5/08/2552

หมื่นลี้ไร้เมฆ:หญิงสาวผู้ตามรอย 'ซำจั๋ง'

ภาพวาด ''พระเสวียนจั้ง'' บนฝาผนังที่มณฑลซานซี ซึ่งวาดขึ้นในยุคปลายหยวนต้นหมิง ก่อนที่ อู๋เฉิงเอิน (吴承恩) จะแต่งไซอิ๋วสำเร็จร่วมร้อยปี

หนุมานของอินเดีย กับ เห้งเจียอยู่ด้านขวา


ทุกคนคงจะชื่นชมเรื่อง “ ไซอิ๋ว” เทพแห่งนิยายชาวบ้านอันลือลั่นของชาวจีนที่กล่าวถึงการผจญภัยของภิกษุจีนรูปหนึ่งพร้อมด้วยศิษย์อีก ๓ คน ผู้ร่วมเดินทางไปอัญเชิญพระไตรปิฎกจากชมพูทวีป ผ่านดินแดนอันตรายเต็มไปด้วยภูตผีปิศาจ แต่ละด่านผ่านไปด้วยความสามารถของเห้งเจียเทพวานรผู้รู้มากไปด้วยอิทธิฤทธิ์ ร่วมด้วยช่วยกันคือตือโป้ยก่ายปิศาจหน้าสุกรที่กลับใจ และซัวเจ๋ง อสูรอัปลักษณ์ ที่คอยคุ้มครองปกป้องพระอาจารย์เพียงคนเดียวคือ “ พระถังซำจั๋ง”
พระถังซำจังรูปนี้ไม่ได้เป็นเพียงแต่ตัวละครในนิทานเท่านั้น หากเเต่มีตัวตนจริงอยู่ในโลกนี้ด้วย พระถังซำจั๋งมีฉายาทางพระว่า “ เฮียนจาง” เป็นพระภิกษุจีนรูปหนึ่งในสมัยราชวงศ์ของฮ้องเต้ถังไท่จง คำว่า “ ซำจั๋ง” แปลว่าพระไตรปิฏก ถ้าเรียกให้ถูกต้องควรเป็น “ ถังซำจั๋งฮวบซือ” ซึ่งฮวบซือนี้แปลว่าธรรมาจารย์ รวมแปลได้ว่า “ พระธรรมาจารย์ผู้แปลพระไตรปิฏกในราชวงศ์ถัง”



เดิม พระถังซำจั๋งชื่ออี๋ กำเนิดในสกุลตั้น แต่เยาว์ท่านมีความเฉลียวฉลาด และคุณสมบัติที่ประเสริฐผิดกับเด็กรุ่นราวคราวเดียวกัน คือ เมื่ออายุได้ ๘ ปี โยมบิดาได้นั่งสอน “ คัมภีร์กตัญญู” ถึงตอนที่ลูกศิษย์ลุกขึ้นจากที่นั่งเพื่อแสดงความเคารพต่ออาจารย์ ท่านก็ลุกขึ้นยืนแสดงความเคารพทันที ยังความสงสัยใหห้กับโยมบิดายิ่งนัก ถึงถามว่าเหตุใดจึงต้องทำเช่นนั้น ท่านก็ตอบว่าเมื่อศิษย์ต้องลุกขึ้นเคารพครู ผู้เป็นบุตรก็ต้องยืนเคารพ บิดามีมารดาปลาบปลื้มเป็นอย่างมาก


พออายุได้ ๑๐ ขวบ พี่ชายคนที่ ๒ ของท่านที่บวชเป็นพระที่วัดจิ้งสือเห็นว่าท่านมีบุคลิกใฝ่ธรรมะและปัญญาดี พอที่จะบวชเป็นพระได้ จึงชวนพาไปพักอยู่ในวัดด้วยกัน เด็กน้อยได้รับฟังธรรมเทศนาอันศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอจนซึมซาบเข้าไปในดวงใจอันบริสุทธิ์อย่างแนบแน่น เจ้าหนูอี๋ชอบศึกษาพุทธธรรมยินดีรับฟังธรรมะจากพระชั้นผู้ใหญ่เรื่อยมา ท่านไม่นิยมคบค้ากับเด็กรุ่นเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าพวกเด็กเหล่านั้น ชอบวิ่งเล่นเที่ยวตามย่านตลาด ซึ่งท่านให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระเป็นมารยาทที่นักปราชญ์โบราณไม่ทำกัน


