1/19/2552

เรียนรู้วัฒนธรรมตรุษจีน

จากเว็บไซด์ http://variety.teenee.com/foodforbrain/6174.html



ในเทศกาลตรุษจีน จะเห็นการจับจ่าย ตระเตรียมบรรดา

อาหารสำคัญไม่ว่า หมู ไก่ ผลไม้ ขนมเทียน ขนมเข่ง เพื่อไหว้บรรพบุรุษแล้ว ในวาระสำคัญเทศกาลปีใหม่ และถือเป็นการเริ่มต้นเข้าสู่ฤดูการเพาะปลูก
นั่นคือ ฤดูใบไม้ผลิ แฝงไว้ด้วยว่าขอให้การทำมาหากินเจริญก้าวหน้ารุ่งเรือง

รศ.พรพรรณ จันทโรนา นนท์ อาจารย์สาขาภาษาจีน ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันออก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง บอกเล่าว่า
เมืองจีนกับประเทศไทยไม่ต่างกันในเรื่องของชีวิตความเป็นอยู่ ชาวจีนสร้างชาติด้วยความเป็นเกษตรกร ฤดูกาลที่ผันเปลี่ยนสัมพันธ์กับการเพาะปลูก
ชาวจีนมี 4 ฤดู คือใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ซึ่งฤดูใบไม้ผลิเป็นฤดูกาลแรกแห่งปีเทศกาลตรุษจีนจะมาถึง

“แผ่นดินจีนมีหลากหลายชนเผ่า แต่ละท้องถิ่นมีประเพณีแตกต่างกัน เช่น ชาวจีนทางภาคเหนือเมื่อใกล้วันตรุษจีน 8 ค่ำ เดือน 12

จะเริ่มกินโจ๊ก ที่เรียกว่า ลาบปาโจว โดยนำเอาธัญพืชมา ต้มรวมกัน แต่ขณะที่คนทาง ใต้จะไม่มีประเพณีนี้”


รศ.พรพรรณ เท้าความ ให้ฟังว่า

ชาวจีนในบ้านเราส่วนใหญ่มาจาก มณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยน ไหหลำ กลุ่มเชื้อชาตินี้จะมีประเพณีปฏิบัติในวัน ตรุษจีนคล้าย ๆ กัน อย่างเช่นของเซ่นไหว้ เลือกใช้หมู ไก่ ปลา กุ้ง เหตุผลที่ไหว้ด้วย “ไก่” เพราะเป็นสัตว์ที่มีความบู๊และบุ๋นอยู่ในตัว อีกทั้งหงอนไก่ ซึ่งเรียกว่า “จีกวน” หมายถึงข้าราชการ ดังนั้นไก่จะสื่อถึงความเป็นคหบดี เจ้าคนนายคน

และมีลักษณะอยู่ 4 ประการที่คนเป็นเสนาบดีจะมีคล้าย กับไก่

ประการที่ 1. คือมีเดือยแหลมคมสามารถต่อสู้ได้

ประการที่ 2 สามารถบอกเวลาได้หมายถึง มีประโยชน์

ประการที่ 3 รักเพื่อนพ้อง นิสัยของไก่เมื่อมี ของกินจะเรียกพรรคพวกมาร่วมกินด้วยเสมอ

ประการที่ 4 มีความกล้าหาญ เพราะจะสู้ยิบตาเมื่อเจอศัตรู
ส่วน “กุ้ง” เป็นสัญลักษณ์ของความเป็นสิริมงคล คิด จะทำการใดก็ไม่มีอุปสรรคมา ขวางกั้น “ปู” หมายถึงความเป็นที่หนึ่ง

ประเพณีตรุษจีนนอกจากจะเห็นบรรดาอาหารที่มีความหมายมีความนัยดีงามแฝงไว้แล้วนั้น ในวันสำคัญนี้บรรดาอาคารบ้านเรือนจะมีสิ่งของมงคลเป็นเครื่องห้อยเครื่องแขวนประดับประดิดประดอย ไว้ด้วย ทำออกมาเป็น “น้ำ เต้า” “หยก” “พัด” “ถั่วลิสง” “โคมไฟ” หรือ “ภาพเขียนจีน” แม้กระทั่ง “ตุ้ยเลี้ยง” สิ่งมงคลที่ต้องซื้อหามาเป็น เจ้าของในเทศกาลนี้

