4/26/2552

จิ้นตะวันตก (คริสตศักราช 265 – 316)

สุมาเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้

สุมาเอี๋ยนเกิดในปีคศ236 หลังจากขงเบ้งตายไปสองปี สุมาเอี๋ยนเป็น ลูกชายของสุมาเจียว(ซือหม่าเจา) ลูกชายสุมาอี้(ซือหม่าอี้) สุมาเอี๋ยนมินิสัยคล้ายๆสุมาเจียว และสุมาอี้ คือเป็นคนทะเยอทะยาน อยากเป้น ใหญ่เป็นโต(เรียกว่าถอดมาทั้งพ่อทั้งปู่) หลังจากที่จกก๊กสิ้นชื่อไปแล้ว(ค.ศ.263) สุมาเจียวก็มีชื่อเสียง มากในราชวงศ์วุย และขยายอำนาจมากขึ้น อีกทั้งยังฆ่าผู้ที่อาจจะเป็นภัยต่อราชวงศ์จิ้นที่เขาจะก่อตั้งขึ้น เช่น จงโฮย เตงงาย แต่ยังไม่ทันจะได้ปลดโจฮวน ซึ่งเป็นฮ่องเต้คนสุดท้ายของราชวงศ์วุย(ที่สุมาเจียวตั้ง ขึ้นมาแทน พระเจ้าโจมอที่ซี้ม่องเซ็กไปด้วยน้ำมือคนของสุมาเจียว)สุมาเจียวก็เกิดป่วยตายไปเสียก่อนเมื่อ อายุได้54ปี ในปีคศ264 สุมาเอี๋ยนจึงได้รับอำนาจต่อจากบิดาตนเองและก็ได้ปลดพระเจ้า โจฮวนออกจากบัลลังก ์และได้ตั้งตนเป็นพระเจ้าจิ้นหวู่ตี้ใช้ชื่อราชวงศ์ของตนเองว่าราชวงศ์จิ้นขึ้นมาแทนราชวงศ์วุย สุมาเอี๋ยนนั้นได้ขุนศึกและเสนาธิการที่มีฝีมือค่อนข้างดี เช่น เอียวเก๋า(หยางหู) เตาอี้(ตู้ยู่) องโยย(หวางจุ้น) กาอุ้น(แกฉง) เตียวหัว(จางหัว) และอีกมากมาย โดยเฉพาะเจ็ดบัณฑิตแห่งสวนไฝ่ซึ่งมีชื่อเสียงมากในการแต่งกวีในสมัยราชวงศ์จิ้นเฟื่องฟู สุมาเอี๋ยนวางแผนที่จะตีเมืองง่อก๊กของพระเจ้าซุนโฮหลานซุนกวนซึ่งขึ้นชื่อในความโหดเหี้ยมฆ่าประชาชน และขุนนางเป็นว่าเล่น ทำให้ง่อก๊กสาละวันเตี้ยลงๆๆทุกวันๆๆ ซึ่งก็มีคนเห็นด้วย กับไม่เห็นด้วยกับความคิดจะไปตีเมืองง่อ แต่ต่อมา ชาวเมืองง่อก๊กเข้ามาอาศัยใบบุญราชวงศ์จิ้นมากขึ้นเนื่องจากทนฮ่องเต้สุดสารเลวอย่างซุนโฮไม่ไหว และง่อก๊กขณะนั้น ก็ฟอนเฟะเต็มทีแล้ว สุมาเอี๋ยนจึงสั่งให่เตาอี้และองโยยนำทหารไปบุกง่อก๊ก ให้สิ้นซากเนื่องจากที่ปรึกษาและขุนศึกที่ เห็นด้วยกับการ ไปตีง่อก๊กให้ความเห็นว่า