นาฬิกาดนตรี สร้างขึ้นในกว่างโจว สมัยฮ่องเต้เฉียนหลง
หลังราชวงศ์ชิงได้ผ่านยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดมาแล้ว สรรพสิ่งก็ดำเนินไปตามวงเวียนแห่งกงล้อประวัติศาสตร์ จากรุ่งโรจน์สู่ความเสื่อมโทรม ไม่ว่ายุคสมัยใด บ้านเมืองเจริญได้ด้วยบุคคล ก็เสื่อมถอยด้วยบุคคลเฉกเดียวกัน และวันใดที่บ้านเมืองเริ่มเสื่อมถอย ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการฉวยโอกาสย่ำยีจากต่างชาติ...
หลังราชวงศ์ชิงได้ผ่านยุครุ่งเรืองถึงขีดสุดมาแล้ว สรรพสิ่งก็ดำเนินไปตามวงเวียนแห่งกงล้อประวัติศาสตร์ จากรุ่งโรจน์สู่ความเสื่อมโทรม ไม่ว่ายุคสมัยใด บ้านเมืองเจริญได้ด้วยบุคคล ก็เสื่อมถอยด้วยบุคคลเฉกเดียวกัน และวันใดที่บ้านเมืองเริ่มเสื่อมถอย ก็เป็นจุดเริ่มต้นของการฉวยโอกาสย่ำยีจากต่างชาติ...
แม้ว่าฮ่องเต้เฉียนหลงจะมีความวิริยะอุตสาหะในการบริหารปกครองบ้านเมือง ทว่ายุครุ่งโรจน์ของเฉียนหลงก็ประหนึ่งอาทิตย์เที่ยงวัน เมื่อผ่านพ้นย่อมเดินเข้าสู่ความเสื่อม ในช่วงหลังของรัชกาลเฉียนหลง กลับปรากฏขุนนางฉ้อราษฎร์บังหลวงจนเป็นที่เลื่องลือในหน้าประวัติศาสตร์นามว่าเหอเซิน (和珅)ผู้มีนามเดิมว่าซ่านเป่า สังกัดกองธงแดงของแมนจู มีความเชี่ยวชาญในภาษาแมนจู ฮั่น มองโกล และทิเบตถึง 4 ภาษา
เมื่อแรกเริ่มรับราชการเหอเซินเริ่มต้นจากการเป็นทหารมหาดเล็กธรรมดาผู้หนึ่ง รับหน้าที่ในการหามเกี้ยวหรือถือธง ภายหลังเมื่อสบโอกาสได้แสดงความสามารถต่อหน้าพระพักตร์ของเฉียนหลง จึงเป็นที่โปรดปราน และได้เลื่อนขั้นอย่างต่อเนื่อง โดยเลื่อนขั้นเป็นราชองครักษ์ จากนั้นเป็นรองผู้บัญชาการกองธงน้ำเงิน โดยในช่วงเวลาที่รับราชการ 20 กว่าปี ได้รับการเลื่อนขั้นถึง 47 ครั้ง เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการเก็บค่าธรรมเนียมประตูเมืองฉงเหวิน ดูแลท้องพระคลังส่วนพระองค์ คลังหลวง ซึ่งในระยะแรกเหอเซินเองก็เป็นขุนนางที่มีความซื่อสัตย์สุจริต และมีความสามารถ จนสามารถช่วยหาทางเติมเต็มเงินในคลังหลวงที่ร่อยหรอให้มีมากพอกับการดำเนินโครงการสำคัญๆในบ้านเมืองอย่างการทหาร การจัดซ่อมสร้างเขื่อน การสร้างพระสุสาน เป็นต้น
ยังไม่นับรวมกับผลงานอื่นๆอีกมากมายอาทิการคลี่คลายคดีที่หยุนหนัน การตรวจสอบบัญชีที่ซันตง และการคิดค้นหม้อไฟขนาดเล็ก ที่ทำให้งานเลี้ยงที่มีแขกเหรื่อกว่า 530 โต๊ะของฮ่องเต้เฉียนหลงนั้นสามารถมีอาหารที่อุ่นได้อยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเป็นที่โปรดปรานของเฉียนหลง เคยได้รับการควบดูแลหน้าที่ถึง 60 กว่าประการในเวลาเดียวกัน อีกทั้งได้รับพระราชทานพระธิดาพระองค์เล็กให้อภิเษกกับบุตรชายของเหอเซิน ทำให้เหอเซินซึ่งเป็นทั้งขุนนางใหญ่และกลายเป็นหนึ่งในพระประยูรญาติมีอำนาจมากขึ้นอย่างรวดเร็ว