พออายุได้ ๑๐ ขวบ พี่ชายคนที่ ๒ ของท่านที่บวชเป็นพระที่วัดจิ้งสือเห็นว่าท่านมีบุคลิกใฝ่ธรรมะและปัญญาดี พอที่จะบวชเป็นพระได้ จึงชวนพาไปพักอยู่ในวัดด้วยกัน เด็กน้อยได้รับฟังธรรมเทศนาอันศักดิ์สิทธิ์อยู่เสมอจนซึมซาบเข้าไปในดวงใจอันบริสุทธิ์อย่างแนบแน่น เจ้าหนูอี๋ชอบศึกษาพุทธธรรมยินดีรับฟังธรรมะจากพระชั้นผู้ใหญ่เรื่อยมา ท่านไม่นิยมคบค้ากับเด็กรุ่นเดียวกัน เนื่องจากเห็นว่าพวกเด็กเหล่านั้น ชอบวิ่งเล่นเที่ยวตามย่านตลาด ซึ่งท่านให้ความเห็นว่าเป็นเรื่องไร้สาระเป็นมารยาทที่นักปราชญ์โบราณไม่ทำกัน

ในขณะที่ท่านมีอายุเพียง ๑๓ ปีนั้น พอดีมีเจ้าพนักงานของราชวงศ์ถังมาคัดเลือกภิกษุสามเณร ๒๗ รูป เพื่อทำการสอบ (ยุคราชวงศ์ถัง การบวชเป็นพระภิกษุจะต้องมีพระราชโองการอนุญาตให้บวช และผู้บวชจะต้องสอบได้จึงจะได้บวช) แต่ท่านมีอายุน้อยอยู่สมัครสอบไม่ได้ ได้แต่ยืนเฝ้าอยู่ที่หน้าประตูไม่ยอมจากไป ครั้นหัวหน้าคุมสอบเห็นเข้าจึงเดินเข้าไปสอบถาม ก็ได้ความว่าท่านตั้งใจจะบวช แต่อายุยังไม่ครบสมัครสอบไม่ได้ เมื่อถามว่าจะบวชไปทำไม เด็กน้อยตอบไปด้วยความมั่นใจคงว่า บวชเพื่อสืบอายุพระพุทธศาสนาเผยแพร่พระธรรมให้เจริญรุ่งเรือง หัวหน้าคุมการสอบจึงอนุญาตให้ท่านบวชเป็นกรณีพิเศษ เมื่ออายุได้ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ก็ได้อุปสมบทที่เมืองเสฉวน และมีฉายาว่า “ เฮียนจาง”


เป็นเวลาเกือบสิบปี ที่พระเฮียนจางได้ศึกษาและสนทนาธรรมกับอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงต่าง ๆ หลายคน ก็พบว่าพระเหล่านั้นต่างก็ยึดมั่นความถูกต้องในลัทธิของตน หลัวงจากตรวจสอบกับคัมภีร์แล้วก็ปรากฏว่ามีความแตกต่างกันอีก จนไม่อาจทราบว่าฝ่ายใดถูกกันแน่ ท่านจึงตัดสินใจเดินทางไปศึกษายังถิ่นกำเนิดพุทธศาสนาในอินเดีย พร้อมทั้งอัญเชิญคัมภีร์สัปตทศภูมิศาสตร์มาเป็นหลักฐาน

พระเฮียนจางจึงได้ชักชวนพระภิกษุทำเรื่องขอพระบรมราชานุญาตจากฮ้องเต้ถังไท่จงเพื่อเดินทางไปอินเดีย แต่มีรับสั่งไม่อนุญาต


