7/03/2552

ราชวงศ์ชิงตอนต้น / ธารประวัติศาสตร์



หนังสือราชโองการของฮ่องเต้คังซี
นับจากปีค.ศ. 1644 หลังอู๋ซันกุ้ยเปิดด่านซันไห่กวนให้กองทัพชิงบุกเข้ายึดครองแผ่นดินจีน จนฮ่องเต้หมิงซือจงต้องปลงพระชนม์ตนเอง ยังให้ราชวงศ์หมิงอันเป็นราชวงศ์สุดท้ายของชนชาวฮั่นต้องอวสานลง ในปีเดียวกันตัวเอ่อกุ่น แม่ทัพใหญ่ของแมนจูก็ได้ทูลเชิญซุ่นจื้อ ให้เสด็จมาประทับยังบัลลังก์ฮ่องเต้แห่งราชวงศ์ชิงในกรุงปักกิ่ง

ทว่าในยามนั้น ยังคงมีกองกำลังทหารของต้าหมิง และกองทัพประชาชนที่ต่อต้านแมนจูอยู่ทั่วไป ทำให้ราชสำนักชิง ต้องร่วมมือกับอดีตขุนนางราชวงศ์หมิงที่แปรพักตร์อย่างอู๋ซันกุ้ย เกิ่งจ้งหมิง(耿仲明) ซั่งเขอสี่ (尚可喜) ขงโหย่วเต๋อ(孔有德) ระดมกำลังปราบกองกำลังทางใต้อย่างฝูอ๋อง หลู่อ๋อง ถังอ๋อง กุ้ยอ๋องและกองกำลังต่างๆที่เหลืออยู่

ปีค.ศ. 1645 ในขณะที่กองกำลังแมนจูบุกตีเหมือนหยางโจว สื่อเขอฝ่า (史可法) แม่ทัพรักษาเมืองได้นำทหารจีนเพียงน้อยนิดต้านยันไว้ 7 วัน 7 คืน จนกระทั่งเมืองถูกตีแตก สื่อเขอฝ่าถูกประหาร และตัวเอ่อกุ่น ก็ได้ออกคำสั่งให้ฆ่าล้างเมืองหยางโจว โดยใน “บันทึกสิบวันในหยางโจว” ของหวังซิ่วฉู่ ผู้โชคดีรอดชีวิต ได้ระบุว่าว่าการเข่นฆ่าล้างเมืองดำเนินไปโดยไม่หยุดตลอด10 วัน

สื่อเขอฝ่า แม่ทัพผู้จงรักภักดีแห่งต้าหมิง ที่แม้แต่ราชวงศ์ชิงก็ยกย่อง

ในปีเดียวกัน ทหารแมนจูเข้ายึดเมืองนานกิง บุกต่อไปยังซูโจว หังโจว ซงเจียง ฉางโจว จนในที่สุดก็สามารถปราบกลุ่มผู้ต่อต้านได้หมดสิ้น เหลือแต่เพียงกลุ่มของเจิ้งเฉิงกง (郑成功) ที่นำพาผู้ต่อต้านแมนจูไปปักหลักที่เซี่ยเหมิน จินเหมิน จากนั้นได้ขับไล่ชาวเนเธอร์แลนด์ออกจากไต้หวัน ยึดเกาะไต้หวันมาใช้เป็นฐานที่มั่น คอยทำศึกเพื่อจะกอบกู้แผ่นดินหมิงกับราชวงศ์ชิงเป็นเวลายาวนานต่อมาอีกสิบกว่าปี

กระทั่งในปีค.ศ. 1662 หลังจากบิดาและน้องชายหลายคนของเจิ้งเฉิงกงถูกฝ่ายแมนจูประหารชีวิต พันธมิตรและญาติพี่น้องจึงเริ่มไม่เห็นด้วยกับการก่อการ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีหนทางประสบความสำเร็จ สุดท้ายเมื่ออับจนไม่มีทางออก ในที่สุดเจิ้งเฉิงกงก็ตัดสินใจกระทำอัตวินิบาตกรรม จากนั้นเจิ้งจิง (郑經) บุตรชายของเจิ้งเฉิงกงก็รับหน้าที่ในการนำทัพต่อต้านไป และเมื่อเจิ้งจิงเสียชีวิตในปีค.ศ.1681 ตำแหน่งดังกล่าวก็ตกมาอยู่กับเจิ้งเค่อส่วง(郑克塽) จนกระทั่งเจิ้งเค่อส่วงได้แพ้ให้กับทหารชิงในปีค.ศ. 1683 กองทัพนี้จึงได้ยอมสวามิภักดิ์ และทำให้ไต้หวันกลับคืนสู่การปกครองของจีนอีกครั้ง