ภายหลังเหอเซินจึงเริ่มการแผ่ขยายอำนาจ ใช้ตำแหน่งหน้าที่ในการหาเงินทอง ไม่ว่าจะเป็นการเปิดโรงรับจำนำ เปิดร้านรับแลกตั๋วเงิน เหมืองแร่ และกิจการซื้อขายอื่นๆอีกมากมาย ยังไม่รวมถึงการฉ้อราษฎร์บังหลวง แบ่งพรรคแบ่งพวก ใช้อำนาจบาตรใหญ่ จนถึงกับมีบันทึกในสมัยต่อมาไว้ว่า “รัชสมัยเฉียนหลงแห่งต้าชิง เหอเซินใหญ่ยิ่งคับแผ่นดิน มีอำนาจเหลือล้นราชสำนัก เหล่าขุนนางพร้อมพรักชิงประจบ ทั้งขูดรีดฉ้อโกงอย่างเปิดเผย ละเลยขุนนางพรรคพวกอื่น จนระบบปกครองต้องพังครืน เหล่าขุนนางดาษดื่นด้วยคนพาล”
ต่อมาในเดือนตุลาคม ปีค.ศ. 1795 ฮ่องเต้เฉียนหลงได้ประกาศว่าจะมีการสละราชสมบัติให้กับพระโอรสในฤดูใบไม้ผลิปีต่อไป เนื่องจากไม่ต้องการครองราชย์นานกว่าพระอัยกาคังซี ทำให้เฉียนหลงฮ่องเต้ประกาศสละราชสมบัติในปีค.ศ. 1796 เพื่อให้ตนอยู่ในตำแหน่งน้อยกว่าคังซี 1 ปี
ทว่าหลังสละราชสมบัติให้กับฮ่องเต้เจียชิ่งแล้ว พระองค์ก็ยังคงเป็นผู้ที่กุมอำนาจแท้จริงอยู่ด้วยการอาศัยตำแหน่ง “ไท่ซั่งหวง” (太上皇) หรือพระราชบิดาหลวง ในการร่วมฟังข้อราชการด้วยเป็นเวลาถึง 3 ปีจนกระทั่งเสด็จสวรรคต
กระทั่งวันที่ 13 เดือนอ้าย ค.ศ. 1799 หรือหลังจากที่เฉียนหลงฮ่องเต้สวรรคตเพียงวันเดียว ฮ่องเต้เจียชิ่งก็มีราชโองการประกาศความผิดของเหอเซิน 20 กระทง และมีบัญชาให้นำตัวไปกุมขัง ปลดออกจากตำแหน่ง และริบทรัพย์สมบัติทั้งหมดเข้าคลังหลวง
ตามบันทึกได้ปรากฏว่า การริบทรัพย์ของเหอเซินในครั้งนั้นมีเงินทั้งสิ้น 800 ล้านตำลึง ในขณะที่งบประมาณแผ่นดินจากภาษีในขณะนั้นอยู่ที่ประมาณ 70 ล้านตำลึงต่อปี กล่าวคือเพียงเงินของเหอเซินที่ได้มาจากการฉ้อราษฎร์บังหลวง ก็เทียบเท่ากับงบประมาณแผ่นดินถึง 10 กว่าปียังไม่รวมถึงหลักฐานอื่นที่พบอาทิชามทองคำ 4,288 ใบ โถเงิน 600 ชิ้น จานทอง 119 ใบ ทองคำ 5,800,000 ตำลึง เงินแท่ง 50,000 แท่ง และเพชรนิลจินดา ผ้าแพรไหมของมีค่าอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นหลังจากริบทรัพย์แล้วในภายหลังจึงมีการกล่าวขานว่า “เหอเซินล้มกลิ้ง เจียชิ่งอิ่มท้อง” ขึ้น (和珅跌倒,嘉慶吃饱)
หลังจากที่เหอเซินถูกกุมขัง 10 วัน ฮ่องเต้เจียชิ่งได้พระราชทานผ้าขาวให้แก่เหอเซิน เพื่อให้อัตวินิบาตกรรม แทนการประหารด้วยการแล่เนื้อทั้งเป็น ส่วนบุตรชายคนโตเนื่องจากได้อภิเษกกับองค์หญิงเหอเซี่ยว ทำให้เว้นจากการติดคุก ส่วนลูกหลานที่เหลือของเหอเซินก็ถูกเนรเทศไปยังหมู่บ้านที่ อยู่ทางใต้ของเมืองฮาร์บินลงมาราว 60 กิโลเมตร ในมณฑลฮาร์บิน ในช่วงวาระสุดท้ายก่อนการรัดคอตนเองนั้น เหอเซินยังได้ประพันธ์บทกวีสุดท้ายไว้ว่า “ห้าสิบปีคืนวันดังความฝัน บัดนี้รามือพลันลาโลก วันหน้าเมื่อวารีท่วมมังกร ตามหมอกควันขจรมาเกิดกาย” แสดงถึงความรันทดและความแค้นที่มี สื่อความหมายถึงวันใดที่มีผู้กลับมาควบคุมฮ่องเต้ไว้ คนผู้นั้นก็คือเหอเซินที่กลับมาเกิดใหม่ ซึ่งมีคนตีความไว้ว่าเป็นซูสีไทเฮา ที่เกิดในปีค.ศ.1835 ที่แม่น้ำฮวงโหได้เกิดอุทกภัย