ถ้าไม่ไปตีง่อก็อาจจะไม่มีโอกาสอีกแล้ว" และก็สำเร็จลงด้วยดี ซุนโฮขอยอมแพ้ต่อราชวงศ์จิ้น เป็นการ สิ้นสุดสงครามสามก๊ก ในปีคศ280 ขณะนั้นสุมาเอี๋ยนอายุได้44ปี(ถ้านับจามธรรมเนียมจีนก็ต้องนับเพิ่มไปอีกหนึ่งปีคือ45ปี) หลังจากเสร็จสิ้นสามก๊กแล้ว สุมาเอี๋ยนได้สั่งให้ตันซิ่ว(เฉินโช่ว)อดีตขุนนางจกก๊กที่ถูกกวาดต้อนไปด้วยหลังจกก๊กล่มสลายนำคณะ ไปเขียนเรื่องสามก๊กฉบับสมบูรณ์ และเป็นสามก๊กฉบับแรกที่มีความสมบูรณ์ในด้านประวัติศาสตร์ที่สุด (ต่อมาล่อกวนตงหรือหลอกว้านจงที่ชาวสามก๊กรู้จักกันดีนำไปเพิ่มเติมเนื่อหาอีกจนกลายเป้นงิ้วไปเลย) สุมาเอี๋ยนเป็นคนที่โหดร้ายมาก(ถอดแบบปะป๊ามาพอสมควร)หลังจากสิ้นยุคสามก๊ก (พูดง่ายๆคือเผยธาตุแท้ของคนเป็นฮ่องเต้ ไม่รู้ทำไมพอเป็นฮ่องเต้ทีไรกี่คนๆก็กลายเป็นแบบนี้ไปหมด)ฆ่าคนที่คัดค้านเรื่องที่สุมาเอี๋ยนมีความคิด อันไม่ถูกต้องทำ ให้ประชาชนเดือดร้อน เป็นคนที่ฟุ่มเฟือยและมักมากในตัณหาราคะด้วยการเกณฑ ์สาวๆจำนวนมากมาเป็นนางสนมในวัง ให้สุมาเอี๋ยนผลาญ*****เล่น การเสวยสุขเกินพอดีแบบนี้ทำให้สุมาเอี๋ยนเสียชีวิตเมื่ออายุ ได้เพียง54ปี(นับตามธรรมเนียมจีนก็เป็น 55ปี)ในปีคศ290ครองราชย์หลังจากรวม สามก๊กได้เพียง10ปีเท่านั้น หลังจากนั้นราชวงศ์จิ้นก็เริ่มเสื่อมลงมาเรื่อยๆ สุมาเอี๋ยนในความคิดของผม ไม่ใช่คนที่เก่งกาจอะไรมากนัก เพียงแต่ช่วงนั้นง่อก๊กเน่า บูดเป็นโจ๊กเต็มทีแล้ว ทั้งสมัยนั้นราชวงศ์จิ้นยังมีบุคลากรที่มีคุณภาพค่อนข้างดีทำให้สามารถ ชนะง่อก๊กได้ง่ายดาย แต่หลังจากนั้นพวกนี้ก็ตายด้วยน้ำมือของสุมาเอี๋ยนที่เริ่มเผยธาตุแท้ ของตนเองเป็นส่วนใหญ่ด้วยความระแวง (เหมือนอย่างเล่าปังกับจูหยวนจางที่กระทำแบบ เสร็จนาฆ่าโคถึก เสร็จศึกฆ่าขุนพล) ช่วงแรกๆก็ดีอยู่หรอกครับ บ้านเมืองสงบสุข ช่วงหลังๆ กลายเป็นอะไร ไม่รู้ไปเสียแล้ว อีกทั้งยังมักมากในกามารมณ์จนเกินพอดีทำ ให้สุมาเอี๋ยนตาย คาเตียง ในปีคศ290