เจิ้งเฉิงกง ผู้นำกองกำลังต่อต้านราชวงศ์ชิงนานนับสิบปี

นโยบายไม้อ่อน –ไม้แข็ง การเข้าสู่แผ่นดินจีนของแมนจู นับเป็นการซ้ำรอยทางประวัติศาสตร์อีกครั้งหนึ่งหลังจากสมัยราชวงศ์หยวน ที่ชาวฮั่นถูกปกครองจากชนเผ่าอื่นที่เข้ามายึดครอง จากบทเรียนของราชวงศ์หยวนที่ใช้แต่กองกำลังและความแข็งกร้าว ทำให้ราชวงศ์สามารถสถาปนาอยู่ได้ไม่ถึงร้อยปี กลุ่มผู้ปกครองแมนจูจึงเลือกดำเนินการควบคู่ทั้งพระเดชและพระคุณ
เจิ้งเฉิงกง ผู้นำกองกำลังต่อต้านราชวงศ์ชิงนานนับสิบปี
โดยก่อนที่จะสามารถยึดครองแผ่นดินจีนได้ กองทัพของชิงได้ให้ความสำคัญกับขุนนางหรือแม่ทัพชาวฮั่น และให้การดูแลขุนนางที่เข้ามาสวามิภักดิ์อย่างดี อีกทั้งยกย่องสรรเสริญขุนนางหมิงที่มีความจงรักภักดียอมเสียสละชีวิต แม้ว่าการเสียสละนั้นจะเป็นการพลีชีพเพื่อราชวงศ์หมิงก็ตาม อีกทั้งภายหลังเมื่อบุกยึดราชธานีปักกิ่งได้ ทางแมนจูได้จัดพระราชพิธีศพและสร้างสุสานให้กับหมิงซือจงฮ่องเต้องค์สุดท้ายของราชวงศ์หมิงกับพระมเหสี และยังมีการจัดให้มีการให้มีการสอบเพื่อเฟ้นหาบัณฑิตเข้ารับราชการ และลดภาษีตามท้องที่ต่างๆให้ด้วย

ทว่าเพื่อควบคุมให้ชาวฮั่นยอมสยบอยู่ในอาณัติอำนาจปกครองใหม่ จึงมีการใช้ความเด็ดขาด และเหี้ยมโหดต่อกลุ่มคนที่ขัดขืน อย่างเหตุการณ์ล้างเมืองสิบวันที่หยางโจว คำสั่งห้ามการรวมกลุ่ม โดยเฉพาะคำสั่งที่ให้ชาวฮั่นทั่วประเทศโกนผมครึ่งหัวไว้ผมเปียตามแบบชาวแมนจู ด้วยคำประกาศที่ว่า “มีหัวไม่มีผม (ให้โกนหัวไว้เปีย) มีผมไม่มีหัว” (留头不留发,留发不留头) ที่ทำให้ชาวฮั่นต้องหลั่งเลือดสังเวยชีวิตไปเป็นหลายแสนคน


เซี่ยวจวงฮองไทเฮา ผู้มีบทบาทอยู่เบื้องหลังบัลลังก์ต้าชิง
ยุคต้นราชวงศ์ - ปราบสามเจ้าศักดินา

ปฐมกษัตริย์ราชวงศ์ชิง อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน (爱新觉罗福临) หรือฮ่องเต้ซุ่นจื้อ ซึ่งเป็นพระโอรสคนที่ 9 ของหวงไท่จี๋ หลังจากที่หวงไท่จี๋สวรรคต ภายใต้การผลักดันจากเซี่ยวจวงเหวินฮองเฮา (孝庄皇后)ทำให้ฝูหลินได้ขึ้นครองราชย์ด้วยพระชนมายุเพียง 6 พรรษา และเซี่ยวจวงก็เลื่อนศักดิ์ขึ้นมาเป็นไทเฮา โดยมีตัวเอ่อกุ่นที่มีศักดิ์เป็นพระปิตุลาเป็นผู้สำเร็จราชการ (摄政王) และมีเจิ้งชินหวัง (郑亲王) คอยให้การช่วยเหลือ ตั่วเอ่อกุ่นได้พยายามยึดกุมอำนาจปกครองอันแท้จริงเอาไว้ อีกทั้งยังตั้งตนเองเป็นพระราชบิดา ควบคุมกองทัพกองธงไว้ถึง 3 กองธง ในขณะที่ฮ่องเต้ปกครองอยู่เพียง 2 กองธง

กระทั่งปีค.ศ.1650 เมื่อตัวเอ่อกุ่นเสียชีวิตลง ซุ่นจื้อที่เริ่มหลุดจากการเป็นหุ่นเชิด ได้ประกาศราชโองการยกเลิกตำแหน่ง บรรดาศักดิ์ และริบทรัพย์ทั้งหมดของตัวเอ่อกุ่นเป็นการลงโทษในข้อหาใช้อำนาจบาตรใหญ่ในขณะที่มีชีวิตอยู่ นอกจากนั้นยังลือกันว่ามีการขุดศพของตัวเอ่อกุ่นขึ้นมาทำการตีด้วยไม้และโบยด้วยแส้อีกด้วย

หลังจากนั้น เพื่อให้อำนาจกลับคืนสู่ฮ่องเต้อย่างแท้จริง ซุ่นจื้อยังได้ทำการปลดองค์ชายและเชื้อพระวงศ์หลายคนที่เคยดูแลหน้าที่ในกระทรวงต่างๆ อีกทั้งเพื่อลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติ จึงทรงมีรับสั่งให้มีการหยุดการเวนคืนที่ดินจากประชาชน ผ่อนปรนกฎหมายคนหลบหนี ผลักดันวัฒนธรรมชาวฮั่น ซึ่งการยกย่องวัฒนธรรมของชาวฮั่นกับความคิดในการปฏิรูปเพื่อให้แมนจูกับชาวฮั่นสามารถอยู่ร่วมกันของซุ่นจื้อ ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งกับขุนนางใหญ่จำนวนไม่น้อย
ความผิดหวังในทางการเมือง ได้ทำให้ซุ่นจื้อหันมาทุ่มเทให้กับความรักให้กับพระสนมต่งเอ้อ โดยเล่าขานกันว่า พระสนมต่งเอ้อเดิมเป็นน้องสะใภ้ของซุ่นจื้อ เป็นภรรยาของป๋อมู่ป๋อกั่วเอ่อ (博穆博果尔) แต่มีความสนิทสนมใกล้ชิดกับซุ่นจื้อมาก หลังป๋อกั่วเอ่อเสียชีวิตในปีซุ่นจื้อที่ 13 ฮ่องเต้ซุ่นจื้อจึงได้แต่งตั้งนางให้เป็นพระสนมของตน หลังจากเป็นสนมของซุ่นจื้อได้หนึ่งปี พระสนมต่งเอ้อก็ได้ให้กำเนิดพระโอรส ซึ่งเดิมจะได้รับการแต่งตั้งเป็นรัชทายาท ทว่าพระโอรสพระองค์นี้กลับเสียชีวิตไปเมื่ออายุได้เพียง 3 เดือน ทำให้พระสนมต่งเอ้อบตรอมใจจนสิ้นพระชนม์ และได้รับการอวยยศตามหลังจากเซี่ยวจวงฮองไทเฮา ให้เป็นเซี่ยวเสี้ยนฮองเฮา