ผู้รู้ด้านจีนคนเดิมถอดรหัสของบรรดาข้าวของสิ่งเหล่านี้ให้ฟังว่า

สิ่งของประดับเหล่านี้จะมีสิ่งละอันพันละน้อยประกอบเข้าด้วยกัน ที่พบเห็นทั่วไป คือ “ยันต์แปด” หรือภาษาจีน ออกเสียงว่า “ผันฉัง” เป็นของสิริมงคลสื่อความหมายถึงอยู่เย็นเป็นสุขตลอดไป

ขณะที่มีเชือกถักอีกแบบที่พบเห็นตามศาลเจ้า เรียกว่า “กังสดาล” ถือเป็นสิ่งมงคลเช่นกันแต่ทำหน้าที่คล้ายกับยันต์คือขจัดสิ่งอัปมงคลทั้งหลายภูตผีปิศาจให้ออกไปจาก อาคารบ้านเรือน



“หยก” คนจีนเชื่อว่า

เป็นหินพิเศษที่สามารถปกป้องขจัดสิ่งอัปมงคล และยังเชื่อด้วยว่าเมื่อมีหยกอยู่ในบ้าน หรือสวมใส่หยกติดตัว หยก

จะช่วยรับเคราะห์ร้ายต่าง ๆ แทน และยังทำให้เกิดมงคลขึ้น อีกด้วย

วันตรุษจีน เป็นวันที่ทุกคนขอให้ได้เงินเยอะ ๆ ร่ำรวย เฮง ๆ บางครั้งในสิ่งของเหล่านี้จะมีลวดลายหรือ

รูปของเงินตราจีนโบราณเรียกว่า “หยวนเป่า” หน้าตาคล้ายกับเรือลำเล็ก ๆ หมายถึง โชคกำลังมาถึงท่านแล้ว มีแต่ความร่ำรวยมาถึงท่านในเร็ววัน

ส่วน “พัด” ภาษาจีนเรียกว่า

ซ่าน” พ้องกับคำที่ มีความหมายว่าเมตตากรุณา ของจีน นอกจากนี้บางครั้งเราจะเห็น “ถั่งลิสง” ติดมาด้วย หมายถึง

ความมีลูกหลานมากมาย มีลูกเต็มบ้านหลานเต็มเมือง มีเงินทองมากมายไม่รู้จักหมดสิ้น

“น้ำเต้า” มีความเป็น สิริมงคลอย่างหนึ่งของศาสนาเก่า แปลว่ามีอายุยืนยาว มีลูก เต็มบ้านหลานเต็มเมือง และ ยังเชื่อว่าจะช่วยขจัดภูตผีปิศาจออกไปด้วย

“รูปพระยิ้ม” เรียกว่า “เจ้าโขง ถัง ขว่าย” สิ่งสิริมงคลของศาสนาเก่า เชื่อว่า ยิ้มเมื่อไหร่โชคเข้ามา “ดอกบัว” สิ่งมงคลในทางพุทธศาสนา พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ประทับอยู่ในดอกบัว อย่างเช่นเจ้าแม่ กวนอิมเป็นต้น

ขณะที่ “โคมไฟ” เป็นสิ่งสิริมงคลอีกอย่างหนึ่ง โคมไฟแดง เมื่อเทศกาลจีนผ่านไป 15 วัน จะมีเทศกาล “เหยือน เซียว” เทศกาลประกวดโคมไฟ ในวัน 15 ค่ำ เดือน 1 ถือเป็นวันสุดท้ายของปีที่ฉลองอย่าง ยิ่งใหญ่ ในขณะที่ชาวจีนแต้จิ๋ว เรียกเทศกาลนี้ว่า “เหยือน เซียว เจอะ” จะประกวดกันว่าบ้านไหนมีลูกชาย จะนำผ้าสีแดงติดที่ประตูบ้าน จะมีคนมาแสดงความยินดีด้วย