** ความร่ำรวยของเหอเซินนั้น ได้รับการจัดอันดับจากหนังสือพิมพ์ยักษ์ใหญ่อย่างวอลล์ สตรีท เจอร์นัล ให้เป็นหนึ่งใน 50 บุคคลที่ร่ำรวยที่สุดในโลกในรอบสหัสวรรษ เมื่อเดือนเม.ย. 2007 โดยก่อนหน้านั้นได้เคยรับการจัดอันดับให้เป็นบุคคลที่รวยที่สุดในศตวรรษที่ 18
การสูบฝิ่นที่เริ่มแพร่ระบาดในสังคมจีน
การทุจริตฉ้อฉลของคนที่มีสติปัญญาและความสามารถอย่างเหอเซิน ไม่เพียงแต่ส่งผลให้ท้องพระคลังในราชสำนักลดลงเท่านั้น แต่ยังเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาดของการฉ้อราษฎร์บังหลวงไปทั่วแวดวงราชการ เท่ากับเป็นการทำลายระบบในการปกครองอันเข้มงวด ที่ได้พยายามวางรากฐานให้ขุนนางปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริตกันมานานลง
สงครามฝิ่น ครั้งที่ 1
แม้ราชวงศ์ชิงจะมีความยิ่งใหญ่เพียงใดก็ตาม แต่ที่ผ่านมาก็เลือกที่จะปิดประเทศไม่ค้าขายกับชาติอื่น จนกระทั่งปีค.ศ. 1757 หรือในรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 22 ก็ได้มีการกำหนดให้เมืองกว่างโจวเป็นเมืองท่าเพียงแห่งเดียวที่ได้รับการอนุญาตให้ติดต่อกับชาติต่างชาติ ซึ่งนับตั้งแต่ปลายศตวรรษที่ 18 เป็นต้นมา อังกฤษได้นำเข้าใบชา ถ้วยชามเครื่องเคลือบและผ้าไหมจากจีนเป็นจำนวนมาก ในขณะที่มีสินค้าส่งออกให้จีนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ทำให้อังกฤษเสียเปรียบดุลการค้าให้จีนอย่างมหาศาล
กระทั่งรัชกาลเฉียนหลงปีที่ 28 หรือค.ศ. 1773 เพื่อถ่วงดุลการค้าที่เสียเปรียบ อังกฤษได้เริ่มนำเอาฝิ่นเข้ามาจำหน่ายในเมืองจีน ซึ่งเดิมทีสำหรับคนจีน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 8 เป็นต้นมา ฝิ่นก็ถูกจัดและถูกใช้ในฐานะยาสมุนไพรประเภทหนึ่ง กระทั่งหลังจากที่อังกฤษได้เข้าพิชิตอินเดีย และได้มอบสิทธิผูกขาดในการจำหน่ายให้กับบริษัทอีสต์อินเดีย และนำเข้าจำหน่ายในจีนเป็นจำนวนมาก ซึ่งในเวลานั้นนอกจากอังกฤษแล้ว ยังมีอเมริกา ฝรั่งเศสและรัสเซียที่ต่างก็พยายามนำเอาฝิ่นจากตุรกี และเอเชียกลางมาจำหน่ายในจีนเช่นกัน
ในช่วงเวลานั้น ราคาของฝิ่นอยู่ชั่งละ 5 ตำลึงเงิน ในช่วงเวลา 40 ปีก่อนที่สงครามฝิ่นจะปะทุขึ้น อังกฤษได้ขนฝิ่นเข้ามาประเทศจีนมากถึง 400,000 ลัง จนดูดเอาเงินแท่งออกไปจากจีนได้ราว 300 ล้าน – 400 ล้านแท่ง จนกระทั่งเกิดปัญหาการขาดแคลนเงินแท่งภายในประเทศและทำให้ราคาของเงินแท่งพุ่งสูงขึ้นไปกว่า 1 เท่าตัว จนประชาชนและประเทศชาติต่างยากจนลงไปตามๆกัน คนที่สูบฝิ่นมากขึ้นทุกขณะ ไม่เพียงแต่เป็นในวงขุนนางข้าราชการเท่านั้น แต่เลยไปถึงบรรดาเจ้าของที่ดิน พ่อค้า บัณฑิต และแม้กระทั่งชาวไร่ชาวนา ช่างแรงงาน ทหารก็ไม่เว้น
ปีค.ศ. 1821 ฮ่องเต้เจียชิ่งเสด็จสวรรคต พระโอรสองค์ที่ 2 ได้ขึ้นครองราชย์มีพระนามว่าฮ่องเต้เต้ากวง ในเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่ราชสำนักชิงฟอนเฟะ กองกำลังทหารอ่อนโทรม มีการลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบมากมาย และที่สำคัญก็คือการสูบฝิ่นที่แพร่ระบาดไปทั่ว
