5/02/2552

ยุค 16 แคว้นห้าชนเผ่า (คริสตศักราช 304-439)


'แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน'

ภาพเขียนสีจากถ้ำผาพันพระที่ตุนหวง เป็นหนึ่งในมรดกโลกด้านวัฒนธรรม เริ่มสร้างราวค.ศ. 366
การล่มสลายของราชวงศ์จิ้นตะวันตก ทำให้แผ่นดินจีนตกอยู่ในภาวะแตกเป็นเสี่ยง ๆ ราชสำนักจิ้นย้ายฐานที่มั่นทางการปกครองและเมืองหลวงลงไปทางใต้ สถาปนาราชวงศ์จิ้นตะวันออก (ค.ศ.317-420) ขณะที่สถานการณ์ทางตอนเหนือวุ่นวายหนัก แผ่นดินที่แตกออกเป็นแว่นแคว้น ที่ปกครองโดยชนกลุ่มน้อยจากชนเผ่าต่างๆ ผลัดกันรุกรับ ผ่านการล้มล้างแล้วก่อตั้งครั้งแล้วครั้งเล่า สู่การหลอมรวมทางชนชาติครั้งใหญ่ของจีน สำหรับห้าชนเผ่าในที่นี้ได้แก่ ซงหนู(匈奴)เซียนเปย(鲜卑) เจี๋ย (羯)ตี(氐)เชียง(羌) 16 แคว้น และเมื่อรวมกับแว่นแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่นแล้ว ได้แก่


แคว้นชนเผ่าระยะเวลา
1.เฉิงฮั่น(成汉)ตีค.ศ. 304 – 347
2.ฮั่นเจ้า(汉赵)ซงหนูค.ศ. 304 – 329
3.เฉียนเหลียง(前凉)ฮั่นค.ศ. 317 – 376
4.สือเจ้า(石赵)เจี๋ยค.ศ. 319 – 351
5.เฉียนเอี้ยน(前燕)เซียนเปยค.ศ. 337 – 370
6.หรั่นวุ่ย(冉魏)ฮั่นค.ศ. 350 – 352
7.เฉียนฉิน(前秦)ตีค.ศ. 350 – 394
8.โฮ่วฉิน(后秦)เชียงค.ศ. 384 – 417
9.โฮ่วเอี้ยน(后燕)เซียนเปยค.ศ. 384 – 407
10.ซีเอี้ยน(西燕)เซียนเปยค.ศ. 384 – 394
11.ซีฉิน(西秦)เซียนเปยค.ศ. 385 – 431
12.โฮ่วเหลียง(后凉)ตีค.ศ. 386 – 403
13.หนันเหลียง(南凉)เซียนเปยค.ศ. 397 – 414
14.หนันเอี้ยน(南燕)เซียนเปยค.ศ. 398 – 410
15.ซีเหลียง(西凉)ฮั่นค.ศ. 400 – 421
16.ซีสู(西蜀)ฮั่นค.ศ. 405 – 413
17.เซี่ย(夏)ซงหนูค.ศ. 407 – 431
18.เป่ยเอี้ยน(北燕)ฮั่น+เฉาเสี่ยน(เกาหลี)ค.ศ. 407 – 436
19.เป่ยเหลียง(北凉)ซงหนูค.ศ. 401 – 439
20.ไต้(代)เซียนเปยค.ศ. 315 – 376


อนึ่ง การแบ่งแคว้นในที่นี้ นักประวัติศาสตร์จีนมีการนับที่แตกต่างกันบ้างเล็กน้อย บ้างไม่รวมแคว้นที่สถาปนาโดยชาวฮั่น บ้างไม่นับแคว้นไต้ซึ่งภายหลังเป็นราชวงศ์วุ่ยเหนือ


ภาพเขียนสีจากถ้ำผาพันพระที่ตุนหวง เป็นหนึ่งในมรดกโลกด้านวัฒนธรรม เริ่มสร้างราวค.ศ. 366