ขณะนั้นเป็นต้นราชวงศ์ถัง ชนเผ่าทูเจี๋ยรุกรานชายแดนอยู่เสมอราชสำนักจึงห้ามประชาชนออกนอกประเทศเป็นการส่วนตัว แต่ในปี พ. ศ. ๑๑๗๐ เดือนที่ ๘ ท่านตัดสินใจเด็ดขาดที่จะออกเดินทางไปโดยที่ไม่ได้รับอนุญาต และตั้งจิตอธิษฐานขอนิมิตในการเดินทาง ในคืนนั้นก็ฝันว่า มีเขาพระสุเมรุที่งดงามอยู่ท่ามกลางมหาสมุทรที่ปั่นป่วน ใจคิดที่จะไปให้ถึงยอดเขาก้าวเท้าเดิน

ทันใดนั้นก็มีดอกบัวหินโผล่ขึ้นมารองรับทุกย่างเท้า เมื่อถึงเชิงเขาก็มีลมพัดมาหอบเอาตัวลอยขึ้นไปถึงยอดเขา แล้วก็รู้สึกตัวตื่นขึ้น ท่านจึงแน่ใจว่าในการไปครั้งนี้ต้องสำเร็จแน่นอน จึงเริ่มออกเดินทางเมื่ออายุ ๒๖ ปี

หลี่ไต่เหลี่ยงเจ้าเมืองเหลี่ยงโจวพอทราบว่าหลวงจีนเฮียนจางจะเดินทางไปอินดีย ก็ส่งคนขัดขวางและบังคับให้กลับเมืองฉางอาน พระฮุ่ยอุยที่อยู่ในเมืองนั้นทราบเรื่องว่าท่านจะไปอินเดียเพื่ออาราธนาธรรม

จึงลอบจัดให่ศิษย์ของตนลอบพาพระเฮียนจางไปส่งถึงเมืองกายจิวในเวลากลางคืน เจ้าเมืองกายจิวนับถือพุทธศาสนา รู้สึกเลื่อใสในปณิธานอันแรงกล้าของท่านจึงช่วยเหลือทันที พร้อมทั้งทำลายหมายจับตัวท่านอีกด้วย และบอกให้พระหนุ่มผู้นี้รีบออกเดินทางทันที

ในระหว่างทาง พระเฮียนจางได้พบกับชาวฮู้ ชื่อว่าผานถัว มีความศรัทธาในตัวท่านมาก รับอาสาจะพาไปส่งที่อินเดีย แต่อนิจจา ! ตลอดเส้นทางที่ผ่านมาทั้ง ๒ คนประสบกับความทุรกันดาร สือผานถัวทนความลำบากไม่ไหว อีกทั้งกลัวทางการจะจับได้ จึงได้เปลี่ยนใจกลับบ้านกะทันหัน พร้อมทั้งกำซับว่าถ้าท่านอาจารย์ถูกจับได้อย่าบอกว่าเขาเป็นผู้นำทางมา ซึ่งท่านก็รับปาก

และแล้วพระเฮียนจางก็เดินทางไปชมพูทวีปเพียงคนเดียว รอนแรมผ่านทะเลทรายไปตามลำพัง ไม่มีหญ้าน้ำ ไม่มีทางเดิน อาศัยกองกระดูกและมูลม้าเป็นแนวซึ่งแสดงว่าเป็นทางเดินที่เคยมีคนสัญจร ท่านอยู่มนทะเลทรายตลอด ๔ คืน ๕ วัน โดยไม่มีน้ำฉันสักหยดเดียว จนเป็นลมสลบไปหลายครั้ง ในที่สุดก็เดินทางถึงแคว้นอีอู๊



เจ้าเมืองซีเหวินไท่แคว้นเกาเชียงที่อยู่ใกล้กับแคว้นอีอู๊ทราบข่าวจึงส่งทูตมารับพระเฮียนจางไปพำนักยังแคว้นตน พร้อมนิมนต์ให้อยู่ที่นั้นตลอดไปแต่ท่านไม่ยอม เจ้าแคว้นเกาเชียงจึงรับสั่งว่าจะอยู่ที่เกาเชียงหรือจะถูกส่งตัวกลับไปยังประเทศจีน ท่านประท่วงด้วยการอดอาหารอยู่ถึง ๔ วัน เพื่อแสดงถึงความตั้งใจเดิม จนเจ้าซีเหวินไปกราบขอโทษและยอมให้ท่านเดินทางต่อ