เมื่อมาถึงปีค.ศ. 1838 ทั่วประเทศมีชาวจีนที่ติดฝิ่นมากถึง 2,000,000 คน จนถึงกับมีคำกล่าวว่าฝิ่นนั้น นอกจากจะขูดเอาเงินแท่งจากจีนไปแล้ว ยังได้ทำลายสุขภาพร่างกายและจิตวิญญาณชาวจีนไปด้วย ในปีเดียวกันนี้จึงมีกลุ่มขุนนางถวายฎีกาโดยเปิดโปงบรรดาข้าราชการที่ค้าฝิ่น และผลักดันให้มีการหยุดฝิ่นด้วยการลงโทษผู้ที่สูบอย่างรุนแรง หลังจากนั้นหลินเจ๋อสีว์ (林则徐) ผู้ตรวจการหูกว่างได้ถวายฎีกาถึง 3 ครั้งต่อฮ่องเต้เต้ากวง โดยระบุว่าหากไม่ทำการหยุดฝิ่นในประเทศจีน ในระยะยาวอีกหลายสิบปีนั้น จีนจะไม่เหลือทหารไว้รบ ไม่เหลือเงินไว้ใช้อีกต่อไป จนทำให้ฮ่องเต้เต้ากวงมีดำริที่จะปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจัง
ปีค.ศ. 1839 หลินเจ๋อสีว์ได้เตรียมคน และทหารเดินทางออกจากปักกิ่งอย่างไม่เอิกเกริก เมื่อตรวจพบผู้กระทำผิดกฎหมายก็จะมีการดำเนินการลงโทษทันที และเมื่อเดินทางถึงกว่างโจว (กวางเจา) ก็ทำการลอบสืบเป็นการลับ จนกระทั่งรู้ถึงเส้นทางขนส่งและจำหน่ายฝิ่นแล้ว จึงเริ่มต้นมีคำสั่งให้พ่อค้าต่างชาติทำการส่งมอบฝิ่นในครอบครองออกมาทั้งหมด จากนั้นให้ทำทัณฑ์รับรองว่าจะไม่ขนฝิ่นลงเรือมายังประเทศจีนอีกตลอดไป ซึ่งหากมีครั้งต่อไปจะถูกริบและจับกุมคนดำเนินคดี
นอกจากนั้นหลินยังได้ทำการกวาดล้างปัญหาฝิ่น ด้วยการจัดการตั้งกฎอย่างเด็ดขาดให้ผู้เกี่ยวข้องกับการค้าฝิ่นจะถูกกุมขังในเรือนจำ ในมีหลักฐานว่าเป็นผู้ค้าจะถูกตัวศีรษะเสียบประจาน ส่วนผู้ที่ติดฝิ่นก็จะมีการส่งเข้าสถานรักษาพยาบาลเพื่อช่วยให้เลิกฝิ่น จากนั้นก็จัดโครงการรณรงค์ให้อดฝิ่น โดยที่ใครทำสำเร็จทางการจะทำการประกาศเกียรติคุณให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้กับผู้อื่น
หลินเจ๋อสีว์ได้กำหนดเวลา 3 วันให้ทุกคนที่มีฝิ่นนั้นส่งมอบออกมาให้หมด กระทั่งครบเวลาที่กำหนดขณะนั้นได้ฝิ่นทั้งสิ้นเพียง 1,037 ลัง เมื่อเห็นดังนั้น จึงมีคำสั่งให้ปิดล้อมร้านค้า ยกเลิกการค้าขายระหว่างจีนกับอังกฤษ ไม่อนุญาตให้ร้านค้าติดต่อกับเรือที่มีการขนฝิ่น ปลดพนักงานชาวจีนที่ทำงานกับผู้ค้าต่างชาติ แล้วนำกำลังออกปิดล้อมคลังสินค้า โดยหนึ่งในนั้นมีผู้ตรวจการพาณิชย์อังกฤษ ชาร์ลส์ เอลเลียตอยู่ด้วย เมื่อชาร์ลส์ในขณะนั้นไม่มีกำลังรบอยู่ในมือ และกลัวว่าพ่อค้าฝิ่นของตนจะถูกฆ่า จึงยอมส่งมอบฝิ่นจากเรือ 20 ลำออกมาจำนวนทั้งสิ้นปรากฏว่ามีถึง 20,283 ลัง
ในวันที่ทำการทำลาย ได้มีผู้คนจำนวนมากแห่แหนเข้ามาชมดูกันอย่างเนืองแน่น หลินเจ๋อสีว์ได้ให้คนขุดหลุมขนาดใหญ่ 2 หลุมบริเวณชายหาดหู่เหมิน แล้วจัดการเผาทำลายฝิ่นที่มีจำนวนกว่า 2,000,000 ชั่ง และใช้เวลาเผาทำลายถึง 3 สัปดาห์
ภาพวาดการลงนามในสนธิสัญญานานกิง
ภายหลังสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษได้มอบอำนาจให้ชาร์ลส์ เอลเลียตนำเรือ 40 กว่าลำ ทหารกว่า 4,000คน มาอยู่ที่บริเวณมาเก๊า และทำศึกกับจีนซึ่งได้มีการเตรียมตัวรับมือไว้ก่อนแล้ว ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีผู้คนล้มตายทั้งสองฝ่าย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฝิ่นครั้งแรก