ความวุ่นวายในประวัติศาสตร์ยุคนี้ ถือเป็นช่วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อที่สำคัญยิ่งต่อการรวมแผ่นดินจีนในอนาคต เนื่องจากจลาจลและการสู้รบอันยาวนานนี้ได้ทำให้เกิดการหลอมรวมทางวัฒนธรรมระหว่างชนเผ่าต่างๆ ในประเทศจีน ซึ่งส่งผลต่อการวางรากฐานอาณาจักรทางตอนเหนือของจีนในเวลาต่อมา ยุคต้น -- สถาปนาชนเผ่า ในบรรดาชนเผ่าทั้ง 5 ผู้ที่เริ่มตั้งตนเป็นอิสระก่อนได้แก่หลี่เท่อ(李特)จากชนเผ่าตี(氐)หลังจากจิ้นอู่ตี้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกสิ้นชีพลง บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างพากันแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวาย ปีค.ศ. 298 เกิดทุพภิกขภัยแห้งแล้งหนัก ชาวบ้านที่อดอยากจากแถบมณฑลกันซู่และส่านซี ต่างพากันหลบหนีลงใต้ จนถึงเขตมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มตระกูลหลี่ได้กลายเป็นผู้นำของกลุ่มอพยพนี้ ขณะที่ขุนนางท้องถิ่นพยายามบีบให้ขบวนผู้อพยพกลับไปทางเหนือ แต่เนื่องจากทางตอนเหนือเกิดจลาจลแปดอ๋องขึ้น อีกทั้งกลุ่มอพยพได้เห็นแล้วว่าเสฉวนอุดมสมบูรณ์กว่ามาก ดังนั้น หลี่เท่อจึงนำกลุ่มคนลุกฮือขึ้นก่อการและบุกเข้ายึดเมืองเฉิงตูไว้ได้ในปีค.ศ. 303 สถาปนาแคว้นเฉิงฮั่น(成汉)จากนั้นขยับขยายอำนาจสู่เมืองรอบข้าง และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาแว่นแคว้นต่าง ๆของห้าชนเผ่า


การคล้องม้าป่าเป็นกิจกรรมที่มีมาแต่โบราณของชนเผ่าในทุ่งหญ้า
ยุคต้น -- สถาปนาชนเผ่า ในบรรดาชนเผ่าทั้ง 5 ผู้ที่เริ่มตั้งตนเป็นอิสระก่อนได้แก่หลี่เท่อ(李特)จากชนเผ่าตี(氐)หลังจากจิ้นอู่ตี้แห่งราชวงศ์จิ้นตะวันตกสิ้นชีพลง บรรดาเชื้อพระวงศ์ต่างพากันแย่งชิงอำนาจกันวุ่นวาย ปีค.ศ. 298 เกิดทุพภิกขภัยแห้งแล้งหนัก ชาวบ้านที่อดอยากจากแถบมณฑลกันซู่และส่านซี ต่างพากันหลบหนีลงใต้ จนถึงเขตมณฑลเสฉวนในปัจจุบัน ซึ่งกลุ่มตระกูลหลี่ได้กลายเป็นผู้นำของกลุ่มอพยพนี้ ขณะที่ขุนนางท้องถิ่นพยายามบีบให้ขบวนผู้อพยพกลับไปทางเหนือ แต่เนื่องจากทางตอนเหนือเกิดจลาจลแปดอ๋องขึ้น อีกทั้งกลุ่มอพยพได้เห็นแล้วว่าเสฉวนอุดมสมบูรณ์กว่ามาก ดังนั้น หลี่เท่อจึงนำกลุ่มคนลุกฮือขึ้นก่อการและบุกเข้ายึดเมืองเฉิงตูไว้ได้ในปีค.ศ. 303 สถาปนาแคว้นเฉิงฮั่น(成汉)จากนั้นขยับขยายอำนาจสู่เมืองรอบข้าง และนี่เป็นจุดเริ่มต้นของการสถาปนาแว่นแคว้นต่าง ๆของห้าชนเผ่า