ฮ่องเต้ซุ่นจื้อครองราชย์ถึงปีที่ 18 (ค.ศ. 1661) ก็สวรรคตไปด้วยพระชนมายุเพียง 24 พรรษา ทว่าการสวรรคตของพระองค์กลับเป็นปริศนาถูกกล่าวขานไว้หลายรูปแบบ โดยบ้างระบุว่าพระองค์เสียพระทัยกับการสูญเสียพระสนมและพระโอรส ทำให้ร่างกายและจิตใจได้รับความกระทบกระเทือน และสิ้นพระชนม์ด้วยโรคฝีดาษ (ไข้ทรพิษ)

ในขณะที่บันทึกของชาวบ้านกลับระบุว่า พระองค์ทรงมีความฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สุดท้ายเมื่อสูญเสียพระสนมอันเป็นที่รัก จึงได้ออกผนวช ณ เขาอู่ไถ (五台山) ส่วนนักประวัติศาสตร์บางคนก็ได้ระบุว่า พระองค์ถูกระเบิดสวรรคตในขณะที่ทรงนำกำลังจะไปปราบกองกำลังของเจิ้งเฉิงกงที่ไต้หวัน

หลังซุ่นจื้อเสด็จสวรรคต โอรสองค์ที่สามนามอ้ายซินเจี๋ยว์หลอ เสวียนเยี่ย (玄烨) ที่มีพระชนมายุเพียง 8 พรรษา ก็ได้ขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้คังซีตามพระพินัยกรรมของซุ่นจื้อ ได้สั่งให้สี่ขุนนางใหญ่ช่วยบริหารราชกิจ หนึ่งในนั้นมีขุนนางนามเอ้าไป้ (鳌拜) ที่กุมอำนาจทางการทหาร และมักใช้อำนาจบาตรใหญ่ในการเล่นงานขุนนางอื่นที่ไม่เห็นด้วยกันตน

นอกจากนั้น นับตั้งแต่ทหารต้าชิงเข้าด่านเป็นต้นมา ก็ได้ทำการเวนคืนยึดครองที่ดินของเกษตรกรจำนวนมากเพื่อแบ่งสรรให้กับผู้สูงศักดิ์จากแปดกองธง หลังเอ้าไป้ได้ครองอำนาจ มิเพียงแต่ทำการกวาดต้อนที่ดินมาเป็นของตน ยังใช้อำนาจบีบบังคับแลกเปลี่ยนที่ดินของตนกับที่ดินดีๆหลายแปลง และประหารชีวิตขุนนางที่ต่อต้านตนเอง

เมื่อฮ่องเต้คังซีมีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงเริ่มใช้อำนาจปกครองด้วยพระองค์เอง ในขณะนั้นเป็นช่วงที่หนึ่งในผู้ช่วยบริหารราชการนามซูเค่อซาฮา (苏克萨哈) เกิดขัดแย้งกับเอ้าไป้ และถูกเอ้าไป้วางแผนให้ร้าย ถวายฎีกาต่อฮ่องเต้คังซีเพื่อให้ลงอาญาประหารชีวิต ทว่าคังซีไม่ยอม เอ้าไป้บันดาลโทสะจนถึงกับถกเถียง เอะอะโวยวายกับคังซีในท้องพระโรง แต่สุดท้ายเนื่องจากในยามนั้นเอ้าไป้ยังถืออำนาจส่วนใหญ่อยู่ คังซีจึงยอมอดกลั้นและสั่งประหารซูเค่อซาฮา

กระทั่งวันหนึ่ง คังซีมีรับสั่งให้เอ้าไป้เข้าเฝ้าตามลำพัง จากนั้นทรงใช้ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ฝึกฝนขึ้นมารุมจับตัวเอาไว้ ภายหลังจึงมีรับสั่งให้จองจำในคุกหลวง และให้ขุนนางใหญ่ทำการตรวจสอบความผิด ปรากฏว่า เอ้าไป้ถูกตั้งข้อหาใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้คน ฆ่าคนไร้ความผิด และความผิดอุกฉกรรจ์อีกมากมาย จึงถูกลงโทษให้ถอดออกบรรดาศักดิ์และประหารชีวิตเสีย

อ้ายซินเจี๋ยว์หลอ ฝูหลิน หรือฮ่องเต้ซุ่นจื้อ
นอกจากนั้น นับตั้งแต่ทหารต้าชิงเข้าด่านเป็นต้นมา ก็ได้ทำการเวนคืนยึดครองที่ดินของเกษตรกรจำนวนมากเพื่อแบ่งสรรให้กับผู้สูงศักดิ์จากแปดกองธง หลังเอ้าไป้ได้ครองอำนาจ มิเพียงแต่ทำการกวาดต้อนที่ดินมาเป็นของตน ยังใช้อำนาจบีบบังคับแลกเปลี่ยนที่ดินของตนกับที่ดินดีๆหลายแปลง และประหารชีวิตขุนนางที่ต่อต้านตนเอง