ในวันนี้จะนำลูกชายไปไหว้เจ้าด้วย

จะต้องเอาตะเกียงสีแดงไปแขวนไว้ที่ศาลเจ้า บอกกล่าวกับเทพเจ้าว่า บ้านนี้มีลูกชายไว้สืบสกุลแล้ว ขณะที่บ้านไหนมีลูกผู้หญิงจะปิดประตูเงียบเชียบ บรรดาของมงคลหรือเครื่องรางเหล่านี้บางทีมีตัวหนังสือภาษาจีนเขียนติดไว้ เล็ก ๆ เช่น “ชู หิ้ว ผิง อาน” หมายถึง อยู่เป็นสุขทุกที “ว่าน ซื่อ หยูว อี้” หมายถึงให้ สมปรารถนาในทุกประการ

นอกจากสิ่งของบรรดาเครื่องห้อยแขวนนำสิ่งมงคลมาประดิษฐ์ร้อยรวมกันให้ดูงามตา แล้ว ในเทศกาลตรุษจีนสิ่งที่ต้องซื้อหาคือ ตุ้ยเลี้ยง คือการเขียนคำอวยพรลงในกระดาษสีแดง เป็นวัฒนธรรมอย่างหนึ่งของคนจีน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่โดดเด่นและมีความหมายอย่างสูง คำที่ใช้จะมี 4 คำ มีความหมายเน้นไปทาง สิริมงคล สมบูรณ์พูนสุข โชคลาภร่ำรวย

“คนจีนจนแค่ไหนก็ตามพอถึงวันตรุษจีนขอให้มีตุ้ยเลี้ยงดีๆหนึ่งคู่ติดไว้ตรงทางเข้าบ้านทั้งสองข้าง และต้องมีภาพวาดตรุษจีนที่มีความหมายดี ๆ เป็นภาพที่แปลว่าให้มีเหลือมีใช้ทุกปี มีเงินทองมาก ๆ เช่นภาพปลา หมายถึงมีเหลือมีใช้ตลอดปี ภาพตรุษจีนจะเปลี่ยนทุกปี ตัวภาพจะมีสีสันสวยงาม สีแดง สีเขียวแล้วแต่” รศ. พรพรรณ บอกเล่า

ย่านเยาวราช บริเวณริมทางเท้าตรงข้ามตลาดใหม่ มีร้านจำหน่ายสิ่งของมงคลอยู่ หลายร้านไม่ว่าจะเป็นเชือกถัก น้ำเต้า โคมไฟ เหล่านี้เป็นสินค้าขายดิบขายดีอีกอย่างนอกจากอาหารไหว้เจ้า

สถาพร แซ่ลี่ พ่อค้าขายสินค้ามงคล บริเวณหน้าโรงภาพยนตร์ไชน่าทาวน์มานาน 5 ปี บอกเล่าว่าราคาของที่เริ่มต้นตั้งแต่ 35 บาท จนถึงพันบาทแล้วแต่ขนาดเล็กใหญ่ แต่ที่ ขายดีคือถุงใส่ส้ม เพราะเป็นสินค้าราคาถูกราคา 20 บาท ในเทศกาลตรุษจีนทุกคนต้องซื้อ

นอกจากนี้ยังนิยมซื้อตุ้ยเลี้ยงสำเร็จ

ต่างจากตุ้ยเลี้ยงแบบเก่าที่นิยมเขียนสด ๆ เพราะมีสีสันสวยงาม มีสีทองคนซื้อจะเป็นคนรุ่นใหม่เสียมากกว่า ราคาเริ่มต้นตั้งแต่ 50 บาท ขึ้นไป และยังมีจำพวก ถังเงิน ถังทอง ถุงเงินถุงทอง นำไปแขวนที่บ้านแล้วเชื่อว่า เงินทองไหลมาเทมา

“เมื่อเทียบกับปีที่แล้วปีนี้ขายไม่ค่อยดีเท่าไร ส่วนใหญ่ลูกค้าจะเน้นซื้อของที่ราคาไม่สูงนัก” พ่อค้าสินค้ามงคลบอกเล่า

ตรุษจีนปีนี้หลายสำนัก ฟันธง ข้าวของแพงขึ้นปริมาณการจับจ่ายซื้อขายลดลงไปตามกัน แต่สินค้าที่สื่อความหมายให้ชีวิตรุ่งเรืองร่ำรวยยังเป็นสินค้าจำเป็น ด้วยความหวังให้ปีนี้ทั้งปีร่ำรวย ๆ โชคดีตลอดปีตลอดไป.






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น