'กีฬาแข่งอูฐ
หลังจากตระกูลหลี่ลุกฮือขึ้นก่อการได้ครึ่งปี หลิวหยวน(刘渊)ที่มาจากกลุ่มตระกูลชั้นสูงของชนเผ่าซงหนู(匈奴)ซึ่งเคยเป็นข้าราชสำนักของจิ้นตะวันตกนั้น หลังจากจิ้นอู่ตี้สวรรคต เกิดจลาจลแปดอ๋อง หลิวหยวนก็รวบรวมกำลังคน ก่อตั้งแคว้นฮั่น(汉)ขึ้นในปี 304 สถาปนานครหลวงที่เมืองผิงหยาง(平阳)(ปัจจุบันอยู่ในมณฑลซันซี) หลังจากหลิวหยวนสิ้น บุตรชายหลิวชง(刘聪)สืบทอดตำแหน่งต่อมาใน ปี 311 และ 316 หลิวชงยกทัพบุกเมืองลั่วหยางและฉางอันตามลำดับ โค่นราชบัลลังก์จิ้นตะวันตกที่เป็นศูนย์กลางอำนาจของแผ่นดินในขณะนั้นลง ย้ายนครหลวงไปที่เมืองลั่วหยาง รวบอำนาจทางตอนเหนือกว่าครึ่งไว้ในกำมือ ฝ่ายราชสำนักจิ้นถอยร่นลงมาทางใต้ สถาปนาจิ้นตะวันออก(317-420) ตั้งนครหลวงขึ้นใหม่ ที่เมืองเจี้ยนคัง(เมืองหนันจิง) โดยมีพื้นที่การปกครองเพียงเขตตะวันออกเฉียงใต้ของจีนในปัจจุบัน ท่ามกลางความปั่นป่วนวุ่นวายนี้ มีราษฎรจากภาคกลางจำนวนมากพากันอพยพไปตั้งถิ่นฐานยังภาคตะวันตก (มณฑลกันซู่และซินเกียงในปัจจุบัน) ซึ่งดินแดนแห่งนี้อยู่ภายใต้การอารักขาของตระกูลจางที่คุมกองกำลังที่เคยอยู่ภายใต้จิ้นตะวันตกอยู่เดิม และต่อมาได้สถาปนาเป็นแคว้นเฉียนเหลียง (前凉)



ภาพเขียนของพระที่ได้รับการสนับสนุนจาก สือเล่อ และสือหู่ ทำให้ศาสนาพุทธได้รับความนับถืออย่างสูงในแคว้นสือเจ้า

หลิวหยวนเดิมมีขุนพลคู่ใจสองคน คนหนึ่งคือ สือเล่อ(石勒)จากชนเผ่าเจี๋ย(羯)และหลิวเย่า(刘曜)ซึ่งเป็นหลานชายของหลิวหยวน หลังจากหลิวชงบุตรชายหลิวหยวนสิ้นชีวิตลง หลิวเย่าก็ช่วงชิงบัลลังก์และเปลี่ยนชื่อแคว้นจากฮั่น(汉)เป็นแคว้นเจ้า(赵)หรือที่นักประวัติศาสตร์เรียกกันว่าฮั่นเจ้า(汉赵)ส่วนสือเล่อก็สถาปนาแคว้นสือเจ้า(石赵)ในพื้นที่บริเวณมณฑลเหอเป่ยในปัจจุบัน แคว้นเจ้าทั้งสองประดุจน้ำกับไฟ ต่างเข้าห้ำหั่นเข่นฆ่าซึ่งกันและกัน จวบจนปี 328 กองทัพของสือเจ้าบุกเข้าเมืองลั่วหยาง สังหารหลิวเย่า แคว้นฮั่นเจ้าจึงจบสิ้นลง สือเล่อยอมรับชาวฮั่นเข้ารับราชการ จัดระเบียบกฎหมาย ตั้งโรงเรียน นำระบบการเก็บภาษีอากรจากราชวงศ์จิ้นตะวันตกมาใช้ ทำให้เป็นที่ยอมรับของชาวฮั่น ถือเป็นอัจฉริยบุคคลที่หาได้ยากแห่งยุค น่าเสียดายที่อายุสั้น หลังจากสือเล่อเสียชีวิตลง สือหู่(石虎)ผู้เป็นหลานชายเข้าสืบทอดตำแหน่ง เปิดฉากฆ่าฟันลูกหลานของสือเล่อ สุดท้ายไม่พ้นกรรมสนอง ลูกหลานล้วนเป็นเผ่าพันธุ์อกตัญญู หลังจากสือหู่ตายไป แคว้นสือเจ้าวุ่นวายหนัก สือหมิ่น(石闵)ชาวฮั่นที่สือหู่ให้การเลี้ยงดู หันกลับมาใช้แซ่ฮั่นของตนตามเดิม เรียกว่า หรั่นหมิ่น (冉闵)เข้าล้มล้างแคว้นสือเจ้า สถาปนาแคว้นหรั่นวุ่ย(冉魏)ในปี 350 ภายใต้คำสั่งของหรั่นหมิ่น ชาวฮั่นที่ถูกกดขี่มานานลุกฮือขึ้นกวาดล้างชนเผ่าเจี๋ย*ที่อยู่ภายในเมืองจนเกือบหมดสิ้น *ชนเผ่าเจี๋ย(羯)เดิมทีมีภูมิลำเนาอยู่ทางซีอี้ว์หรือภาคตะวันตกของจีน มีความแตกต่างจากชนเผ่าอื่น ๆในบรรดาห้าชนเผ่า เนื่องจากชนเผ่าซงหนู (匈奴)ตี (氐)เชียง (羌)เซียนเปย(鲜卑) ล้วนเป็นชาวผิวเหลือง แต่ชาวเจี๋ยกลับมีจมูกโด่งเป็นสัน เบ้าตาลึกคม หนวดเครารกครึ้ม ดังนั้นจึงง่ายต่อการแยกแยะ