เมื่อฮ่องเต้คังซีมีพระชนมายุครบ 14 พรรษา จึงทรงเริ่มใช้อำนาจปกครองด้วยพระองค์เอง ในขณะนั้นเป็นช่วงที่หนึ่งในผู้ช่วยบริหารราชการนามซูเค่อซาฮา (苏克萨哈) เกิดขัดแย้งกับเอ้าไป้ และถูกเอ้าไป้วางแผนให้ร้าย ถวายฎีกาต่อฮ่องเต้คังซีเพื่อให้ลงอาญาประหารชีวิต ทว่าคังซีไม่ยอม เอ้าไป้บันดาลโทสะจนถึงกับถกเถียง เอะอะโวยวายกับคังซีในท้องพระโรง แต่สุดท้ายเนื่องจากในยามนั้นเอ้าไป้ยังถืออำนาจส่วนใหญ่อยู่ คังซีจึงยอมอดกลั้นและสั่งประหารซูเค่อซาฮา

กระทั่งวันหนึ่ง คังซีมีรับสั่งให้เอ้าไป้เข้าเฝ้าตามลำพัง จากนั้นทรงใช้ให้กลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ฝึกฝนขึ้นมารุมจับตัวเอาไว้ ภายหลังจึงมีรับสั่งให้จองจำในคุกหลวง และให้ขุนนางใหญ่ทำการตรวจสอบความผิด ปรากฏว่า เอ้าไป้ถูกตั้งข้อหาใช้อำนาจข่มเหงรังแกผู้คน ฆ่าคนไร้ความผิด และความผิดอุกฉกรรจ์อีกมากมาย จึงถูกลงโทษให้ถอดออกบรรดาศักดิ์และประหารชีวิตเสีย
หลังจากกำจัดฆ่าเอ้าไป้ ขุนนางใหญ่ทั้งหลายก็ไม่มีใครกล้าดูแคลนและแสดงความไม่ยำเกรงต่อฮ่องเต้เยาว์วัยพระองค์นี้อีกต่อไป เมื่อคังซีได้อำนาจการปกครอง ก็ทรงเริ่มทำการสนับสนุนการผลิตและเพาะปลูก ลงโทษขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวง ทำให้ราชวงศ์ที่ก่อตั้งขึ้นใหม่ค่อยๆเข้มแข็งมั่นคงมากขึ้น

แต่ในยามนั้น แม้ว่าผู้ต่อต้านจากทางใต้จะถูกสยบไปแล้ว แต่ก็ยังมีสามเจ้าศักดินาที่ได้รับการพระราชทานให้ปกครองหัวเมืองในสมัยที่ต้าชิงเพิ่งสถาปนาราชวงศ์ในประเทศจีน เนื่องจากบุคคลเหล่านี้เป็นผู้ที่มีความดีความชอบในการมาเข้ากับต้าชิง และสยบเหล่าทหารต้าหมิงเก่าทีลุกฮือ อันได้แก่อู๋ซันกุ้ยที่ปกครองมณฑลหยุนหนันกับกุ้ยโจว บวกกับดินแดนบางส่วนของหูหนันกับเสฉวน ซั่งเขอสี่ปกครองดินแดนมณฑลกว่างตง (กวางตุ้ง) และบางส่วนของกว่างซี (กวางสี) ส่วนเกิ่งจ้งหมิงที่ปกครองอยู่ที่มณฑลฝูเจี้ยน (ฮกเกี้ยน) โดยทั้งสามมีอำนาจคล้ายเจ้าผู้ปกครองแว่นแคว้นคือมีอำนาจบังคับบัญชาทหาร พลเรือน และมีอำนาจเก็บภาษีพร้อมควบคุมการค้าผูกขาดทั้งหมด แม้กระนั้น เจ้าศักดินาทั้งสามก็ยังเรียกร้องเงินจำนวนมากจากราชสำนัก โดยอ้างว่าเป็นค่าใช้จ่ายทางทหารมาโดยตลอด โดยเฉพาะอู๋ซันกุ้ยที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผิงซีอ๋อง (平西王) ได้เรียกเงินจำนวนที่มากถึง 9 ล้านตำลึง

คังซีทรงทราบดีว่า เจ้าศักดินาทั้งสามเป็นอุปสรรคต่อการปกครองประเทศอย่างเป็นเอกภาพ จึงมีดำริที่จะต้องลดอำนาจหรือยกเลิกอำนาจของเจ้าศักดินาเหล่านี้เสีย ประจวบกับยามนั้นเป็นช่วงที่ซั่งเขอสี่อายุมากขึ้น ต้องการที่จะกลับไปบ้านเดิมที่เหลียวตง จึงได้ทำฎีกาเพื่อของให้บุตรชายซั่งจือซิ่นสืบทอดตำแหน่งอ๋องในกวางตุ้งต่อไป คังซีได้อนุญาตให้ซั่งเขอสี่กลับบ้านเดิมได้ ทว่ากลับไม่ยอมให้บุตรชายสืบทอดบรรดาศักดิ์นี้ต่อไป เช่นนี้ทำให้อู๋ซันกุ้ย และเกิ่งจิงจง(耿精忠) หลานของเกิ่งจ้งหมิงเกิดร้อนใจ ต้องการจะทดลองพระทัยของคังซี วยการแสร้งขอร้องให้คังซีทรงปลดบรรดาศักดิ์ และขอกลับไปทางเหนือ