ในบันทึก “เรื่องเล่าชาวบ้าน” ระบุไว้ว่า ในราชวงศ์จิ้นตะวันตก (ค.ศ.265-316) ฮ่องเต้ จิ้นอู่ตี้ ได้ทรงคัดเลือกแม่ทัพใหญ่ หวังตุน ให้เป็นราชบุตรเขย อภิเษกสมรสกับ

องค์หญิงอู่หยัง คืนวันอภิเษกสมรสนั่นเองเป็นครั้งแรกที่หวังตุนได้ใช้ห้องน้ำของ

องค์หญิง ความรู้สึกแรกที่ได้เห็นห้องน้ำของราชนิกูลนั้นเขารู้สึกได้ว่า ห้องน้ำขององค์หญิงช่างงดงามโอ่โถง และหรูหรากว่าห้องน้ำของสามัญชนยิ่งนัก แต่เมื่อ

หวังตุนเดินเข้าไปสัมผัสอย่างใกล้ชิดกลับพบว่า ที่แท้จริงแล้ว

ห้องน้ำในพระราชวังก็มีกลิ่นเหม็นเช่นกัน หวังตุนเหลือบไปเห็นมุมหนึ่งของห้องน้ำ มีกล่องบรรจุพุทราแห้งวางไว้ เขาคิดในใจว่านี่คงเป็นขนมทานเล่นระหว่างทำธุระ จึงทานเสียเกลี้ยง หลังทำธุระเสร็จนางกำนันตรงรี่เข้ามาพร้อมชามใส่น้ำใบใหญ่ และชามกระเบื้องเคลือบบรรจุเม็ดถั่ว “เจ้าโต้ว” (澡豆)

หวังตุนเห็นเช่นนั้น ก็หยิบเม็ดถั่วแช่ลงน้ำ และดื่มน้ำในชามจนเกลี้ยง

กลายเป็นที่ขบขันของบรรดานางกำนัลยิ่งนัก อันที่จริงแล้ว พุทราแห้งนั้น

เตรียมไว้ใช้ใส่เข้าไปในจมูกเพื่อป้องกันกลิ่นเหม็นของห้องน้ำ ส่วนถั่ว “เจ้าโต้ว”

หรือ “ถั่วถูไคล” นั้น ใช้ต่างสบู่นั่นเอง

พระพุทธรูปสำริด

ราชวงศ์จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่กลุ่มตระกูลใหญ่ก้าวเข้ามาเป็นผู้มีอิทธิพลทางการเมืองอย่างสูง เนื่องจากนโยบายการปกครองของซือหม่าเอี๋ยนหรือจิ้นอู่ตี้(晋武帝)โน้มเอียงไปในทางเอื้อประโยชน์ต่อกลุ่มตระกูลชนชั้นสูง อีกทั้งกฎหมายยังให้สิทธิพิเศษต่อขุนนางเจ้าที่ดิน ในการจัดสรรการถือครองที่ดินและผลประโยชน์อื่น ๆ โดยอ้างอิงจากระดับชั้นตำแหน่งขุนนาง ระเบียบเหล่านี้ได้กลายเป็นเครื่องมือการเพาะสร้างอำนาจแบบเบ็ดเสร็จให้กับกลุ่มตระกูลใหญ่เหล่านี้ ทำให้เกิดการแบ่งแยกทางชนชั้นในสังคมครั้งใหญ่ เพราะเพื่อรักษาสิทธิพิเศษนี้ ถึงกับตั้งข้อรังเกียจไม่ยอมนั่งร่วมโต๊ะหรือแต่งงานข้ามสายเลือดกับตระกูลที่ไม่ได้รับสิทธิพิเศษ ทำให้ผู้อยู่นอกวงถึงแม้จะได้เข้ารับราชการก็จะยังคงถูกมองอย่างแปลกแยกและกีดกันไม่ให้ได้รับการเลื่อนขั้นในตำแหน่งสูงขึ้น