เหรียญกษาปณ์ของแคว้นเฉิงฮั่นและเฉียนเหลียง(จากซ้าย)

นอกจากตระกูลหลี่ที่ก่อตั้งแคว้นเฉิงฮั่นแล้ว แว่นแคว้นที่ก่อตั้งโดยชนเผ่าตีอีกแคว้นหนึ่งก็คือแคว้นเฉียนฉิน(前秦)(350-394) ที่ยิ่งใหญ่จนสามารถครองแผ่นดินทางภาคเหนือของจีนเกือบทั้งหมดไว้ได้ชั่วระยะหนึ่ง แคว้นเฉียนฉินนำโดยผูหง(蒲洪) ซึ่งแต่เดิมเข้าร่วมกับหลิวเย่าจากแคว้นฮั่นเจ้า ต่อมา ปีค.ศ. 328 แคว้นฮั่นเจ้าถูกแคว้นสือเจ้ากวาดล้าง ผูหงก็เข้าสวามิภักดิ์กับแคว้นสือเจ้า ซึ่งได้สั่งอพยพชนเผ่าตีและเชียงกว่าแสนครอบครัวเข้าสู่ส่วนกลางการปกครองของตน จากนั้นมา ชนเผ่าตีก็ได้กลายเป็นขุมกำลังทางทหารที่สำคัญของแคว้นสือเจ้า ยุคปลายของแคว้นสือเจ้า บ้านเมืองยุ่งเหยิง ผูหงจึงเปลี่ยนมาใช้แซ่ฝู(苻)เมื่อฝูหงสิ้นชีพไป ฝูเจียน(苻坚)ที่เป็นบุตรชายนำทัพบุกยึดนครฉางอันคืนจากจิ้นตะวันออก* และสถาปนาแคว้นเฉียนฉินในปี 351 *เดิมฉางอันเป็นเมืองหลวงของแคว้นเฉิงฮั่นตั้งแต่ปี 304 จนถึงปี 347 แม่ทัพหวนเวินจากจิ้นตะวันออกยกทัพขึ้นเหนือ ล้มล้างเฉิงฮั่น ยึดเอาดินแดนเสฉวนไป



ในบรรดาแคว้นเอี้ยน(燕)ทั้งห้านั้น ในสี่แคว้นมีเชื้อสายจากชนเผ่าเซียนเปยตระกูลมู่หรง(慕容)ส่วนแคว้นเป่ยเอี้ยนนั้น เป็นแคว้นเอี้ยนเพียงหนึ่งเดียวที่ก่อตั้งขึ้นโดยชาวเกาหลีและชาวฮั่น แต่ก็มีที่มาจากแคว้นเอี้ยนของตระกูลมู่หรงเช่นเดียวกัน