ครั้นฏีกาดังกล่าวถูกส่งมาถึงราชสำนัก คังซีทรงเรียกประชุมหารือกับเหล่าขุนนาง ซึ่งขุนนางส่วนใหญ่เห็นว่าคำขอร้องดังกล่าวเป็นเพียงการเสแสร้ง และเมื่อใดที่คังซีทรงอนุญาต อู๋ซันกุ้ยจะก่อกบฏขึ้นทันที ทว่าคังซีกลับตัดสินพระทัยอย่างเด็ดเดี่ยว โดยตรัสว่า “อู๋ซันกุ้ยมีจิตใจทะเยอทะยาน หากปลดเขาย่อมกบฏ ไม่ปลด ช้าเร็วก็ต้องกบฏ มิสู้ลงมือก่อนย่อมเป็นฝ่ายได้เปรียบ” จากนั้นทรงตอบรับการยกเลิกบรรดาศักดิ์ และอำนาจการปกครองดินแดนของอู๋ซันกุ้ย ทำให้อู๋ซันกุ้ยที่เห็นว่าตนเป็นขุนนางที่ร่วมสร้างแผ่นดินต้าชิงมา กลับต้องถูกปลดโดยฮ่องเต้อายุเยาว์ผู้นี้ และในที่สุดก็ก่อการกบฏขึ้นจริง

ค.ศ.1673 อู๋ซันกุ้ยได้เคลื่อนทัพจากมณฑลหยุนหนัน เปลี่ยนมาใส่ชุดศึกของราชวงศ์หมิง อ้างว่าต้องการที่จะแก้แค้นแทนราชวงศ์หมิงที่ล่มสลายไป ทว่าประชาชนยังจำได้ดีว่าอู๋ซันกุ้ยเป็นคนเปิดด่านซันไห่กวน เชิญทหารชิงเข้ามา การกล่าวอ้างเช่นนี้จึงไม่มีใครยอมเชื่อ

การเคลื่อนทัพเป็นไปอย่างราบรื่น ทัพกบฏเอาชนะไปตลอด บุกตีไปจนถึงหูหนัน จากนั้นส่งคนไปติดต่อให้ซั่งจือซิ่นกับเกิ่งจิงจงเข้าร่วมกองทัพกบฏกับอู๋ซันกุ้ย ซึ่งในประวัติศาสตร์เรียกว่า “กบฏสามเจ้าศักดินา”

การก่อกบฏของทั้งสาม ได้สามารถยึดครองพื้นที่ทางใต้ทั้งหมดของจีนเอาไว้ได้ ทว่าคังซีเองก็ยังไม่ถอดใจ ยังทำการคัดเลือกแม่ทัพนายกอง ระดมกำลังทหารเข้าต่อกร และยกเลิกการปลดบรรดาศักดิ์ของซั่งจือซิ่น และเกิ้งจิงจงไว้ก่อน จนกระทั่งผลการศึกผลัดเปลี่ยนเป็นฝ่ายอู๋ซันกุ้ยเริ่มเพลี่ยงพล้ำ ในที่สุดทั้งสองก็ยอมแพ้ต่อราชสำนักชิง

แม้ช่วงแรกอู๋ซันกุ้ยจะทำศึกประสบชัยมาโดยตลอด ทว่าทหารชิงกลับมีมากและเข้มแข็งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่กำลังของอู๋ซันกุ้ยค่อยๆอ่อนโทรมลง อู๋ซันกุ้ยเริ่มรู้ว่าไม่สามารถต้านทานได้อีก และในที่สุดก็ป่วยหนักเสียชีวิตไป ปีค.ศ. 1681 กองทัพต้าชิงได้แบ่งทัพออกเป็น 3 สายบุกเข้าตีเมืองคุนหมิงในหยุนหนัน อู๋ซื่อฝาน (吴世璠) หลานของอู๋ซันกุ้ยต้องฆ่าตัวตาย กองทัพต้าชิงจึงสามารถพิชิตผนวกดินแดนทางภาคใต้กลับคืนมาได้



พระราชวังเคลื่อนที่ของฮ่องเต้เฉียนหลง
ยุครุ่งโรจน์แห่งรัชกาลคัง-เฉียน (康乾盛世)

ยุครุ่งเรืองแห่งรัชกาลคัง-เฉียน จัดเป็นยุครุ่งเรืองสุดท้ายในประวัติศาสตร์ราชวงศ์จีน โดยกล่าวถึงรัชกาลของฮ่องเต้คังซี ฮ่องเต้ยงเจิ้ง และฮ่องเต้เฉียนหลง รวมเป็นระยะเวลากว่า 130 ปี ในช่วงเวลาดังกล่าว เนื่องจากการปกครองเป็นไปในแนวทางเดียวกัน สามารถลดความขัดแย้งระหว่างชนชาติและชนชั้น ดำเนินนโยบายหนึ่งประเทศหลายเผ่าพันธุ์ทั้งในทางเศรษฐกิจและสังคม ทำให้สังคมมีความสงบสุขเป็นระยะเวลาที่ยาวนานนับร้อยปี