ตุ๊กตาดินเผาอ่านหนังสือ

ขณะที่ขุมกำลังจากตระกูลใหญ่เหล่านี้เติบโตขึ้น ข้อขัดแย้งระหว่างกลุ่มก็มีมากขึ้นเป็นเงาตามตัว ทว่าอำนาจการปกครองจากส่วนกลางกลับอ่อนแอลง เป็นเหตุให้เกิดความวุ่นวายในเวลาต่อมา ในยุคสมัยนี้ บ้านเมืองเสื่อมโทรม กลุ่มผู้มีอำนาจใช้ชีวิตอย่างความฟุ้งเฟ้อเห่อเหิม เต็มไปด้วยการแก่งแย่งแข่งขันและคดโกง ขณะที่คนจนถูกเรียกเก็บภาษีแพงลิบลิ่ว เหล่าปัญญาชนที่เกิดมาท่ามกลางยุคสมัยแห่งความวุ่นวายนี้ ต่างท้อแท้สิ้นหวัง พากันหลีกหนีความเป็นจริง ไม่ถามไถ่ปัญหาบ้านเมือง ชีวิตหมกมุ่นอยู่กับการเสพสุราและพูดคุยเรื่องราวไร้สาระ หรือเสนอแนวคิดเชิงดูถูกเหยียดหยามผู้อื่นในสังคม เป็นต้น ดังนั้น ศาสตร์ในการทำนายทายทักและแนวคิด

เชิงอภิปรัชญา (玄学)จึงเป็นที่นิยมอย่างสูง

ขณะเดียวกัน การแก่งแย่งช่วงชิงอำนาจทางการเมืองในราชสำนักก็ทวีความเข้มข้นขึ้น อำนาจในการปกครองของฝ่ายราชสำนักตกอยู่ในภาวะวิกฤต จิ้นอู่ตี้เนื่องจากได้รับบทเรียนจากราชวงศ์วุ่ยที่ไม่ได้จัดสรรอำนาจให้เชื้อพระวงศ์เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นซึ่งอยู่ในตระกูลอื่นเข้าฉกฉวยอำนาจได้โดยง่าย ดังนั้น เพื่อรักษาพระราชอำนาจของตนไว้ จึงทรงอวยยศเหล่าเชื้อพระวงศ์ขึ้นเป็นอ๋อง ให้อำนาจในการตรวจสอบความเคลื่อนไหวทางทหารของกลุ่มอำนาจภายนอก ทำให้เชื้อพระวงศ์เหล่านี้

สามารถบัญชาการกำลังทหารจำนวนไม่น้อย เมื่อถึงสมัยของจิ้นฮุ่ยตี้ (晋惠帝)การอวยยศซึ่งแต่เดิมมีจุดมุ่งหมายเพื่ออารักขาฐานอำนาจของราชสำนัก กลับ

เป็นบ่อเกิดของข้อขัดแย้งในการแบ่งลำดับขั้นการบริหาร ทำให้ภายในราชสำนัก

การแย่งชิงอำนาจครั้งใหญ่ บรรดาอ๋องพระราชทานต่างก็ถูกม้วนเข้าสู่วังวนแห่งอำนาจทางการเมือง นับตั้งแต่ปี 291 เป็นต้นมา เมืองลั่วหยาง ได้เกิดเหตุจราจล ‘8 อ๋องชิงบัลลังก์’(八王之乱)อ๋องทั้ง 8 ได้แก่ อ๋องเลี่ยง อ๋องเหว่ย อ๋องหลุน อ๋องจ่ง อ๋องหยิ่ง อ๋องอี้ อ๋องหยงและอ๋องเย่ว์ ต่างยกกำลังเข้าห้ำหั่นกันเกิดเป็นสงครามภายในขึ้น เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองครั้งนี้กินเวลาถึง 16 ปี ทหารและพลเรือนลัมตายนับแสน หลายเมืองถูกทำลายล้างยับเยิน เป็นเหตุให้ราชวงศ์จิ้นตะวันตกที่แต่เดิมก็ไม่ได้มีผลสำเร็จในเชิงเศรษฐกิจมากนักอยู่แล้ว กลับยิ่งต้องเผชิญกับความเสียหายอย่างสาหัส สุดท้ายจิ้นฮุ่ยตี้ถูกวางยาสิ้นพระชนม์ บรรดาอ๋องต่างฆ่าฟันกันจนสิ้นเรี่ยวแรง