ภายหลังสภาผู้แทนราษฎรอังกฤษได้มอบอำนาจให้ชาร์ลส์ เอลเลียตนำเรือ 40 กว่าลำ ทหารกว่า 4,000คน มาอยู่ที่บริเวณมาเก๊า และทำศึกกับจีนซึ่งได้มีการเตรียมตัวรับมือไว้ก่อนแล้ว ทำให้ทั้งสองฝ่ายมีผู้คนล้มตายทั้งสองฝ่าย ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามฝิ่นครั้งแรก
ประจวบกับในเวลานั้นมีกลาสีชาวอังกฤษกลุ่มหนึ่งเมาอาละวาดฆ่าชาวจีนในเกาลูนตายไปหนึ่งคน ชาร์ลส์ เอลเลียตไม่ยอมส่งตัวจำเลยให้กับทางการจีน ทำให้ความรู้สึกเป็นปฏิปักษ์กับชาวตะวันตกเพิ่มสูงขึ้น เมื่อถึงเดือนมิ.ย.ปีค.ศ. 1840 กองเรือรบอังกฤษภายใต้การบัญชาการของพลเรือเอกยอร์ช เอลเลียตก็เดินทางมาถึง แล้วใช้กำลังเรือส่วนหนึ่งปิดท่าเอาไว้ จากนั้นส่งกำลังส่วนใหญ่แล่นขึ้นเหนือเข้ายึดเมืองติ้งไห่ ใช้เป็นศูนย์บัญชาการ จากนั้นในเดือนส.ค. ก็แล่นเรือขึ้นไปบริเวณใกล้ๆป้อมต้ากูที่เทียนจิน ซึ่งเข้าใกล้ปักกิ่งมากขึ้นทุกที
ฮ่องเต้เต้ากวงในเพลานั้น เมื่อพบเห็นสถานการณ์คับขัน ก็ถึงกับครั่นคร้ามในแสนยานุภาพกองทัพของอังกฤษ ผนวกกับถูกคำยุยงจากฝ่ายที่ขอให้ยอมเจรจาสงบศึก จึงได้เปลี่ยนพระทัย จึงได้ส่งผู้ตรวจการฉีซั่นไปยังเทียนจิน เพื่อขอเจรจา โดยฉีซั่นได้เสนอเงื่อนไขก่อนเจรจาว่าจะมีการปลดและลงโทษหลินเจ๋อสีว์ และเปลี่ยนข้าหลวงคนใหม่ไปยังกว่างโจว อีกทั้งยอมรับฟังความเดือนร้อนของพ่อค้าอังกฤษ
ในขณะนั้นเป็นช่วงผลัดเข้าสู่ฤดูใบไม้ร่วง มีโรคระบาดเกิดขึ้น ทำให้ทหารอังกฤษละทิ้งเมืองติ้งไห่ แล้วกลับไปเจรจากันที่กว่างโจว และลงนามใน “ร่างสนธิสัญญาชวนปี๋” ที่มีเนื้อหาว่าจีนจะต้องยกเกาะฮ่องกง และท่าเรือให้กับอังกฤษ จากนั้นชดใช้เงินให้กับรัฐบาลอังกฤษจำนวน 6,000,000 ตำลึงเงิน เปิดท่าเรือกว่างโจวให้เป็นท่าเรือพาณิชย์ โดยที่อังกฤษจะยอมถอนทหารออกจากซาเจี่ยว ป้อมปืนต้าเจี่ยวกลับไปที่ติ้งไห่
หยกขาวสลักรูปสัตว์
การลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกระทำโดยพลการของฉีซั่น ทำให้ฮ่องเต้เต้ากวงทรงกริ้วเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งปลดและลงโทษฉีซั่น จากนั้นส่งอี้ซัน ซึ่งเป็นขุนนางราชองครักษ์วังหลวง นำกำลังทหารหมื่นกว่าคนไปยังมณฑลกวางตุ้งเพื่อต่อต้านทัพอังกฤษ ที่ในขณะนั้นได้เข้ายึดครองฮ่องกงและติ้งไห่
การลงนามสนธิสัญญาดังกล่าว เป็นการกระทำโดยพลการของฉีซั่น ทำให้ฮ่องเต้เต้ากวงทรงกริ้วเป็นอย่างมาก จึงมีรับสั่งปลดและลงโทษฉีซั่น จากนั้นส่งอี้ซัน ซึ่งเป็นขุนนางราชองครักษ์วังหลวง นำกำลังทหารหมื่นกว่าคนไปยังมณฑลกวางตุ้งเพื่อต่อต้านทัพอังกฤษ ที่ในขณะนั้นได้เข้ายึดครองฮ่องกงและติ้งไห่
ทหารของอังกฤษหลังจากยึดป้อมปืนใหญ่ได้หลายแห่ง ก็นำกำลังบุกโจมตีกว่างโจว จนทหารของจีนต้องหลบกลับเข้าในตัวเมืองกันหมด แม่ทัพอี้ซั่นจึงได้เสนอให้เจรจาสงบศึกอีกครั้ง จนมีการลงนามในสนธิสัญญากว่างโจว ซึ่งได้รับการอนุมัติจากเต้ากวงให้มีการชดใช้เงินจำนวน 6,000,000 ตำลึงเพื่อให้อังกฤษถอยออกจากเมือง
