาะไต้หวัน จวบจนเจียงไคเชตตาย ซ่งเหม่ยหลิงก็อพยพไปใช่ชีวิตบั้นปลายในอพาร์ทเมนต์หรูหราแห่งหนึ่งในกรุงนิวยอร์ค จนเสียชีวิตเมื่อปี2003
ที่กล่าวมาทั้งหมดคงไม่ถือเป็นการรีวิวเนื้อเรื่องในภาพยนตร์ แต่เป็นการกล่าวถึงประวัติความเป็นมา ที่ถือว่าเป็นประวัติศาสตร์ที่น่าสนใจอย่างยิ่งการได้ดูหนังหลังจากที่รู้ถึงแก่นของความเป็นมาน่าจะทำให้การดูหนังได้รสชาติ และสนุกยิ่งขึ้น สำหรับแผ่นดีวีดีที่ได้มา เป็นฉบับ Director’s CutEdition ซึ่งมีความยาวประมาณ 145 นาที ยาวกว่าฉบับเดิม 10 นาที คุณภาพของภาพดีมาก คมชัด สะอาด ระบบเสียง Dolby Digital 5.1 เสียงซาวด์เอฟเฟคต์ดีมาก เสียอยู่นิดเดียวตรงเสียงพูดเบาไปหน่อย ในด้านภาพและเสียงผมให้ไปเลย 9 เต็ม 10 การเดินเรื่องเป็นไปอย่างต่อเนื่องไม่ยืดเยื้อ ชวนติดตามไม่น่าเบื่อ
สำหรับแผ่นซีดีซาวด์แทรค ซึ่งมีออกมาทั้งแผ่นคอมเมิลเชียลธรรมดา (แต่บันทึกเสียงได้ค่อนข้างดี) และแผ่น SACD ด้วยฝีมือระดับKitaro คงเป็นยี่ห้อรับประกันได้ แต่ละเพลงที่แต่งมาประกอบในภาพยนตร์นั้น ได้บรรยากาศดีมาก ทั้งความเหงาในช่วงที่ซ่งชิ่งหลิงหนีไปอยู่รัสเซีย สนุกสนานในเพลง Waltz and War ในงานพิธีแต่งงานของซ่งเหม่ยหลิงกับเจียงไคเชค สำหรับแทรคที่ 5 มีละครบ้านเราเรื่อง “บ้านภูตะวัน” เคยนำมาประกอบในเรื่องด้วย
ถึงแม้พี่น้องตระกูลซ่งจะอำลาโลกไปแล้วก็ตาม แต่ภาวการณ์ต่อสู้ระหว่างพี่น้องหาได้สิ้นสุดลงไม่ เพียงแต่เปลี่ยนจากพี่น้องในตระกูลเดียวกันเป็นพี่น้องในชาติเดียวกัน คือจีนแผ่นดินใหญ่ (ผู้พี่) กับจีนไต้หวัน (ผู้-น้อง) ที่พยายามจะแยกตัวเป็นอิสระจากจีนแผ่นดินใหญ่ ซึ่งแน่นอนถ้าเกิดขึ้นจริงย่อมต้องมีการเข่นฆ่ากันในระหว่างพี่น้องร่วมชาติดั่งสมัยเจียงไคเชคกับเหมาเจ๋อตง และนักศึกษาประชาชนในสมัยนั้นได้ออกมาเดินขบวนเรียกร้องยุติฆ่ากันเองโดยให้ร่วมมือกันสู้กับศัตรูภายนอกด้วยการชูคำขวัญว่า “คนจีนต้องไม่ฆ่าคนจีนด้วยกันเอง” หรือ 中国人不殺中国人

ภาพ ขงเสียงซี กับ ซ่งอ้ายหลิงหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์


ภาพ ดร.ซุนยัดเซ็น กับ ซ่งชิงหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์

ภาพ เจียงไคเช็ค กับ ซ่งเหม่ยหลิง ตัวจริงและจากภาพยนตร์

ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄่


ซ่งชิ่งหลิง 宋庆龄

ซ่งเหม่ยหลิง 宋美龄

บ้านเดิมของตระกูลซ่ง ซึ่งปัจจุบันทางรัฐบาลจีนอนุรักษ์ไว้โดยระบุว่าเป็นบ้านของสหายซ่งชิ่งหลิง 宋庆龄同志故居

ครอบครัวตระกูลซ่ง แถวหน้า: ซ่งจื่ออัน 宋子安แถว 2 จากซ้าย: ซ่งอ่ายหลิง 宋蔼龄 ซ่งจื่อเหวิน宋子文 ซ่งชิ่งหลิง宋庆龄แถว 3 จากซ้าย: คุณพ่อซ่งย่าวหยู 宋耀如คุณแม่หนีกุ้ยเจิน倪桂珍แถวหลังจากซ้าย: ซ่งจื่อเหลียง宋子良 ซ่งเหม่ยหลิง宋美龄

สามพี่น้องในฉงชิ่ง 重庆 ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

สามพี่น้องท่ามกลางเด็ก ๆ
ซ่งเหม่ยหลิงในวาระสุดท้ายด้วยอำลาโลกเมื่อ 24 ตุลาคม 2003 ด้วยอายุรวม 106 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น