ฝูเจียน ผู้นำแคว้นเฉียนฉิน ที่รวมแผ่นดินภาคเหนือของจีนไว้ได้ชั่วเวลาหนึ่ง
หลังจากตระกูลมู่หรงล้มล้างแคว้นหรั่นวุ่ย(冉魏)เมื่อปีค.ศ. 352 แล้วก็สถาปนาแคว้นเอี้ยนหรือที่นักประวัติศาสตร์จีนเรียกว่า

เฉียนเอี้ยน (前燕)ครอบครองดินแดนทางภาคอีสานของจีนไว้ได้เกือบทั้งหมด ต่อมาถูกโค่นล้มโดยแคว้นเฉียนฉิน ในปีค.ศ. 370 จากนั้น แคว้นเฉียนฉินก็กวาดล้างแคว้นเฉียนเหลียง(前凉)รวมดินแดนทางตอนเหนือของจีนเป็นหนึ่งเดียว

* ชนเผ่าเซียนเปย(鲜卑)เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเหลียว (มณฑลเหลียวหนิงทางภาคอีสานของจีน)

ดำรงชีพด้วยการทำปศุสัตว์เร่ร่อน อาศัยอยู่ (มีเชื้อสายของชาวมองโกลและแมนจู) ภายหลังถูกชนเผ่าซงหนูรุกราน ทำให้

ต้องอพยพเข้ามายังภาคกลาง โดยแบ่งออกเป็น 2 สายใหญ่ๆ สายหนึ่งมาจากเขตต้าซิ่งอันหลิ่ง(ทางตอนเหนือของมองโกเลีย

ในปัจจุบัน ติดกับมณฑลเฮยหลงเจียง) เรียกว่าถั้วป๋าเซียนเปย(拓拔)หรือเซียนเปยเหนือ อีกสายหนึ่งเรียกว่าเซียนเปยตะวันออก

มาจากเขตตงหู เมื่อตงหูพ่ายแพ้แก่ชนเผ่าซงหนู ก็อพยพเข้ามายังดินแดนภาคกลาง ต่อมาหันมาใช้แซ่ตามอย่างชาวฮั่น อาทิ ตระกูลมู่หรง(慕容) ตระกูลต้วน(段) และตระกูลอี่ว์เหวิน(宇文)ล้วนมาจากเซียนเปยตะวันออก แคว้นเฉียนฉินนั้น หลังจากรวมภาคเหนือได้แล้ว ยังยกกำลังบุกลงใต้ เข้าต่อกรกับราชวงศ์จิ้นตะวันออก หวังรวมแผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียวด้วยความฮึกเหิม แต่แล้วในปี 383 ต้องพ่ายแพ้แก่จิ้นตะวันออกในการศึกที่เฝยสุ่ย(肥水之战)เป็นเหตุให้กลุ่มชนเผ่าอื่นๆ พากันลุกฮือขึ้นก่อความไม่สงบ แผ่นดินภาคเหนือแตกแยกเป็นเสี่ยงอีกครั้ง


ยุคหลัง - แดนมิคสัญญี ปี 384 เหยาฉาง(姚苌)หัวหน้าชนเผ่าเชียง(羌)สังหารฝูเจียน ล้มล้างเฉียนฉิน สถาปนาแคว้นโฮ่วฉิน(后秦)ต่อมาปี 417 ถูกจิ้นตะวันออกกวาดล้างไป