ทว่าท่าทีของประชาชนกลับแตกต่างจากราชสำนักที่ยอมอ่อนข้อให้กับทหารอังกฤษ จึงมีชาวบ้านจำนวนไม่น้อยที่ลุกขึ้นจับอาวุธ ต่อสู้กับทหารอังกฤษที่มีอยู่พันกว่านายในเกว่างโจว จนทำให้มีทหารอังกฤษเสียชีวิตไปหลายสิบคน
ในขณะที่ทางอังกฤษเองก็ไม่พอใจกับสิทธิที่ได้รับจากการเจรจาของชาร์ลส์ เอลเลียตถึงกับมีการปลดเอลเลียต แล้วส่งเซอร์เฮนรี ป็อตติงเจอร์ ในเดือนส.ค. ปีค.ศ. 1841 ป๊อตติงเจอร์ได้นำเรือ 37 ลำพร้อมทหารอีก 2,500 คนออกจากฮ่องกง มุ่งขึ้นเหนือโจมตีเซี่ยเหมิน ถัดมาอีกเดือนกว่าๆ ก็สามารถบุกยึดติ้งไห่ โดยเก่อหยุนเฟย (葛云飞) ผู้บัญชาการทหารของเมืองต้องพลีชีพ จากนั้นก็บุกยึดเจิ้นไห่ หนิงปอ และบุกต่อไปโดยไม่สนใจคำขอเจรจาจากฝั่งจีน จนกระทั่ง บุกยึดเป่าซัน เซี่ยงไฮ้ และเรื่อยไปถึงด่านทางใต้ของหนันจิง (นานกิง) ทำให้ทางการจีนจำต้องยอมเจรจาภายใต้เงื่อนไขที่ไม่ยุติธรรมอย่างยิ่ง เรียกว่า “ร่างสนธิสัญญานานกิง” โดยสนธิสัญญาที่ถือว่าเป็นสัญญาอัปยศของจีนนั้นมีเงื่อนไขโดยสรุปคือ
1. รัฐบาลต้าชิงจะต้องชดใช้เงินเงินทั้งสิ้น 21 ล้านตำลึง โดยแบ่งเป็นค่าปฏิกรรมสงคราม 12 ล้านตำลึง ค่าเสียหายให้พ่อค้าอังกฤษ 3 ล้านตำลึง และค่าเสียหายจากฝิ่นอีก 6 ล้านตำลึง โดยจำนวนนี้ไม่นับรวมกับ 6 ล้านตำลึงที่จ่ายไปก่อนหน้า
2. จะต้องยกเกาะฮ่องกงให้อังกฤษ
3. เปิดเมืองท่าทั้ง 5 ได้แก่กว่างโจว เซี่ยเหมิน ฝูโจว หนิงปอ และเซี่ยงไฮ้เป็นเมืองท่าพาณิชย์
4. ภาษีทั้งขาเข้าและขาออกของพ่อค้าอังกฤษให้เป็นไปตามการเจรจาของทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งหลังจากนั้นอีก 1 ปีจีนยังได้ลงนามในข้อตกลงและวิธีปฏิบัติ ซึ่งมีสัญญาเพิ่มเติมจากสนธิสัญญานานกิงโดยกำหนดให้อังกฤษมีสิทธิสภาพนอกอาณาเขต คือ ชาวอังกฤษไม่อยู่ใต้กฎหมายของประเทศที่พำนักอาศัย เมื่อกระทำผิดหรือถูกฟ้อง คดีความจะถูกตัดสินพิจารณาคดีโดยกงสุลของประเทศตนเอง และอังกฤษจะต้องเป็นประเทศที่ได้รับผลประโยชน์อย่างดีที่สุด กล่าวคือ หากจีนมีการให้สิทธิพิเศษด้านการค้า เดินเรือ ภาษี หรือ การคุ้มครองทางกฎหมายแก่ประเทศใด อังกฤษจักได้รับสิทธิดังกล่าวไปด้วยเช่นกัน และการลงนามในสนธิสัญญานานกิงนี้ก็ถือเป็นจุดจบของสงครามฝิ่นครั้งที่ 1 ลง
ภายหลังราชวงศ์ชิงพ่ายแพ้ในสงครามฝิ่น ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งในสังคมจีนขึ้นอย่างรุนแรง รัฐบาลต้าชิงได้หมดเงินไปกับการทหารในสงครามดังกล่าวถึง 70 ล้านตำลึง บวกกับต้องชดใช้ให้กับต่างชาติตามร่างสนธิสัญญานานกิงอีก 21 ล้านตำลึง ภาระเหล่านี้ถูกผลักโอนมายังชาวไร่ชาวนาทั่วไป ซ้ำร้ายยังถูกขุนนางกับเจ้าของที่ดินขูดรีด ทำให้ประชาชนต้องแบกภาระและชำระภาษีมากกว่าที่กำหนดไว้ตามตัวบทกฎหมายหลายเท่า บวกกับเงินแท่งมีมูลค่าสูงขึ้น และภัยธรรรมชาติจากอุทกภัยและภัยแล้งจนประชาชนต้องอดอยากและประสบทุกข์เข็ญอย่างยิ่ง