พระเฮียนจางเดินทางผจญภัยฝ่าฟันอุปสรรคนานัปการเช่น ข้ามยอดเขาสูงนับไม่ถ้วน ข้ามภูเขาหิมาลัยที่มีหิมะปกคลุมทั้งปี ล่องข้ามทะเลสาบต่าง ๆ ฝ่านแคว้นต่าง ๆ สิบกว่าแคว้นรวมทั้งภัยจากการปล้นสะดมของกลุ่มโจรกลางทาง และลัทธิความเชื่อของคนพื้นเมืองเดิมที่ไม่นับถือศาสนาพุทธที่คอยต่อต้านท่าน แต่เนื่องด้วยบุคลิกภาพอันน่าศรัทธาเลื่อมใสของท่านทำให้พวกนั้นยอมทิ้งจารีตเก่าแก่หันมานับถือศาสนาพุทธกันเป็นส่วนใหญ่

เรื่องราวระหว่างเดินทางไปอินเดียนี่เองเป็นที่มาของเรื่องไซอิ๋วในสมัยหลัง

ในที่สุดท่านก็ถึงอินเดียเมื่อฤดูร้อนปี พ. ศ. ๑๑๗๓ ท่านได้ไปเยี่ยมชมสถารที่สำคัญที่เดี่ยวข้องกับพุทธองค์ทั้ง ๖ แห่ง รวมทั้งได้ไปนมัสการสถูปเจดีย์ที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สร้างในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช พระเฮียนจางได้ศึกษาธรรมกับพระอาจารย์ศีลภัทรเถระแห่งมหาวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ซึ่งขณะนั้นมีภิกษุสามเณรมาร่วมศึกษาถึงนับพับรูปเลยทีเดียว


ทันทีที่พระอาจารย์ศีลภัทรพบท่านครั้งแรก ถามว่ามาจากไหน ท่านตอบว่ามาจากประเทศจีนเพื่อขอเรียนโยคาจารภูมิศาสตร์ พระอาจารย์ศีลภัทรสั่งนิมนต์ให้พระพุทธภัทรที่มีอายุกว่า ๗๐ พรรษาทั้งเล่าเรื่องความฝันเมื่อหลายปีก่อนให้ฟังว่า ได้ฝันเห็นเทพเจ้า ๓ องค์ คือพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ พระเมตไตรยโพธิสัตว์ พระมัญชูศรีโพธิสัตว์ ได้เข้ามาปลอบโยนถึงโรคลมที่พระพุทธภัทรเป็นอยู่เพราะผลกรรมแต่ก่อนเก่า ให้อดทนต่อความทุกข์ด้วยขันติ และจงหมั่นเผยแพร่พระธรรมบทนี้ นับจากนี้ไปอีก ๓ ปี ถ้าหากมีภิกษุจากเมืองจีนมาศักษากับท่านโปรดช่วยสั่งสอนให้ด้วย ทุกคนที่ฟังอยู่ในที่นั้นต่างก็รู้สึกอัศจารรย์ใจยิ่งนักซึ่งเวลา ๓ ปีที่ผ่านมานั้น ก็ตรงกับช่วงที่พระเฮียนจางกำลังเดินทางมาอินเดียพอดี


พระถังซำจั๋งศึกษาอยู่ที่นาลันทาเป็นเวลา ๕ ปี นอกจากจะเข้าใจในข้อธรรมะอย่างลึกซึ้งแล้ว ท่านยังเข้าใจภาษาสันสกฏตดีอีกด้วย ในปี พ.ศ. ๑๑๘๕ พระเจ้าศีลาทิตย์ศรีหรรษวรรธนะแห่งแคว้นกันยากุพชะได้จัดงานชุมนุมพุทธศาสนา มีผู้ร่วมงานประกอบด้วยเจ้าเมืองจากแคว้นต่าง ๆ ถึง ๑๘ แคว้น ภิกษุสามเณรประมาณสามพันรูป พราหมณ์ เดียรถีร์ และนิครนถ์ประมาณสองพัน ทางสำนักสงฆ์นาลันทาได้ส่งภิกษุไปร่วมงานพันกว่ารูป รวมผู้คนทั้งหมดหว่าห้าหมื่น