โดยหลังจากที่คังซีได้รับอำนาจเต็มในการปกครอง นอกจากจะมีการหยุดการเวนคืนที่ดิน ผ่อนปรนภาษีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้ขุนนางทั้งหลายปิดบังหลอกลวง อ้าวซินเจี๋ยว์หลอเสวียนเยี่ย หรือคังซีจึงมักเสด็จออกประพาส เพื่อทำความเข้าใจกับชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน และรับทราบถึงผลจากนโยบายการปกครองในรูปแบบต่างๆ โดยที่ทราบกับทั่วไปก็คือประพาสทางใต้ 6 ครั้ง ตะวันออก 3 ครั้ง ตะวันตก 1 ครั้ง ประพาสในเขตเมืองหลวงและมองโกลหลายร้อยครั้ง นอกจากนั้นยังมีการเดินทางประพาสเพื่อสำรวจเส้นทางน้ำของแม่น้ำฮวงโห และตรวจงานก่อสร้างอีกด้วย

คังซียังให้ความสำคัญกับชนชั้นปัญญาชนของชาวฮั่นเป็นอย่างยิ่ง ให้ความยกย่องความรู้ของหยูเจีย (ลัทธิขงจื้อ) โดยเฉพาะ หลี่เสียว์ (理学) ของปราชญ์จูซี (朱熹) พระองค์ยังเคยเสด็จไปยังชีว์ฟู่ เพื่อไปสักการะยังอารามขงจื้อที่นั่นด้วย

อีกหนึ่งผลงานที่ถือกำเนิดขึ้นในยุคนี้ก็คือ “พจนานุกรมคังซี” (康熙字典) มีราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินหัวอย่างจางอี้ว์ซู กับราชบัณฑิตจากตำหนักเหวินยวน นามเฉินถิงจิ้ง เป็นแกนนำในการจัดทำ โดยได้ทำการตรวจทาน ตรวจสอบอักษรจีนที่ใช้ในราชวงศ์หมิง และเป็นตำราที่ถูกจัดพิมพ์ยาวนานตั้งแต่รัชกาลคังซีปีที่ 55 หรือค.ศ. 1716 มาตราบจน

ฮ่องเต้คังซีได้มีรับสั่งให้จัดเรียบเรียงพจนานุกรมดังกล่าวในเดือน 3 ปีค.ศ.1710 ใช้เวลาในการจัดทำถึง 6 ปี มีทั้งสิ้น 47,035 อักษร แบ่งเป็น 12 ชุด แต่ละชุดมี 3 พับ โดยมีคำอธิบายถึงอักษรพ้องเสียง แต่ต่างความหมาย หรืออักษรพ้องรูปที่ต่างความหมาย ซึ่งภายหลังได้ถูกนำมาใช้เป็นมาตรฐานที่ใช้ในการสอบรับราชการในราชวงศ์ชิง และเป็นที่แพร่หลายแม้ในเวลาต่อมา

(ซ้าย) เหรียญเงินที่ใช้สมัยฮ่องเต้ซุ่นจื้อ (ขวา) เหรียญเงินที่ใช้สมัยฮ่องเต้ยงเจิ้ง
รัชทายาทอิ้นเหริง(胤礽)ออกจากตำแหน่งเป็นครั้งแรก เนื่องจากทรงทราบว่ามีพฤติกรรมที่นิยมในเพศชายด้วยกัน และชอบทำร้ายขุนนาง โดยในขั้นตอนการคัดเลือกรัชทายาทคนใหม่ อิ้นเจิน(胤禛) หรือฮ่องเต้ยงเจิ้ง (雍正皇帝)ในเวลาต่อมาได้ให้การสนับสนุนให้คืนตำแหน่งให้กับอิ้นเหรินใหม่ กระทั่งในปีต่อมา จึงมีการคืนตำแหน่งให้กับรัชทายาทคนเดิม ทว่าเมื่อมาถึงปีค.ศ. 1712 คังซีก็ทรงปลดอิ้นเหริงออกจากตำแหน่งรัชทายาทอีกครั้ง และไม่มีการแต่งตั้งหรือคัดสรรรัชทายาทต่อ ทำให้ในหมู่พระโอรสมีการแก่งแย่งช่วงชิงทั้งในที่ลับและที่แจ้งอย่างดุเดือด

ในขณะนั้นอิ้นเจิน ภายนอกแสดงให้เห็นว่าตนเองไม่สนใจแก่แย่งชิงดี ทุ่มเทให้กับพุทธศาสนา โดยขนานนามตนเองว่าเป็น “คนว่างอันดับหนึ่งแห่งแผ่นดิน” พยายามปรองดองกับพระโอรสองค์อื่นๆ ทว่าเบื้องหลังก็ได้คบหากับเกิงเหยา และลู่เคอตัวบ่มเพาะเป็นขุมกำลังอันเข้มแข็งของตนขึ้น นอกจากนั้น จากการที่มีผลงานในการแก้ปัญหาอุทกภัยของแม่น้ำฮวงโหที่ได้ผลมากที่สุดนับตั้งแต่ช่วงปลายราชวงศ์หมิงเป็นตนมา ทำให้ได้รับความไว้วางใจจากคังซีเป็นอย่างยิ่ง

ทว่าในช่วงปลายรัชกาล ฮ่องเต้คังซีให้ความชื่นชมกับองค์ชาย 14 อิ้นที(胤禵) อีกทั้งแต่งตั้งเป็นแม่ทัพใหญ่ให้เดินทางไปยังภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ทำให้ในขณะนั้นมีการคาดเดาว่า อิ้นที อาจจะเป็นทายาทที่คังซีคิดจะให้สืบทอดบัลลังก์