ผลของความวุ่นวายในสังคม และความลำบากของราษฎร ได้ก่อให้เกิดกลุ่มกบฏชาวนาขึ้นในช่วงปลายราชวงศ์ชิง โดยกลุ่มกบฏนี้ได้ตั้งชื่อตนเองว่า “ไท่ผิงเทียนกั๋ว” อันหมายถึงอาณาจักรสวรรค์อันสันติสุข ซึ่งผู้นำกลุ่มกบฏนี้มีนามว่า หงซิ่วเฉวียน (洪秀全) ที่เคยเป็นบัณฑิตสอบตกหลายสมัย ในขณะที่กำลังท้อแท้หมดอาลัย กลับได้พบกับหมอสอนศาสนา ซึ่งหลังจากที่ได้อ่านหลักคำสอนในศาสนาคริสต์แล้วพบว่ามีการระบุถึง “ดินแดนสวรรค์ที่ทุกคนต่างดีงามและเสมอภาค” แล้ว ยิ่งทำให้หงมีความสนใจและเริ่มต้นนับถือพระผู้เป็นเจ้าขึ้น
ค.ศ. 1843 หงซิ่วเฉวียนได้ชักชวน เฝิงหยุนซัน ที่เป็นเพื่อนสมัยเรียนและลูกพี่ลูกน้องชื่อหงเหรินกาน ไปยังลำธารเล็กๆสายหนึ่ง จากนั้นกระโดดลงไปในน้ำ ชำระร่างกายจนสะอาด เป็นสัญลักษณ์เหมือนการทำพิธี “ใช้น้ำเข้าจารีต” ของศาสนาคริสตร์ จากนั้นทั้งสามก็ได้ตกลงกันอย่างลับๆในการจัดตั้ง “สมาคมนับถือพระเจ้า” (拜上帝会) ขึ้น และประกาศว่าตนเป็นบุตรคนรองของพระผู้เป็นเจ้า หรือเป็นน้องชายของพระเยซู
หลังจากจัดตั้งสมาคมขึ้น หงกับเฝิงหยุนซันก็เดินทางไปเผยแพร่คำสอนที่เขตจื่อจิงซัน ในมณฑลกว่างซี (กวางสี) หลังจากนั้นก็เดินทางไปยังกว่างตง (กวางตุ้ง) ในระยะเวลา 2 ปีกว่าๆที่เผยแพร่ศาสนา ก็ได้ทำการเขียนหนังสือต่างๆออกมา ว่าวด้วยผลักดันอุดมการณ์ความเท่าเทียมกันของชาวนา
ในขณะนั้นเฝิงหยุนซันก็สามารถรวมรวบสมาชิกได้หลายพันคน จนกระทั่งค.ศ. 1850 ฮ่องเต้เต้ากวงทรงสินพระชนม์ มีราชโอรสขึ้นครองราชย์ พระนามว่าฮ่องเต้ชิงเหวินจง (清文宗) หรือเรียกตามชื่อรัชกาลว่าฮ่องเต้เสียนเฟิง (咸丰皇帝) ในเวลานั้นสมาคมนับถือประเจ้าได้รวบรวมคนมามากกว่า 20,000 คน โดยสมาชิกส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ยากจนข้นแค้นเป็นหลัก
กระทั่งเดือนมิ.ย.- ก.ค. ในปีเดียวกัน สมาชิกแต่ละคนได้นำเอาทรัพย์สินสิ่งของมีค่าของตนมาสมทบทุนกันตามแต่ฐานะที่มี รวมเป็นกองทุนที่เรียกว่า “สมบัติศักดิ์สิทธิ์” จากนั้นก็จัดทั้งหน่วยสู้รบชายและหญิง โดยแยกค่ายทหารชายกับหญิงออกจากกัน และมีการตราระเบียบวินัยอย่างเข้มงวดอาทิ ห้ามทุจริต ห้ามสูบฝิ่น ห้ามข่มขืนสตรีซึ่งมีโทษถึงขั้นประหารชีวิต นอกจากนั้นยังให้สมาชิกชาย ตัดหางเปียทิ้ง โดยระบุว่าเป็นเครื่องหมายข้าทาสของแมนจู แล้วให้หันมาไว้ผมยาวแทน
ช่วงต้นปีค.ศ. 1851 สมาคมนับถือพระเจ้ามีสมาชิกมากถึง 30,000 คนมีการประกาศสถาปนาอาณาจักร “ไท่ผิงเทียนกั๋ว” ขึ้น โดยหงซิ่วเฉวียนตั้งตนเป็น “เทียนหวัง” หรือกษัตริย์สวรรค์ขึ้น จากนั้นก็แต่งตั้งหยางซิ่วชิง เป็นตงหวัง หรือเจ้าบูรพา แต่งตั้งเซียวเฉากุ้ยเป็นซีหวาง หรือเจ้าประจิม ตั้งเฝิงหยุนซันเป็นหนันหวัง หรือเจ้าทักษิณ เหวยชังฮุยเป็นเป็นหวังเจ้าอุดร และสือต๋าไคเป็น อี้หวังหรือเจ้าปีกทัพ เริ่มต้นกระบวนการปฏิบัติที่ยาวนานถึง 14 ปี