ในครั้งนั้นพระเฮียนจางได้เป็นตัวแทนฝ่ายเถรวาท จากนั้น ท่านก็ได้แสดงธรรมตามมหายานสมปริตรศาสตร์เป็นภาษาสันสกฤตยาว ๑ ,๖๐๐ โศลกประกาศเชิญชวนให้คนมาโต้แย้งแต่ ๑๘ วันล่วงไปก็ไม่มีใครกล้ามาคัดค้าน ชื่อเสียงของท่านจึงขจรขจายไปทั้วทั้งชมพูทวีป

ในระหว่างที่พำนักอยู่ในอารามนาลันทากลายเป็นที่รกร้าง มีแต่กระบือผูกไว้ และภายนอกอารามเกิดเพลิงลุกไหม้ แล้วเห็นพระโพธิสัตว์องค์หนึ่งกล่าวกับท่านว่า ท่านจงรีบกลับเมืองจีนเถิด อีก ๑๐ ปี พระเจ้าศีลาทิตย์จะสิ้นพระชนม์ ในอินเดียจะเกิดจลาจล ( ซึ่งเรื่องนี้ต่อมาก็เป็นความจริง หลังจากพระถังซำจั๋งกลับเมืองจีน ชาวมุสลิมก็บุกเข้าทำลายวิทยาลัยสงฆ์นาลันทา ชาวเมืองก็เกิดยุคเข็ญตามคำพญากรณ์ )




พ.ศ. ๑๑๘๖ หลวงจีนเฮียนจางตัดสินใจกลับจีน พระเจ้าศีลาทิตย์ศรีหรรษวรรธนะพยายามทัดทาน แต่ไม่เป็นผล พระองค์รับปากว่าจะสร้างวัดถวายให้ท่านร้อยแห่ง แต่ท่านอาจารย์ยังยืนยันที่จะนำพระธรรมกลับไปเผยแพร่ในจีนตามความตั้งใจเดิม พระเจ้าศีลาทิตย์จึงได้จัดผู้คนพร้อมทั้งช้างม้าลาล่อขนคัมภีร์และพระพุทธรูปของมีค่ามากมายส่งพระเฮียนจางกลับดินแดนมังกร



ท่านได้ใช้เวลาเดินทางกลับกว่าจะถึงเมืองจีนก็กินเวลาเดินทางประมาณ ๑ ปี ต้องข้ามแม่น้ำสินธุ พอมาถึงกลางแม่น้ำเกิดคลื่นลมปั่นป่วนเรื่อจวนล่มหลายครั้ง คัมภีร์รวมเมล็ดพันธุ์ดอกไม้ของอินเดียตกลงในน้ำไปเป็นจำนวนมาก ต้องปีนป่ายข้ามเทือกเขาหิมาลัยทำให้ผู้ร่วมเดินทางต้องเสียชีวิตไปหลายคน มีอยู่คราวหนึ่งคณะของท่านต้องข้ามหุบเขาที่สูงชันมาก วันที่ออกเดินทางเกิดพายุหิมะอย่างหนัก แต่ก็เอาตัวรอดมาได้

เมื่อพระถังซำจั๋งเดินทางเข้าถึงแคว้นเกาเซียง ได้ส่งสาส์นเข้าไปถวายจักรพรรดิถังไท่จง ท่านบรรยายถึงความหลังที่ได้ไปอาราธนาพระธรรมวินัยอินเดียเป็นเวลา ๑๘ ปี และได้กลับมาถึงแล้ว ทางราชสำนักต้อนรับท่านอย่างสมเกียรติ ข่าวการกลับมาของท่านชาวบ้านได้ตั้งแท่นบูชาอาจารย์เต็ม ๒ ฟากถนน จำนวนผู้คนที่แห่แหนมาชมบารมีของท่านไม่สามารถเดินทางต่อไปได้ จำเป็นต้องพักนอกเมืองหลวงอีกคืน ฮ้องเต้ไท่จงทรงนิมนต์ให้ท่านลาสิกขาออกมารับราชการถึง ๒ ครั้ง แต่พระถังซำจั๋งปฏิเสธทุกครั้งไป ทำให้พระองค์ศรัทธามาก จึงนิมนต์ให้ท่านจำพรรษา ณ พระอารามหลวง พระเจ้าถังไท่จงได้ทรงขอให้อาจารย์เขียนเรื่องราวของแคว้นต่าง ๆ ภาคตะวันตกของจีน ซึ่งอาจารย์ได้เดินทางไป บันทึกนี้มีชื่อว่า “ ซีฮว่อจี้ ” เป็นหนังสือเพียงเล่มเดียวที่บรรยายถึงเรื่องราวประเทศเดียวที่บรรยายถึงเรื่องราวประเทศอินเดียในยุคนั้นอย่างละเอียดถี่ถ้วน