สาวๆเผ่าเชียง

แคว้นซีฉิน(西秦)สถาปนาในปี 385 โดยชนเผ่าเซียนเปย(鲜卑)บริเวณเมืองหลันโจวมณฑลกันซู่ในปัจจุบัน ถึงปี 431 ถูกแคว้นเซี่ย(夏)ทำลายล้างไป แคว้นโฮ่วเหลียง(后凉)สถาปนาในปี 386 โดยหลี่ว์กวง(吕光)ชนเผ่าตี(氐)นายทัพใหญ่แห่งแคว้นเฉียนฉิน ซึ่งถูกส่งมาอารักขาดินแดนตะวันตก (แถบมนฑลกันซู่) ถูกกวาดล้างโดยโฮ่วฉินในปี 403 ฟากฝั่งตะวันตกของโฮ่วเหลียง คือแคว้นซีเหลียง(西凉)สถาปนาในปี 400 โดยหลี่ซง(李嵩) ต่อมาถูกเป่ยเหลียง(北凉)ล้มล้างในปี 420 ปีกตะวันออกที่เป็นแคว้นหนันเหลียง(南凉) ก่อตั้งโดยชนเผ่าเซียนเปยในปี 397 (แถบชิงไห่ในปัจจุบัน) ล้มล้างโดยแคว้นซีฉินในปี 414 ส่วนเป่ยเหลียงนั้น สถาปนาในปี 397 โดยชนเผ่าซงหนู ปี 439 ถุกกวาดล้างโดยวุ่ยเหนือ(北魏)(ภายหลังเป็นราชวงศ์วุ่ยเหนือตั้งประจันกับราชวงศ์ใต้ต่อมาอีกร่วม 200 ปี)


เครื่องประดับในหมู่ชนชั้นสูงของชนเผ่าเซียนเปย
ส่วนตระกูลมู่หรง(慕容)หันกลับไปยึดดินแดนเหอเป่ย เหลียวหนิง และซานซี สถาปนาแคว้นโฮ่วเอี้ยน(后燕) และ ซีเอี้ยน (西燕)ในปี 384 ต่อมาแคว้นซีเอี้ยนถูกแคว้นโฮ่วเอี้ยนล้มล้างในปี 394 จากนั้นโฮ่วเอี้ยนถูกแทนที่โดยเป่ยเอี้ยน(北燕)ในปี 407 ซึ่งภายหลังถูกกวาดล้างโดยวุ่ยเหนือ (北魏)ในปี 436 ส่วนหนันเอี้ยน(南燕)นั้น ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 398 ในแถบซานตงในปัจจุบัน และถูกล้มล้างโดยจิ้นตะวันออกในปี 410 ปี 402 ราชวงศ์จิ้นตะวันออกที่อยู่ทางตอนใต้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ หวนเซวียน(桓玄) ผู้กุมอำนาจทางทหารยึดเมืองหลวงเจี้ยนคังไว้ได้ ปลดจิ้นอันตี้(晋安帝)จากบัลลังก์ สถาปนาตนขึ้นเป็นใหญ่ ต่อมาปี 404 หลิวอี้ว์(刘裕)บุกยึดเมืองหลวงกลับคืนมาได้ ประหารหวนเซวียนและพรรคพวก ช่วงเวลาของการโรมรันพันตูกันอยู่นั้น หลิวเฉียวจ้ง(刘谯纵)นายทัพที่ดูแลเมืองอี้โจว(益州)ฉวยโอกาสหันมาบุกเมืองเฉิงตู ตั้งตนเป็นอ๋อง สถาปนาแคว้นซีสู (西蜀)จากนั้นหลิวอี้ว์แห่งจิ้นตะวันออกใช้เวลา 9 ปี(405-413) เข้าปราบซีสูจนเป็นผลสำเร็จ เฉียวจ้งสิ้น แคว้นซีสูกลับคืนสู่จิ้นตะวันออก


การล่าสัตว์ ที่เป็นกิจวัตรของชนเผ่าที่อาศัยในเขตทุ่งหญ้าทางภาคเหนือของจีน
แคว้นเซี่ย (夏)ก่อตั้งโดยเฮ่อเหลียนป๋อป๋อ(赫连勃勃)จากชนเผ่าซงหนู(匈奴)ในปี 407 (เดิมอาศัยอยู่บริเวณมองโกเลียใน) หลังจากจิ้นตะวันออกเข้ากวาดล้างแคว้นโฮ่วฉิน ในปี 417 ป๋อป๋อเข้าโจมตีทัพจิ้นแตกพ่าย ยึดนครฉางอานไว้ได้ ต่อมาในปี 431 ปราบแคว้นซีฉินลงได้ แต่สุดท้ายถูกโจมตีโดยชนเผ่าเร่ร่อนถู่อี้ว์หุน(吐谷浑)แว่นแคว้นล่มสลาย