กระทั่งรัชกาลคังซีปีที่ 61 หรือค.ศ.1722 เมื่อคังซีเสด็จสวรรคต ประจวบกับเป็นช่วงเวลาที่อิ้นเจิน ได้รับพระบัญชาให้ไปทำพิธีสักการะฟ้า ทำให้กลับมาไม่ทัน ช่วงเวลาที่หลงเคอตัวกำลังประกาศผู้สืบทอดตำแหน่ง ซึ่งในระบุให้อิ้นเจินขึ้นเป็นอ่องเต้ต้าชิงพระองค์ต่อไป

อิ้นเจิ้งขึ้นครองราชย์เป็นฮ่องเต้ยงเจิ้งด้วยพระชนมายุ 45 พรรษา กระนั้นขั้นตอนการขึ้นครองราชย์ของพระองค์ยังคงเป็นปริศนามาจนถึงทุกวันนี้ โดยมีการเล่าขานเอาไว้หลากหลาย โดยบันทึกประวัติศาสตร์ราชวงศ์ชิงได้บันทึกว่า ในปีค.ศ. 1722 ฮ่องเต้คังซีทรงพระประชวรจนเสด็จสวรรคต ณ กรุงปักกิ่ง โดยก่อนนั้นได้มีรับสั่งเชิญพระโอรส 7 พระองค์เข้าเฝ้า จากนั้นก็มีรับสั่งให้ผู้บัญชาการทหารบกลู่เคอตัวเป็นผู้ถ่ายทอดราชโองการ ให้กับพระโอรสองค์ที่สี่นามอิ้นเจิน อันเป็นผู้ที่มีความประพฤติดีงาม เหมาะสมที่จะเป็นผู้สืบสานบัลลังก์สืบไป”


พจนานุกรมคังซี
ทว่าในบันทึกของชาวบ้าน กลับมีคำเล่าลือว่าเดิมพระราชโองการฉบับดังกล่าวเป็นการถ่ายทอดตำแหน่งให้พระโอรสองค์ที่ 14 แต่แล้วมีการแก้อักษรเลขสิบ (十) ให้เป็นคำว่า “ให้กับ” (于) จึงออกมาเป็นคำว่าถ่ายถอดให้กับพระโอรสองค์ที่ 4 แทน อย่างไรก็ตาม ในภายหลังมีการระบุว่า พระพินัยกรรมของคังซี จะต้องมีฉบับที่เป็นภาษาแมนจูด้วย ฉะนั้นต่อให้สามารถแก้ไขในภาษาฮั่นได้ ก็ไม่สามารถแก้ไขในฉบับภาษาแมนจูด้วยวิธีการเดียวกันนี้ได้ ผนวกกับในสมัยนั้นยังไม่มีอักษรย่อ ดังนั้นคำว่า “ให้กับ” ที่ถูกต้องจึงควรเป็นตัวอักษร (於) ไม่ใช่ตัวอักษร (于)

นอกจากนั้นยังมีคำเล่าขานอื่นอีกที่ว่า ความเป็นจริงการที่ฮ่องเต้คังซียกให้ยงเจิ้งเป็นผู้สืบทอดราชบัลลังก์นั้น แท้จริงแล้วเป็นเพราะมีเจตนาที่จะให้พระราชบัลลังก์ในอนาคต ไปสู่มือของพระโอรสของยงเจิ้ง นามว่าหงลี่(้弘历) หรือฮ่องเต้เฉียนหลง (乾隆大帝)ในกาลต่อมานั่นเอง

ในช่วงการครองราชย์ของยงเจิ้ง แม้จะทรงโหดเหี้ยมกับบรรดาพี่น้องของตน แต่ก็เป็นฮ่องเต้ที่มีความขยันหมั่นเพียรในราชกิจเป็นอย่างยิ่ง จะทรงตื่นบรรทมแต่ก่อนเช้า และทรงงานตรวจฎีกาจนดึกดื่น ทรงรวบอำนาจ จัดสรรระบบภาษี การเงินการคลัง และขจัดการฉ้อราษฎร์บังหลวงจนถือว่าเป็นช่วงสืบทอดยุคความรุ่งเรืองรัชกาลคัง-เฉียนที่สำคัญ จนสามารถยังผลให้ประเทศจีนรุ่งเรืองถึงขีดสุดในยุคของฮ่องเต้เฉียนหลง

หลังยงเจิ้งสวรรคตจากการทำงานที่ตรากตรำมากจนเกินไป อ้ายซินเจี๋ยว์หลอหงลี่ ก็ได้ขึ้นครองราชย์ เป็นเฉียนหลงฮ่องเต้ ซึ่งการครองราชย์ของเฉียนหลง ที่สามารถดำเนินไปอย่างราบรื่น เนื่องจากยงเจิ้งเองเกรงว่าจะมีการแย่งชิงบัลลังก์ระหว่างพระโอรสเหมือนในสมัยของตน จึงได้ใช้วิธีการเขียนรายชื่อผู้ที่จะขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์แล้วประทับตราลัญจกร จากนั้นแบ่งเป็น 2 ชุด ชุดหนึ่งเก็บใส่หีบปิดผนึกแล้ววางไว้ที่ป้ายโลหะหน้าท้องพระโรง อีกชุดหนึ่งเก็บไว้กับพระองค์เอง โดยมีรับสั่งให้นำออกมาเปิดอ่านพร้อมกันหลังจากที่พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์


กระถางกำยานของฮ่องเต้เฉียนหลง

ในรัชกาลของเฉียนหลงถือเป็นยุคทองที่รุ่งเรืองที่สุดของราชวงศ์ชิง จากความพยายามปฏิรูปนโยบายภาษี การใช้จ่าย นโยบายการเงินการคลังของยงเจิ้ง ได้ทำให้มีเงินท้องพระคลังเหลือมาถึงยุคของเฉียนหลงเป็นจำนวนมาก เมื่อผนวกกับการที่ประชาชนเมื่อไม่มีภัยสงครามมาเป็นเวลานาน จึงทุ่มเทไปกับการสร้างผลผลิต จนทำให้ยุคสมัยนี้มีความมั่งคั่ง และมีความเจริญก้าวหน้าทางศิลปะวิทยาการต่างๆเป็นอันมาก