ท่านอาจารย์ได้เป็นหัวหน้าในการแปลพระไตรปิฏกจากภาษาสันสกฤตเป็นภาษาจีน ใช้เวลากว่า ๑๙ ปีงานจึงเสร็จสิ้น กษัตริย์ถังไท่จงเมตตาทรงพระราชนิพนธ์บทนำประทานให้พิมพ์ในพระคัมภีร์ที่ท่านอาจารย์แปลทุกเรื่องไป

สำหรับพระพุทธรูปและพระคัมภีร์ที่อัญเชิญมาจากอินเดีย พระถังซำจั๋งได้ขอพระราชานุญาตสร้างสถูปไว้ในวัดไต่ซื่อเองยี่ เพื่อเป็นที่เก็บรักษาให้ปรอดภัย ในการก่อสร้างเล่ากันว่า ท่านอาจารย์ได้หาบขนอิญด้วยตัวเองด้วย สถูปนี้สร้างขึ้นตามแบบของดินเดีย



พระถังซำจั๋งมรณภาพเมื่ออายุได้ ๖๕ พรรษาในปี พ.ศ.๑๒๐๗ มีจักรพรรดิถังเกาจงราชโอรสที่ขึ้นครองราชย์ต่อจากฮ้องเต้ถังไท่จง เสด็จไปร่วมงานศพด้วยองค์เอง พระองค์ทรงทราบข่าวนี้ด้วยความเศร้าสลดพระหทัยเป็นอันมาก ทรงงดเสด็จออกขุนนางเป็นเวลาหลายวัน และโปรด ฯให้จัดการศพโดยใช้จ่ายของหลวงทั้งสิ้น เล่ากันว่ามีผู้มาช่วยบรรจุศพท่านในครั้งนั้นกว่าล้านคน

แต่ศพของท่านหุ้มห่อด้วยเสื่อไม้ไผ่ธรรมดาตามที่ท่านได้สั่งเสียไว้ อัฐิของท่านได้ถูกเคลื่อนย้ายไปฝังตามสถสานต่าง ๆ หลายครั้ง เมื่อจีนเปลี่ยนราชวงศ์ จนไม่สามารถค้นพบได้ จนกระทั้งใน พ.ศ. ๒๔๘๕ ทัพญี่ปุ่นเข้ายึดนครนานกิง และขณะที่ขุดดินเพื่อตั้งฐานปืนใหญ่ ได้พบกล่องหินมีจาลึกอักษรอยู่ และปรากฏว่าเป็นอัฐิของพระอาจารย์รวม ๑๗ ชิ้น กองทัพญี่ปุ่นจึงได้นำไปประดิษฐานที่วัดขื่อเองซึ่งห่างจากกรุงโตเกียวไป ๕๐ ไมล์ อีก ๑๓ ปีต่อมาทางประเทศญี่ปุ่นได้ส่งคืนอัฐิทั้งหมดให้แก่จีนโดยทำพิธีมองอย่างเป็นทางการในปี ๒๕๐๙ ทางรัฐบาลจีนได้สร้างวัดเฮียนจางตามศีลปะราชวงศ์ถังสูง ๗ ชั้น เพื่อเป็นที่บรรจุอัฐิธาตุของท่าน ให้เหมาะสมกับคุณูปการที่ท่านอุตสาห์ด้นดั้นไปอัญเชิญคัมภีร์พระไตรปิฎกจากอินเดียที่ใช้เวลาเดินทางยาวนาน ๑๘ ปี
นับว่าท่านเป็นปูชนียบุคคลที่หาได้ยากยิ่ง พระถังซำจั๋ง ผู้เพียรแสวงธรรมจากแดนไกล

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น