คำจารึกที่สลักไว้บนแผ่นไม้หน้าสุสานของหวังหมิ่น จิ้นตะวันตกเป็นยุคสมัยที่อักษรจีนเริ่มพัฒนาสู่รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบัน (楷书)

นับแต่สมัยฮั่นตะวันออกเป็นต้นมา ชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในในแถบชายแดนภาคตะวันตกและภาคเหนือก็ได้ทยอยอพยพเข้าสู่แผ่นดินจีน เมื่อถึงปลายราชวงศ์วุ่ยและจิ้น เนื่องจากเกิดภาวะแรงงานขาดแคลนจึงมักมีการกวาดต้อนชนกลุ่มน้อยจำนวนมากเข้ามาเป็นแรงงานในประเทศ ชนเผ่าต่าง ๆเมื่อเข้ามาอยู่อาศัยระยะยาว จึงได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่น ปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตที่แต่เดิมเป็นปศุสัตว์เร่ร่อน หันมาทำไร่ไถนา บ้างก็ได้รับการศึกษา เข้ารับราชการ เป็นต้น ต่อมาเนื่องจากได้รับการบีบคั้นจากการปกครองของเจ้าที่ดินชาวฮั่น และการรีดเก็บภาษีขั้นสูง ทำให้ความสัมพันธ์ทวีความตึงเครียดมากขึ้น จนในที่สุด พากันลุกขึ้นก่อหวอดต่อต้านการปกครองจากส่วนกลาง โดยกลุ่มที่เริ่มทำการก่อนได้แก่กลุ่มขุนศึกของชนเผ่าต่าง ๆในช่วงปลายของจราจล 8 อ๋อง ขณะที่บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้นำของแต่ละกลุ่มต่างทยอยกันเสียชีวิตในการศึก หัวหน้าของชนเผ่าซงหนูหลิวหยวน (刘渊)ก็ประกาศตั้งตัวเป็นอิสระ โดยใช้ชื่อว่าฮั่นกว๋อ (汉国)ภายหลังหลิวหยวนสิ้น บุครชายชื่อหลิวชง (刘聪)ยกกำลังเข้าบุกลั่วหยางนครหลวงของจิ้นตะวันตก จับจิ้นหวยตี้ (晋怀帝)เป็นตัวประกันและสำเร็จโทษในเวลาต่อมา โดยเชื้อพระวงศ์ทางนครฉางอันเมื่อทราบเรื่องก็ประกาศยกให้จิ้นหมิ่นตี้ (晋愍帝)ขึ้นครองบัลลังก์สืบทอดราชวงศ์จิ้นต่อไปทันที ประชาชนที่หวาดเกรงภัยจากสงครามทางภาคเหนือ ต่างพากันอพยพลงใต้ จวบถึงปี 316 กองกำลังของชนเผ่าซงหนูบุกเข้านครฉางอัน จับกุมจิ้นหมิ่นตี้ เพื่อรับโทษทัณฑ์ จิ้น

ตะวันตกจึงถึงกาลล่มสลาย
ราชวงศ์จิ้นตะวันตกอยู่ในอำนาจรวม 51 ปี มีกษัตริย์เพียง 4 พระองค์ และเป็นราชวงศ์เดียวในยุคสมัยวุ่ยจิ้นเหนือใต้(คริสตศักราช 220 – 589)ที่มีการปกครอง

แผ่นดินจีนเป็นหนึ่งเดียว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น