หลังจากนั้นกองทัพก็เริ่มต่อสู้กับกองกำลังราชวงศ์ชิง โดยบุกขึ้นเหนือไปยังกุ้ยหลิน ล้อมฉางซา ยึดอี้ว์โจว และเอาชนะที่อู่ชังได้ทำให้ได้เรือมานับหมื่นลำ ได้อาวุธ และปืนใหญ่เป็นจำนวนมาก มีการตั้งกองทัพเรือขึ้น กระทั่งสามารถบุกหนันจิง (นานกิง) ในเดือนมี.ค. ปีค.ศ. 1853 นี้ไท่ผิงเทียนกั๋วมีสมาชิกราว 500,000 คน
หลังจากยึดนานกิง ก็ได้อาศัยเปลี่ยนชื่อเป็นเทียนจิง และใช้เป็นเมืองหลวงของอาณาจักร และส่งกองทัพสองสายบุกขึ้นเหนือและตะวันตก โดยทางเหนือบุกยึดไปถึงเทียนจิน ส่วนสายตะวันตกก็บุกไปตามแม่น้ำฉางเจียงสู่อู่ชาง ฮั่นหยาง และฮั่นโข่ว ในช่วงระยะเวลา 3 ปี ซึ่งส่วนใหญ่จะประสบชัย ได้เข้ายึดครองดินแดนด้านตะวันออกของมณฑลหูเป่ย เจียงซี และอันฮุย ซึ่งถือเป็นช่วงรุ่งโรจน์ที่สุดของอาณาจักร
ประชาชนในอาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋วมีเป็นหลักล้าน ได้จัดตั้งสกุลเงินของตนเองขึ้นมาใช้ และได้มีการกำหนดนโยบายในการปกครองสำคัญๆขึ้น เช่นระบบการจัดสรรที่นาเทียนเฉา ที่ให้ที่ดินทั่วประเทศเป็นสาธารณะให้ทุกคนมีสิทธิ์ในการถือครองอย่างเท่าเทียมกัน แล้วมี “ยุ้งฉางกลาง” ที่ให้ผลผลิตเป็นของส่วนกลาง แล้วจัดสรรให้ตามลำดับชั้นฐานะ ส่งเสริมให้ชายหญิงเท่าเทียมกัน ให้ผู้หญิงมีสิทธิ์สอบเข้ารับราชการเป็นขุนนางได้ สั่งห้ามการซื้อขายฝิ่น อนุญาตให้พ่อค้าต่างชาติค้าขายได้อย่างเท่าเทียมกัน อีกทั้งมีการยกเลิกประเพณีต่างๆเช่นการมัดเท้าสตรี ให้รื้อทำลายศาลเจ้า ห้ามบูชากราบไหว้ ยกเลิกการแต่งงานด้วยการซื้อขาย และห้ามการซื้อทาสเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ากบฏไท่ผิงเทียนกั๋วจะสามารถสร้างอาณาจักรของตนขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ แต่สุดท้ายจากการที่ผู้นำกบฏเกิดขัดแย้งกันเอง โดยหยางซิ่วซิงได้แยกตัวออกไป จากนั้นหงซิ่วเฉวียนได้ให้เหวยชังฮุยไปสังหารหยางซิ่วซิง แต่สุดท้ายเหวยชังฮุยก็ถูกหงซิ่วเฉวียนสังหาร ในขณะที่สือต๋าไคก็ต้องพาทหารตนเองหลบหนีไป กระทั่งกองทัพเริ่มอ่อนแอลง กอปรกับราชสำนักชิงในตอนนั้น ได้ร้องขอให้กองทัพอังกฤษซึ่งมีอาวุธอันทันสมัยมาร่วมมือกับทหารในกองทัพไฮว๋ของหลี่หงจาง และกองทัพหูหนันของจางกั๋วฟาน จนกองกำลังของไท่ผิงเทียนกั๋วสูญเสียที่มั่นไปเรื่อยๆ กระทั่งปลายปีค.ศ. 1863 ในรัชกาลถงจื้อปีที่ 2 ทหารชิงก็สามารถล้อมเมืองเทียนจิง (นานกิง) ทว่าหงซิ่วเฉวียนไม่ยอมทิ้งเมืองหลวงไปตั้งหลักในที่ใหม่ จนกระทั่งหงซิ่วฉวนซึ่งเจ็บป่วยอยู่ได้สั่งให้ประชาชนกินหญ้าแทนข้าว โดยตนเองได้เริ่มต้นกินก่อน จนทำให้อาการป่วยทรุดหนักลง ประกอบกับไม่มียารักษาจึงทำให้เสียชีวิตลง ซึ่งบางตำราก็ระบุว่าหงซิ่วเฉวียนได้ฆ่าตัวตาย แต่แม้กระนั้นทหารไท่ผิงนับแสนคนในเทียนจิง ก็ยังคงสู้โดยไม่ยอมแพ้ จนกระทั่งสุดท้ายกว่าทหารชิงจะสามารถเอาชนะได้ อาณาจักรไท่ผิงเทียนกั๋วก็จบลงด้วยทะเลเลือด
โอ้โฮ!!! ความรู้เพียบเลย และขอบคุณที่แวะไปเยีิ่ยมที่Blog นะค่ะ
ตอบลบอยากอ่านประวัติเกาหลีบ้าง