ในสมัยสามก๊ก ชนเผ่าถั้วป๋าเซียนเปย(拓跋)หรือเซียนเปยเหนือ* ซึ่งมีลี่เวย (力微)เป็นหัวหน้าเผ่าได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตแคว้นของก๊กวุ่ย(โจโฉ) ต่อมาในปี 314 ชนรุ่นหลังของลี่เวย สถาปนาแคว้นไต้(代) ปี 376 ฝูเจียนแห่งแคว้นเฉียนฉินยกทัพปราบแคว้นไต้ จากนั้นจัดส่งสืออี้เจี้ยน(什翼健)ที่เป็นเจ้าแคว้นให้ไปศึกษาไท่เสียว์(太学) (ว่าด้วยการบริหารและการปกครอง เป็นศาสตร์ความรู้ขั้นสูงสำหรับชนชั้นผู้ปกครองในสมัยนั้น) หลังจากการศึกที่เฝยสุ่ย (肥水之战)แคว้นเฉียนฉินล่มสลาย หลานชายของสืออี้เจี้ยนวัย 14 ปี ซึ่งเติบโตมาในทุ่งหญ้าทางตอนเหนือ ได้นำพาผู้คนในชนเผ่าของตนก่อตั้งแคว้นไต้ขึ้นมาอีกครั้งในปี 386 ภายหลังเรียกกันว่า เป่ยวุ่ย(北魏)หรือวุ่ยเหนือ ต่อมาในปี 396 วุ่ยเหนือล้มล้างโฮ่วเอี้ยน(后燕)ครอบครองภาคเหนือของจีน เมื่อถึงรัชกาลไท่อู่ตี้(太武帝)ก็ได้สืบทอดปณิธานการรวมแผ่นดินต่อมา ในปี 427 ปราบแคว้นเซี่ย(夏) ปี 432 ล้างดินแดนเหลียวตงแคว้นเป่ยเอี้ยน(北燕) ปี 439 ปราบเป่ยเหลียง(北凉)และชนเผ่าต่าง ๆที่เหลือ นับจากนั้น ฉากสงครามแห่งความแตกแยกวุ่นวาย สงครามตะลุมบอนหมู่ทางภาคเหนือที่กินเวลายาวนานมากว่า 130 ปีก็ได้จบสิ้นลง ดินแดนภาคเหนือกลับคืนเป็นหนึ่งเดียวกันอีกครั้ง ยุคแห่งสงครามแก่งแย่งของห้าชนเผ่าเป็นอันจบสิ้นลง


ถ้ำผาหยุนกังในมณฑลซันซี บ่งบอกถึงพุทธศาสนาที่เริ่มแผ่ขยายเข้ามาในจีน

ยุค 16 แคว้นถึงแม้ว่าจะเป็นยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความแตกแยกวุ่นวาย แต่ก็ได้ส่งผลต่อวิวัฒนาการทางประวัติศาสตร์ชาติจีนอย่างใหญ่หลวง กลุ่มชนเผ่าที่เคยอาศัยในเขตแดนห่างไกลทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตกของจีน ได้เข้ามาเป็นใหญ่ในดินแดนภาคกลางหรือจงหยวน ที่เดิมเคยปกครองโดยชาวฮั่นมาโดยตลอด เกิดการหลอมกลืนทางสายเลือดและวัฒนธรรม นอกจากนี้ ในแง่การปกครองแล้ว ยังเป็นถือนิมิตใหม่ในการจัดการปัญหาข้อขัดแย้งระหว่างชนเผ่าและชนชั้น เมื่อผ่านการลองผิดลองถูก มีสำเร็จและล้มเหลว ประสบการณ์ของพวกเขาเหล่านั้น ได้กลายเป็นบทเรียนสำคัญต่อการปฏิรูปการปกครองในยุคต่อมา





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น