พระองค์ได้มีราชโองการให้รื้อฟื้นคดีคือความบริสุทธิ์ให้กับขุนนางต้าหมิงที่ชื่อ หยวนฉงฮ่วนขึ้นมาใหม่ จากที่แต่เดิมนั้นฮ่องเต้เฉียนหลงเมื่อขึ้นครองราชย์ ก็พยายามเจริญรอยตามพระอัยกาคังซี ด้วยการเสด็จประพาสทางใต้ถึง 6 ครั้ง และทำการปรับปรุงระบบชลประทานและการป้องกันอุทกภัยมากมาย ซึ่งการประพาสดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในนโยบายที่จะรักษาความมั่นคงของประเทศ และเป็นการเชื่อมสัมพันธ์ระหว่างชนชาติของฮั่นกับแมนจูอีกด้วย

ฉงเจินได้ลงโทษประหารหยวนฉงฮ่วนด้วยการแล่เนื้อทั้งเป็นในข้อหาสมคบคิดกับแมนจูก่อการกบฏ โดยในบันทึกฮ่องเต้ชิงเกาจง หรือฮ่องเต้เฉียนหลงได้ระบุไว้ว่า “แม้นการที่หยวนฉงฮ่วนเป็นผู้บัญชาการศึกให้กับต้าหมิง ยังผลให้ทัพต้าชิงประสบความลำบาก ทว่าถือเป็นบุคคลอันภักดีต่อหน้าที่ เพียงพบเจอเจ้าชีวิตที่ไร้สติปัญญา มิเพียงไม่ตอบแทนในความจริงใจอย่างเต็มสามารถ กลับประหารจนเสียชีวิต นับเป็นที่น่าเวทนายิ่งนัก”

ฮ่องเต้ยงเจิ้ง
ในปีค.ศ.1772 หรือรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 49

อีกผลงานหนึ่งที่เป็นที่ยอมรับมาจนถึงปัจจุบันก็คือ “ซื่อคู่เฉวียนซู” (四库全书) หรือจตุคลังคัมภีร์ ซึ่งถือว่าเป็นหนังสือชุดที่ใหญ่ที่สุดในโลก (รองลงมาคือสารานุกรมหย่งเล่อในราชวงศ์หมิง) โดยใช้เวลาในการชำระคัมภีร์และตำราต่างๆนานถึง 9 ปี รวบรวมตำราไว้ทั้งสิ้น 3,503 ประเภท เรียบเรียงเป็น 36,304 เล่ม 79,337 บรรพ มีจำนวนเกือบ 2,300,000 หน้า มีอักษรราว 800 ล้านตัว โดยเป็นการรวบรวมคัมภีร์สำคัญตั้งแต่ยุคโบราณ ซึ่งบางเล่มเคยถูกระบุเป็นคัมภีร์ต้องห้ามในสมัยราชวงศ์ฉิน ครอบคลุมศาสตร์อันหลากหลายแทบทุกประเภทในประเทศจีน

นอกจากความสามารถอันหลากหลายจนเป็นที่ประจักษ์แล้ว ฮ่องเต้เฉียนหลงยังเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่ามีความรักประชาชน และมีความวิริยะอุตสาหะในการปฏิบัติราชกิจเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีขุนนางที่สุจริตซื่อสัตย์ช่วยเหลือในการปกครองบ้านเมืองไม่น้อย โดยพระองค์ได้ต่อต้านและเรียกร้องไม่ให้ขุนนางใช้แต่ภาษาที่สวยหรูแต่จอมปลอมอีกด้วย

ในช่วงยุครุ่งโรจน์ แห่งรัชกาลคัง-เฉียน ถือเป็นยุคทองอันรุ่งเรืองที่สุดในประวัติศาสตร์เกือบ 300 ปีของราชวงศ์ชิง และถือเป็นหนึ่งในช่วงเวลาที่ดีที่สุดของจีน ไม่ว่าจะเป็นด้านพื้นที่การทำไร่ทำนา จำนวนผลผลิตการเกษตร จำนวนประชากร ที่มีอย่างยากที่จะหายุคใดเปรียบเทียบได้ จากสถิติที่มีการบันทึก ในรัชกาลคังซีปีที่ 24 ทั่วประเทศมีพื้นที่สำหรับทำการเพาะปลูกถึง 600 ล้านไร่จีน เมื่อมาถึงช่วงปลายรัชกาลของเฉียนหลง ทั่วประเทศมีพื้นที่เพาะปลูกเพิ่มเป็น 1,050 ล้านไร่จีน ผลผลิตทางการเกษตรทั่วประเทศเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 204,000 ล้านชั่ง จนเป็นประเทศที่มีผลผลิตสูงที่สุดในโลกในสมัยนั้น ในขณะที่จำนวนประชากรเพิ่มขึ้นจากปีค.ศ. 1700 ที่มีราว 150 ล้านคนมาเป็น 313 ล้านคนในปีค.ศ. 1794 หรือคิดเป็นประมาณ 1 ใน 3 ของทั่วโลกในเวลานั้น


แผนที่แสดงพื้นที่ของจีนที่เพิ่มขึ้นในรัชกาลของฮ่องเต้คังซี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น